อัศ-เศาะดาก (สินสอด)
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
อัศ-เศาะดาก (สินสอด)
﴿الصداق﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ริซัลย์ สะอะ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
แหล่งอ้างอิง : หนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿الصداق﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: ريزال أحمد
مراجعة: صافي عثمان
المصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อัศ-เศาะดาก (สินสอด)
เกร็ดความรู้ความเข้าว่าด้วย อัศ-เศาะดาก
อิสลามได้ยกระดับของผู้หญิงและได้มอบสิทธิให้กับเธอในด้านการครอบครองและจำเป็นต้องมอบสินสอดให้เธอเมื่อมีการแต่งงาน และเป็นสิทธิของเธอในการครอบครองสินสอดจากฝ่ายชายเพื่อเป็นเกียรติกับตัวเธอ เป็นการสร้างความสุขให้แก่จิตใจของเธอ ให้รู้สึกถึงความมีศักดิ์ศรีของเธอ เป็นการทดแทนจากการหาความสุขจากเธอ ทั้งยังเป็นการให้ความรู้สึกที่ดีต่อตัวเธอ และให้เธอยอมรับถึงความเป็นผู้นำของผู้ชายด้วย ดังโองการที่ว่า
(ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ) [النساء/4].
ความว่า "และจงมอบให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรหรือสินสอดของนางด้วยความเต็มใจ แต่ถ้านางเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากมะฮัรนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้นด้วยความสบายใจและสุขใจเถิด" (อัน-นิสาอ์ 4)
หุก่มการมอบสินสอดให้แก่ฝ่ายหญิง
สินสอดนั้นเป็นสิทธิของผู้หญิง จำเป็น(วาญิบ)ที่ฝ่ายชายจะต้องมอบให้ฝ่ายหญิงเนื่องในการมีเพศสัมพันธ์กับเธอ และผู้อื่นไม่มีสิทธิที่จะเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของสินสอด นอกจากว่าเธอจะยินยอมให้ แต่สำหรับบิดาของเธอนั้นสามารถเอาสินสอดของเธอได้ตราบใดที่ไม่ทำให้เธอต้องเดือดร้อนและเธอไม่มีความจำเป็นต้องใช้มัน แม้ว่าเธอจะไม่อนุญาตก็ตาม
จำนวนสินสอดของผู้หญิง
1. เป็นซุนนะฮฺให้กำหนดสินสอดอย่างง่ายๆ ไม่หนักหนา เพราะสินสอดที่ดีนั้นคือสินสอดที่ง่ายที่สุด และเพราะสินสอดที่มากมายนั้นเป็นสาเหตุให้สามีไม่พอใจภรรยาเขา และสินสอดนั้นจะเป็นหะรอมหากถึงขั้นฟุ่มเฟือย โอ้อวด และทำให้ฝ่ายสามีนั้นเป็นหนี้เป็นสินและมีปัญหาจนต้องเรี่ยไรจากผู้อื่น
عن أبي سلمة رضي الله عنه أنه سأل عائشة رضي الله عنها: كَمْ كَانَ صَدَاقُ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم ؟ قَالَتْ: كَانَ صَدَاقُهُ لأَزْوَاجِهِ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ أُوْقِيةً وَنَشّاً، قَالَتْ: أَتَدْرِي مَا النَّشُّ؟ قَالَ: قُلْتُ: لا. قَالَتْ: نِصْفُ أُوْقِيَّةٍ فَتِلْكَ خَـمْسُمِائَةِ دِرْهَـمٍ فَهَذَا صَدَاقُ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم لأَزْوَاجِهِ. أخرجه مسلم.
