ปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยลบล้างความผิด
หมวดหมู่
Full Description
ปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยลบล้างความผิด
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
อัล-มุลกอฮฺ
2013 - 1434
كفارات الذنوب
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2013 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่องที่ 81
ปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยลบล้างความผิด
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การยกย่องสรรเสริญจากอัลลอฮฺและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...
สุดยอดและเป็นความปรารถนาอันแรงกล้าของบรรดามุสลิม คือ การที่ชีวิตของเขาได้ลาไปจากโลกดุนยาในสภาพที่พระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงอภัยโทษให้รอดพ้นจากความผิด และได้รับความดีงามอย่างเพิ่มทวีคูณ
และในจำนวนวิทยปัญญาบางประการของอัลลอฮฺ ก็คือ การที่ทรงกำหนดศัตรูบางอย่างให้กับมนุษย์ ซึ่งมันจะคอยยุยงส่งเสริมให้เขากระทำความผิด หลอกลวงเขาว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย และทำให้เขาต้องถอยห่างจากความดีงาม ศัตรูพวกนั้นได้แก่ จิตใจถูกครอบงำด้วยความชั่ว, ชัยฏอนมารร้าย และอารมณ์ใฝ่ต่ำ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสถึงจิตแห่งความชั่วว่า
﴿إِنَّ ٱلنَّفۡسَ لَأَمَّارَةُۢ بِٱلسُّوٓءِ إِلَّا مَا رَحِمَ رَبِّيٓۚ﴾ [يوسف : 35]
ความหมาย “แท้จริงจิตใจนั้นถูกครอบงำไว้ด้วยความชั่ว นอกจากที่พระเจ้าของฉันทรงเมตตา” (ยูซุฟ : 35)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَأَمَّا مَنۡ خَافَ مَقَامَ رَبِّهِۦ وَنَهَى ٱلنَّفۡسَ عَنِ ٱلۡهَوَىٰ 40 فَإِنَّ ٱلۡجَنَّةَ هِيَ ٱلۡمَأۡوَىٰ 41﴾ [النازعات : 41]
ความหมาย “และส่วนผู้ที่หวาดหวั่นต่อการยืนเบื้องหน้าพระเจ้าของเขา และได้หน่วงเหนี่ยวจิตใจจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ ดังนั้นสวนสวรรค์ก็จะเป็นที่พำนักของเขา” (อัล-นาซิอาต : 41)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสถึงชัยฏอนว่า
﴿قَالَ فَبِمَآ أَغۡوَيۡتَنِي لَأَقۡعُدَنَّ لَهُمۡ صِرَٰطَكَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ 16 ثُمَّ لَأٓتِيَنَّهُم مِّنۢ بَيۡنِ أَيۡدِيهِمۡ وَمِنۡ خَلۡفِهِمۡ وَعَنۡ أَيۡمَٰنِهِمۡ وَعَن شَمَآئِلِهِمۡۖ وَلَا تَجِدُ أَكۡثَرَهُمۡ شَٰكِرِينَ 17 ﴾ [الأعراف : 16-17]
ความหมาย “มันกล่าวว่า ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ทรงให้ข้าพระองค์ตกอยู่ในความหลงผิด แน่นอนข้าพระองค์จะนั่งขวางกั้นพวกเขาซึ่งแนวทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ แล้วข้าพระองค์จะมายังพวกเขา จากเบื้องหน้าของพวกเขา และจากเบื้องหลังของพวกเขา และจากเบื้องขวาของพวกเขา และจากเบื้องซ้ายของพวกเขา และพระองค์จะไม่พบว่าส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ขอบคุณ” (อัล-อะอฺรอฟ : 16-17)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสถึงอารมณ์ใฝ่ต่ำว่า
﴿أَرَءَيۡتَ مَنِ ٱتَّخَذَ إِلَٰهَهُۥ هَوَىٰهُ أَفَأَنتَ تَكُونُ عَلَيۡهِ وَكِيلًا 43 ﴾ [الفرقان : 43]
ความหมาย “เจ้าไม่เห็นดอกหรือ ผู้ที่ยึดเอาอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาเป็นพระเจ้า แล้วเจ้าจะเป็นผู้คุ้มครองเขากระนั้นหรือ?” (อัล-ฟุรกอน : 43)
หนึ่งในจำนวนความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าว ก็คือ การที่พระองค์ทรงให้มีปัจจัยต่างๆ ที่จะมาช่วยลบล้างความผิด และสาเหตุที่จะมาช่วยลบล้างความผิดประกอบด้วยคำพูดและการกระทำ ซึ่งถูกบัญญัติไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ และบางส่วนมาจากจริยวัตรของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง..การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การให้เอกภาพต่อพระองค์ และการประกอบคุณงามความดี อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ لَنُكَفِّرَنَّ عَنۡهُمۡ سَيِّئاتِهِمۡ وَلَنَجۡزِيَنَّهُمۡ أَحۡسَنَ ٱلَّذِي كَانُواْ يَعۡمَلُونَ﴾ [العنكبوت : 7]
