×
ในบรรดาเรื่องต่างๆที่ผู้คนมักจะมักง่ายกับมันทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งต้องห้าม และถึงขึ้นเป็นบาปใหญ่เลย คือ การโกหกเพื่อให้คนอื่นๆหัวเราะ และอีกประการหนึ่งที่พาให้โกหกเช่นกันคือ การที่คนๆหนึ่งพูดทุกอย่างที่เขาได้ยินมาโดยไม่ได้ตรวจสอบให้มั่นใจก่อน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินมามีทั้งเรื่องจริงทั้งเรื่องโกหก เมื่อเขาพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา เขาก็จะได้พูดในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นจริงไปด้วย ก็เท่ากับว่าเขาได้โกหกแล้ว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

    คำมักง่ายที่เป็นการโกหก

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    ما يتساهل فيه من الكلام وهو كذب

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    คำมักง่ายที่เป็นการโกหก

    ท่านอับดุลลอฮฺ บินอามิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « دَعَتْنِي أُمِّي يَوْمًا وَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَاعِدٌ فِي بَيْتِنَا، فَقَالَتْ: هَا تَعَالَ أُعْطِيكَ، فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «وَمَا أَرَدْتِ أَنْ تُعْطِيهِ؟» قَالَتْ: أُعْطِيهِ تَمْرًا، فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «أَمَا إِنَّكِ لَوْ لَمْ تُعْطِهِ شَيْئًا كُتِبَتْ عَلَيْكِ كِذْبَةٌ» » [أخرجه أبو داود]

    “มารดาของฉันได้เรียกหาฉันในวันหนึ่ง ขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม นั่งอยู่ที่บ้านเรา นางกล่าวว่า “นี่ มาๆ แม่มีของจะให้เธอ” แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวกับนางว่า “และเธออยากให้อะไรแก่เขาหรือ?” นางกล่าวตอบว่า “ฉันจะให้อินผลัมแก่เขา” แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวว่า พึงทราบเถิด หากเธอไม่ให้สิ่งใดเขาเลย จะถูกบันทึกว่า เธอโกหกหนึ่งครั้ง” บันทึกโดยอบูดาวูด

    ท่านบะฮ์รฺ บินหะกีม จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ได้เล่าว่า ฉันได้ยิท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « وَيْلٌ لِلَّذِي يُحَدِّثُ بِالحَدِيثِ لِيُضْحِكَ بِهِ القَوْمَ فَيَكْذِبُ، وَيْلٌ لَهُ وَيْلٌ لَهُ » [أخرجه أبو داود والترمذي]

    “ความวิบัติจะเกิดแก่ผู้ที่พูดจาออกไปเพื่อให้กลุ่มชนหัวเราะโดยที่เขาโกหก ความวิบัติจะเกิดแก่เขา ความวิบัติจะเกิดแก่เขา” บันทึกโดยอบูดาวูดและอัตติรมิซียฺ

    ท่านอบูดาวูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «كَفَى بِالْمَرْءِ كَذِبًا أَنْ يُحَدِّثَ بِكُلِّ مَا سَمِعَ» [أخرجه مسلم]

    “คนๆหนึ่งโกหกมากพอแล้ว กับการที่เขาพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา” บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านอบูมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    « بِئْسَ مَطِيَّةُ الرَّجُلِ زَعَمُوا » [أخرجه أبو داود]

    “เครื่องนำพาที่ช่างเลวร้ายยิ่งของคนๆหนึ่ง คือ เขาว่าๆ” บันทึกโดยอบูดาวูด

    คำอธิบาย

    ในบรรดาเรื่องต่างๆที่ผู้คนมักจะมักง่ายกับมันทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งต้องห้าม และถึงขึ้นเป็นบาปใหญ่เลย คือ การโกหกเพื่อให้คนอื่นๆหัวเราะ และอีกประการหนึ่งที่พาให้โกหกเช่นกันคือ การที่คนๆหนึ่งพูดทุกอย่างที่เขาได้ยินมาโดยไม่ได้ตรวจสอบให้มั่นใจก่อน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินมามีทั้งเรื่องจริงทั้งเรื่องโกหก เมื่อเขาพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา เขาก็จะได้พูดในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นจริงไปด้วย ก็เท่ากับว่าเขาได้โกหกแล้ว

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · จำเป็นต้องระมัดระวังการโกหก ถึงแม้จะกับเด็กเล็กในเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม

    · เตือนไม่ให้โกหกเพื่อให้คนอื่นหัวเราะเพียงเพราะการล้อเล่นเท่านั้น

    · ห้ามไม่ให้คนเราพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา เพราะเขาได้ยินทั้งที่เป็นเรื่องจริงและเรื่องโกหก เขาก็จะพูดในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง