การอบรมลูกหลาน (4)
หมวดหมู่
Full Description
การอบรมลูกหลาน (4)
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
تربية الأولاد (4)
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การอบรมลูกหลาน (4)
ต้องให้ความเท่าเทียมกับลูกๆ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ ۞إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُ بِٱلۡعَدۡلِ وَٱلۡإِحۡسَٰنِ ﴾ [النحل: ٩٠]
“แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้ให้มีความยุติธรรมและคุณธรรม” (อัน-นะห์ลฺ: 90)
ท่านอัน-นุอฺมาน บินบะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า
تَصَدَّقَ عَلَيَّ أَبِي بِبَعْضِ مَالِهِ، فَقَالَتْ أُمِّي عَمْرَةُ بِنْتُ رَوَاحَةَ: لَا أَرْضَى حَتَّى تُشْهِدَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَانْطَلَقَ أَبِي إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِيُشْهِدَهُ عَلَى صَدَقَتِي، فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «أَفَعَلْتَ هَذَا بِوَلَدِكَ كُلِّهِمْ؟» قَالَ: لَا، قَالَ: «اتَّقُوا اللهَ، وَاعْدِلُوا فِي أَوْلَادِكُمْ» ، فَرَجَعَ أَبِي، فَرَدَّ تِلْكَ الصَّدَقَةَ. [متفق عليه]
พ่อของฉันได้บริจาคเงินบางส่วนของเขาให้ฉัน แล้วแม่ของฉันก็กล่าวว่า “ฉันไม่พอใจจนกว่าจะให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เป็นสักขีพยานให้เสียก่อน” พ่อของฉันจึงได้ไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เพื่อให้ท่านมาเป็นสักขีพยานในการบริจาคให้ฉัน แล้วท่านเราะสูลอลลฮฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวถามเขาว่า “ท่านได้ทำอย่างนี้กับลูก ๆ ของท่านทุกคนหรือเปล่า?” เขากล่าวตอบว่า “ไม่” ท่านกล่าวว่า “พวกท่านจงเกรงกลัวอัลลอฮฺเถิด และจงให้ความเป็นธรรมแก่ลูก ๆ ของพวกท่าน แล้วพ่อของฉันก็กลับมา และเอาเงินบริจาคนั้นคืนกลับไป บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม
และในบางรายงานระบุว่า
«فَإِنِّي لَا أَشْهَدُ عَلَى جَوْرٍ»
“เพราะแท้จริงฉันจะไม่เป็นสักขีพยานให้กับความไม่เป็นธรรม”
และในบางรายงานระบุว่า
قَالَ: «أَيَسُرُّكَ أَنْ يَكُونُوا إِلَيْكَ فِي الْبِرِّ سَوَاءً؟» قَالَ: بَلَى، قَالَ: «فَلَا إِذًا»
ท่านกล่าวว่า “ดีไหม การที่พวกเขาจะทำดีต่อท่านเหมือนๆกันหมด” เขากล่าวว่า “ดีสิ” ท่านกล่าวว่า “เช่นนั้น ก็อย่าทำ(เช่นที่ท่านแบ่งอย่างไม่ยุติธรรมตอนนี้)เลย”
คำอธิบาย
ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ถูกเรียกร้องให้มีในทุกเรื่อง และเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องใช้มันในการปฏิบัติต่อลูกๆ และในการอบรมสั่งสอนพวกเขา จะได้ไม่บ่มเพาะความไม่พอใจ หรือความเกลียดชังกันในระหว่างพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงไม่ยอมเป็นสักขีพยานในการบริจาคของคนที่ไม่ให้ความเป็นธรรมในระหว่างลูกๆ และเรียกมันว่า ความไม่เป็นธรรม และท่านใช้ให้มีความยุติธรรมต่อลูกๆ และบรรดาสะลัฟเองพวกเขาก็ชอบให้ความเป็นธรรมในระหว่างลูกๆ ของพวกเขา แม้กระทั่งในเรื่องการหอมลูกก็ตาม(อ้างจากอิบนุลก็อยยิมในตุห์ฟะตุลเมาลูด)
ประโยชน์ที่ได้รับ
- จำเป็นต้องมีความยุติธรรมในทุกๆ เรื่อง
- ห้ามเลื่อมล้ำในระหว่างลูกๆ ในการให้