เป้าหมายต่าง ๆ ของสูเราะฮฺ ฮูด
หมวดหมู่
Full Description
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺฮูด
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ฟุอาด ซัยดาน
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน
2014 - 1436
أهداف سورة هود
« باللغة التايلاندية »
فؤاد زيدان
ترجمة: وي محمد صبري وي يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن
2014 - 1436
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺฮูด
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดีแห่งอัลลอฮฺและความสันติสุขจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหลายของท่าน ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
เป้าหมายของสูเราะฮฺฮูด
จงทำหน้าที่ฟื้นฟูปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่บันดาลโทสะหรือสิ้นหวัง
สูเราะฮฺนี้และสูเราะฮฺกลุ่มเดียวกันกับมันอีกสองสูเราะฮฺ นั่นคือ สูเราะฮฺยูนุสก่อนหน้านี้ และสูเราะฮฺยูสุฟ (ที่จะมาหลังจากนี้) คือสามสูเราะฮฺแรกที่เป็นชื่อบรรดานบี ซึ่งทุกชื่อสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อนบีนั้น ก็จะเป็นที่เข้าใจว่าเรื่องราวของนบีคนนั้นคือเนื้อหาแก่นหลักของสูเราะฮฺ และในตอนท้ายของสูเราะฮฺก็จะมีอายะฮฺที่เป็นบทสรุปของเรื่องราวนั้นๆ จนดูประหนึ่งว่ามันเป็นกฎ (กออิดะฮฺ) ของทุกสูเราะฮฺที่ใช้ชื่อบรรดานบีเป็นชื่อสูเราะฮฺ
สูเราะฮฺทั้งสามนี้ถูกประทานลงมาในช่วงเวลาเดียวกัน และเรียงลำดับการลงมาตรงตามที่ปรากฏในเล่มมุศหัฟ ซึ่งสูเราะฮฺทั้งสามนี้นั้นถูกประทานลงมาหลังจากการเสียชีวิตของท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา และหลังจากการเสียชีวิตของ อบูฏอลิบ ผู้เป็นลุงของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเป็นช่วงเวลาที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกชาวฏออิฟทำร้ายและต่อต้านการดะอฺวะฮฺของท่าน เป็นช่วงเวลาที่เผ่าต่างๆ ของอาหรับปฏิเสธการช่วยเหลือและสนับสนุนท่าน ซึ่งช่วงเวลานั้นเองถือเป็นช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดสำหรับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย
ในเมืองมักกะฮฺ ภายหลังจากที่ผู้ศรัทธาถูกชาวมุชริกีนคุกคาม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มีคำสั่งให้พวกเขาบางคนอพยพไปยังเมืองหะบะชะฮฺหรืออบิสสิเนีย (เอธิโอเปียในปัจจุบัน) ส่วนบางคนก็ยังคงอยู่ในเมืองมักกะฮฺซึ่งต้องเผชิญกับภัยคุกคามต่างๆ และการกดขี่จากชาวกุฟฟารฺกุร็อยชฺ ดังนั้น ประหนึ่งว่าอัลลอฮฺได้ประทานโองการเหล่านี้ลงมาเพื่อเป็นการปลอบใจแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และคลี่คลายความวิตกกังวลให้แก่ท่าน เพราะเนื้อหาของสูเราะฮฺเหล่านี้ได้เล่าถึงเรื่องราวที่บรรดาเราะสูลก่อนหน้านี้ที่ได้รับการทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ นานา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เอาเยี่ยงอย่างพวกเขาในการอดทนและยืนหยัดอย่างหนักแน่นมั่นคง และการมาของสูเราะฮฺนี้ ก็ได้บอกแก่เราว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้เผชิญกับวิกฤตการณ์และบททดสอบเหล่านี้ โดยทั่วไปจะมีท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1. สิ้นหวังและหยุดทำงาน
2. บันดาลโทสะ ฉุนเฉียว ขัดเคือง หันไปใช้วิธีรุนแรง แสดงพฤติกรรมที่เลยเถิดเกินคาดคิด หรือทำร้ายคนอื่น