ความว่า จากอบู สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้ถามอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มอบสินสอดเท่าไหร่ ? ท่านหญิงอาอิชะฮฺตอบว่า "สินสอดที่ท่านนบีได้มอบให้บรรดาภรรยาของท่านนั้นคือสิบสอง อูกียะฮฺ และ หนึ่ง นัช" ท่านอาอิชะฮฺถามว่า "ท่านรู้จัก นัช หรือเปล่า?" ฉันบอกว่า ไม่ ท่านอาอิชะฮฺกล่าวว่า "คือครึ่งหนึ่งของ อูกียะฮฺ ทั้งหมดนั้นเท่ากับห้าร้อยดิรฮัม นี่คือสินสอดของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แก่บรรดาภริยาของท่าน" (บันทึกโดยมุสลิม 1426)
2. สินสอดของบรรดาภริยาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นคือ ห้าร้อยดิรฮัม ซึ่งเท่ากับ 140 ริยาลซาอุดีในปัจจุบันโดยประมาณ และสินสอดของบุตรสาวของท่านนั้นคือสี่ร้อยดิรฮัม ซึ่งเท่ากับ 110 ริยาลซาอุดีในปัจจุบันโดยประมาณ สำหรับเราแล้ว ในตัวท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นมีแบบฉบับที่ดีซึ่งต้องปฏิบัติตาม พร้อมๆ กับการพิจารณาความแตกต่างของยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของทรัพย์สินและเงินทอง
ประเภทของสินสอด
อะไรที่มีค่าสามารถนำมาใช้เป็นสินสอดได้ แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม อีกทั้งไม่มีขอบเขตว่าเยอะมากที่สุดเท่าใด หากฝ่ายชายมีความลำบากและไม่มีของมีค่าที่จะใช้เป็นสินสอด อนุญาตให้เขาทดแทนด้วยการมอบผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น การสอนอัลกุรอาน การรับใช้ให้บริการ เป็นต้น และอนุญาตให้ฝ่ายชายทำการปลดปล่อยทาสหญิงของเขาให้เป็นอิสระ ด้วยการกำหนดว่าการปล่อยให้เป็นไทนั้นคือสินสอดที่เขาใช้แต่งงานกับนาง ให้นางเป็นภรรยาของเขา
เวลามอบสินสอด
ส่งเสริมให้รีบจ่ายสินสอดทั้งหมดโดยทันที และอนุญาตให้ล่าช้าได้ หรือมอบก่อนส่วนหนึ่งและมอบอีกส่วนหนึ่งในภายหลัง หากไม่มีการมอบสินสอดตอนทำพิธีแต่งงาน การแต่งงานนั้นถือว่าใช้ได้แต่จำเป็นต้องให้สินสอดตามที่ระบุนั้น และหากทั้งสองฝ่ายตกลงกันอย่างพร้อมใจด้วยสินสอดเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าใช้ได้
เมื่อชายคนหนึ่งทำการแต่งงานลูกสาวของเขาด้วยสินสอดจำนวนหนึ่งเท่าตัวนาง หรือน้อยกว่า หรือมากกว่า ย่อมถือว่าใช้ได้ และฝ่ายหญิงจะครอบครองสินสอดนั้นทันทีด้วยการกล่าวรับมอบในพิธีแต่งงาน และสินสอดนั้นจะเป็นของนางโดยสมบูรณ์ด้วยการอยู่ร่วมกันระหว่างนางกับสามี และการมีเพศสัมพันธ์กัน
หุก่มผู้ที่สามีตายโดยไม่ทันมอบสินสอดแก่ภรรยา
หากสามีตายหลังจากได้ทำพิธีแต่งงานและก่อนที่มีเพศสัมพันธ์กัน โดยที่ยังไม่ทันมอบสินสอดให้กับภรรยา ก็ต้องมอบสินสอดให้กับนาง และตัวนางจำเป็นต้องอยู่ในอิดดะฮฺ และนางก็มีสิทธิที่จะรับมรดกของสามี
· จำเป็นต้องมอบสินสอดให้กับภรรยาที่สามีมีเพศสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานที่ใช้ไม่ได้ เช่นการแต่งงานกับภรรยาคนที่ห้า การแต่งงานกับหญิงที่อยู่ในอิดดะฮฺ หรือผู้หญิงที่เขามีเพศสัมพันธ์ด้วยความคลุมเครือ เป็นต้น
· เมื่อสองสามีภรรยามีความขัดแย้งในเรื่องจำนวนสินสอด หรือสิ่งของที่ใช้เป็นสินสอด ให้ถือเอาคำพูดของสามีพร้อมๆ กับการสาบานของเขา และหากทั้งสองขัดแย้งกันว่าได้มอบและครอบครองแล้วหรือไม่ ให้ถือเอาคำพูดของฝ่ายหญิงเป็นหลัก ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีหลักฐานยืนยัน