ความประเสริฐของการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
ความประเสริฐของการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
[ ไทย ]
فضائل المعاشرات
[ باللغة التايلاندية ]
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
แปลโดย: อันวา สะอุ
ترجمة: أنور إسماعيل
ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
مراجعة: صافي عثمان
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1429 – 2008
ความประเสริฐของการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
فضائل المعاشرات
ความประเสริฐของการทำดีต่อบิดามารดา
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ) [الإسراء/23-25].
ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดาเมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! (คือการกล่าวแสดงความไม่พอใจ เช่น หึ! เป็นต้น) และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย พระเจ้าของพวกเจ้าทรงรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของพวกเจ้า หากพวกเจ้าเป็นคนดี ดังนั้นพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยแก่บรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัวอย่างแน่นอน” (อัลอิสรออ์: 23-25)
2. จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า
سَأَلْتُ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم أَيُّ العَمَلِ أَحَبُّ إلَى الله ؟ قَالَ: «الصَّلاةُ عَلَى وَقْتِـهَا» قَال: ثُمَّ أَيٌّ ؟ قَالَ: «بِرُّ الوَالِدَينِ» قَالَ: ثُمَّ أَيٌّ ؟ قَالَ: «الجِهَادُ فِي سَبِيلِ الله». متفق عليه
ความว่า ฉันได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า สิ่งใดเป็นการงานที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานมากที่สุด ท่านตอบว่า "การละหมาดตรงเวลา" เขาถามอีกว่า จากนั้นสิ่งมีสิ่งใดอีก? ท่านตอบว่า "การทำความดีต่อบิดามารดา" เขาถามอีกว่า จากนั้นมีสิ่งใดอีก ท่านตอบว่า "การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 527 , มุสลิม :85)
ความประเสริฐของความกตัญญูต่อบิดามารดา
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: جَاءَ رَجُلٌ إلَى النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ: يَا رَسُولَ الله مَنْ أَحَقُّ بِـحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ «ثُمَّ أَبُوكَ». متفق عليه
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และกล่าวว่า โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ ในผู้คนที่ฉันควรจะอยู่ร่วมด้วยดีที่สุดนั้นเป็นใคร? ท่านตอบว่า "มารดาของเจ้าเอง" เขาถามอีกว่า ต่อจากนั้นเป็นใครอีก? ท่านตอบว่า "มารดาของเจ้าเอง" เขาถามอีกว่า ต่อจากนั้นเป็นใครอีก? ท่านตอบว่า "มารดาของเจ้าเอง" เขาถามอีกว่า ต่อจากนั้นเป็นใครอีก? ท่านตอบว่า "บิดาของเจ้าเอง" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5971 , มุสลิม :2548)
ความประเสริฐของการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ
1. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُبْسَطَ لَـهُ فِي رِزْقِهِ، وَيُنْسَأَ لَـهُ فِي أَثَرِهِ، فَلْيَصِلْ رَحِـمَهُ». متفق عليه
