การเป่าแตรสังข์
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การเป่าแตรสังข์
จากหนังสือ “มุคตะศ็อรฺ อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์”
โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย อันวาร์ อิสมาอีล
1428 / 2007
การเป่าแตรสังข์
แตรสังข์มีลักษณะคล้ายเขาสัตว์ อัลลอฮฺจะทรงบัญชาให้มลาอิกะฮฺ อิสรอฟีล เป่าแตรสังข์ครั้งแรกซึ่งจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดินมลายสิ้นหมด เว้นแต่ผู้ที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้ดำรงชีวิตอยู่เท่านั้น จากนั้นพระองค์จะทรงบัญชาให้มีการเป่าแตรสังข์ครั้งที่สอง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะฟื้นคืนชีพมาตามเดิมอีกครั้ง
สภาพของสรรพสิ่งทั้งหลายในขณะที่มีการเป่าแตรสังข์
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«فَتَوَلَّ عَنْهُمْ يَوْمَ يَدْعُو الدَّاعِ إِلَى شَيْءٍ نُكُرٍ، خُشَّعًا أَبْصَارُهُمْ يَخْرُجُونَ مِنَ الأجْدَاثِ كَأَنَّهُمْ جَرَادٌ مُنْتَشِرٌ، مُهْطِعِينَ إِلَى الدَّاعِ يَقُولُ الْكَافِرُونَ هَذَا يَوْمٌ عَسِرٌ»
ความว่า “ดังนั้นเจ้า (มุหัมหมัด) จงผินหลังให้แก่พวกเขา วันซึ่งผู้เรียกร้อง(อิสรอฟีล) จะร้องเรียกไปสู่สิ่งที่น่ากลัวสยองขวัญ สายตาของพวกเขาจะลดต่ำลงขณะที่พวกเขาออกจากสุสานเสมือนหนึ่งพวกเขาเป็นตั๊กแตนที่บินว่อนรีบวิ่งไปยังผู้เรียกร้อง พวกปฏิเสธศรัทธาจะกล่าวว่าวันนี้เป็นวันที่ลำบากยิ่ง” (อัลเกาะมัร : 6-8)
2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«وَنُفِخَ فِي الصُّورِ فَصَعِقَ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَمَنْ فِي الأرْضِ إِلا مَنْ شَاءَ اللَّهُ ثُمَّ نُفِخَ فِيهِ أُخْرَى فَإِذَا هُمْ قِيَامٌ يَنْظُرُونَ»
ความว่า “และแตรสังข์ได้ถูกเป่าขึ้น แล้วบรรดาผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะล้มลงตาย เว้นแต่ผู้ที่อัลลอฮฺประสงค์ จากนั้นสังข์ได้ถูกเป่าขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้วพวกเขาก็ลุกขึ้นยืนมองดู” (อัซซุมัร อายะฮฺที่ 68)
3. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«وَيَوْمَ يُنْفَخُ فِي الصُّورِ فَفَزِعَ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَمَنْ فِي الأرْضِ إِلا مَنْ شَاءَ اللَّهُ وَكُلٌّ أَتَوْهُ دَاخِرِينَ»
ความว่า “และจงรำลึกวันที่สังข์จะถูกเป่าขึ้นดังนั้นผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและผู้ที่อยู่ในแผ่นดินจะตื่นตระหนกเว้นแต่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทั้งหมดได้มาหาพระองค์ในสภาพผู้ถ่อมตน” (อันนัมล์ อายะฮฺที่ 87)
ระยะเวลาห่างระหว่างเป่าแตรสังข์ครั้งแรกกับการเป่าครั้งที่สอง
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا بَيْنَ النَّفْخَتَيْنِ أَرْبَعُونَ» قَالُوا : يَا أَبَا هُرَيْرَةَ أَرْبَعُونَ يَوْمًا ؟ قَالَ : أَبَيْتُ ، قَالُوا : أَرْبَعُونَ شَهْرًا ؟ قَالَ : أَبَيْتُ ، قَالُوا : أَرْبَعُونَ سَنَةً ؟ قَالَ : أَبَيْتُ. (متفق عليه)
ความว่า “ระยะเวลาระหว่างการเป่าแตรสังข์ครั้งแรกกับครั้งที่สอง คือ 40" ผู้คนจึงถามอบูฮูร็อยเราะฮฺว่า โอ้ท่านอบูฮูร็อยเราะฮฺ 40 วันใช่ไหม? อบูฮูร็อยเราะฮฺกล่าวว่า ฉันปฏิเสธไม่ตอบ ผู้คนจึงถามท่านอีกว่า 40 เดือนเดือนใช่ไหม ? อบูฮูร็อยเราะฮฺกล่าวว่า ฉันปฏิเสธอีก ผู้คนจึงถามท่านอีกว่า 40ปี ใช่ไหม? ท่านกล่าวว่า ฉันปฏิเสธอีกครั้ง” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 4935 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 2955 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)
เมื่อใดวันกิยามะฮฺจะบังเกิด
1. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ طَرْفَ صَاحِبِ الصُّورِ مُذْ وُكِّلَ بِهِ مُسْتَعِدٌّ يَنْظُرُ نَحْوَ الْعَرْشِ مَخَافَةَ أَنْ يُؤْمَرَ قَبْلَ أَنْ يَرْتَدَّ إِلَيْهِ طَرْفُهُ ، كَأَنَّ عَيْنَيْهِ كَوْكَبَانِ دُرِّيَّانِ» (أخرجه الحاكم)
ความว่า “แท้จริงริมฝีปากของผู้มีหน้าที่เป่าแตรสังข์อยู่ในสภาพพร้อมเป่า นับตั้งแต่ท่านได้ถูก มอบหมายรับหน้าที่นี้ โดยสายตาของท่านจะทอดมองยังบัลลังก์ของอัลลอฮฺอยู่ตลอด เนื่องจากเกรงว่าจะถูกบัญชาให้ทำการเป่าแตรสังข์ในขณะที่ท่านกระพริบตาชั่วขณะ ดวงตาทั้งสองของท่านมีประกายแววเสมือนดวงดาว” (เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัลหากิม หมายเลขหะดีษ 8676 โปรดดูหนังสือ อัสสิลสิละฮฺ อัศเศาะฮีหะฮฺ หมายเลขหะดีษ 1078)
2. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«خَيْرُ يَوْمٍ طَلَعَتْ عَلَيْهِ الشَّمْسُ يَوْمُ الْجُمُعَةِ ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ ، وَفِيهِ أُدْخِلَ الْجَنَّةَ ، وَفِيهِ أُخْرِجَ مِنْهَا ، وَلاَ تَقُومُ السَّاعَةُ إِلَّا فِي يَوْمِ الْجُمُعَةِ» (أخرجه مسلم)
ความว่า “วันที่ประเสิรฐที่สุดที่ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา คือวันศุกร์ เพราะเป็นวันที่นบีอาดัมถูกสร้างขึ้นมา ในวันนั้นนบีอาดัมถูกนำเข้าสวนสรรค์ อีกทั้งเป็นวันที่ท่านถูกขับออกจากสวรรค์ด้วย และวันกียามะฮฺจะไม่บังเกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์เท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 854)