การลำพองตน
หมวดหมู่
Full Description
การลำพองตน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2014 - 1435
الغرور
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การลำพองตน
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
ลักษณะที่น่ารังเกียจประการหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้ห้ามไว้ก็คือ การลำพองตนและหลงระเริงกับชีวิตในดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ كُلُّ نَفۡسٖ ذَآئِقَةُ ٱلۡمَوۡتِۗ وَإِنَّمَا تُوَفَّوۡنَ أُجُورَكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِۖ فَمَن زُحۡزِحَ عَنِ ٱلنَّارِ وَأُدۡخِلَ ٱلۡجَنَّةَ فَقَدۡ فَازَۗ وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَآ إِلَّا مَتَٰعُ ٱلۡغُرُورِ ١٨٥ ﴾ [آل عمران: ١٨٥]
ความว่า "แต่ละชีวิตนั้นจะได้ลิ้มรสความตาย และแท้จริงที่พวกเจ้าจะได้รับรางวัลของพวกเจ้าโดยครบถ้วนนั้นคือวันกิยามะฮฺ แล้วผู้ใดที่ถูกให้ห่างไกลจากไฟนรก และถูกให้เข้าสวรรค์แล้วไซร้ แน่นอน เขาก็ชนะแล้ว และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งอำนวยประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น" (อาลอิมรอน: 185)
และพระองค์ทรงกำชับเตือนมิให้หลงลำพองตนว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ إِنَّ وَعۡدَ ٱللَّهِ حَقّٞۖ فَلَا تَغُرَّنَّكُمُ ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا وَلَا يَغُرَّنَّكُم بِٱللَّهِ ٱلۡغَرُورُ ٥ ﴾ [فاطر: ٥]
ความว่า "โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นจริงเสมอ ดังนั้น อย่าให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ล่อลวงพวกเจ้า และอย่าให้ชัยฏอนมาล่อลองพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺเป็นอันขาด" (ฟาฏิรฺ: 5)
คือ อย่าปล่อยให้ชัยฏอนลวงล่อพวกเจ้าด้วยการกระซิบกระซาบในทำนองว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงเอาผิดพวกเจ้า และจะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า เนื่องจากความดีความชอบอันมากมายของพวกเจ้า รวมถึงตำแหน่งแห่งหน เกียรติยศศักดิ์ศรี และความร่ำรวยของพวกเจ้า นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ทรงเปี่ยมล้นด้วยความเมตตา ฉะนั้น พวกเจ้าอย่าได้กังวล และจงฝ่าฝืนทำสิ่งที่เป็นบาปความผิดต่อไปเถิด”
อัลลอฮฺ ตะอาลา ยังทรงบอกว่าการใช้ชีวิตอย่างหลงระเริงลำพองตนนั้นเป็นผลงานการล่อลวงของชัยฏอนมารร้าย
﴿ وَٱسۡتَفۡزِزۡ مَنِ ٱسۡتَطَعۡتَ مِنۡهُم بِصَوۡتِكَ وَأَجۡلِبۡ عَلَيۡهِم بِخَيۡلِكَ وَرَجِلِكَ وَشَارِكۡهُمۡ فِي ٱلۡأَمۡوَٰلِ وَٱلۡأَوۡلَٰدِ وَعِدۡهُمۡۚ وَمَا يَعِدُهُمُ ٱلشَّيۡطَٰنُ إِلَّا غُرُورًا ٦٤ ﴾ [الإسراء: ٦٤]
ความว่า "และเจ้าจงยั่วยวนผู้ที่เจ้าสามารถทำให้เขาหลงในหมู่พวกเขาด้วยเสียงของเจ้า และชักชวนพวกเขาให้เห็นพ้อง ด้วยพลพรรคของเจ้าที่ขี่ม้าหรือที่เดินเท้า และจงร่วมกับพวกเขาในทรัพย์สินและลูกหลาน และจงสัญญากับพวกเขา และชัยฏอนมิได้ให้สัญญาใด ๆ แก่พวกเขาเว้นแต่เป็นการหลอกลวงเท่านั้น" (อัลอิสรออ์: 64)
อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงชัยฏอนได้สัญญากับมนุษย์ว่าเขาจะได้รับสิ่งที่หัวใจถวิลหา ไม่ว่าจะเป็นการมีชีวิตที่ยืนยาว ได้รับความสะดวกสบายในโลกดุนยา โดดเด่นเหนือเพื่อนฝูงคนรอบข้าง หรือมีชัยชนะเหนือศัตรู มันหลอกล่อเขาว่า ชีวิตในโลกดุนยานั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ สิ่งที่ผู้อื่นมี สักวันหนึ่งก็อาจจะเป็นของเรา ทำให้มนุษย์มีความหวังที่ยาวไกล มันยังสัญญาว่ามนุษย์จะได้รับสรวงสวรรค์เป็นการตอบแทน ทั้งที่อยู่ในสภาพที่ตั้งภาคีและกระทำการฝ่าฝืน และมันทำให้มนุษย์มีความหวังต่าง ๆ นานา ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
“ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างคำสัญญากับการให้ความหวังของชัยฏอนนั้น คือมันจะให้คำสัญญาในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง และให้ความหวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าจิตใจที่อ่อนแอ ย่อมพร้อมที่จะหลงระเริงไปกับคำสัญญาและการให้ความหวังของชัยฏอน ดังที่กวีคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
مُنًى إِنْ تَكن حَقا تَكُن أحسنَ المُنَى وَإلا فَقَدْ عِشْنا بها زَمنًا رغدًا
ความหวังนั้นถ้าเป็นจริงก็คงจะดีที่สุด
แต่ถ้าไม่เป็นจริงอย่างน้อยเราก็เคยสุขกับการที่ได้หวัง
(อิฆอษะฮฺ อัลละฮฺฟาน เล่ม 1 หน้า 107)
ซึ่งการลำพองตนนั้นมีหลายประเภทด้วยกันคือ
ประเภทแรก การลำพองตนของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา โดยพวกเขาบางคนหลงระเริงไปกับความสำราญสุขสบายในโลกดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَذَرِ ٱلَّذِينَ ٱتَّخَذُواْ دِينَهُمۡ لَعِبٗا وَلَهۡوٗا وَغَرَّتۡهُمُ ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَاۚ ﴾ [الأنعام: ٧٠]
ความว่า "และเจ้าจงปล่อยเสียซึ่งบรรดาผู้ที่ยึดเอาศาสนาของพวกเขาเป็นของเล่น และสิ่งให้ความเพลิดเพลิน และชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ได้หลอกลวงพวกเขา" (อัลอิสรออ์: 64)
คนเหล่านี้แหละที่กล่าวว่า “เงินสดย่อมดีกว่าเงินเชื่อ ซึ่งถ้าเปรียบแล้ว ดุนยาก็เหมือนเงินสด ส่วนอาคิเราะฮฺคือเงินเชื่อ ดังนั้น ดุนยาย่อมดีกว่าอาคิเราะฮฺ จึงสมควรต้องขวนขวายมาให้จงได้” พวกเขายังกล่าวอีกว่า “ความแน่นอนมั่นใจ ย่อมดีกว่าความคลุมเครือสงสัย ซึ่งความสุขสบายในโลกดุนยานั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงสามารถจับต้องได้ ส่วนความสุขสบายในโลกอาคิเราะฮฺนั้นยังเป็นที่สงสัย ดังนั้น จึงไม่ควรละทิ้งสิ่งที่มีความแน่นอน เพื่อไปหวังในสิ่งที่ยังไม่แน่ใจ”
ข้อกล่าวอ้างของพวกเขานี้สามารถชี้แจงโต้ตอบได้ด้วยพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿ مَا عِندَكُمۡ يَنفَدُ وَمَا عِندَ ٱللَّهِ بَاقٖۗ ﴾ [النحل: ٩٦]
ความว่า "สิ่งที่อยู่กับพวกเจ้าย่อมอันตรธาน และสิ่งที่อยู่กับอัลลอฮฺนั้นย่อมจีรัง" (อันนะหฺล์: 96)
และพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า
﴿ وَلَلۡأٓخِرَةُ خَيۡرٞ لَّكَ مِنَ ٱلۡأُولَىٰ ٤ ﴾ [الضحى: ٤]
ความว่า "และแน่นอน เบื้องปลายเป็นการดียิ่งแก่เจ้ากว่าเบื้องต้น" (อัฎฎุฮา: 4)
