×
กล่าวถึงภาวะแห่งความรู้สึกปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ซึ่งนำไปสู่การหลงลืมและกระทำสิ่งที่ผิดโดยไม่แยแส รวมทั้งอธิบายภาวะความสิ้นหวังจากเมตตาของอัลลอฮฺ โดยอธิบายผ่านหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอาน หะดีษ และคำพูดของบรรดาอุละมาอ์ ซึ่งสองภาวะนี้ถือว่าอันตรายทั้งสิ้น บ่าวจึงจำเป็นจะต้องให้มีความสมดุลระหว่างความกลัวและความหวังที่มีต่ออัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    ความรู้สึกปลอดภัย จากการลงโทษของอัลลอฮฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

    2014 - 1435


    الأمن من مكر الله

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانج سيري

    مراجعة: عصران نئ يوم ديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ความรู้สึกปลอดภัย

    จากการลงโทษของอัลลอฮฺ

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ และเป็นศาสนทูตของพระองค์

    การรู้สึกปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ และการสิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์นั้น ถือเป็นบาปใหญ่ประการหนึ่ง อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ أَفَأَمِنَ أَهۡلُ ٱلۡقُرَىٰٓ أَن يَأۡتِيَهُم بَأۡسُنَا بَيَٰتٗا وَهُمۡ نَآئِمُونَ ٩٧ أَوَ أَمِنَ أَهۡلُ ٱلۡقُرَىٰٓ أَن يَأۡتِيَهُم بَأۡسُنَا ضُحٗى وَهُمۡ يَلۡعَبُونَ ٩٨ أَفَأَمِنُواْ مَكۡرَ ٱللَّهِۚ فَلَا يَأۡمَنُ مَكۡرَ ٱللَّهِ إِلَّا ٱلۡقَوۡمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ ٩٩ ﴾ [الأعراف: 97- 99]

    “แล้วบรรดาชาวเมืองนั้นปลอดภัยกระนั้นหรือ ในการที่การลงโทษของเราจะมายังพวกเขาในเวลากลางคืน ขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่? และชาวเมืองนั้นปลอดภัยกระนั้นหรือ ในการที่การลงโทษของเราจะมายังพวกเขาในเวลาสายขณะที่พวกเขากำลังเล่นสนุกสนานกันอยู่? แล้วพวกเขาปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺ กระนั้นหรือ? ไม่มีใครมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺ นอกจากกลุ่มชนที่ขาดทุนเท่านั้น” (อัลอะอฺรอฟ: 97-99)

    หมายถึง พวกเขามั่นใจว่าจะปลอดภัยจากการลงโทษ และความกริ้วโกรธที่พระองค์มีต่อพวกเขา รวมทั้งอำนาจของพระองค์ในการจัดการกับพวกเขา ขณะที่พวกเขากำลังเพลิดเพลินสนุกสนานอย่างนั้นหรือ? ทั้งนี้ กลุ่มชนในยุคก่อนที่ดื้อดึงและปฏิเสธที่จะศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต เช่น กลุ่มชนของท่านนบีนูหฺ พวกอ๊าด และพวกษะมูด นั้น อัลลอฮฺได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พวกเขา ทั้งที่พวกเขาทรยศฝ่าฝืนคำสั่งใช้ของพระองค์ พวกเขาจึงชะล่าใจไม่คิดว่าความโปรดปรานเหล่านั้นจะเป็นเพียงอุบายที่อัลลอฮฺทรงใช้หลอกล่อให้พวกเขาตายใจ และไม่คิดว่าพระองค์จะทรงลงโทษพวกเขาโดยที่พวกเขาไม่ทันตั้งตัว

    เกาะตาดะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “การลงโทษของอัลลอฮฺประสบแก่พวกเขาอย่างกะทันหัน ทั้งนี้ อัลลอฮฺมักจะลงโทษกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดขณะที่พวกเขากำลังเพลิดเพลินลืมตัว ดังนั้น พวกท่านจงอย่าชะล่าใจคิดว่าตนเองจะรอดพ้นปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ” (ฟัตหุลมะญีด หน้า 415)

    ชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อัสสะอฺดีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอธิบายอายะฮฺ ﴿ أَفَأَمِنُواْ مَكۡرَ ٱللَّهِۚ ว่า “อายะฮฺนี้เป็นการเตือนอย่างชัดแจ้งว่า ไม่สมควรที่บุคคลหนึ่งจะรู้สึกมั่นใจในระดับความศรัทธาของเขา ทว่าเขาควรที่จะหวั่นเกรงหรือพึงระวังว่าวันหนึ่งวันใดเขาอาจจะถูกทดสอบ จนทำให้ศรัทธาของเขาสูญสิ้นไป และก็ควรที่จะขอดุอาอ์เสมอ โดยกล่าวว่า

    « يَا مُقَلِّبَ القُلُوبِ ثَبِّتْ قَلْبِي على دِيْنِكَ »

    (โอ้ผู้ทรงทำให้หัวใจผันเปลี่ยน ขอพระองค์ทรงดูแลหัวใจของฉันให้มีความมั่นคงยืนหยัดในศาสนาของพระองค์ด้วยเถิด)

    และควรทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ตัวเขารอดพ้นจากความชั่วเมื่อเกิดฟิตนะฮฺต่าง ๆ เพราะแท้จริงแล้ว ไม่ว่าคนเราจะมีระดับความศรัทธาที่สูงส่งเพียงใด ก็มิอาจจะมั่นใจได้ว่าจะรอดพ้นปลอดภัย” (ตัฟสีรฺอิบนุสะอฺดีย์ หน้า 276)

    ชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “พระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า ﴿ أَفَأَمِنُواْ مَكۡرَ ٱللَّهِۚ นั้นเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า บางครั้งพระองค์จะทรงวางอุบายหลอกล่อให้ชะล่าใจ ทั้งนี้กลอุบาย (المَكْرُ) ในทางภาษานั้น หมายถึง การทำอันตรายต่อศัตรูในขณะที่เขาไม่รู้ตัว ดังเช่นความหมายที่ปรากฏในหะดีษที่ว่า

    « الحَرْبُ خُدعَةٌ » [رواه البخاري برقم 3030 ومسلم برقم 1739]

    “ศึกสงครามนั้นคือการหลอกล่อให้เข้าใจผิด” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3030 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1739)

    อาจมีคำถามว่า อัลลอฮฺจะทรงมีคุณลักษณะ المكر ได้อย่างไร ในเมื่อลักษณะดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ? คำตอบคือ المكر ในที่นี้สำหรับพระองค์นั้นถือเป็นคุณลักษณะที่น่าสรรเสริญ และบ่งชี้ถึงพลังอำนาจของพระองค์ แต่เราจะไม่ระบุว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะดังกล่าวโดยไม่ขยายความเพิ่มเติม เช่นกล่าวว่า إن الله ماكر (อัลลอฮฺทรงเป็นผู้วางอุบายหลอกล่อ) แต่เราจะกล่าวถึงคุณลักษณะนี้ในกรณีที่เป็นเรื่องน่าชื่นชมสรรเสริญ ดังคำตรัสของพระองค์ที่ว่า

    ﴿ وَيَمْكُرُونَ وَيَمۡكُرُ ٱللَّهُۖ ﴾ [الأنفال: ٣٠]

    “และพวกเขาวางอุบายกัน และอัลลอฮฺก็ทรงวางอุบาย” (อัลอันฟาล: 30)

    เช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ وَمَكَرُواْ مَكۡرٗا وَمَكَرۡنَا مَكۡرٗا وَهُمۡ لَا يَشۡعُرُونَ ٥٠﴾ [النمل: 50]

    “และพวกเขาได้วางแผน และเราก็ได้วางแผนโดยที่พวกเขาไม่รู้สึกตัว” (อันนัมลฺ: 50)

    และที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ أَفَأَمِنُواْ مَكۡرَ ٱللَّهِۚ ﴾ [الأعراف: 99]

    “แล้วพวกเขาปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ?” (อัลอะอฺรอฟ: 99)

    ดังนั้นคุณลักษณะนี้จะไม่ถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แต่เราจะระบุว่าพระองค์มีคุณลักษณะดังกล่าวในกรณีที่เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมสรรเสริญ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ไม่น่าชื่นชม เราก็จะไม่ระบุว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะดังกล่าว หรือเราก็จะไม่กล่าวว่า الماكر (ผู้วางอุบายหลอกล่อ) คือหนึ่งในพระนามของอัลลอฮฺ” (อัลเกาลุลมุฟีด เล่ม 2 หน้า 248)

    มีรายงานหะดีษบันทึกในมุสนัดอะหฺมัด (หะดีษเลขที่ 17311) จากท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    « إِذَا رَأَيْتَ اللَّهَ يُعْطِي الْعَبْدَ مِنَ الدُّنْيَا عَلَى مَعَاصِيهِ مَا يُحِبُّ، فَإِنَّمَا هُوَ اسْتِدْرَاجٌ » [رواه أحمد برقم 17311]

    ความว่า "ถ้าท่านเห็นว่าอัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายในโลกดุนยาให้แก่คนใดคนหนึ่งอย่างมากมาย ทั้งที่เขาผู้นั้นจมปลักอยู่กับบาปความผิดและการฝ่าฝืน ก็พึงทราบเถิดว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงการประวิงเวลาให้เขาชะล่าใจ"

    แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านอายะฮฺต่อไปนี้

    ﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦ فَتَحۡنَا عَلَيۡهِمۡ أَبۡوَٰبَ كُلِّ شَيۡءٍ حَتَّىٰٓ إِذَا فَرِحُواْ بِمَآ أُوتُوٓاْ أَخَذۡنَٰهُم بَغۡتَةٗ فَإِذَا هُم مُّبۡلِسُونَ ٤٤ ﴾ [الأنعام: ٤٤]

    ความว่า "ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึก เราก็ปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง จนกระทั่งเมื่อพวกเขาระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง" (อัล-อันอาม: 44)

    อิสมาอีล บิน รอฟิอฺ กล่าวว่า “การรู้สึกรอดพ้นปลอดภัยจากบททดสอบและการลงโทษของอัลลอฮฺนั้น คือการที่คนคนหนึ่งประพฤติชั่วลุ่มหลงอยู่กับบาปความผิดอย่างไม่รู้สึกรู้สา แต่เขากลับคาดหวังไปเองว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยให้แก่เขา สลัฟบางท่านอธิบายว่า การวางอุบายของอัลลอฮฺนั้น คือ การที่พระองค์ทรงทดสอบมนุษย์ด้วยการประทานความโปรดปรานอย่างมากมาย แม้เขาเหล่านั้นจะฝ่าฝืนพระองค์ก็ตาม ทรงให้พวกเขามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีความเป็นอยู่ที่ผาสุก แล้วพระองค์ก็ทรงลงโทษพวกเขาอย่างเฉียบพลันโดยที่พวกเขาไม่ทันตั้งตัว” (ฟัตหุลมะญีด หน้า 416)

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَكَذَٰلِكَ أَخۡذُ رَبِّكَ إِذَآ أَخَذَ ٱلۡقُرَىٰ وَهِيَ ظَٰلِمَةٌۚ إِنَّ أَخۡذَهُۥٓ أَلِيمٞ شَدِيدٌ ١٠٢ ﴾ [هود: ١٠٢]

    “และเช่นนี้แหละคือการลงโทษของพระเจ้า เมื่อพระองค์ทรงลงโทษหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อธรรม แท้จริงการลงโทษของพระองค์นั้นเจ็บแสบสาหัส” (ฮูด: 102)

    ส่วนการหมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺนั้น คือการที่คนคนหนึ่งเกิดความท้อแท้สิ้นหวังที่จะได้ความความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และไม่มีความหวังว่าพระองค์จะทรงอภัยและเมตตาเขา ซึ่งกรณีนี้ตรงกันข้ามกับการรู้สึกว่ารอดพ้นปลอดภัยจากการทดสอบของอัลลอฮฺ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ล้วนเป็นบาปใหญ่

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ قَالَ وَمَن يَقۡنَطُ مِن رَّحۡمَةِ رَبِّهِۦٓ إِلَّا ٱلضَّآلُّونَ ٥٦ ﴾ [الحجر: ٥٦]

    “เขากล่าวว่า และจะไม่มีผู้ใดที่สิ้นหวังในพระเมตตาของพระเจ้าของเขา นอกจากพวกหลงผิด” (อัลหิจญรฺ: 56)

    และพระองค์ตรัสว่า

    ﴿ ۞قُلۡ يَٰعِبَادِيَ ٱلَّذِينَ أَسۡرَفُواْ عَلَىٰٓ أَنفُسِهِمۡ لَا تَقۡنَطُواْ مِن رَّحۡمَةِ ٱللَّهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ يَغۡفِرُ ٱلذُّنُوبَ جَمِيعًاۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلۡغَفُورُ ٱلرَّحِيمُ ٥٣ ﴾ [الزمر: ٥٢]

    “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัซซุมัรฺ: 52)

    ชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน บิน หะสัน กล่าวในหนังสือ “ฟัตหุลมะญีด” ของท่านว่า สองอายะฮฺข้างต้นนี้คือหลักฐานที่ยืนยันว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺสิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ ทว่าเขาควรที่จะกลัวบาปความผิด แล้วมุ่งปฏิบัติสิ่งที่เป็นการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮฺ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยความหวังในความเมตตาของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ يَدۡعُونَ يَبۡتَغُونَ إِلَىٰ رَبِّهِمُ ٱلۡوَسِيلَةَ أَيُّهُمۡ أَقۡرَبُ وَيَرۡجُونَ رَحۡمَتَهُۥ وَيَخَافُونَ عَذَابَهُۥٓۚ ﴾ [الإسراء: ٥٧]

    “บรรดาสิ่งที่พวกเขาวิงวอนขอนั้น พวกมันก็ยังหวังที่จะหาทางเข้าสู่พระเจ้าของพวกมันว่า ผู้ใดในหมู่พวกมันจะเข้าใกล้ที่สุดและพวกมันยังหวังในความเมตตาของพระองค์ และกลัวการลงโทษของพระองค์” (อัลอิสรออ์: 57)

    และพระองค์ตรัสว่า

    ﴿ أَمَّنۡ هُوَ قَٰنِتٌ ءَانَآءَ ٱلَّيۡلِ سَاجِدٗا وَقَآئِمٗا يَحۡذَرُ ٱلۡأٓخِرَةَ وَيَرۡجُواْ رَحۡمَةَ رَبِّهِۦۗ ﴾ [الزمر: ٩]

    “ผู้ที่เขาเป็นผู้ภักดีในยามค่ำคืนในสภาพของผู้สุญูดและผู้ยืนละหมาด โดยที่เขาหวั่นเกรงต่อโลกอาคิเราะฮฺและหวังความเมตตาของพระเจ้าของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ กระนั้นหรือ?) (อัซซุมัรฺ: 9)

    อัลหะสัน อัลบัศรีย์ กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาจะปฏิบัติคุณงามความดี โดยที่เขามีความรู้สึกกลัวและไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปจะถูกตอบรับหรือไม่ ในขณะที่คนชั่วนั้นมักจะกระทำการฝ่าฝืนโดยที่เขานั้นมีความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย” (ตัฟสีรฺอิบนุกะษีรฺ เล่ม 6 หน้า 355)

    อัลลอฮฺได้ตรัสถึงบทสนทนาระหว่างท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม กับมลาอิกะฮฺเมื่อท่านได้รับแจ้งข่าวดีว่าท่านจะมีลูกชายชื่ออิสหากว่า

