เมื่อหัวใจมีโรค
หมวดหมู่
Full Description
เมื่อหัวใจมีโรค
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2013 - 1434
أمراض القلوب
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2013 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เมื่อหัวใจมีโรค
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์
ผู้ศรัทธาต้องหมั่นดูแลหัวใจให้ปลอดจากโรคต่างๆ เพราะหัวใจนั้นอาจมีโรคได้เช่นเดียวกับที่ร่างกายมีโรค และหัวใจนี่เองคือจุดสำคัญที่อัลลอฮฺทรงใช้พิจารณาบ่าวของพระองค์ อวัยวะส่วนอื่นๆ จะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับหัวใจ
อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٞ فَزَادَهُمُ ٱللَّهُ مَرَضٗاۖ ﴾ [البقرة: ١٠]
ความว่า “ในหัวใจของพวกเขานั้นมีโรค ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ทรงเพิ่มโรคนั้นให้มากขึ้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 10)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ أَفِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ أَمِ ٱرۡتَابُوٓاْ أَمۡ يَخَافُونَ أَن يَحِيفَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِمۡ وَرَسُولُهُۥۚ ﴾ [النور : ٥٠]
ความว่า “ในหัวใจของพวกเขามีโรคกระนั้นหรือ หรือว่าพวกเขาสงสัย หรือว่าพวกเขากลัวว่าอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์จะลำเอียงออกจากพวกเขา” (อัน-นูรฺ : 50)
พระองค์ตรัสอีกว่า
﴿ فَلَا تَخۡضَعۡنَ بِٱلۡقَوۡلِ فَيَطۡمَعَ ٱلَّذِي فِي قَلۡبِهِۦ مَرَضٞ ﴾ [الأحزاب : ٣٢]
ความว่า “..ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของเขามีโรคเกิดความโลภ” (อัล-อะหฺซาบ: 32)
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ اللهَ لَا يَنْظُرُ إِلَى صُوَرِكُمْ وَأَمْوَالِكُمْ، وَلَكِنْ يَنْظُرُ إِلَى قُلُوبِكُمْ وَأَعْمَالِكُمْ » [رواه مسلم برقم 2564]
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกหรือทรัพย์สมบัติของพวกท่าน แต่พระองค์จะทรงพิจารณาหัวใจของพวกท่าน และการงานที่พวกท่านปฏิบัติเป็นสำคัญ” (บันทึกโดย มุสลิม: 2564)
อัน-นุอฺมาน บิน บะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« أَلَا وَإِنَّ فِي الْجَسَدِ مُضْغَةً، إِذَا صَلَحَتْ صَلَحَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، أَلَا وَهِيَ الْقَلْبُ » [رواه البخاري برقم 52 ومسلم برقم 1599]
ความว่า “พึงทราบเถิดว่าในร่างกายเรานั้นมีก้อนเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง ถ้าส่วนดังกล่าวดี ร่างกายทุกส่วนก็จะดีตามไปด้วย แต่ถ้าส่วนดังกล่าวไม่ดี ร่างกายส่วนอื่นๆก็จะไม่ดี ก้อนเนื้อที่ว่านั้นก็คือหัวใจนั่นเอง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์: 52 และ มุสลิม: 1599)
หะดีษบทนี้อธิบายชี้ชัดว่าอิริยาบถความเคลื่อนไหวต่างๆ ของบ่าวจะดีหรือไม่ และเขาจะสามารถงดเว้นสิ่งต้องห้ามพร้อมทั้งออกห่างสิ่งที่คลุมเครือได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับความดีงามของหัวใจ ถ้าหากว่าหัวใจของเขามีความบริสุทธิ์ และได้รับการเติมเต็มด้วยความรักที่มีต่ออัลลอฮฺและทุกสิ่งที่พระองค์ทรงรัก และด้วยความยำเกรงอันเต็มเปี่ยมต่อพระองค์อันส่งผลให้เกิดความเกรงกลัวที่จะทำในสิ่งที่พระองค์ทรงรังเกียจ เช่นนี้แล้วอิริยาบถและการกระทำทุกอย่างที่เขาแสดงออกก็จะดีตามไปด้วย และเขาก็จะหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามทั้งหมด พร้อมทั้งพยายามออกห่างจากสิ่งที่คลุมเครือเพราะเกรงว่าจะพลาดไปกระทำสิ่งที่เป็นข้อห้าม
