×
ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเป็นอิบาดะฮฺอันประเสริฐที่ท่านนบีรักษามันไว้ และสนับสนุนเศาะหาบะฮฺให้ทำมัน และกล่าวถึงมันว่า –เพราะมันมีผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่- ดีกว่าดุนยาและสิ่งทั้งหมดในนั้น และเมื่อท่านเห็นผู้ใดละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัจญ์รฺ ท่านจะแสดงความรังเกียจ แต่พอทราบว่าเป็นการละหมาดชดใช้สุนัตฟัจญ์รฺ ท่านก็นิ่งและยอมรับในเรื่องดังกล่าว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    ละหมาดสุนัตก่อนฟัจญ์รฺ

    และการชดใช้หลังฟัจญ์รฺ

    فضل سنة الفجر وجواز قضائها بعد صلاة الفجر

    < تايلاندية >

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    —™

    ผู้แปล: สะอัด วารีย์

    ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: صافي عثمان

    ละหมาดสุนัตก่อนฟัจญ์รฺ

    ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « رَكْعَتَا الْفَجْرِ خَيْرٌ مِنَ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا » [أخرجه مسلم]

    (สุนัต)สองร็อกอะฮฺของฟัจญ์รฺ ดีกว่าดุนยา และสิ่งที่อยู่ในนั้น(ทั้งหมด)บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า

    « لَمْ يَكُنِ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى شَيْءٍ مِنَ النَّوَافِلِ أَشَدَّ مِنْهُ تَعَاهُدًا عَلَى رَكْعَتَيِ الفَجْرِ» [أخرجه البخاري]

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ไม่เคยมีสุนัตใดที่ท่านรักษาอย่างเหนียวแน่นมากเท่าสองร็อกอะฮฺของฟัจญ์รฺบันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ

    ท่านหัฟเศาะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า

    « أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، «كَانَ إِذَا سَكَتَ الْمُؤَذِّنُ مِنَ الْأَذَانِ لِصَلَاةِ الصُّبْحِ، وَبَدَا الصُّبْحُ، رَكَعَ رَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ قَبْلَ أَنْ تُقَامَ الصَّلَاةُ» » [أخرجه مسلم]

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เมื่อผู้อะซานเงียบเสียงจากการอาซานละหมาดศุบหฺ และแสงอรุณได้ปรากฏแล้ว ท่านจะละหมาดสองร็อกอะฮฺเบาๆ ก่อนจะอิกอมะฮฺละหมาดบันทึกโดยมุสลิม

    อนุญาตละหมาดชดใช้หลังจากละหมาดฟัจญ์รฺแล้ว

    ท่านก็อยสฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    رَأَى رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَجُلًا يُصَلِّي بَعْدَ رَكْعَتَيْنِ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «صَلَاةُ الصُّبْحِ رَكْعَتَانِ»، فَقَالَ الرَّجُلُ: إِنِّي لَمْ أَكُنْ صَلَّيْتُ الرَّكْعَتَيْنِ اللَّتَيْنِ قَبْلَهُمَا، فَصَلَّيْتُهُمَا الْآنَ، فَسَكَتَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ » [أخرجه أبو داود]

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เห็นชายคนหนึ่ง(ลุกขึ้น)ละหมาดหลังละหมาดสองร็อกอะฮฺ(ฟัจญ์รฺ)แล้ว แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า “ละหมาดศุบหฺมีสองร็อกอะฮฺ” ชายคนนั้นก็กล่าวว่า “แท้จริงฉันยังไม่ได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺที่อยู่ก่อนหน้ามันเลย ฉันจึงละหมาดมันในตอนนี้” แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็เงียบเฉย บันทึกโดยอบู ดาวูด

    คำอธิบาย

    ละหมาดสุนัตฟัจญ์รฺเป็นอิบาดะฮฺอันประเสริฐที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม รักษามันไว้ และสนับสนุนเศาะหาบะฮฺให้ทำมัน และกล่าวถึงมันว่า –เพราะมันมีผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่- ดีกว่าดุนยาและสิ่งทั้งหมดในนั้น และเมื่อท่านเห็นผู้ใดละหมาดสุนัตหลังละหมาดฟัจญ์รฺ ท่านจะแสดงความรังเกียจ แต่พอทราบว่าเป็นการละหมาดชดใช้สุนัตฟัจญ์รฺ ท่านก็นิ่งและยอมรับในเรื่องดังกล่าว

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ควรละหมาดสองร็อกอะฮฺก่อนละหมาดฟัจญ์รฺ

    · ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ของสุนัตนี้

    · อนุญาตให้ละหมาดใช้หลังจากละหมาดฟัจญ์รฺแล้ว

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين، والحمد لله رب العالمين.