    ﴿ قَالَ أَبَشَّرۡتُمُونِي عَلَىٰٓ أَن مَّسَّنِيَ ٱلۡكِبَرُ فَبِمَ تُبَشِّرُونَ ٥٤ ﴾ [الحجر: ٥٤]

    “เขากล่าวว่า พวกท่านมาแจ้งข่าวดีแก่ฉันเมื่อความชราภาพได้ประสบแก่ฉันแล้วกระนั้นหรือ? แล้วเรื่องอะไรเล่าที่พวกท่านจะแจ้งข่าวดีแก่ฉัน?” (อัลหิจญรฺ: 54)

    ทั้งนี้ เพราะโดยปกติแล้วคู่สามีภรรยาที่มีอายุมากนั้น โอกาสที่จะมีบุตรก็คงเป็นไปได้ยาก แต่อัลลอฮฺทรงมีความสามารถที่จะกำหนดสิ่งใดก็ได้ มลาอิกะฮฺจึงกล่าวว่า

    ﴿بَشَّرۡنَٰكَ بِٱلۡحَقِّ ﴾ [الحجر: ٥٥]

    “เราขอแจ้งข่าวดีแก่ท่านซึ่งเป็นความจริง” (อัลหิจญรฺ: 55)

    เป็นความจริงที่ไร้ซึ่งข้อสงสัย เพราะเมื่ออัลลอฮฺทรงต้องการสิ่งใด พระองค์ก็เพียงแต่ตรัสว่า “จงเป็น” สิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้นทันที

    ﴿ فَلَا تَكُن مِّنَ ٱلۡقَٰنِطِينَ ٥٥ ﴾ [الحجر: ٥٥]

    “ดังนั้นท่านอย่าอยู่ในหมู่ผู้สิ้นหวัง” (อัลหิจญรฺ: 55)

    แล้วอัลลอฮฺก็ทรงตรัสถึงคำพูดของท่านนบีอิบรอฮีมหลังจากนั้นว่า

    ﴿ قَالَ وَمَن يَقۡنَطُ مِن رَّحۡمَةِ رَبِّهِۦٓ إِلَّا ٱلضَّآلُّونَ ٥٦ ﴾ [الحجر: ٥٦]

    “เขากล่าวว่า และจะไม่มีผู้ใดที่สิ้นหวังในพระเมตตาของพระเจ้าของเขา นอกจากพวกหลงผิด” (อัลหิจญรฺ: 56)

    มีผู้ถามท่าน ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าสิ่งใดเป็นบาปใหญ่ที่สุด? ท่านตอบว่า “การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การสิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ การรู้สึกปลอดภัยจากบททดสอบและการลงโทษของพระองค์ และการหมดหวังในความเมตตาของพระองค์” (มุศ็อนนัฟอับดุรเราะซาก 10/459)

    การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺถือเป็นบาปที่ใหญ่ที่สุด อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَغۡفِرُ أَن يُشۡرَكَ بِهِۦ وَيَغۡفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَآءُۚ ﴾ [النساء : ١١٦]

    “แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์ แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ประสงค์” (อันนิสาอ์: 116)

    การสิ้นหวังในเมตตาของอัลลอฮฺ คือการที่คนคนหนึ่งตัดขาดความหวังทั้งหมดที่มีต่ออัลลอฮฺ ในสิ่งที่เขาเกรงกลัวหรือมุ่งหวัง โดยที่เมื่อมีเหตุการณ์คับขันรุนแรงประสบแก่เขา เขาจะรู้สึกหมดสิ้นหนทาง ความคิดเช่นนี้ถือเป็นการเสียมารยาทต่ออัลลอฮฺ บ่งบอกว่าเขาขาดความรู้เกี่ยวกับความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงมี พระองค์ได้ตรัสถึงท่านนบียะอฺกูบว่า

    ﴿ إِنَّهُۥ لَا يَاْيۡ‍َٔسُ مِن رَّوۡحِ ٱللَّهِ إِلَّا ٱلۡقَوۡمُ ٱلۡكَٰفِرُونَ ٨٧ ﴾ [يوسف: ٨7]