ความหมาย “และบรรดาผู้ศรัทธาและผู้ประกอบคุณงามความดีทั้งหลายนั้น แน่นอนเราจะลบล้างความชั่วทั้งหลายของพวกเขาให้หมดไปจากพวกเขา และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาสิ่งที่ดียิ่ง ซึ่งพวกเขาได้ปฏิบัติเอาไว้” (อัล-อันกะบูต : 7)
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«تُفْتَحُ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ يَوْمَ الِاثْنَيْنِ وَيَوْمَ الْخَمِيسِ فَيُغْفَرُ لِكُلِّ عَبْدٍ لَا يُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا» [مسلم برقم 2565]
ความหมาย “ประตูสวนสวรรค์จะถูกเปิดในวันจันทร์กับวันพฤหัสบดี ดังนั้นบ่าวทุกคนที่ไม่ตั้งภาคีอันใดต่อพระองค์อัลลอฮฺจะได้รับการอภัยโทษ” (บันทึกโดยมุสลิม : 2565)
ประการที่สอง..การออกห่างจากการกระทำบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿إِن تَجۡتَنِبُواْ كَبَآئِرَ مَا تُنۡهَوۡنَ عَنۡهُ نُكَفِّرۡ عَنكُمۡ سَيّئاتِكُمۡ وَنُدۡخِلۡكُم مُّدۡخَلٗا كَرِيمٗا﴾ [النساء : 31]
ความหมาย “หากพวกเจ้าได้หลีกออกจากบรรดาบาปใหญ่ ของสิ่งที่พวกเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างบรรดาความผิดเล็กน้อยของพวกเจ้าให้ออกจากพวกเจ้า และเราจะให้พวกเจ้าเข้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ” (อัน-นิสาอ์ : 31)
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الصَّلَوَاتُ الْخَمْسُ، وَالْجُمُعَةُ إِلَى الْجُمُعَةِ، وَرَمَضَانُ إِلَى رَمَضَانَ، مُكَفِّرَاتٌ مَا بَيْنَهُنَّ إِذَا اجْتُنِبَتْ الْكَبَائِرَ» [مسلم برقم 233]
ความหมาย “ระหว่างการละหมาดทั้งห้าเวลา ระหว่างวันศุกร์หนึ่งไปอีกวันศุกร์ ระหว่างเราะมะฎอนหนึ่งไปอีกเราะมะฎอน มันจะช่วยลบล้างความผิดที่อยู่ในระหว่างนั้น โดยมีข้อแม้ว่าถ้าละเลิกหลีกห่างจากบาปใหญ่เสียก่อนเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม : 233)
ประการที่สาม..การกลับเนื้อกลับตัวอย่างจริงจัง (เตาบะฮฺ ศอดิเกาะฮฺ) อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَٱلَّذِينَ لَا يَدۡعُونَ مَعَ ٱللَّهِ إِلَٰهًا ءَاخَرَ وَلَا يَقۡتُلُونَ ٱلنَّفۡسَ ٱلَّتِي حَرَّمَ ٱللَّهُ إِلَّا بِٱلۡحَقِّ وَلَا يَزۡنُونَۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ يَلۡقَ أَثَامٗا 68 يُضَٰعَفۡ لَهُ ٱلۡعَذَابُ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَيَخۡلُدۡ فِيهِۦ مُهَانًا 69 إِلَّا مَن تَابَ وَءَامَنَ وَعَمِلَ عَمَلٗا صَٰلِحٗا فَأُوْلَٰٓئِكَ يُبَدِّلُ ٱللَّهُ سَيِّئاتِهِمۡ حَسَنَٰتٖۗ وَكَانَ ٱللَّهُ غَفُورٗا رَّحِيمٗا 70﴾ [الفرقان : 68-70]
ความหมาย “และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่ด้วยความชอบธรรม และพวกเขาไม่ผิดประเวณี ผู้ใดก็ตามที่กระทำการเหล่านั้นเขาก็จะได้รับบาป การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว และศรัทธา และประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วช้าของพวกเขาเป็นความดีงาม และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-ฟุรกอน : 68-70)
จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«التَّائِبُ مِنْ الذَّنْبِ كَمَنْ لَا ذَنْبَ لَهُ» [ابن ماجه برقم 4250]
ความหมาย “ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวจากความผิด ประดุจดั่งผู้ที่ไม่มีความผิดอันใด” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ : 4250)
ประการที่สี่..การกล่าวขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَٱسۡتَغۡفِرِ ٱللَّهَۖ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ غَفُورٗا رَّحِيمٗا﴾ [النساء : 106]