3. ยอมแพ้และสยบต่อฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า ยอมอยู่ภายใต้มัน ละทิ้งหน้าที่และภารกิจต่าง ๆ และจบบั้นปลายตัวเองด้วยวิถีของคนแพ้
แต่สิ่งที่เราได้เห็นก็คือ บรรดาเราะสูลนั้นไม่ได้มีท่าทีใด เหมือนดังทั้งสามประการที่ว่านี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีหลายๆ อายะฮฺที่เรียกร้องท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อไม่ให้มีท่าทีเหล่านั้นเช่นกัน
โดยมีอายะฮฺหนึ่งเป็นแก่นหลักของสูเราะฮฺนี้ ซึ่งอายะฮฺอื่น ๆ ล้วนมีเนื้อหาวนเวียนสอดคล้องกับมันแทบทั้งสิ้น นั่นคืออายะฮฺที่ว่า
﴿ فَٱسۡتَقِمۡ كَمَآ أُمِرۡتَ وَمَن تَابَ مَعَكَ وَلَا تَطۡغَوۡاْۚ إِنَّهُۥ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٞ ١١٢ ﴾ [هود: ١١٢]
ความว่า “เจ้าจงยึดมั่นอยู่ในความเที่ยงธรรมเช่นที่เจ้าถูกบัญชา พร้อม ๆ กับผู้ที่ได้ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ และจงอย่าได้ละเมิด แท้จริงพระองค์ทรงรู้เห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺ ฮูด : 112)
และ
﴿ وَلَا تَرۡكَنُوٓاْ إِلَى ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ فَتَمَسَّكُمُ ٱلنَّارُ وَمَا لَكُم مِّن دُونِ ٱللَّهِ مِنۡ أَوۡلِيَآءَ ثُمَّ لَا تُنصَرُونَ ١١٣ ﴾ [هود: ١١٣]
ความว่า “และพวกเจ้าอย่าได้สยบยอมต่อธรรมดาผู้อธรรม มิเช่นนั้นแล้ว ไฟนรกก็จะโดนกับพวกเจ้า และพวกเจ้าก็จะไม่มีผู้คุ้มครองใดๆ ให้รอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ แล้วพวกเจ้าก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ” (สูเราะฮฺ ฮูด : 113)
อายะฮฺเหล่านี้ถือเป็นข้อแนะนำแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้ศรัทธาถึงวิธีเผชิญกับบททดสอบต่างๆ ที่ประสบกับพวกเขาในทุกที่และทุกเวลา และถือเป็นอายะฮฺที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจของมนุษย์เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติที่หนักหน่วง
ซึ่งการมาของอายะฮฺนี้ได้เริ่มต้นด้วยคำสั่งแรก คือ “ٱسۡتَقِمۡ” กล่าวคือ จงอดทนและจงทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺต่อไป
และตามมาด้วยคำสั่งที่สอง คือ “لَا تَطۡغَوۡاْ” กล่าวคือ จงอย่าก่อความหายนะและจงอย่าละเมิดขอบเขต
และคำสั่งที่สามก็ตามมา คือ “لَا تَرۡكَنُوٓاْ” หมายถึง จงอย่าใช้ชีวิตภายใต้อำนาจของฝ่ายที่อธรรมและยอมสยบเห็นชอบกับมัน
จะเห็นได้ว่าคำสั่งทั้งสามนี้ ล้วนสวนทางกับท่าทีที่น่าจะเกิดขึ้นกับคนที่ประสบกับบททดสอบต่าง ๆ ดังที่ได้เสนอมาก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง
ท่านอัล-หะสัน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า “มหาบริสุทธิ์ยิ่งอัลลอฮฺผู้ทรงให้ศาสนานี้อยู่ระหว่างสอง “لا” นั่นก็คือ “لَا تَطۡغَوۡاْ” หมายถึงอย่าละเมิดขอบเขตด้วยพฤติกรรมฉุนเฉียวหรือบันดาลโทสะ และ “لَا تَرۡكَنُوٓاْ” หมายถึงอย่าสิ้นหวังท้อแท้และยอมสยบต่อความอธรรม
อายะฮฺต่างๆ ของสูเราะฮฺนี้ได้กล่าวถึงตัวอย่างของบรรดานบีที่ประสบกับบททดสอบและวิกฤตการณ์ต่างๆ ในช่วงเวลาที่พวกท่านทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาต่อกลุ่มชนของพวกท่าน อย่างก็ไรก็ตาม พวกท่านทุกคนก็มีความอดทนและปฏิบัติตามคำสั่งทั้งสามนี้