    “แท้จริงไม่มีผู้ใดเบื่อหน่ายต่อความเมตตาของอัลลอฮฺ นอกจากหมู่ชนผู้ปฏิเสธ” (ยูสุฟ: 87)

    ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ไปเยี่ยมชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งใกล้จะเสียชีวิต ท่านได้ถามเขาว่า “ท่านเป็นอย่างไรบ้าง” เขาตอบว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริงฉันหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ แต่ในขณะเดียวกัน ฉันก็เกรงกลัวพระองค์เพราะบาปความผิดที่เคยทำ” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า

    « لَا يَجْتَمِعَانِ فِي قَلْبِ عَبْدٍ فِي مِثْلِ هَذَا المَوْطِنِ، إِلَّا أَعْطَاهُ اللَّهُ مَا يَرْجُو، وَآمَنَهُ مِمَّا يَخَافُ » [رواه الترمذي برقم 983]

    “หากมีสองสิ่งนี้ (ความกลัวและความหวัง) อยู่ในใจของบ่าวคนใดในสถานการณ์เช่นนี้ อัลลอฮฺจะให้ได้รับในสิ่งที่เขาแก่เขา และจะทรงให้เขารอดพ้นจากสิ่งที่เขากลัว” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 983)

    หะดีษข้างต้นได้พูดถึงการที่บุคคลหนึ่งมีทั้งความเกรงกลัวและความหวัง โดยที่เมื่อเขาเกรงกลัวอัลลอฮฺ เขาก็จะต้องไม่ท้อแท้สิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ ชาวสลัฟนั้นมักจะมีความเกรงกลัวเมื่อเขามีสุขภาพที่ดี และมีความหวังเมื่อเขาเจ็บป่วย อบูสุลัยมาน อัดดารอนีย์ กล่าวว่า “สมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีความเกรงกลัวมากกว่า เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีความหวังมากกว่า ก็จะเกิดผลเสียต่อหัวใจ” (ฟัตหุลมะญีด หน้า 417-419)

    ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตสามวันว่า

    « لَا يَمُوتَنَّ أَحَدُكُم إِلا وَهُوَ يُحْسِنُ الظَّنَّ بِاللهِ » [رواه مسلم برقم 2877]

    “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านอย่าได้ตายนอกจากในสภาพที่เขาคิดต่ออัลลอฮฺในแง่ดี” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2877)

    ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงอายะฮฺนี้

    ﴿ وَٱلَّذِينَ يُؤۡتُونَ مَآ ءَاتَواْ وَّقُلُوبُهُمۡ وَجِلَةٌ ﴾ [المؤمنون : ٦٠]

    “และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มา โดยที่จิตใจของเขาเปี่ยมไปด้วยความหวั่นเกรง” (อัลมุอ์มินูน: 60)

    ว่ารวมถึงผู้ที่ดื่มสุรา หรือลักขโมยด้วยหรือไม่? ท่านตอบว่า

    « لَا يَا بِنْتَ الصِّدِّيقِ، وَلَكِنَّهُم الَّذِينَ يَصُومُونَ وَيُصَلُّونَ وَيَتَصَدَّقُونَ، وَهُمْ يَخَافُونَ أَنْ لَا تُقْبَلَ مِنْهُمْ، أُولَئِكَ يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَهُمْ لَهَا سَابِقُونَ » [رواه الترمذي برقم 3175]

    “โอ้บุตรสาวของอบูบักรฺเอ๋ย มันไม่ใช่เช่นนั้นหรอก แต่หมายถึงบรรดาผู้ที่ถือศีลอด ละหมาด และบริจาคทาน แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังหวั่นเกรงว่าการงานของพวกเขานั้นจะไม่ถูกตอบรับ พวกเขาเหล่านั้นต่างรีบเร่งในการประกอบความดีทั้งหลาย” (บันทึกโดย อัตติรฺมิซีย์ หะดีษเลขที่ 3127)

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.