แต่ถ้าหากว่าหัวใจไม่ดี ถูกครอบงำโดยอารมณ์ใฝ่ต่ำและมุ่งแสวงหาแต่สิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตน โดยไม่สนใจว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกริ้วหรือไม่ เขาก็จะลุ่มหลงอยู่กับการฝ่าฝืนและความคลุมเครือไม่ชัดเจน อันเป็นผลให้การงานตลอดจนอิริยาบถต่างๆ ของเขาไม่ดีตามไปด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กล่าวว่า หัวใจนั้นเปรียบดังราชา ซึ่งมีอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นไพร่พลบริวารที่อยู่ใต้การปกครอง พร้อมจะรับคำสั่งและปฏิบัติตามคำบัญชาของราชาในทุกๆเรื่อง ดังนั้น หากว่าราชาผู้นี้ดี ไพร่พลทั้งหลายก็จะดีตามไปด้วย และในทางกลับกัน ถ้าหากว่าราชาไม่ดี ไพร่พลบริวารเหล่านั้นก็จะเสื่อมเสียไปด้วย
ลักษณะของหัวใจที่ดีในมุมมองของอัลลอฮฺ คือหัวใจที่บริสุทธิ์ (القلب السليم) ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
﴿ يَوۡمَ لَا يَنفَعُ مَالٞ وَلَا بَنُونَ ٨٨ إِلَّا مَنۡ أَتَى ٱللَّهَ بِقَلۡبٖ سَلِيمٖ ٨٩ ﴾ [الشعراء: ٨٨- ٨٩]
ความว่า “วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮฺด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส” (อัช-ชุอะรออ์: 88-89)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยกล่าววิงวอนขอในดุอาอ์บทหนึ่งว่า
« أَسْأَلُكَ قَلْبا سَلِيْمًا » [رواه أحمد برقم 17114]
ความว่า “(โอ้อัลลอฮฺ) ขอพระองค์ทรงให้ฉันมีหัวใจที่บริสุทธิ์ด้วยเถิด” (บันทึกโดย อะหมัด: 17114)
ซึ่งหัวใจที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงนั้น คือหัวใจที่ปราศจากโรคและความสกปรกโสมมต่างๆ เป็นหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักที่มีต่ออัลลอฮฺ และต่อสิ่งที่พระองค์ทรงชอบ มีแต่ความยำเกรงพระองค์ และมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ห่างไกลจากพระองค์ (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม โดย อิบนุเราะญับ หน้า 94-95)
ทั้งนี้ หัวใจแบ่งออกได้สามประเภทคือ หัวใจบริสุทธิ์ (القَلبُ السَلِيم) หัวใจมืดบอด (القَلبُ المَيِّت) และหัวใจมีโรค (القَلبُ المَرِيض)
ประเภทแรก: หัวใจบริสุทธิ์ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَوۡمَ لَا يَنفَعُ مَالٞ وَلَا بَنُونَ ٨٨ إِلَّا مَنۡ أَتَى ٱللَّهَ بِقَلۡبٖ سَلِيمٖ ٨٩ ﴾ [الشعراء: ٨٨- ٨٩]
ความว่า “วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮฺด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส” (อัชชุอะรออ์: 88-89)
อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวอธิบายว่า “คือหัวใจที่ปลอดจากการตั้งภาคี (ชิริก) ความเคียดแค้นเกลียดชัง ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่ถี่เหนียว หยิ่งยโสโอหัง และความลุ่มหลงในดุนยาและอำนาจ เป็นหัวใจที่ปราศจากความปรารถนาที่ขัดกับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ ปราศจากอารมณ์ความต้องการที่สวนทางกับพระประสงค์ของพระองค์ และห่างไกลจากสิ่งที่มาบั่นทอนความผูกพันที่มีต่อพระองค์” (บะดาอิอฺ อัต-ตัฟสีร เล่ม 3 หน้า 327)