ความว่า "ผู้ใดที่ประสงค์ที่ิจะให้ตนเองมีความกว้างขวางในปัจจัยยังชีพของเขา หรือร่นกำหนดความตายของเขาออกไปอีก ก็ให้เขาจงเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 5986, มุสลิม: 2557)
2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ الرَّحِـمَ شَجْنَةٌ مِنَ الرَّحْـمَنِ فَقَالَ اللهُ: مَنْ وَصَلَكِ وَصَلْتُـهُ، وَمَنْ قَطَعَكِ قَطَعْتُـهُ». متفق عليه
ความว่า "แท้จริง คำว่า เราะหิม (เครือญาติ) เป็นส่วนหนึ่งของ อัรเราะหฺมาน (ชื่อหนึ่งของอัลลอฮฺแปลว่า ผู้ทรงเมตตา) อัลลอฮฺทรงมีดำรัส (กับเราะหิม) ว่า ผู้ใดที่เชื่อมสัมพันธ์กับเจ้าก็จงต่อ (ความเมตตาจากอัลลอฮฺ) ให้เขา ผู้ใดที่ตัดขาดกับเจ้าก็จงตัด (ความเมตตา) กับเขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 5988, มุสลิม: 2554)
3. และจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَيْسَ الوَاصِلُ بالمكَافِئِ وَلَكِنِ الوَاصِلُ الَّذِي إذَا قُطِعَتْ رَحِـمُهُ وَصَلَـهَا». أخرجه البخاري
ความว่า "ผู้เชื่อมสัมพันธ์ (ที่แท้จริง) ไม่ใช่ผู้ที่ตอบรับความสัมพันธ์ที่ผู้อื่นยื่นมาให้ แต่ผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ (ที่แท้จริง) คือ ผู้ที่ไปเชื่อมสัมพันธ์เมื่อคนอื่นตัดขาดความสัมพันธ์กับเขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 5991)
ความประเสริฐของการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตร
1. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า
جَاءَتْنِي امْرَأَةٌ مَعَهَا ابْنَتَانِ تَسْأَلُنِي فَلَـمْ تَـجِدْ عِنْدِي غَيْرَ تَـمْرَةٍ وَاحِدَةٍ، فَأَعْطَيْتُـهَا فَقَسَمَتْـهَا بَيْنَ ابْنَتَيْـهَا، ثُمَّ قَامَتْ فَخَرَجَتْ، فَدَخَلَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم فَحَدَّثْتُـهُ فَقَالَ: «مَنْ يَلِي مِنْ هَذِهِ البَنَاتِ شَيئاً، فَأَحْسَنَ إلَيْـهِنَّ كُنَّ لَـهُ سِتْراً مِنَ النَّارِ». متفق عليه
ความว่า มีหญิงคนหนึ่งมาหาฉันพร้อมกับบุตรสาวสองคน เธอได้ขอจากฉันแต่ทว่าฉันไม่มีอะไรจะให้นางนอกจากอินทผลัมหนึ่งเม็ด ดังนั้นฉันจึงได้ให้อินผลัมเม็ดนั้นแก่นาง แล้วนางได้แบ่งให้กับบุตรสาวทั้งสองคนของนาง ต่อมานางได้ลุกออกไป แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้เข้ามาหาฉันพอดี ฉันจึงเล่าเหตุการณ์นั้นให้ท่านฟัง แล้วท่านกล่าวว่า "บุคคลใดถูกทดสอบด้วยสิ่งหนึ่งในการเลี้ยงดูบุตรสาว แต่เขายังคงเลี้ยงดูบุตรสาวด้วยดีตลอด พวกนางจะเป็นสิ่งที่ปกป้องเขา(คือเป็นสาเหตุให้เขาปลอดภัย)จากไฟนรก" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5995 , มุสลิม :2629)
2. จากอุสมะฮฺ บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า
كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يأخذني فَيُـقْعِدُني على فَخذه، ويُـقعد الحسن على فخذه الآخر ثم يضمهما، ثم يقول: «اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُـمَا فَإنِّي أَرْحَـمُهُـمَا». أخرجه البخاري
ความว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยนำฉัน(ขณะยังเด็ก)แล้วให้นั่งบนตักของท่าน และได้นำอัลหะสัน(หลานของท่านนบี) มานั่งบนตักของท่านอีกข้างหนึ่ง แล้วท่านได้โอบกอดเราทั้งสอง จากนั้นท่านได้กล่าวว่า "โอ้อัลลอฮฺได้โปรดประทานความเมตตาแก่ทั้งสองด้วย เพราะฉันได้เมตตาเอ็นดูพวกเขาทั้งสอง" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6003 )