ซึ่งตามจริง สูเราะฮฺนี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับบรรดาผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้เองท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “สูเราะฮฺฮูดและพี่น้องของมันทำให้ฉันผมหงอก”
เนื้อหาของสูเราะฮฺนี้เริ่มต้นด้วยการเทิดเกียรติอัลกุรอาน ซึ่งอายะฮฺทั้งหลายของมันนั้นถูกทำให้มีความประณีตยิ่ง
﴿ الٓرۚ كِتَٰبٌ أُحۡكِمَتۡ ءَايَٰتُهُۥ ثُمَّ فُصِّلَتۡ مِن لَّدُنۡ حَكِيمٍ خَبِيرٍ ١ ﴾ [هود: ١]
ความว่า “อลิฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่โองการทั้งหลายของมันถูกทำให้มีความประณีตยิ่ง แล้วถูกจำแนกเรื่องราวต่างๆ ของมันอย่างชัดแจ้ง จากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ” (สูเราะฮฺ ฮูด : 1)
และเรียกร้องให้ความเป็นเอกะแด่อัลลอฮฺ ตะอาลา
﴿ أَلَّا تَعۡبُدُوٓاْ إِلَّا ٱللَّهَۚ إِنَّنِي لَكُم مِّنۡهُ نَذِيرٞ وَبَشِيرٞ ٢ ﴾ [هود: ٢]
ความว่า “พวกท่านต้องไม่เคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงฉันได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์มายังพวกท่าน เพื่อเป็นผู้ตักเตือนและผู้แจ้งข่าวดี” (สูเราะฮฺ ฮูด : 2)
หลังจากนั้นก็มีการนำเสนอวิกฤตการณ์ที่หนักหน่วงในการใช้ชีวิตของบรรดาผู้ศรัทธา
﴿ أَلَآ إِنَّهُمۡ يَثۡنُونَ صُدُورَهُمۡ لِيَسۡتَخۡفُواْ مِنۡهُۚ أَلَا حِينَ يَسۡتَغۡشُونَ ثِيَابَهُمۡ يَعۡلَمُ مَا يُسِرُّونَ وَمَا يُعۡلِنُونَۚ إِنَّهُۥ عَلِيمُۢ بِذَاتِ ٱلصُّدُورِ ٥ ﴾ [هود: ٥]
ความว่า “พึงรู้เถิด แท้จริงพวกเขาปกปิดความลับในทรวงอกของพวกเขา เพื่อพวกเขาจะซ่อนความเป็นศัตรูจากพระองค์ พึงรู้เถิด ขณะที่พวกเขาเอาเสื้อผ้าของพวกเขาปกคลุมตัวนั้น พระองค์ทรงรู้สิ่งที่พวกเขาปกปิด และสิ่งที่พวกเขาเปิดเผย แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่ในทรวงอก” (สูเราะฮฺฮูด : 5)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้เรียกร้องให้เราะสูลของพระองค์มั่นคงยืนหยัดและทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺเชิญชวนต่อไป ไม่ว่าสภาพการณ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม
﴿ فَلَعَلَّكَ تَارِكُۢ بَعۡضَ مَا يُوحَىٰٓ إِلَيۡكَ وَضَآئِقُۢ بِهِۦ صَدۡرُكَ أَن يَقُولُواْ لَوۡلَآ أُنزِلَ عَلَيۡهِ كَنزٌ أَوۡ جَآءَ مَعَهُۥ مَلَكٌۚ إِنَّمَآ أَنتَ نَذِيرٞۚ وَٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ وَكِيلٌ ١٢ ﴾ [هود: ١٢]
ความว่า “และบางทีเจ้าอาจจะคิดละทิ้งคำสั่งบางส่วนที่ถูกประทานลงมายังเจ้า และหัวอกของเจ้าจะอึดอัดต่อคำพูดที่พวกเขากล่าวเย้ยหยันเจ้าว่า ทำไมเล่าขุมทรัพย์จึงไม่ถูกส่งลงมา หรือทำไมมะลาอิกะฮฺจึงไม่ลงมาพร้อมกับเขา? แท้จริง เจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองรักษาทุกสิ่ง” (สูเราะฮฺ ฮูด : 12)
ต่อมา (เนื้อหาของสูเราะฮฺ) ก็นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานในการทำงานดะอฺวะฮฺเชิญชวนสู่อิสลามในทุกสภาพการณ์ที่มีความหนักหน่วง โดยได้นำเสนอในรูปแบบของการโต้แย้งในเชิงความคิด พร้อมๆ กับการเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มคน นั่นคือกลุ่มคนที่หลงผิดกับกลุ่มคนที่อยู่บนทางนำ แล้วก็มีการจำแนกทั้งสองกลุ่ม เฉกเช่นที่ดวงอาทิตย์ได้จำแนกความมืดมิดกับความสว่าง
﴿ ۞مَثَلُ ٱلۡفَرِيقَيۡنِ كَٱلۡأَعۡمَىٰ وَٱلۡأَصَمِّ وَٱلۡبَصِيرِ وَٱلسَّمِيعِۚ هَلۡ يَسۡتَوِيَانِ مَثَلًاۚ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ ٢٤ ﴾ [هود: ٢٤]