ประเภทที่สอง การลำพองตนของผู้ศรัทธาที่ฝ่าฝืน ด้วยความคิดที่ว่า “อัลลอฮฺนั้นทรงมีความเมตตา และเราก็หวังว่าพระองค์จะทรงอภัยให้แก่พวกเรา” พวกเขาฝากความหวังไว้กับความคิดดังกล่าว แล้วละเลยการปฏิบัติคุณงามความดี โดยพวกเขาเรียกความฝันและการหลงระเริงลำพองตนของพวกเขานี้ว่า “ความหวัง” โดยเข้าใจว่ามันคือการมีความหวัง (ในเมตตาของอัลลอฮฺ) อย่างที่ศาสนาส่งเสริม ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเช่นนี้เกิดจากการที่พวกเขาแยกแยะไม่ออกระหว่าง “ความหวัง” กับ “ความลำพองใจ” นั่นเอง
มีผู้กล่าวแก่ท่านหะสัน อัลบัศรีย์ ว่า “กลุ่มชนหนึ่งได้กล่าวว่า พวกเขามีความหวังในเมตตาของอัลลอฮฺ แต่พวกเขากลับไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์” ท่านหะสัน จึงกล่าวว่า “มันช่างห่างไกลอะไรเช่นนี้ นั่นเป็นเพียงความฝันอันเลื่อนลอยของพวกเขา เพราะแท้จริงหากผู้ใดหวังในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว เขาย่อมต้องแสวงหาและขวนขวายเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา และผู้ที่กลัวสิ่งใดก็ย่อมจะหลีกหนีสิ่งนั้น”
ทั้งนี้ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอธิบายถึงการมีความหวังที่ถูกต้องน่าสรรเสริญไว้ว่า
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَٱلَّذِينَ هَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ أُوْلَٰٓئِكَ يَرۡجُونَ رَحۡمَتَ ٱللَّهِۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ٢١٨ ﴾ [البقرة: ٢١٨]
ความว่า "แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ที่อพยพ และได้เสียสละต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺนั้น ชนเหล่านี้แหละที่หวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 218)
ประเภทที่สาม การหลงลำพองของผู้ที่ทำทั้งความดีและความชั่ว แต่มีความชั่วมากกว่า คนกลุ่มนี้มีความคิดว่า พวกเขาจะได้รับการอภัยโทษ และเข้าใจว่าความดีของเขาจะสามารถเอาชนะความชั่ว ทั้งที่พวกเขาทำความชั่วมากกว่า และนี่คือความคิดที่โง่เขลายิ่งนัก ดังเช่นชายคนหนึ่งบริจาคเงินซึ่งได้จากทั้งแหล่งที่หะล้าลถูกต้องและแหล่งที่หะรอม ในขณะที่เขานั้นโกงทรัพย์สินเงินทองของพี่น้องมุสลิมมากกว่านั้นหลายเท่า แต่เขากลับคิดว่าการบริจาคเงินสิบดิรฮัม จะลบล้างความผิดของการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มีความเคลือบแคลงน่าสงสัยจำนวนหนึ่งร้อยดิรฮัมได้ นี่ถือเป็นความคิดที่โง่เขลาที่สุด (อิหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 3 หน้า 368-376)
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ اللهَ طَيِّبٌ لا يَقْبَلُ إِلَّا طَيِّبَا » [قطعة من حديث في صحيح مسلم برقم 1015]
ความว่า "แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงบริสุทธิ์ดีงาม พระองค์จึงทรงไม่ตอบรับสิ่งใด นอกจากจะเป็นสิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1015)
เคาละฮฺ อัลอันศอริยะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ رِجَالا يَتَخَوَّضُونَ في مَالِ اللهِ بِغَيْرِ حَقٍّ، فَلَهُمُ النَّارُ يَوْمَ القِيَامَةِ » [رواه البخاري برقم 3118]
ความว่า "แท้จริงมีคนบางกลุ่มใช้จ่ายทรัพย์สินของอัลลอฮฺ โดยที่พวกเขาไม่มีสิทธิ์ และในวันกิยามะฮฺ พวกเขาจะต้องรับโทษในไฟนรก" (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3118)