ประเภทที่สอง: หัวใจมืดบอด เป็นหัวใจที่ไร้ชีวิตชีวา ไม่รู้จักพระผู้อภิบาล ไม่ยอมศิโรราบภักดีต่อพระองค์ ไม่สนใจไตร่ตรองว่าสิ่งใดที่พระองค์ทรงพอพระทัย หัวใจประเภทนี้ลุ่มหลงอยู่ในวังวนของอารมณ์ใฝ่ต่ำและความสำเริงสำราญ แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะนำมาซึ่งความโกรธกริ้วและความไม่พอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม หัวใจที่มีลักษณะเช่นนี้คือหัวใจของผู้ปฏิเสธศรัทธานั่นเอง อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَقَدۡ ذَرَأۡنَا لِجَهَنَّمَ كَثِيرٗا مِّنَ ٱلۡجِنِّ وَٱلۡإِنسِۖ لَهُمۡ قُلُوبٞ لَّا يَفۡقَهُونَ بِهَا وَلَهُمۡ أَعۡيُنٞ لَّا يُبۡصِرُونَ بِهَا وَلَهُمۡ ءَاذَانٞ لَّا يَسۡمَعُونَ بِهَآۚ أُوْلَٰٓئِكَ كَٱلۡأَنۡعَٰمِ بَلۡ هُمۡ أَضَلُّۚ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡغَٰفِلُونَ ١٧٩ ﴾ [الأعراف: ١٧٨]
ความว่า “และแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับญะฮันนัมซึ่งจำนวนมากมายจากญินและมนุษย์ โดยที่พวกเขามีหัวใจซึ่งพวกเขาไม่ใช้มันทำความเข้าใจ พวกเขามีตาแต่พวกเขาไม่ใช่มันมอง พวกเขามีหูแต่พวกเขาไม่ใช้มันฟัง ชนเหล่านี้แหละประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่า ชนเหล่านี้แหละ พวกเขาคือผู้ทีเผอเรอ” (อัล-อะอฺรอฟ: 179)
ประเภทที่สาม: หัวใจมีชีวิตแต่ในขณะเดียวกันก็มีโรค จึงมีความก้ำกึ่ง เอนไปทางโน้นทีทางนี้ทีไม่มีความมั่นคง ลักษณะเช่นนี้คือหัวใจของมุนาฟิกผู้กลับกลอก และผู้ที่เดินตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿ وَمَآ أَرۡسَلۡنَا مِن قَبۡلِكَ مِن رَّسُولٖ وَلَا نَبِيٍّ إِلَّآ إِذَا تَمَنَّىٰٓ أَلۡقَى ٱلشَّيۡطَٰنُ فِيٓ أُمۡنِيَّتِهِۦ فَيَنسَخُ ٱللَّهُ مَا يُلۡقِي ٱلشَّيۡطَٰنُ ثُمَّ يُحۡكِمُ ٱللَّهُ ءَايَٰتِهِۦۗ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٞ ٥٢ لِّيَجۡعَلَ مَا يُلۡقِي ٱلشَّيۡطَٰنُ فِتۡنَةٗ لِّلَّذِينَ فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٞ وَٱلۡقَاسِيَةِ قُلُوبُهُمۡۗ وَإِنَّ ٱلظَّٰلِمِينَ لَفِي شِقَاقِۢ بَعِيدٖ ٥٣ وَلِيَعۡلَمَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ أَنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّكَ فَيُؤۡمِنُواْ بِهِۦ فَتُخۡبِتَ لَهُۥ قُلُوبُهُمۡۗ وَإِنَّ ٱللَّهَ لَهَادِ ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ ٥٤ ﴾ [الحج : ٥٢-٥٤]
ความว่า “และเรามิได้ส่งเราะสูลและนบีคนใดก่อนหน้าเจ้า เว้นแต่ว่าเมื่อเขาหวังตั้งใจชัยฏอนก็จะเข้ามายุแหย่ให้หันเหออกจากความหวังตั้งใจของเขา แต่อัลลอฮฺก็ทรงทำลายล้างสิ่งที่ชัยฏอนยุแหย่ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงทำให้โองการทั้งหลายของพระองค์มั่นคง และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ทรงปรีชาญาณ เพื่อพระองค์จะทรงทำให้สิ่งที่ชัยฏอนยุแหย่นั้น เป็นการทดสอบสำหรับบรรดาผู้ที่ในจิตใจของพวกเขามีโรค และจิตใจของพวกเขาแข็งกระด้าง และแท้จริงบรรดาผู้อธรรมนั้นอยู่ในการแตกแยกที่ห่างไกล และเพื่อบรรดาผู้รู้จะตระหนักว่าอัลกุรอาน นั้นคือสัจธรรมจากพระเจ้าของเจ้า เพื่อพวกเขาจะได้ศรัทธาต่อมัน (อัลกุรอาน) แล้วจิตใจของพวกเขาจะได้นอบน้อมต่อมัน (อัลกุรอาน) และแท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ชี้แนะบรรดาผู้ศรัทธาสู่แนวทางอันเที่ยงตรง” (อัล-หัจญฺ: 52-54)
