×
จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดยเชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์ ว่าด้วยวิธีการ ตะอ์ศีล อัล-มะสาอิล หรือการหาค่าฐานของปัญหาในการแบ่งมรดก โดยแยกประเภทต่างๆ ของปัญหาตามลักษณะความแตกต่างของทายาทผู้รบมรดก

    การหาค่าฐานของปัญหา (ตะอ์ศีล อัล-มะสาอิล)

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซอบิร อับดุลกอดิร อูมา

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    2011 - 1432

    ﴿ تأصيل المسائل ﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم بن عبد الله التويجري

    ترجمة: صابر عبد القادر عمر

    مراجعة: فيصل عبد الهادي

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    4. การหาค่าฐานของปัญหา (ตะอ์ศีล อัล-มาสาอิล)

    การตะอ์ศีล หมายถึง การหาค่าฐานร่วมที่น้อยที่สุดให้ผู้มีสิทธิ์แต่ละคน โดยไม่ต้องหาร

    ประโยชน์ของการตะอ์ศีล คือ รู้ค่าฐานของปัญหา และสะดวกในการแบ่งมรดก

    ปัญหาของการแบ่งมรดก มีสามกรณี

    ค่าฐานของทุกปัญหาเกิดจากความแตกต่างของทายาท

    1. หากทายาททั้งหมดเป็นผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือเท่านั้น ค่าฐานของปัญหาก็จะเท่ากับจำนวนของทายาท โดยผู้ชายจะได้เท่ากับส่วนของผู้หญิงสองคน (ผู้ชายสองส่วน ผู้หญิงหนึ่งส่วน ) เช่น ผู้ตายทิ้ง ลูกชายหนึ่งคน และลูกสาวหนึ่งคน ค่าฐานของปัญหาคือสาม ลูกชายได้สอง ลูกสาวได้หนึ่ง

    2. หากในปัญหามีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบกำหนดหนึ่งคนและผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือ ค่าฐานของปัญหาจะได้จากส่วนกำหนด เช่น ผู้ตายทิ้งภรรยาหนึ่งคนและลูกชายหนึ่งคน ค่าฐานของปัญหาคือแปด ภรรยามีสิทธิ์หนึ่งส่วนแปด นั่นคือ ได้หนึ่งส่วนแบบส่วนกำหนด และลูกชายได้ที่เหลือทั้งหมดแบบอะเศาะบะฮฺ หรือส่วนเหลือ

    3. หากในปัญหามีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบกำหนดเท่านั้น หรืออยู่ร่วมกับผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือ เราก็ต้องมาดูว่าปัญหาอยู่ในกรณีไหนจากกรณีทั้งสี่ ( มุมาษะละฮฺ มุดาเคาะละฮฺ มุวาฟะเกาะฮฺ หรือ มุบายะนะฮฺ ) ผลที่ได้ก็จะเป็นค่าฐานของปัญหานี้ ส่วนค่าของส่วนกำหนดนั้นคือ หนึ่งส่วนสอง หนึ่งส่วนสี่ หนึ่งส่วนหก หนึ่งส่วนสาม หนึ่งส่วนแปด และสองส่วนสาม

    หากตัวเลขทั้งสองเป็นกรณีมุมาษาละฮฺ ก็เลือกเพียงหนึ่งตัวเลข

    หากเป็นกรณีมุดาเคาะละฮฺ ให้เอาตัวเลขที่มากกว่า

    หากเป็นกรณีมุวาฟะเกาะฮฺ ให้หาค่าเลขร่วมของตัวเลขทั้งสอง (หา ครน.)

    และหากเป็นกรณีมุบายะนะฮฺ ให้เอามาคูณกัน ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้

    มุมาษะละฮฺ 1/3 และ 1/3 มุดาเคาะละฮฺ 1/2 1/6

    มุวาฟะเกาะฮฺ 1/6 1/8 มุบายะนะฮฺ 2/3 1/4

    ค่าฐานของปัญหาผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบกำหนด มี 7 ตัวเลข คือ 2, 3, 4, 6, 8, 12, และ 24

    หากแบ่งมรดกให้ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบกำหนดทุกคนแล้ว มรดกยังเหลืออีก และไม่มีผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบส่วนเหลือที่มีสิทธิ์รับไป มรดกนั้นก็จะกลับไปสู่ผู้มีสิทธิ์รับมรดกแบบกำหนดเท่าสิทธิ์ของเขา นอกจากสามีและภรรยา เช่น ผู้ตายทิ้งสามีและลูกสาวหนึ่งคน ค่าฐานของปัญหาคือ สี่ สามีมีสิทธิ์หนึ่งส่วนสี่ คือ หนึ่ง ส่วนที่เหลือลูกสาวจะได้รับแบบส่วนกำหนดและร็อด (ส่วนกำหนด คือ สอง และที่เหลือ คือ หนึ่ง รวมเป็นสาม )