ความหมาย “และเจ้าจงขอภัยโทษต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัน-นิสาอ์ : 106)
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿وَمَا تُقَدِّمُواْ لِأَنفُسِكُم مِّنۡ خَيۡرٖ تَجِدُوهُ عِندَ ٱللَّهِ هُوَ خَيۡرٗا وَأَعۡظَمَ أَجۡرٗاۚ وَٱسۡتَغۡفِرُواْ ٱللَّهَۖ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمُۢ﴾ [المزمل : 20]
ความหมาย “และความดีอันใดที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง พวกเจ้าก็จะพบมัน ณ ที่อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นความดีและผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่กว่า ดังนั้นพวกเจ้าจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัล-มุซซัมมิล : 20)
จากซัยด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ أَسْتَغْفِرُ اللَّهَ الَّذِي لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ الْحَيَّ الْقَيُّومَ وَأَتُوبُ إِلَيْهِ، غُفِرَ لَهُ وَإِنْ كَانَ قَدْ فَرَّ مِنْ الزَّحْفِ» [أبو داود : 1517]
ความหมาย “ผู้ใดที่กล่าว-อัสตัฆฟิรุลลอฮัลละซี ลาฮิลาฮะ อิลลา ฮุวัล ฮัยยุล ก็อยยูม วะอะตูบู อิลัยฮิ- เขาจะถูกอภัยโทษถึงแม้ว่าเขาจะหนีสมรภูมิรบก็ตาม” (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 1517)
จากอบู ซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
«يَا عِبَادِى إِنَّكُمْ تُخْطِئُونَ بِاللَّيْلِ وَالنَّهَارِ وَأَنَا أَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا فَاسْتَغْفِرُونِى أَغْفِرْ لَكُمْ» [مسلم برقم 2577]
ความหมาย “โอ้ปวงบ่าวของฉัน พวกเจ้ากระทำความผิดทั้งกลางคืนและกลางวัน ขณะที่ตัวฉันเป็นผู้อภัยโทษจากความผิดทั้งหลาย ดังนั้นจงขออภัยโทษต่อฉัน แล้วฉันจะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า” (บันทึกโดยมุสลิม : 2577)
ประการที่ห้า..การอาบน้ำละหมาด จากหะดีษของหุมรอน คนรับใช้ของอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้นำน้ำเพื่อให้ท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน อาบน้ำละหมาด จากนั้นท่านก็ได้อาบ แล้วกล่าวว่า ผู้คนต่างพูดถึงหะดีษต่างๆ ของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันไม่รู้ว่ามันมีอะไรบ้าง? เว้นแต่ฉันเห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺได้อาบน้ำละหมาดเสมือนที่ฉันได้อาบน้ำละหมาด จากนั้นท่านเราะสูลกล่าวว่า
«مَنْ تَوَضَّأَ هَكَذَا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ، وَكَانَتْ صَلاَتُهُ وَمَشْيُهُ إِلَى الْمَسْجِدِ نَافِلَةً» [مسلم برقم 229]
ความหมาย “ผู้ใดที่ได้อาบน้ำละหมาดเยี่ยงนี้ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา โดยที่การละหมาดของเขาและการเดินไปยังมัสยิดของเขาเป็นสุนนะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม : 229)
ประการที่หก..การละหมาดและการเดินไปละหมาด จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَمْحُو اللَّهُ بِهِ الْخَطَايَا وَيَرْفَعُ بِهِ الدَّرَجَاتِ ؟». قَالُوا : بَلَى يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ : « إِسْبَاغُ الْوُضُوءِ عَلَى الْمَكَارِهِ، وَكَثْرَةُ الْخُطَا إِلَى الْمَسَاجِدِ، وَانْتِظَارُ الصَّلاَةِ بَعْدَ الصَّلاَةِ، فَذَلِكُمُ الرِّبَاطُ» [مسلم برقم 251]
ความหมาย “เอาไหม ถ้าฉันจะบอกพวกท่านซึ่งการงานที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดและพระองค์จะยกเกียรติหลายระดับชั้นให้กับพวกท่าน?” พวกเขาตอบว่า แน่นอนที่สุดโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า “จงอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ในช่วงที่ท่านไม่ชอบ (หมายถึงช่วงที่มีอากาศหนาว) และพยายามเดินไปยังมัสยิดให้มาก และให้รอละหมาดอีกเวลาหลังจากที่ได้ละหมาดเสร็จแล้วหนึ่งเวลา นั่นแหละคือการเฝ้าระวัง” (บันทึโดยมุสลิม : 251)