ส่วนหนึ่งของสัญญาณที่บ่งชี้ว่าหัวใจมีโรคก็เช่น
(1) การให้ความสำคัญกับโลกดุนยาเหนือความสุขอันจีรังในอาคิเราะฮฺ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« بَادِرُوا بِالْأَعْمَالِ فِتَنًا كَقِطَعِ اللَّيْلِ الْمُظْلِمِ، يُصْبِحُ الرَّجُلُ مُؤْمِنًا وَيُمْسِي كَافِرًا، أَوْ يُمْسِي مُؤْمِنًا وَيُصْبِحُ كَافِرًا، يَبِيعُ دِينَهُ بِعَرَضٍ مِنَ الدُّنْيَا » [رواه مسلم برقم 118]
ความว่า “พวกท่านจงรีบเร่งปฏิบัติความดี ก่อนที่จะเกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวายโกลาหลดั่งราตรีกาลอันมืดทมิฬ กระทั่งว่าบางคนตื่นเช้ามาในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธา แต่เมื่อตกเย็นกลับกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาไปเสีย หรือบางคนในตอนเย็นยังเป็นผู้ศรัทธา แต่เมื่อตื่นขึ้นมาอีกวันก็กลับกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ยอมขายศาสนาเพื่อแลกกับความสุขอันจอมปลอมเพียงน้อยนิดในโลกดุนยา” (บันทึกโดย มุสลิม: 118)
(2) ความตื่นตระหนกหวาดกลัว อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ سَنُلۡقِي فِي قُلُوبِ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱلرُّعۡبَ بِمَآ أَشۡرَكُواْ بِٱللَّهِ مَا لَمۡ يُنَزِّلۡ بِهِۦ سُلۡطَٰنٗاۖ ﴾ [آل عمران: ١٥١]
ความว่า “เราจะโยนความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้น เนื่องจากการที่พวกเขาให้มีภาคีแก่อัลลอฮฺ ซึ่งสิ่งที่พระองค์มิได้ทรงประทานหลักฐานใดๆมายืนยันในสิ่งนั้น” (อาลอิมรอน: 151)
(3) การรู้สึกว่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ เป็นเรื่องเล็ก และลุ่มหลงอยู่กับการฝ่าฝืน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يُعۡجِبُكَ قَوۡلُهُۥ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَيُشۡهِدُ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا فِي قَلۡبِهِۦ وَهُوَ أَلَدُّ ٱلۡخِصَامِ ٢٠٤ وَإِذَا تَوَلَّىٰ سَعَىٰ فِي ٱلۡأَرۡضِ لِيُفۡسِدَ فِيهَا وَيُهۡلِكَ ٱلۡحَرۡثَ وَٱلنَّسۡلَۚ وَٱللَّهُ لَا يُحِبُّ ٱلۡفَسَادَ ٢٠٥ ﴾ [البقرة: ٢٠٤-٢٠٥]
ความว่า “และในหมู่มนุษย์นั้น มีผู้ที่คำพูดของเขาทำให้เจ้าพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ และเขาจะอ้างอัลลอฮฺเป็นพยานซึ่งสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเขา และขณะเดียวกันก็เป็นผู้โต้เถียงที่ฉกาจฉกรรจ์ยิ่ง และเมื่อเขาให้หลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายามในแผ่นดินเพื่อก่อความเสียหายในนั้น และทำลายพืชผลและเผ่าพันธุ์ และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 204-205)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ أَفَرَءَيۡتَ مَنِ ٱتَّخَذَ إِلَٰهَهُۥ هَوَىٰهُ وَأَضَلَّهُ ٱللَّهُ عَلَىٰ عِلۡمٖ وَخَتَمَ عَلَىٰ سَمۡعِهِۦ وَقَلۡبِهِۦ وَجَعَلَ عَلَىٰ بَصَرِهِۦ غِشَٰوَةٗ فَمَن يَهۡدِيهِ مِنۢ بَعۡدِ ٱللَّهِۚ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ ٢٣﴾ [الجاثية : ٢٣]
ความว่า “เจ้าเคยเห็นผู้ที่ยึดถือเอาอารมณ์ต่ำของเขาเป็นพระเจ้าของเขาบ้างไหม? และอัลลอฮฺจะทรงให้เขาหลงทางด้วยการรอบรู้ (ของพระองค์) และทรงผนึกการฟังของเขาและหัวใจของเขา และทรงทำให้มีสิ่งบดบังดวงตาของเขา ดังนั้นผู้ใดเล่าจะชี้แนะแก่เขาหลังจากอัลลอฮฺ พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ?” (อัล-ญาษิยะฮฺ: 23)