ความประเสริฐของผู้ที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กกำพร้า
จากท่านสะหฺล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«أَنَا وَكَافِلُ اليَتِيمِ فِي الجَنَّةِ هَكَذَا» وَأَشَارَ بِالسَّبَّابَةِ وَالوُسْطَى وَفَرَّجَ بَيْنَـهُـمَا شَيْئاً. متفق عليه
ความว่า "ฉันและผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็กกำพร้าจะอยู่ในสวรรค์เช่นนี้ แล้วท่านได้ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางของท่าน และได้กางออกระหว่างสองนิ้วเล็กน้อย(หมายถึงจะได้อยู่กันอย่างใกล้ชิด)" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5304 , มุสลิม :2983)
ความประเสริฐของการสานต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนของบิดา
จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ مِنْ أَبَرِّ البِرِّ صِلَةَ الرَّجُلِ أَهْلَ وُدِّ أَبِيهِ بَـعْد أَنْ يُوَلِّي». أخرجه مسلم
ความว่า "แท้จริงส่วนหนึ่งจากที่สุดของความดีคือ ความสัมพันธ์ของชายคนหนึ่งกับครอบครัวของเพื่อนรักของบิดาของเขาที่ได้เสียชีวิตไป" (บันทึกโดย มุสลิม : 2552 )
ความประเสิรฐของผู้ที่ช่วยเหลือหญิงหม้ายและคนยากจน
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«السَّاعِي عَلَى الأَرْمَلَةِ وَالمِسْكِينِ كَالمُـجَاهِـدِ فِي سَبِيلِ الله، أَوِ القَائِـمِ اللَّيْلَ الصَّائِمِ النَّهَارَ». متفق عليه
ความว่า "ผู้ที่ช่วยเหลือหญิงหม้ายและคนยากจน (เขาจะได้รับผลานิสงค์) ดังผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ หรือ ผู้ที่ละหมาดในยามค่ำคืน หรือผู้ที่ถือศีลอดในยามกลางวัน" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5353, มุสลิม: 2982)
ความประเสริฐของการเลี้ยงดูบุตรสาว
จากท่านอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ عَالَ جَارِيَتَيْنِ حَتَّى تَبْلُغَا، جَاءَ يَومَ القِيَامَةِ أَنَا وَهُوَ» وَضَمَّ أَصَابِـعَهُ. أخرجه مسلم
ความว่า "ผู้ใดอุปถัมน์เด็กหญิงสองคนจนกระทั้งทั้งสองโตเป็นผู้ใหญ่ ฉันนี้จะไปหาเขา(ผู้อุปถัมน์) ในวันกียามะฮฺ" โดยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวพลางกำมือ (บันทึกโดย มุสลิม : 2631)
ความประเสริฐของการผูกสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน
1. อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
( ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ) [النساء/36]
ความว่า “และจงเคารพสักการะอัลลอฮฺเถิด และอย่าให้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และจงทำดีต่อผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและต่อผู้เป็นญาติที่ใกล้ชิด และเด็กกำพร้าและผู้ขัดสน และเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเพื่อนที่ห่างไกล และเพื่อนเคียงข้าง และผู้เดินทาง และผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง(หมายถึงทาสและบ่าวไพร่) แท้จริงอัลลอฮฺ ไม่ทรงชอบผู้ยะโส ผู้โอ้อวด” (อันนิสาอ์: 36)
2. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا زَالَ جِبْرِيلُ يُوْصِينِي بِالجَارِ حَتَّى ظَنَنْتُ أَنَّهُ سَيُوَرِّثُهُ». متفق عليه
ความว่า "ญิบรีลยังคงยืนยันสั่งเสียฉันอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับเพื่อนบ้าน จนกระทั้งฉันคิดไปว่า ญิบรีลจะให้เพื่อนบ้านสามารถรับมรดกกันได้" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6014 , มุสลิม : 2624)
3. จากอบีชุร็อยหฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَالله لا يُؤْمِنُ، وَالله لا يُؤْمِنُ، وَالله لا يُؤْمِنُ» قِيلَ وَمَنْ يَا رَسُولَ ا٬؟ قَالَ: «الَّذِي لا يَأْمَنُ جَارُهُ بَوَائِقَهُ». أخرجه البخاري
ความว่า "ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺว่าเขาผู้นั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ศรัทธา ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺว่าเขาผู้นั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ศรัทธา ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺว่าเขาผู้นั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ศรัทธา" เศาะหาบะฮฺคนหนึ่งจึงถามท่านว่า โอ้ท่านเราะสูล ท่านหมายถึงใคร ท่านตอบว่า "ผู้ที่เพื่อนบ้านของเขาไม่ปลอดภัยจากนิสัยที่เลวของเขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6016 )
4. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُـحِبَّ لأَخِيهِ، أَوْ قَاَل لِـجَارِهِ مَا يُـحِبُّ لِنَفْسِهِ». متفق عليه
ความว่า "ผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่ถือว่ามีศรัทธา(ที่สมบูรณ์) จนกว่าเขาจะรักพี่น้อง(มุสลิม) ของเขา - หรือท่านกล่าวว่า (จนกว่าเขาจะรัก)เพื่อนบ้านของเขา - ดังที่เขารักตัวของเขาเอง" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 13 , มุสลิม : 45)
ความประเสริฐของความเมตตาต่อคนอื่น
จากญะรีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا يَرْحَـمُ اللهُ مَنْ لا يَرْحَـمُ النَّاسَ». متفق عليه
ความว่า "อัลลอฮฺจะไม่ทรงเมตตาสำหรับผู้ที่ไม่มีความเมตตาต่อคนอื่น" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 7376, มุสลิม: 2319)
ความประเสริฐของการทำดีต่อญาติพี่น้องที่เป็นมุชริก(ตั้งภาคี)หากพวกเขามิได้สร้างความเดือดร้อนต่อชาวมุสลิม
1. อัลลอฮฺ ทรงมีดำรัสว่า
(ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ) [الممتحنة/8]
ความว่า “อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (อัลมุมตะหะนะฮฺ: 8)
2. จากอัสมาอ์ บินตฺ อะบีบักรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า
قَدِمَتْ عَليَّ أُمِّي وَهِيَ مُشْرِكَةٌ فِي عَهْدِ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم فَاسْتَفْتَيْتُ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم قُلْتُ: إنَّ أُمِّي قَدِمَتْ وَهِيَ رَاغِبَةٌ، أَفَأَصِلُ أُمِّي؟ قَالَ: «نَعْم، صِلِي أُمَّكِ». متفق عليه
ความว่า มารดาของฉันซึ่งเป็นผู้ตั้งภาคีได้มาหาฉัน ในช่วงที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยังมีชีวิต ฉันจึงปรึกษาถามท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยฉันกล่าวว่า มารดาของฉันได้มาหาฉัน ซึ่งเธอเป็นที่รักยิ่ง ฉันจะติดต่อสัมพันธ์กับมารดาของฉันได้ไหม ท่านตอบว่า "ได้ จงติดต่อสัมพันธ์กับมารดาของเธอเถิด" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 2620 , มุสลิม : 1003)
