×
การสาบานต่ออัลลอฮฺนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ อัลลอฮฺทรงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมันเป็นเครื่องมือทางกฎหมายประการหนึ่งที่ใช้รับรองหรือปฏิเสธสิทธิ์ต่างๆ ได้ การสาบานเท็จจึงอาจทำให้คนเราต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการหมิ่นเดชานุภาพของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งอีกด้วย ด้วยเหตุนี้บทลงโทษสำหรับผู้ที่โกหกในเรื่องนี้จึงเป็นบทลงโทษที่สาหัสรุนแรง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    ห้ามสาบานเท็จอย่างเด็ดขาด

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1436

    التغليظ في اليمين الكاذبة

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1436

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ห้ามสาบานเท็จอย่างเด็ดขาด

    ท่านอับดุลลอฮฺ บินมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَنْ حَلَفَ عَلَى مَالِ امْرِئٍ مُسْلِمٍ بِغَيْرِ حَقِّهِ، لَقِيَ اللهَ وَهُوَ عَلَيْهِ غَضْبَانُ»، قَالَ ثُمَّ قَرَأَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِصْدَاقَهُ مِنْ كِتَابِ اللهِ: ﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَشۡتَرُونَ بِعَهۡدِ ٱللَّهِ وَأَيۡمَٰنِهِمۡ ثَمَنٗا قَلِيلًا أُوْلَٰٓئِكَ لَا خَلَٰقَ لَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ وَلَا يُكَلِّمُهُمُ ٱللَّهُ وَلَا يَنظُرُ إِلَيۡهِمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَلَا يُزَكِّيهِمۡ وَلَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٞ ٧٧ ﴾ [ال عمران: ٧٧] » [متفق عليه]

    “ผู้ใดสาบานเพื่อเอาทรัพย์ของคนมุสลิมด้วยความมิชอบ เขาจะพบกับอัลลอฮฺในสภาพที่พระองค์ทรงพิโรธเขา เขากล่าวว่า แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้อ่านข้อพิสูจน์ความจริงของท่านจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ว่า

    “แท้จริงบรรดาผุ้ที่นำสัญญาของอัลลอฮ์และการสาบานของพวกเขาไปขายด้วยราคาอันเล็กน้อยนั้น ชนเหล่านี้แหละไม่มีส่วนได้ใด ๆ แก่พวกเขาในปรโลก และอัลลอฮ์จะไม่ทรงพูดแก่พวกเขา และจะไม่ทรงมองดูพวกเขาในวันกิยามะฮ์ และทั้งจะไม่ทำให้พวกเขาสะอาดด้วย และพวกเขาจะได้รับโทษอันเจ็บแสบ” { อาลิอิมรอน:77 }” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَنِ اقْتَطَعَ حَقَّ امْرِئٍ مُسْلِمٍ بِيَمِينِهِ، فَقَدْ أَوْجَبَ اللهُ لَهُ النَّارَ، وَحَرَّمَ عَلَيْهِ الْجَنَّةَ» فَقَالَ لَهُ رَجُلٌ: وَإِنْ كَانَ شَيْئًا يَسِيرًا يَا رَسُولَ اللهِ؟ قَالَ: «وَإِنْ قَضِيبًا مِنْ أَرَاكٍ» [أخرجه مسلم]

    “ผู้ใดตัดกรรมสิทธิ์ของคนมุสลิมด้วยสาบานของเขา แน่แท้อัลลอฮฺจะให้เขาต้องเข้านรก และห้ามสวรรค์แก่เขา” แล้วมีชายคนหนึ่งกล่าวขึ้นมาว่า “และถึงแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยกระนั้นหรือ? ท่านเราะสูลุลลอฮฺ” ท่านกล่าวตอบว่า “และถึงแม้จะเป็นเพียงกิ่งไม้หนามก็ตาม” บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « الكَبَائِرُ: الإِشْرَاكُ بِاللَّهِ، وَعُقُوقُ الوَالِدَيْنِ، وَقَتْلُ النَّفْسِ، وَاليَمِينُ الغَمُوسُ » [أخرجه البخاري]

    “บาปใหญ่ คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การเนรคุณบิดามารดา การคร่าชีวิต และการสาบานบาป” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ

    สาบานบาป หรือสาบานฆุมูส คือ สาบานที่ทำให้คนสาบานจมอยู่ในบาป จากนั้นก็จมอยู่ในนรก

    และในบางรายงานระบุว่า

    « أنّ أعرابيًا جَاء إلى النَّبي صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : يا رَسولَ اللهِ مَا الكَبَائِرُ؟ قال: الإِشْرَاكُ بِاللهِ، قال ثُمَّ ماذا؟ قَالَ: اليَمِينُ الغُمُوسُ، قلتُ ومَا اليَمِينُ الغُمُوسُ؟ قال: الَّذِي يَقْتَطِعُ مَالَ امْرئٍ مُسْلِمٍ »

    “ได้มีชายชนบทคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ อะไรคือบาปใหญ่?” ท่านกล่าวตอบว่า “คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ” เขาถามต่อว่า “แล้วอันใดอีกเล่า?” ท่านกล่าวตอบว่า “คือการสาบานบาป” ฉันก็ถามว่า “และสาบานบาปคืออันใดหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “คือ (สาบาน)ที่ไปตัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของคนมุสลิม”

    คำอธิบาย

    การสาบานต่ออัลลอฮฺนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ อัลลอฮฺทรงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมันเป็นเครื่องมือทางกฎหมายประการหนึ่งที่ใช้รับรองหรือปฏิเสธสิทธิ์ต่างๆได้ การสาบานเท็จจึงอาจทำให้คนเราต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการหมิ่นเดชานุภาพของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งอีกด้วย ด้วยเหตุนี้บทลงโทษสำหรับผู้ที่โกหกในเรื่องนี้จึงเป็นบทลงโทษที่สาหัสรุนแรง

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · การห้ามอย่างเด็ดขาดในการไปตัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมุสลิมด้วยการสาบานเท็จ

    · มีบทลงโทษอย่างรุนแรงจากการกระทำดังกล่าวนี้ และการสาบานของเขาจะทำให้เขาต้องจมอยู่ในนรก

    · จำเป็นต้องระวังตัวในเรื่องนี้