ความว่า “อุปมาของทั้งสองฝ่ายดังเช่นคนตาบอดและหูหนวก กับคนมองเห็นและได้ยิน ทั้งสองนี้จะเท่าเทียมกันหรือ พวกท่านมิได้ไตร่ตรองหรือ?” (สูเราะฮฺฮูด : 24)
ซึ่งเนื้อหาส่วนแรกจากหนึ่งในสี่ (30 อายะฮฺแรก) ของสูเราะฮฺนี้ ก็จะกล่าวถึงในนัยนี้ กล่าวคือ อธิบายว่าการปฏิเสธศรัทธาของมุชริกีนนั้นรุนแรงมาก และผลกระทบของมันต่อบรรดาผู้ศรัทธาก็รุนแรงเช่นเดียวกัน
หลังจากนั้นอายะฮฺก็จะกล่าวถึงตัวอย่างของบรรดาเราะสูลผู้มีเกียรติเจ็ดท่าน เกี่ยวกับความอดทนของพวกท่านที่ต้องเผชิญกับกลุ่มชนของพวกท่านเอง
เรื่องราวของท่านนบีนูหฺ ผู้เป็นบิดาแห่งมนุษยชาติคนที่สอง
เรื่องราวของท่านนบีนูหฺที่ปรากฏในสูเราะฮฺนี้ ถือว่ามีความละเอียดที่ไม่ปรากฏในสูเราะฮฺอื่น ๆ แม้กระทั่งในสูเราะฮฺนูหฺเองก็ตาม ซึ่งเนื้อหาของอายะฮฺได้อธิบายถึงความอดทนของนบีนูหฺต่อกลุ่มชนของท่าน โดยที่ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเขาด้วยอายุที่ยืนยาวที่สุด ยิ่งกว่าบรรดานบีคนอื่น ๆ ซึ่งท่านมีอายุมากถึง 950 ปี ท่านทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺเชิญชวนพวกเขา แต่ด้วยความดื้อรั้น พวกเขากลับเยาะเย้ยถากถางท่าน
และในครั้งที่อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้ท่านสร้างเรือ ท่านก็ได้สร้างอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี เริ่มด้วยการปลูกต้นไม้ พอมันโตท่านก็เอาต้นไม้นั้นมาสร้างเรือ และแน่นอนที่สุด สำหรับอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น พระองค์ทรงสามารถทำลายกลุ่มชนของนบีนูหฺโดยไม่ต้องประวิงเวลาที่ยาวนานเช่นนั้น แต่ด้วยหิกมะฮฺของพระองค์ พระองค์ต้องการที่จะเปิดเผยความตั้งใจและความอดทนของท่านนบีนูหฺตลอดระยะเวลาหลายปี ที่ท่านต้องเผชิญกับภยันตรายต่าง ๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้ความอดทนจากท่าน แม้นว่าภยันตรายจะมีอยู่อย่างยาวนานก็ตาม แต่เราก็ต้องไม่สิ้นหวังและต้องทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺเชิญชวนต่อไป
ไม่เคยปรากฏว่าท่านนบีนูหฺจะตอบโต้กลุ่มชนของท่านด้วยการใช้กำลังหรือด้วยความโกรธแค้น ท่านเพียงแต่กล่าวว่า
﴿ قَالَ إِنَّمَا يَأۡتِيكُم بِهِ ٱللَّهُ إِن شَآءَ وَمَآ أَنتُم بِمُعۡجِزِينَ ٣٣ ﴾ [هود: ٣٣]
ความว่า “เขา (นูหฺ) กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺเท่านั้นที่จะทรงนำมันมายังพวกท่าน หากพระองค์ทรงประสงค์ และพวกท่านจะไม่เป็นผู้รอดไปได้” (สูเราะฮฺ ฮูด : 33)
ซึ่งประหนึ่งว่าท่านนบีนูหฺได้ยืนหยัดดังที่อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้ท่านอดทนในการดะอฺวะฮฺเชิญชวนผู้คนและทำหน้าที่นี้ต่อไป โดยไม่มีการแสดงความฉุนเฉียวและโมโหโทสะต่อแรงต่อต้านที่ท่านได้เผชิญ แต่ท่านเพียงให้ข้อตักเตือนแก่พวกเขา
﴿ قَالَ يَٰقَوۡمِ أَرَءَيۡتُمۡ إِن كُنتُ عَلَىٰ بَيِّنَةٖ مِّن رَّبِّي وَءَاتَىٰنِي رَحۡمَةٗ مِّنۡ عِندِهِۦ فَعُمِّيَتۡ عَلَيۡكُمۡ أَنُلۡزِمُكُمُوهَا وَأَنتُمۡ لَهَا كَٰرِهُونَ ٢٨ وَيَٰقَوۡمِ لَآ أَسَۡٔلُكُمۡ عَلَيۡهِ مَالًاۖ إِنۡ أَجۡرِيَ إِلَّا عَلَى ٱللَّهِۚ وَمَآ أَنَا۠ بِطَارِدِ ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْۚ إِنَّهُم مُّلَٰقُواْ رَبِّهِمۡ وَلَٰكِنِّيٓ أَرَىٰكُمۡ قَوۡمٗا تَجۡهَلُونَ ٢٩ وَيَٰقَوۡمِ مَن يَنصُرُنِي مِنَ ٱللَّهِ إِن طَرَدتُّهُمۡۚ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ ٣٠ وَلَآ أَقُولُ لَكُمۡ عِندِي خَزَآئِنُ ٱللَّهِ وَلَآ أَعۡلَمُ ٱلۡغَيۡبَ وَلَآ أَقُولُ إِنِّي مَلَكٞ وَلَآ أَقُولُ لِلَّذِينَ تَزۡدَرِيٓ أَعۡيُنُكُمۡ لَن يُؤۡتِيَهُمُ ٱللَّهُ خَيۡرًاۖ ٱللَّهُ أَعۡلَمُ بِمَا فِيٓ أَنفُسِهِمۡ إِنِّيٓ إِذٗا لَّمِنَ ٱلظَّٰلِمِينَ ٣١ قَالُواْ يَٰنُوحُ قَدۡ جَٰدَلۡتَنَا فَأَكۡثَرۡتَ جِدَٰلَنَا فَأۡتِنَا بِمَا تَعِدُنَآ إِن كُنتَ مِنَ ٱلصَّٰدِقِينَ ٣٢ قَالَ إِنَّمَا يَأۡتِيكُم بِهِ ٱللَّهُ إِن شَآءَ وَمَآ أَنتُم بِمُعۡجِزِينَ ٣٣ وَلَا يَنفَعُكُمۡ نُصۡحِيٓ إِنۡ أَرَدتُّ أَنۡ أَنصَحَ لَكُمۡ إِن كَانَ ٱللَّهُ يُرِيدُ أَن يُغۡوِيَكُمۡۚ هُوَ رَبُّكُمۡ وَإِلَيۡهِ تُرۡجَعُونَ ٣٤ أَمۡ يَقُولُونَ ٱفۡتَرَىٰهُۖ قُلۡ إِنِ ٱفۡتَرَيۡتُهُۥ فَعَلَيَّ إِجۡرَامِي وَأَنَا۠ بَرِيٓءٞ مِّمَّا تُجۡرِمُونَ ٣٥ ﴾ [هود: ٢٨، ٣٥]
ความว่า “เขา (นูหฺ) กล่าวว่า โอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย ! จงบอกมาซิว่า หากฉันมีหลักฐานอันแจ้งชัดจากพระเจ้าของฉัน และพระองค์ทรงประทานแก่ฉันซึ่งความเมตตาจากพระองค์ ซึ่งมันถูกทำให้มืดบอดแก่พวกท่าน เราจะบังคับพวกท่านให้รับมันทั้ง ๆ ที่พวกท่านเกลียดชังมันกระนั้นหรือ? และโอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย ! ฉันมิได้ร้องขอทรัพย์สินใดสำหรับการเผยแพร่นี้ แต่รางวัลของฉันอยู่ที่อัลลอฮฺ และฉันจะไม่เป็นผู้ขับไล่บรรดาผู้ศรัทธาดอก แท้จริงพวกเขาจะเป็นผู้พบพระเจ้าของพวกเขา แต่ฉันเห็นว่าพวกท่านเป็นหมู่ชนผู้ขลาดเขลา และโอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย ! ผู้ใดจะช่วยฉัน ณ ที่อัลลอฮฺหากฉันขับไล่พวกเขา พวกท่านไม่คิดบ้างดอกหรือ? ฉันมิได้กล่าวแก่พวกท่านว่า ฉันมีขุมคลังของอัลลอฮฺ และฉันไม่รู้ถึงสิ่งพ้นญาณวิสัย และฉันมิได้กล่าวว่าแท้จริงฉันเป็นทูตมะลาอิกะฮฺ และฉันจะไม่กล่าวแก่บรรดาผู้ที่สายตาของพวกท่านเหยียดหยามพวกเขาว่าอัลลอฮฺจะไม่ทรงประทานความดีแก่พวกเขาเด็ดขาด เพราะอัลลอฮฺทรงรอบรู้ดียิ่งถึงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของพวกเขา แท้จริง ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันจะอยู่ในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย พวกเขากล่าวว่า โอ้นูหฺเอ๋ย ! แน่นอนท่านได้โต้เถียงของเรามากเรื่องขึ้น ดังนั้น จงนำมาให้เราเถิดสิ่งที่ท่านสัญญากับเราไว้ถ้าท่านอยู่ในหมู่ผู้สัตย์จริง เขา (นูหฺ) กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺเท่านั้นที่จะทรงนำมันมายังพวกท่าน หากพระองค์ทรงประสงค์ และพวกท่านจะไม่เป็นผู้รอดไปได้ และคำสั่งสอนของฉันจะไม่เกิดประโยชน์แก่พวกท่าน ตามที่ฉันปรารถนาจะสั่งสอนพวกท่านถ้าอัลลอฮฺทรงประสงค์จะให้พวกท่านหลงผิด พระองค์คือพระเจ้าของพวกท่าน และพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระองค์ หรือพวกเขา (กุฟฟารกุเรช) กล่าวว่า เขา (มุหัมมัด) ได้อุปโลกน์มันขึ้นมา (มุหัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า ถ้าฉันได้อุปโลกน์มันขึ้นมา ความผิดของฉันย่อมอยู่ที่ฉัน และฉันขอปลีกตัวไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกท่านกระทำผิด” (สูเราะฮฺ ฮูด : 28-35)