ประการที่เจ็ด..การบริจาคทาน อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿إِن تُبۡدُواْ ٱلصَّدَقَٰتِ فَنِعِمَّا هِيَۖ وَإِن تُخۡفُوهَا وَتُؤۡتُوهَا ٱلۡفُقَرَآءَ فَهُوَ خَيۡرٞ لَّكُمۡۚ وَيُكَفِّرُ عَنكُم مِّن سَيِّئاتِكُمۡۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ﴾ [البقرة : 271]
ความหมาย “หากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่ให้เป็นทาดมันก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่ และถ้าหากพวกเจ้าปกปิดมัน และให้มันแก่บรรดาผู้ยากจนแล้วมันก็เป็นสิ่งที่ดีแก่พวกเจ้ายิ่งกว่า และพระองค์จะทรงลบล้างออกจากพวกเจ้า ซึ่งบางส่วนจากบรรดาความผิดของพวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 271)
จากมุอาซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«أَلَا أَدُلُّكَ عَلَى أَبْوَابِ الْخَيْرِ؟ : الصَّوْمُ جُنَّةٌ، وَالصَّدَقَةُ تُطْفِئُ الْخَطِيئَةَ كَمَا يُطْفِئُ الْمَاءُ النَّارَ» [الترمذي برقم 2616]
ความหมาย “เอาไหมฉันจะบอกท่านถึงประตูแห่งความดีงาม? การถือศีลอดเป็นเหมือนโล่ห์(คอยป้องกันไม่ให้กระทำผิด) การบริจาคทานจะช่วยลบล้างความผิดเหมือนน้ำที่สามารถดับไฟได้” (ส่วนหนึ่งจากหะดีษบันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 2616)
ประการที่แปด..การประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«تَابِعُوا بَيْنَ الْحَجِّ وَالْعُمْرَةِ، فَإِنَّهُمَا يَنْفِيَانِ الذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الْكِيرُ خَبَثَ الْحَدِيدِ» [النسائي : 2574]
ความหมาย “จงทำหัจญ์และอุมเราะฮฺเรื่อยๆ ตลอดไป เพราะทั้งสองจะช่วยลบล้างความผิด เหมือนกับเครื่องเป่าเหล็กที่คอยกะเทาสนิมออกมา” (บันทึกโดยอัล-นะสาอีย์ : 2574)
ประการที่เก้า..การถูกทดสอบให้ประสบกับภัยพิบัติ จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เมื่ออัลลอฮฺได้ประทานโองการที่ว่า
﴿مَن يَعۡمَلۡ سُوٓءٗا يُجۡزَ بِهِۦ ﴾ [النساء: ١٢٣]
ความหมาย “ผู้ใดที่ปฏิบัติความชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เขาจะได้รับการตอบแทนด้วยกับมัน” (อัน-นิสาอ์ : 123)
และเมื่อการทดสอบอย่างหนักหน่วงได้ประสบกับบรรดามุสลิม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«قَارِبُوا وَسَدِّدُوا، فَفِى كُلِّ مَا يُصَابُ بِهِ الْمُسْلِمُ كَفَّارَةٌ حَتَّى النَّكْبَةِ يُنْكَبُهَا، أَوِ الشَّوْكَةِ يُشَاكُهَا» [مسلم برقم 2574]
ความหมาย “จงทำให้ดีที่สุด จงทำให้ถูกต้องที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มาประสบกับมุสลิมเป็นการลบล้างความผิด แม้กระทั่งการที่เขาประสบความเคราะห์ร้าย หรือโดนหนามทิ่มตำก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม : 2574)
ประการที่สิบ..การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและการละหมาดกิยามในยามค่ำคืนเราะมะฎอน จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ صَامَ رَمَضانَ إيْمَانًا واحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» [البخاري برقم 38، ومسلم برقم 759]
ความหมาย “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธาและปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้รับภาคผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 38 และมุสลิม : 759)
และจากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» [البخاري 37، ومسلم 759]
ความหมาย “ผู้ใดที่ดำรงการละหมาดในยามค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอนด้วยความศรัทธาและปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้รับภาคผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 37 และมุสลิม : 759)