×
Image

ห้ามการยุแยงตะแคงรั่วและเตือนให้ระวัง - (ไทย)

การยุยงให้คนอื่นทะเลาะกันหรือการยุแยงตะแคงรั่วเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ มีความหมายคือ การนำเอาคำพูดไปบอกต่อคนอื่นๆโดยมีเจตนาร้าย การเที่ยวเดินโพนทะนานั้นถือเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้เกิดการตัดขาดกันระหว่างผู้คน ด้วยเหตุนี้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนให้ระวัง และบอกกล่าวถึงบทลงโทษที่รุนแรงกับผู้ที่กระทำการนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

กฎเกณฑ์การซื้อขายบางประการ - (ไทย)

ในหะดีษเหล่านี้มีกฎเกณฑ์บางอย่างของการค้าการขาย ที่คนหลาย ๆ คนมักพลาดพลั้งกระทำผิดไป ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เตือนไว้เพราะมีผลดีทั้งทางด้านศาสนาและดุนยา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415

Image

ข้อมูลโดยสังเขปของตำราหะดีษทั้งหก - (ไทย)

แนะนำตำราหะดีษทั้งหก คือ เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์, เศาะฮีหฺ มุสลิม, สุนัน อบี ดาวูด, สุนัน อัต-ติรมิซีย์, สุนัน อัน-นะสาอีย์ และ สุนัน อิบนิ มาญะฮฺ ซึ่งเป็นแม่บทของหนังสือหะดีษที่อุละมาอ์ต่างให้การยอมรับในการอ้างอิงแหล่งข้อมูล อธิบายที่มาที่ไปของหนังสือแต่ละเล่ม ความพิเศษที่แตกต่าง และการให้ความสำคัญของอุละมาอ์

Image

การให้ทานน้ำและอาหารในช่วงฤดูกาลหัจญ์ - (ไทย)

บทความว่าด้วยการส่งเสริมให้ทำการบริจาคทานในช่วงพิธีการหัจญ์ สำหรับหุจญาตผู้แสวงบุญ นำเสนอหลักฐานจากสุนนะฮฺที่ระบุถึงความประเสริฐของการทำทานที่เรียกว่า อัส-สิกอยะฮฺ วะ อัร-ริฟาดะฮฺ หรือการให้น้ำและอาหารแกุ่หุจญาต เพื่อเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ได้รับซึ่งหัจญ์มับรูรที่มีผลตอบแทนเป็นสวนสวรรค์

Image

บทซิกิรยามเช้าและยามเย็น - (ไทย)

บทซิกิรยามเช้าและยามเย็น ตามแนวทางที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทำไว้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชาติของท่าน อันเป็นซุนนะฮฺที่มุสลิมควรยึดใช้และปฏิบัติเป็นกิจวัตรในแต่ละวัน บทซิกิรแต่ละบทมีคุณค่าและความประเสริฐที่หลากหลาย ใช้ทั้งเพื่อเป็นการวิงวอนขอความจำเริญ ความปลอดภัย ความคุ้มครอง และอื่นๆ จากอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

อิห์ยาอ์ อัล-มะวาต (การเข้าครอบครองฟื้นฟูที่ดินว่าง) - (ไทย)

อธิบายความหมาย อิห์ยาอ์ อัล-มะวาต (การเข้าครอบครองฟื้นฟูที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ) วิทยปัญญาในการบัญญัติการฟื้นฟูที่ดิน ความประเสริฐของการฟื้นฟูที่ดินสำหรับผู้ที่มีเจตนาดี หุก่มการฟื้นฟูที่ดิน ลักษณะการฟื้นฟูที่ดิน การครอบครองที่ดินใกล้เมือง การจัดสรรที่ดินโดยผู้นำ การจับจองที่ดิน การกำหนดเขตหวงห้าม หุก่มของการละเมิดสิทธิของผู้อื่น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

เตือนให้ระวังการสาปแช่ง - (ไทย)

การสาปแช่ง คือ การขับไล่และการทำให้อยู่ห่างไกลจากเมตตาของอัลลอฮฺ และการสาปแช่งคนใดเป็นการเฉพาะเป็นเรื่องอันตราย เพราะการสาปแช่งหากผู้ที่ถูกกล่าวถึงไม่สมควรได้รับมัน มันก็จะกลับไปหาคนที่แช่งมันแทน หลายคนมักจะเลินเล่อในการสาปแช่ง และเป็นเรื่องที่ต้องแสดงการรังเกียจ และเตือนให้ระวัง และไม่มักง่ายกับมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 20 - ส่งเสริมให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนเราะมะฎอน พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

ความประเสริฐของการซิกิร (การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ) - (ไทย)

ข้อมูลว่าด้วยความประเสริฐของการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ หรือการกล่าวซิกิร และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง อาทิ แนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในการซิกิร ลักษณะการซิกิรและการขอดุอาอ์ ประโยชน์ของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เป็นต้น พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

อย่าโกรธ - (ไทย)

หนึ่งในสามสิบบทเรียนอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้เริ่มต้น ด้วยวิธีการอธิบายที่ง่ายๆ และพร้อมด้วยหลักฐาน.

Image

การลงโทษเชิงตักเตือนและสั่งสอน (อัต-ตะอฺซีร) - (ไทย)

จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ การลงโทษเชิงตักเตือนและสั่งสอน (อัต-ตะอฺซีร) การลงโทษต่อผู้กระทำผิดมี 3 ประเภท วิทยปัญญาที่มีบทบัญญัติให้มีการลงโทษแบบตักเตือน บทบัญญัติว่าด้วยการตักเตือนหรือสั่งสอน (อัตตะอฺซีร) ประเภทของการตักเตือนหรือสั่งสอน (อัตตะอฺซีร) ชนิดของการตักเตือนหรือสั่งสอน การลงโทษแบบสั่งสอน การไถ่โทษ (กัฟฟาเราะฮฺ) ของคนที่จูบผู้หญิงอื่นที่ไม่อนุญาตแก่เขาและเขาได้เสียใจ

Image

ห้ามการนินทา และความประเสริฐของการปกป้องศักดิ์ศรีของมุสลิม - (ไทย)

การนินทาเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ และเป็นหนึ่งในบาปที่แพร่หลายในระหว่างผู้คนมากที่สุด อีกทั้งพวกเขาก็มักง่าย และพากันละเลยไม่แสดงการรังเกียจ ทั้งที่มันเป็นสาเหตุก่อความเป็นศัตรูต่อกัน และทำลายความเป็นปึกแผ่นของพวกเขา และเพราะความน่ารังเกียจของการนินทา อัลลอฮฺทรงเปรียบคนนินทาว่าเหมือนกับคนที่กินศพพี่น้องของเขา และบทลงโทษของคนนินทาในโลกหลุมศพคือเขาจะฉีกหน้าฉีกอกของเขาด้วยกรงเล็บที่ทำจากทองแดง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม