×
จากหนังสือ มุคตะศ็อร ฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ ความหมายของเกาะฎออ์ (การพิพากษา) วิทยปัญญาของบทบัญญัติที่ให้มีการพิพากษา หุก่มหรือข้อตัดสินว่าด้วยการพิพากษา เงื่อนไขของผู้พิพากษา

    นิยามของการพิพากษาและหุก่มของมัน

    ﴿معنى القضاء وحكمه﴾

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: يوسف  أبو بكر

    مراجعة: عصران إبراهيم


    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    นิยามของการพิพากษาและหุก่มของมัน

    การพิพากษา  หมายถึง  การอธิบายแจกแจงและบังคับใช้บทบัญญัติศาสนา  และตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทต่างๆ

    วิทยปัญญาของบทบัญญัติที่ให้มีการพิพากษา

    อัลลอฮฺได้กำหนดบทบัญญัติให้มีการพิพากษาเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ  ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม  ปกป้องชีวิต  ทรัพย์สิน  และเกียรติยศ  พระองค์อัลลอฮฺทรงสรรค์สร้างมวลมนุษยชาติ  โดยที่บางส่วนมีความจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์กับอีกบางส่วน  เช่น  การซื้อขายแลกเปลี่ยน  การประกอบอาชีพต่างๆ  การแต่งงาน  การหย่าร้าง  การเช่า  การให้ค่าเลี้ยงดู  และเรื่องอื่นๆ  ที่เป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินวิถีชีวิต  ขณะเดียวกันได้วางทฤษฏีและเงื่อนไขที่มากำหนดกรอบในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ อันเป็นเหตุให้เกิดความยุติธรรมและความสันติสุข

    แต่ทว่าบางครั้งเกิดการฝ่าฝืนขึ้นในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เหล่านั้น  โดยอาจเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ  หรือความไม่รู้  อันก่อให้เกิดอุปสรรคปัญหาและทำให้เกิดการพิพาทและมีความแตกแยกร้าวฉาน  เป็นศัตรูอาฆาตเคียดแค้น  จากสภาพดังกล่าวบางครั้งนำไปสู่การชิงปล้นทรัพย์สิน  การทำร้ายชีวิต  และทำลายข้าวของบ้านเรือน  อัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อปวงบ่าวของพระองค์  ได้กำหนดให้มีการพิพากษาด้วยกับบทบัญญัติของพระองค์เพื่อขจัดข้อพิพาทต่างๆ  แก้ไขปัญหาอุปสรรค  และพิพากษาสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยความถูกต้องและยุติธรรม

    อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

    (ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ  ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ... ) [المائدة/48].

    ความหมาย  “และเราได้ประทานคัมภีร์ลงมายังเจ้าด้วยความสัจจริงในฐานะที่ยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้ามันและเป็นที่ควบคุมคัมภีร์ (เบื้องหน้า) นั้น  ดังนั้น เจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขา ด้วยกับสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาเถิด  และจงอย่าปฏิบัติตามความใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยเขาออกจากความจริงที่ได้มายังเจ้า”  (อัลมาอิดะฮฺ / 48)


    หุก่มหรือข้อตัดสินว่าด้วยการพิพากษา

                การพิพากษาเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ  (เป็นหน้าที่จำเป็นสำหรับบุคคลเพียงกลุ่มหนึ่ง)  นับเป็นความจำเป็นที่ผู้นำจะต้องแต่งตั้งผู้พิพากษาให้แก่ปวงชนหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นในแต่ละแคว้นหรือหัวเมือง ตามความจำเป็นเหมาะสมเพื่อมาตัดสินข้อพิพาทโต้แย้ง  กำหนดบทลงโทษ  และตัดสินด้วยความถูกต้องและยุติธรรม  มอบคืนสิทธิต่างๆ  ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ถูกอธรรม  และพิจารณาถึงสิทธิและผลประโยชน์ด้านต่างๆ ของมวลมุสลิมและรวมถึงด้านอื่นๆ

    เงื่อนไขของผู้พิพากษา

    1.  จำเป็นต่อผู้นำ ที่จะต้องคัดเลือกผู้ที่มาดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาที่มีความรู้ทางด้านวิชาการ และมีความเคร่งครัดเป็นเลิศ กำชับให้เขามีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และให้ดำรงตนบนความยุติธรรม 

    2.  เงื่อนไขของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา คือต้องเป็นมุสลิม บุรุษเพศ บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ มีความยุติธรรม โสตประสาทดี และเป็นเสรีชน