อับดุลลอฮฺ บิน อัลมุบาร็อก กล่าวว่า “สำหรับฉันแล้ว การคืนเงินหนึ่งดิรฮัมที่น่าเคลือบแคลงสงสัย ดีกว่าการที่ฉันจะบริจาคเงินหนึ่งแสนดิรฮัมเสียอีก”
และอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสอีกว่า การหลงระเริงลำพองตนนั้น คือลักษณะของพวกอธรรม และพวกผู้ปฏิเสธศรัทธา พระองค์ตรัสว่า
﴿ قُلۡ أَرَءَيۡتُمۡ شُرَكَآءَكُمُ ٱلَّذِينَ تَدۡعُونَ مِن دُونِ ٱللَّهِ أَرُونِي مَاذَا خَلَقُواْ مِنَ ٱلۡأَرۡضِ أَمۡ لَهُمۡ شِرۡكٞ فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ أَمۡ ءَاتَيۡنَٰهُمۡ كِتَٰبٗا فَهُمۡ عَلَىٰ بَيِّنَتٖ مِّنۡهُۚ بَلۡ إِن يَعِدُ ٱلظَّٰلِمُونَ بَعۡضُهُم بَعۡضًا إِلَّا غُرُورًا ٤٠ ﴾ [فاطر: ٤٠]
ความว่า "จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) พวกท่านไม่เห็นดอกหรือ บรรดาภาคี (เจว็ด) ของพวกท่านที่พวกท่านวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺ จงแสดงให้เห็นสิว่าพวกมันได้สร้างอะไรในแผ่นดินนี้ หรือว่าพวกมันมีส่วนร่วมในชั้นฟ้าทั้งหลาย หรือว่าเราได้ให้คัมภีร์แก่พวกมัน พวกมันจึงยึดมั่นอยู่บนหลักฐานของมัน เปล่าดอก บรรดาผู้อธรรมนั้นต่างก็มิได้มีสัญญาอะไรต่อกัน นอกจากการหลอกลวงเท่านั้น" (ฟาฏิรฺ: 40)
บางคนเข้าใจว่าการที่เขามีทรัพย์สินเงินทอง มีตำแหน่งหน้าตาในสังคมนั้น เป็นเพราะว่าอัลลอฮฺทรงเชิดชูให้เกียรติและพอพระทัยในตัวเขา และคิดว่าตำแหน่งหรือทรัพย์สินเหล่านั้น เขาก็ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงและความเหน็ดเหนื่อยของเขาเอง ความคิดเช่นนี้ ไม่ต่างจากความคิดของกอรูน ซึ่งได้กล่าวถึงทรัพย์สินของเขาว่า
﴿ قَالَ إِنَّمَآ أُوتِيتُهُۥ عَلَىٰ عِلۡمٍ عِندِيٓۚ ﴾ [القصص: ٧٨]
ความว่า "เขา (กอรูน) กล่าวว่า ฉันได้รับมันเพราะความรู้ของฉัน" (อัลเกาะศ็อศ: 78)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ فَأَمَّا ٱلۡإِنسَٰنُ إِذَا مَا ٱبۡتَلَىٰهُ رَبُّهُۥ فَأَكۡرَمَهُۥ وَنَعَّمَهُۥ فَيَقُولُ رَبِّيٓ أَكۡرَمَنِ ١٥ وَأَمَّآ إِذَا مَا ٱبۡتَلَىٰهُ فَقَدَرَ عَلَيۡهِ رِزۡقَهُۥ فَيَقُولُ رَبِّيٓ أَهَٰنَنِ ١٦ كَلَّاۖ ﴾ [الفجر: ١٥- ١8]
ความว่า "ส่วนมนุษย์นั้น เมื่อพระเจ้าของเขาทรงทดสอบเขา โดยทรงให้เกียรติเขาและทรงโปรดปรานเขา เขาก็จะกล่าวว่าพระเจ้าของฉันทรงยกย่องฉัน แต่ครั้นเมื่อพระองค์ทรงทดสอบเขา ทรงให้การครองชีพของเขาเป็นที่คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของฉันทรงเหยียดหยามฉัน มิใช่เช่นนั้นดอก็" (อัลฟัจญรฺ: 15-17)
ในขณะที่คนบางกลุ่ม เมื่อพวกเขามีความรู้ ทำงานเผยแผ่ศาสนา หรือทำอิบาดะฮฺที่เหนือกว่าผู้อื่น เขาจะรู้สึกลำพองตน และมีความคิดว่าเขานั้นดีกว่าผู้อื่น และคิดว่าผู้อื่นจะต้องคอยรับใช้ และเคารพนอบน้อมต่อเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติความรู้ที่เขามี การทำงานเผยแผ่ศาสนาที่เขาทำอยู่ หรืออิบาดะฮฺที่เขาทำมากกว่าคนอื่น นี่ก็ถือเป็นความลำพองตนเช่นกัน
ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لا تَغْتَرُّوا » [رواه البخاري برقم 6433 ومسلم برقم 232]
ความว่า “พวกท่านจงอย่าลำพองตน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 6433 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 232)
อัซซุฮฺรีย์ กล่าวว่า พวกท่านอย่าได้หลงระเริงไปกับโลกดุนยา เมื่ออับดุลอะซีซ บิน มัรวาน ใกล้จะเสียชีวิต (ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นเสนาบดีปกครองอียิปต์) ท่านสั่งให้นำผ้าห่อศพซึ่งเตรียมไว้สำหรับห่อศพท่านมาให้ดู แล้วท่านก็กล่าวว่า “ทรัพย์สินเงินทองของฉันนั้นมีมากมาย แต่สุดท้ายแล้วถ้าฉันจากโลกดุนยาไปก็มีเพียงสิ่งนี้ที่จะติดตัวไปด้วย” แล้วท่านก็หันหลังไปพลางร้องไห้ จากนั้นท่านกล่าวว่า “ดุนยาเอ๋ย เจ้าเป็นที่พำนักที่แย่นัก ทรัพย์สินเงินทองที่เราสะสมไว้มากมายขณะที่มีชีวิตอยู่ สุดท้ายแล้วก็เหลือเพียงน้อยนิด ในทางกลับกัน ความมักน้อยในดุนยา กลับนำมาซึ่งผลบุญอันมากมายมหาศาล แท้จริงแล้วพวกเราต่างใช้ชีวิตอยู่ในดุนยาอย่างหลงระเริงลำพองใจยิ่งนัก” (อัดดุรฺ อัลมันษูรฺ เล่ม 4 หน้า 193)
โดยสรุปแล้ว มนุษย์นั้นมีสองประเภท
ประเภทแรก ผู้ที่ลำพองตนและหลงระเริงในโลกดุนยา ใช้ชีวิตเพลิดเพลินไปกับทรัพย์สินเงินทอง ตำแหน่งหน้าที่ ความมีเกียรติ และความหรูหราสุขสบาย กระทั่งความตายได้มาเยือน โดยที่พวกเขาไม่ทันตั้งตัว
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
﴿ أَلۡهَىٰكُمُ ٱلتَّكَاثُرُ ١ حَتَّىٰ زُرۡتُمُ ٱلۡمَقَابِرَ ٢ كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ ٣ ثُمَّ كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ ٤ كَلَّا لَوۡ تَعۡلَمُونَ عِلۡمَ ٱلۡيَقِينِ ٥ لَتَرَوُنَّ ٱلۡجَحِيمَ ٦ ثُمَّ لَتَرَوُنَّهَا عَيۡنَ ٱلۡيَقِينِ ٧ ثُمَّ لَتُسَۡٔلُنَّ يَوۡمَئِذٍ عَنِ ٱلنَّعِيمِ ٨ ﴾ [التكاثر: ١-٨]
ความว่า "การสะสมทรัพย์สมบัติเพื่ออวดอ้าง ได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจ้าได้เข้าไปเยือนหลุมฝังศพ เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ แล้วก็เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ มิใช่เช่นนั้น พวกเจ้าจะเห็นไฟที่ลุกโชน แล้วแน่นอนพวกเจ้าจะได้เห็นมันด้วยสายตาที่แน่ชัด แล้วในวันนั้นพวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปรานที่ได้รับ (ในโลกดุนยา)็" (อัตตะกาษุรฺ: 1-8)
ประเภทที่สอง ผู้ที่ลำพองกับการทำอิบาดะฮฺและคุณงามความดีของเขา ซึ่งความจริงแล้วบ่าวที่ดีจะต้องกล่าวสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงช่วยเหลือให้เขาปฏิบัติความดีเหล่านั้นได้ และก็จำเป็นที่เขาจะต้องมีความอิคลาศบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์ รวมทั้งต้องตระหนักว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาได้รับมาจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَمُنُّونَ عَلَيۡكَ أَنۡ أَسۡلَمُواْۖ قُل لَّا تَمُنُّواْ عَلَيَّ إِسۡلَٰمَكُمۖ بَلِ ٱللَّهُ يَمُنُّ عَلَيۡكُمۡ أَنۡ هَدَىٰكُمۡ لِلۡإِيمَٰنِ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ ١٧ ﴾ [الحجرات: ١٧]
ความว่า "พวกเขาถือเป็นบุญคุณแก่เจ้าว่าพวกเขาได้รับอิสลามแล้ว จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าพวกท่านอย่าถือเอาการเข้ารับอิสลามของพวกท่านมาเป็นบุญคุณแก่ฉันเลย แต่ท่ว่าอัลลอฮฺทรงประทานบุญคุณแก่พวกท่านต่างหาก โดยชี้นำพวกท่านสู่การศรัทธา หากพวกท่านเป็นผู้สัตย์จริง็" (อัลหุญุรอต: 17)
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد،
وعلى آله وصحبه أجمعين.