ความประเสริฐของความเมตตาเอ็นดูพี่น้องผู้ศรัทธา
จาก อันนุอฺมาน บิน บะชีรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«تَرَى المؤْمِنِينَ فَي تَرَاحُـمِهِـمْ، وَتَوَادِّهِـمْ، وَتَعَاطُفِهِـمْ كَمَثَلِ الجَسَدِ إذَا اشْتَـكَى عُضْواً تَدَاعَى لَـهُ سَائِرُ جَسَدِهِ بِالسَّهَرِ وَالحُـمَّى». متفق عليه
ความว่า "พวกท่านจะเห็นบรรดาผู้ศรัทธา ในความเมตตากันในหมู่พวกเขา ในความรักกันในหมู่พวกเขา ในความเอ็นดูกันในหมู่พวกเขา ดังเรือนร่างที่มีอวัยวะหนึ่งเจ็บปวด ร่างกายทั้งหมดก็มีความรู้สึกอดนอนและป่วยไข้ไปด้วย" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6011, มุสลิม: 2586)
ความประเสริฐของการมีมารยาทและประพฤติดีต่อสตรีและคนใช้
1. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ได้กล่าวว่า
«اسْتَوصُوا بِالنِّسَاءِ، فَإنَّ المرْأَةَ خُلِقَتْ مِنْ ضِلَعٍ، وَإنَّ أَعْوَجَ شَيْءٍ فِي الضِّلَعِ أَعْلاهُ، فَإنْ ذَهَبْتَ تُقِيمُهُ كَسَرْتَـهُ، وَإنْ تَرَكْتَـهُ لَـمْ يَزَلْ أَعْوَجَ، فَاسْتَوصُوا بِالنِّسَاءِ». متفق عليه
ความว่า "จงดูแลบรรดาสตรีด้วยดีเถิด เพราะสตรีนั้นถูกสร้างจากกระดูกซี่โครง และส่วนที่งอที่สุดคือส่วนบน หากพยายามทำให้มันตรงมันก็จะหัก แต่หากปล่อยไว้มันก็จะโค้งงอ ดังนั้นจงดูแลบรรดาสตรีด้วยดีเถิด" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 3331, มุสลิม: 1468)
2. จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า
خَدَمْتُ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم عَشْرَ سِنِينَ فَمَا قَالَ لِي: أُفٍّ، وَلا لِـمَ صَنَعْتَ؟ وَلا أَلا صَنَعْتَ. متفق عليه
ความว่า ฉันได้รับใช้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เป็นเวลา 10 ปี ท่านไม่เคยกล่าวแก่ฉันว่า อุฟ (หมายถึงคำหยาบ) และก็ไม่เคยกล่าวกับฉันเลยว่า ทำไมเจ้าทำอย่างนี้ และทำไมเจ้าไม่ทำอย่างนั้น (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 6038, มุสลิม: 2309)
ความประเสริฐของการปกครองและประพฤติดีต่อผู้อยู่ภายใต้การปกครอง
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«كُلُّكُمْ رَاعٍ، وَكُلُّكُمْ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ: الإمَامُ رَاعٍ وَمَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ، وَالرَّجُلُ رَاعٍ فِي أَهْلِـهِ وَهُوَ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ، وَالمرأةُ رَاعِيَةٌ فِي بَيْتِ زَوْجِهَا وَمَسْؤُولَةٌ عَنْ رَعِيَّتِـهَا، وَالخَادِمُ رَاعٍ فِي مَالِ سَيِّدِهِ وَمَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ». متفق عليه
ความว่า "ทุกๆคนในหมู่พวกท่านนั้นถือเป็นผู้ปกครองและทุกๆคนในหมู่พวกท่านก็ต้องถูกสอบสวนในการปกครองดูแลของเขา ดังนั้นผู้นำก็คือผู้ปกครองผู้คนซึ่งก็จะต้องถูกสอบสวนในการดำเนินการปกครอง ผู้ชาย(สามี) ก็มีหน้าที่ปกครองครอบครัวของตน ซึ่งก็ต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับครอบครัวของตน ผู้หญิง(ภรรยา) ก็มีหน้าที่ปกครองดูแลบ้านของสามีรวมทั้งลูกๆ ซึ่งก็จะถูกสอบสวนเกี่ยวกับพวกเขา(ลูกๆ) ทาสก็เป็นผู้ปกครองดูแลทรัพย์ของนาย พึงทราบไว้ด้วยว่า ทุกๆคนเป็นผู้ปกครองดูแลและทุกคนก็ต้องสอบสวนจากการปกครองดูแลข้างต้น" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 893, มุสลิม: 1829)