(4) มีความรู้สึกว่าหัวใจแข็งกระด้าง ชาวสลัฟบางท่านกล่าวว่า การลงโทษของอัลลอฮฺอันหนักหน่วงที่สุดที่มีต่อบ่าวของพระองค์ในโลกนี้ คือการที่พระองค์ทรงทำให้หัวใจของเขาแข็งกระด้าง พระองค์ตรัสว่า
﴿ فَوَيۡلٞ لِّلۡقَٰسِيَةِ قُلُوبُهُم مِّن ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ أُوْلَٰٓئِكَ فِي ضَلَٰلٖ مُّبِينٍ ٢٢ ﴾ [الزمر:22]
ความว่า “ดังนั้นความวิบัติจงประสบแด่ผู้ที่หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านี้อยู่ในการหลงผิดอันชัดแจ้ง” (อัซซุมัร: 22)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ ثُمَّ قَسَتۡ قُلُوبُكُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَ فَهِيَ كَٱلۡحِجَارَةِ أَوۡ أَشَدُّ قَسۡوَةٗۚ ﴾ [البقرة: ٧٤]
ความว่า “(แต่ถึงแม้จะได้เห็นสัญญาณเหล่านี้แล้วก็ตาม) หัวใจของสูเจ้าก็ยังกระด้างเป็นหินหรือยิ่งกว่าหินเสียอีก” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 74)
ซึ่งหนทางการเยียวยารักษาโรคเหล่านี้ (ข้าพเจ้าหมายถึงโรคที่คอยรุมเร้าหัวใจ) คือการเตาบัตกลับตัวอย่างบริสุทธิ์ใจ พร้อมยึดมั่นในแนวทางของกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านเราะสูล สองสิ่งนี้คือยารักษาโรคและแสงรัศมีนำทาง อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱسۡتَجِيبُواْ لِلَّهِ وَلِلرَّسُولِ إِذَا دَعَاكُمۡ لِمَا يُحۡيِيكُمۡۖ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ يَحُولُ بَيۡنَ ٱلۡمَرۡءِ وَقَلۡبِهِۦ وَأَنَّهُۥٓ إِلَيۡهِ تُحۡشَرُونَ ٢٤ ﴾ [الأنفال: ٢٤]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงตอบรับอัลลอฮฺและเราะสูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา และแท้จริงยังพระองค์นั้นพวกเจ้าจะถูกนำกลับไปชุมนุม” (อัล-อันฟาล: 24)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ قَدۡ جَآءَتۡكُم مَّوۡعِظَةٞ مِّن رَّبِّكُمۡ وَشِفَآءٞ لِّمَا فِي ٱلصُّدُورِ وَهُدٗى وَرَحۡمَةٞ لِّلۡمُؤۡمِنِينَ ٥٧ ﴾ [يونس : ٥٧]
ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) จากพระเจ้าของพวกท่านได้มายังพวกท่านแล้ว และมันเป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก เป็นการชี้แนะทาง และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา” (ยูนุส: 57)
ทั้งนี้ หัวใจนั้นอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงพลิกทรงเปลี่ยนแปลงมันอย่างไรก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ดังนั้น จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องวิงวอนขอให้มีศรัทธาที่มั่นคงและยืนหยัดภักดีตลอดไป
มีรายงานจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มักจะกล่าวดุอาอ์บทนี้เป็นประจำ
« اللهُمَّ مُقَلِّبَ القُلُوبِ ثَبِّتْ قَلْبِي عَلى دِيْنِكَ » [رواه أحمد برقم 26576]
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺผู้ทรงพลิกผันหัวใจ ขอพระองค์ทรงให้หัวใจของข้าพระองค์มั่นคงอยู่ในศาสนาของพระองค์ด้วยเถิด” (บันทึกโดย อะหมัด: 26576)
والحمد لله رب العالمين،
وصلى وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.