และท่านนบีนูหฺก็ไม่ได้เห็นชอบหรือสยบต่อความอธรรม แม้กระทั่งกับลูกชายของท่านเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่จมน้ำ (เนื่องด้วยการปฏิเสธศรัทธา) โดยที่เรื่องราวของลูกท่านนบีนูหฺนั้นไม่ได้ปรากฏในสูเราะฮฺอื่นใดเลย นอกจากในสูเราะฮฺนี้เท่านั้น เพราะมันสอดคล้องกับเป้าหมายของสูเราะฮฺ และเป็นตัวอย่างที่ยืนยันถึงการไม่เห็นชอบต่อความอธรรม แม้ว่าผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาหรือผู้อธรรมนั้นจะเป็นคนในครอบครัวของท่านเองก็ตาม
﴿ وَنَادَىٰ نُوحٞ رَّبَّهُۥ فَقَالَ رَبِّ إِنَّ ٱبۡنِي مِنۡ أَهۡلِي وَإِنَّ وَعۡدَكَ ٱلۡحَقُّ وَأَنتَ أَحۡكَمُ ٱلۡحَٰكِمِينَ ٤٥ ﴾ [هود: ٤٥]
ความว่า “และนูหฺได้ร้องเรียนต่อพระเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงลูกชายของข้าพระองค์เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของข้าพระองค์ด้วย แท้จริง สัญญาของพระองค์นั้นเป็นความจริง และพระองค์ท่านนั้นทรงตัดสินเที่ยงธรรมยิ่ง ในหมู่ผู้ตัดสินทั้งหลาย” (สูเราะฮฺฮูด : 45)
และอายะฮฺ
﴿ قَالَ رَبِّ إِنِّيٓ أَعُوذُ بِكَ أَنۡ أَسَۡٔلَكَ مَا لَيۡسَ لِي بِهِۦ عِلۡمٞۖ وَإِلَّا تَغۡفِرۡ لِي وَتَرۡحَمۡنِيٓ أَكُن مِّنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٤٧ ﴾ [هود: ٤٧]
ความว่า “เขากล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากการร้องเรียนต่อพระองค์ในสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น และหากพระองค์ไม่ทรงอภัยและไม่ทรงเมตตาแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ก็ย่อมจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (สูเราะฮฺฮูด : 47)
ซึ่งบทสรุปก็มาในช่วงท้ายของเรื่องราวนบีนูหฺว่า
﴿ فَٱصۡبِرۡۖ إِنَّ ٱلۡعَٰقِبَةَ لِلۡمُتَّقِينَ ٤٩ ﴾ [هود: ٤٩]
ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงอดทนเถิด แท้จริง บั้นปลายที่ดีนั้นจะเป็นผลสำหรับบรรดาผู้ยำเกรง” (สูเราะฮฺฮูด : 49)
หลังจากนั้นเรื่องราวของนบีฮูดและกลุ่มชนของท่านก็ตามมา ซึ่งการตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ด้วยชื่อของท่าน เพื่อให้เรื่องราวความทุ่มเทในการทำงานดะอฺวะฮฺเชิญชวนสู่อัลลอฮฺของท่านนั้นได้เป็นที่ประจักษ์และคงอยู่ตลอดไป
กล่าวคือ กลุ่มชนของท่านนบีฮูดนั้นคือพวกที่มีความจองหอง หยิ่งยโส และหลุ่มหลงในความแข็งแกร่งของพวกเขา กระทั่งพวกเขากล่าวว่า จะมีผู้ใดที่มีความแข็งแกร่งยิ่งกว่าพวกเราอีกบ้างไหม ? โดยท่านนบีฮูดก็ได้เผชิญหน้ากับพวกเขาด้วยตัวคนเดียว ท่ามกลางกลุ่มชนอ๊าดที่มีความจองหองและมีความแข็งกร้าวยิ่งนัก ซึ่งท่านนบีฮูดได้ประณามพฤติกรรมของพวกเขาและตำหนิรูปเคารพของพวกเขา และปลุกเร้าให้พวกเขาโต้แย้งท่าน และนี่เองถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่คนเพียงคนเดียวได้เผชิญหน้าด้วยคำพูดเยี่ยงนี้ต่อกลุ่มชนที่มีความกระหายที่จะหลั่งเลือดของท่าน แต่เนื่องจากความเชื่อมั่นของท่านที่มีต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ทำให้ท่านนบีฮูดได้กล่าวแก่พวกเขาด้วยคำพูดที่ครอบคลุมเพียงอายะฮฺเดียว ซึ่งไม่เคยมีนบีหรือเราะสูลท่านใดเคยกล่าวแก่ชนของพวกท่านมาก่อนเลย มันเป็นคำพูดที่หมายรวมในทุกมิติของนัยทั้งสามประการที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้