2. จากมะอฺกิล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيهِ الله رَعِيَّةً، يَـمُوتُ يَوْمَ يَـمُوتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتِـهِ إلَّا حَرَّمَ الله عَلَيْـهِ الجَنَّةَ». متفق عليه
ความว่า "ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺได้ทรงแต่งตั้งให้ปกครองประชาชน แล้วเขาเสียชีวิต ในวันที่เขาตายไปนั้นเขายังอยู่ในสภาพที่หลอกลวงราษฎรของเขา นอกจากอัลลอฮฺจะทรงห้ามเขาเข้าสวรรค์" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 7150, มุสลิม: 142)
ความประเสริฐของการประพฤติดีต่อพี่น้องมุสลิม ตลอดจนช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และปกปิดสิ่งบกพร่องของเขา
1. จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«المُسْلِـمُ أَخُو المُسْلِـمِ لا يَظْلِـمُهُ وَلا يُسْلِـمُهُ، مَنْ كَانَ فِي حَاجَةِ أَخِيهِ كَانَ الله فِي حَاجَتِـهِ، وَمَنْ فَرَّجَ عَنْ مُسْلِـمٍ كُرْبَةً فَرَّجَ اللهُ عَنْـهُ بِـهَا كُرْبَةً مِنْ كُرَبِ يَومِ القِيَامَةِ، وَمَنْ سَتَرَ مُسْلِـماً سَتَرَهُ الله يَوْمَ القِيَامَةِ». متفق عليه
ความว่า "มุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกัน เขาจะไม่อธรรมซึ่งกันและกัน และจะไม่ทำให้มุสลิมพินาศ บุคคลใดที่ทำธุระให้พี่น้องของเขา อัลลอฮก็จะทรงเป็นธุระให้กับเขา และบุคคลใดที่ช่วยเหลือมุสลิมให้ปลอดจากภัยพิบัติ อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาพ้นจากภัยพิบัติหนึ่งจากบรรดาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในวันกิยามะฮฺ และผู้ใดปกปิดส่งบกพร่องของมุสลิมหนึ่งคน อัลลอฮฺก็จะทรงปกปิดเขาในวันกิยามะฮฺ (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 2442, มุสลิม: 2580)
2. จากอบู สะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า
بينما نحن في سفر مع النبي صلى الله عليه وسلم إذ جاء رجل على راحلة له، قال: فجعل يصرف بصره يميناً وشمالاً، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم: «مَنْ كَانَ مَعَهُ فَضْلُ ظَهْرٍ فَلْيَـعُدْ بِـهِ عَلَى مَنْ لا ظَهْرَ لَـهُ، وَمَنْ كَانَ لَـهُ فَضْلٌ مِنْ زَادٍ فَلْيَـعُدْ بِـهِ عَلَى مَنْ لَا زَادَ لَـهُ» قال: فذكر من أصناف المال ما ذكر، حتى رأينا أنه لا حَقَّ لأحد منا في فضْل. أخرجه مسلم
ความว่า ครั้งหนึ่งขณะที่พวกเรากำลังเดินทางพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น มีชายคนหนึ่งเดินทางมาโดยพาหนะของตนแล้วหันไปทางขวาและทางซ้าย ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า "ใครที่มีที่นั่งบนพาหนะว่าง ก็จงให้คนที่ไม่มีที่นั่งได้นั่งบ้าง และใครที่มีเสบียงเหลือก็แบ่งแก่ผู้ที่ไม่มีเสบียง" อบูสะอีดกล่าวว่า ดังนั้นเขาได้กล่าวถึงชนิดของทรัพย์สิน จนกระทั่งพวกเราเห็นว่า ไม่มีใครในหมู่พวกเรามีสิทธิเหนือสิ่งที่เหลือนั้น (บันทึกโดย มุสลิม : 1728 )