วาญิบต้องทำหัจญ์
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
วาญิบต้องทำหัจญ์
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
وجوب الحج
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
วาญิบต้องทำหัจญ์
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَلِلَّهِ عَلَى ٱلنَّاسِ حِجُّ ٱلۡبَيۡتِ مَنِ ٱسۡتَطَاعَ إِلَيۡهِ سَبِيلٗاۚ وَمَن كَفَرَ فَإِنَّ ٱللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٩٧ ﴾ [آل عمران: ٩٧]
“เป็นสิทธิสำหรับอัลลอฮฺที่มีอยู่เหนือมนุษย์ ที่พวกเขาต้องไปทำหัจญ์ ณ บ้านหลังนั้น สำหรับผู้ที่สามารถหาทางไปถึงมันได้ และผู้ใดปฏิเสธ ดังนั้น แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้มั่งมีไม่จำเป็นต้องพึ่งสรรพสิ่งใดๆ (พวกเขาเสียอีกต่างหากที่ต้องพึ่งพระองค์)” (สูเราะฮฺ อาลิ อิมรอน:97)
ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
» بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، عَلَى أَنْ يُعْبَدَ اللهُ، وَيُكْفَرَ بِمَا دُونَهُ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَحَجِّ الْبَيْتِ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ» [متفق عليه[
“อิสลามถูกสถาปนาบนหลักห้าประการ คือ การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ และดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาต และการทำหัจญ์ที่บ้าน(ของอัลลอฮฺ)หลังนั้น และการถือศีลอดเราะมะฎอน” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
» خَطَبَنَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: «أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ فَرَضَ اللهُ عَلَيْكُمُ الْحَجَّ، فَحُجُّوا»، فَقَالَ رَجُلٌ: أَكُلَّ عَامٍ يَا رَسُولَ اللهِ؟ فَسَكَتَ حَتَّى قَالَهَا ثَلَاثًا، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: " لَوْ قُلْتُ: نَعَمْ لَوَجَبَتْ، وَلَمَا اسْتَطَعْتُمْ "، ثُمَّ قَالَ: «ذَرُونِي مَا تَرَكْتُكُمْ، فَإِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِكَثْرَةِ سُؤَالِهِمْ وَاخْتِلَافِهِمْ عَلَى أَنْبِيَائِهِمْ، فَإِذَا أَمَرْتُكُمْ بِشَيْءٍ فَأْتُوا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ، وَإِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَيْءٍ فَدَعُوهُ» [أخرجه مسلم[
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้โอวาทพวกเรา ท่านกล่าวว่า “ผู้คนทั้งหลาย การทำหัจญ์ได้ถูกบัญญัติแก่พวกท่านแล้ว ดังนั้นพวกท่านจงไปทำหัจญ์เถิด” แล้วชายคนหนึ่งก็กล่าวว่า “ทุกปีเลยกระนั้นหรือ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ?” ท่านก็นิ่งเงียบ จนเขากล่าวถึงสามครั้ง แล้วท่านก็กล่าวว่า “หากฉันบอกว่าใช่ มันก็จะกลายเป็นวาญิบ และพวกท่านก็ไม่สามารถจะทำได้” หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่า “ปล่อยฉันเท่าที่ฉันทิ้งไว้ให้พวกท่านเถิด เพราะแท้จริงผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกท่านได้พินาศไปด้วยเพราะการที่พวกเขาช่างถาม และช่างโต้แย้งกับบรรดานบีของพวกเขา ดังนั้น เมื่อฉันใช้พวกท่านในคำสั่งใด พวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ และเมื่อฉันห้ามพวกท่านในประการใด พวกท่านก็จงละทิ้งมัน” บันทึกโดยมุสลิม
อธิบาย
หัจญ์เป็นหนึ่งในหลักการปฏิบัติทั้งห้าอันยิ่งใหญ่ อัลลอฮฺทรงบังคับผู้ที่มีความสามารถให้ทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต และทรงทำให้การทำหัจญ์นั้นเกิดประโยชน์อย่างมากมายแก่บรรดามุสลิมทั้งทางด้านศาสนาและทางโลก
ประโยชน์ที่ได้รับ
· การทำหัจญ์เป็นวาญิบสำหรับผู้ที่มีความสามารถ
· มันเป็นรุก่นอิสลามประการหนึ่ง
· หัจญ์นั้นวาญิบเพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น