﴿ إِن نَّقُولُ إِلَّا ٱعۡتَرَىٰكَ بَعۡضُ ءَالِهَتِنَا بِسُوٓءٖۗ قَالَ إِنِّيٓ أُشۡهِدُ ٱللَّهَ وَٱشۡهَدُوٓاْ أَنِّي بَرِيٓءٞ مِّمَّا تُشۡرِكُونَ ٥٤ مِن دُونِهِۦۖ فَكِيدُونِي جَمِيعٗا ثُمَّ لَا تُنظِرُونِ ٥٥ إِنِّي تَوَكَّلۡتُ عَلَى ٱللَّهِ رَبِّي وَرَبِّكُمۚ مَّا مِن دَآبَّةٍ إِلَّا هُوَ ءَاخِذُۢ بِنَاصِيَتِهَآۚ إِنَّ رَبِّي عَلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ ٥٦ فَإِن تَوَلَّوۡاْ فَقَدۡ أَبۡلَغۡتُكُم مَّآ أُرۡسِلۡتُ بِهِۦٓ إِلَيۡكُمۡۚ وَيَسۡتَخۡلِفُ رَبِّي قَوۡمًا غَيۡرَكُمۡ وَلَا تَضُرُّونَهُۥ شَيًۡٔاۚ إِنَّ رَبِّي عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٍ حَفِيظٞ ٥٧ ﴾ [هود: ٥٤، ٥٧]
ความว่า “เรา(กลุ่มชนนบีฮูด)จะไม่กล่าวอย่างใด เว้นแต่กล่าวว่า พระเจ้าบางองค์ของเราได้นำความชั่วเข้าไปสิงในตัวท่าน เขา (ฮูด) กล่าวว่า แท้จริงฉันให้อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน แล้วพวกท่านก็จงเป็นพยานด้วย ว่าแท้จริงฉันขอปลีกตัวไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งที่พวกท่านตั้งภาคีอื่นจากพระองค์อัลลอฮฺ ดังนั้น พวกท่านทั้งหมดจงวางแผนทำร้ายฉันเถิด แล้วพวกท่านอย่าได้ให้ฉันต้องรอคอยเลย แท้จริงฉันมอบหมายต่ออัลลอฮฺ พระเจ้าของฉันและพระเจ้าของพวกท่าน ไม่มีสรรพสัตว์ ๆ เว้นแต่พระองค์ทรงควบคุมขมับมันไว้ แท้จริงพระเจ้าของฉันอยู่บนทางที่เที่ยงตรง ถ้าหากพวกท่านจะผินหลังให้แล้วไซร้ แน่นอนฉันก็ได้แจ้งข่าวแก่พวกท่านแล้ว ตามหน้าที่ที่ฉันได้ถูกส่งมา และพระเจ้าของฉันจะทรงแต่งตั้งกลุ่มชนอื่นจากพวกท่านให้มาเป็นตัวแทนสืบทอด และพวกท่านจะไม่สามารถทำร้ายพระองค์ด้วยอันตรายใด ๆ เลย แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงพิทักษ์ทุกสิ่ง” (สูเราะฮฺ ฮูด : 54-57)
ซึ่งประหนึ่งว่า กลุ่มอายะฮฺนี้ได้รวบรวม “คำสั่งให้ยืนหยัด ให้อดทน ให้ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺต่อไป อย่าละเมิดด้วยพฤติกรรมฉุนเฉียว อย่าเห็นชอบหรือยอมรับต่อความอธรรม” ไว้ในที่เดียว โดยไม่เคยมีผู้ใดเคยกล่าวด้วยความเด็ดเดี่ยว และไม่เห็นชอบต่อความอธรรม และยังคงทำหน้าที่เผยแผ่สัจธรรมต่อไป เว้นแต่ท่านนบีฮูด อะลัยฮิสสลาม ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺ ตะอาลา จึงตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ด้วยชื่อของท่าน
ต่อมาเนื้อหาของสูเราะฮฺก็กล่าวถึงเรื่องราวของท่านนบีศอลิหฺ แล้วตามด้วยเรื่องราวของนบีลูฏ นบีชุอัยบฺ หลังจากนั้นก็เรื่องราวของท่านนบีมูซาและนบีฮารูน เศาะละวาตุลลอฮฺ วะสะลามุฮูอะลัยฮิมญะมีอา แล้วตามด้วยบทเรียนที่ได้รับจากเรื่องราวต่าง ๆ ถัดจากนั้น ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีอยู่ตามเนื้อหาหลัก ๆ ของสูเราะฮฺนี้ และเป็นการสนองต่อเป้าหมายของมัน ทั้งนี้มีการนำเสนอความอดทนของนบีแต่ละคน ในการเผชิญหน้ากับภยันตรายของกลุ่มชนของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านไม่ได้เห็นชอบหรือยอมรับกับความอธรรมนั้น และไม่ตอบโต้หรือละเมิดอย่างอธรรมต่อพวกเขาเลย
หลังจากนั้น สูเราะฮฺที่มีเกียรตินี้ก็ปิดท้ายด้วยการอธิบายถึงหิกมะฮฺของการนำเสนอเรื่องราวของบรรดาเราะสูล ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการทำให้จิตใจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความหนักแน่นในการเผชิญหน้ากับการต่อต้านและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา
﴿ وَكُلّٗا نَّقُصُّ عَلَيۡكَ مِنۡ أَنۢبَآءِ ٱلرُّسُلِ مَا نُثَبِّتُ بِهِۦ فُؤَادَكَۚ وَجَآءَكَ فِي هَٰذِهِ ٱلۡحَقُّ وَمَوۡعِظَةٞ وَذِكۡرَىٰ لِلۡمُؤۡمِنِينَ ١٢٠ ﴾ [هود: ١٢٠]
ความว่า “และทั้งหมดนี้เราได้บอกเล่าแก่เจ้า จากเรื่องราวของบรรดาเราะสูล เพื่อทำให้จิตใจของเจ้าหนักแน่น และ(ในเรื่องราวเหล่านี้) ได้มีความจริง ข้อตักเตือน และข้อรำลึกมาให้สำหรับผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ ฮูด : 120)
หลังจากนั้นอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้นำเสนอให้แก่เราถึงวิธีการที่จะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ที่ได้สั่งเสียให้แก่เรา ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้แก่เราว่า การทำอิบาดะฮฺนั้นจะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้สามารถยืนหยัดอย่างมั่นคงได้
﴿ وَأَقِمِ ٱلصَّلَوٰةَ طَرَفَيِ ٱلنَّهَارِ وَزُلَفٗا مِّنَ ٱلَّيۡلِۚ إِنَّ ٱلۡحَسَنَٰتِ يُذۡهِبۡنَ ٱلسَّئَِّاتِۚ ذَٰلِكَ ذِكۡرَىٰ لِلذَّٰكِرِينَ ١١٤ ﴾ [هود: ١١٤]
ความว่า “และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ในสองช่วงเวลาทั้งเช้าและเย็นของกลางวัน และบางช่วงเวลาจากกลางคืน แท้จริง ความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั้นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก” (สูเราะฮฺฮูด : 114)
และความอดทน ก็เช่นเดียวกัน ดังอายะฮฺนี้
﴿ وَٱصۡبِرۡ فَإِنَّ ٱللَّهَ لَا يُضِيعُ أَجۡرَ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١١٥ ﴾ [هود: ١١٥]
ความว่า “และเจ้าจงอดทน เพระแท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงทำให้รางวัลของผู้ทำความดีเสียหาย” (สูเราะฮฺ ฮูด : 115)
ประหนึ่งอายะฮฺทั้งหลายนับตั้งแต่อายะฮฺที่ 113 จนถึงอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺนี้ถือเป็นตัวช่วยในการบรรลุสู่เป้าหมาย
และสูเราะฮฺนี้ก็ได้ปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงเตาฮีดหรือการยอมรับในเอกภาพของอัลลอฮฺ เหมือนตอนเริ่มต้นของสูเราะฮฺ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเริ่มต้นนั้นมีความสอดคล้องกับการปิดท้าย
﴿ وَلِلَّهِ غَيۡبُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَإِلَيۡهِ يُرۡجَعُ ٱلۡأَمۡرُ كُلُّهُۥ فَٱعۡبُدۡهُ وَتَوَكَّلۡ عَلَيۡهِۚ وَمَا رَبُّكَ بِغَٰفِلٍ عَمَّا تَعۡمَلُونَ ١٢٣ ﴾ [هود: ١٢٣]
ความว่า “และเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ที่จะสงวนเรื่องที่พ้นญาณวิสัยแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และยังพระองค์เท่านั้นที่การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับไป ดังนั้น เจ้าจงเคารพอิบาดะฮฺพระองค์ และจงมอบหมายต่อพระองค์ และพระเจ้าของเจ้าจะไม่เป็นผู้ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺ ฮูด : 123)
และส่วนหนึ่งจากความสละสลวยในทางภาษาของสูเราะฮฺฮูด ก็คือ คำสั่งใช้ให้กระทำความดีนั้นจะกล่าวถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยตรงเพียงท่านเดียวในรูปเอกพจน์ ถึงแม้ว่าคำสั่งดังกล่าวนั้นจะหมายรวมถึงคนทั่วไปตามนัยของมัน
(فاستقم كما أمرت، وأقم الصلاة، واصبر)
แต่ในส่วนของคำสั่งห้ามนั้นจะกล่าวถึงประชาชาติโดยรวมในรูปพหูพจน์
(ولا تطغوا، ولا تركنوا إلى الذين ظلموا)
والله أعلم بالصواب
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم،
والحمد لله رب العالمين.