×
บทความเตือนใจเกี่ยวกับการห้ามเยาะเย้ยถากถางผู้อื่น โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดีษ รวมทั้งอธิบายผลเสียอันรุนแรงและโทษอันหนักหน่วงของพฤติกรรมอันน่ารังเกียจยิ่งนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    ห้ามเยาะเย้ยดูถูกผู้อื่น

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1434

    النهي عن السخرية بالناس واحتقارهم

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانجسيري

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1434

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ห้ามเยาะเย้ยดูถูกผู้อื่น

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

    หนึ่งในคุณลักษณะที่น่าตำหนิที่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ทรงรังเกียจ คือการเยาะเย้ยและดูถูกผู้อื่น พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ وَيۡلٞ لِّكُلِّ هُمَزَةٖ لُّمَزَةٍ ١﴾ [الهمزة : 1]

    ความว่า “ความหายนะจงประสบแด่ทุกผู้นินทาและผู้ใส่ร้ายผู้อื่น” (อัล-ฮุมะซะฮฺ: 1)

    "อัล-วัยลุ" الويل เป็นคำขู่และคำเตือนสำทับสำหรับผู้ที่มีลักษณะนิสัยเหล่านี้

    อัล-มุอัลลิมียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "อัล-ฮัมซฺ" الهمز หมายถึง การเยาะเย้ยถากถางผู้อื่นโดยใช้ท่าทาง เช่น ชี้นิ้วใกล้ศีรษะเสมือนกับผู้ที่ถูกชี้นิ้วใส่นั้นเป็นคนเสียสติ หรือใช้สายตาดูถูกเหยียดหยามเหมือนกับผู้อื่นไม่มีค่า ส่วน "อัล-ลัมซฺ" اللمز หมายถึง การเยาะเย้ยผู้อื่นด้วยคำพูด เช่น เรียกชื่อด้วยสรรพนามที่บ่งถึงโรคหรือปมด้อยที่น่ารังเกียจของผู้อื่น (หนังสือมะการิมุล อัคลาก ของยะหฺยา อัล-มุอัลลิมียฺ หน้า 333)

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا يَسۡخَرۡ قَوۡمٞ مِّن قَوۡمٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُونُواْ خَيۡرٗا مِّنۡهُمۡ وَلَا نِسَآءٞ مِّن نِّسَآءٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُنَّ خَيۡرٗا مِّنۡهُنَّۖ وَلَا تَلۡمِزُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَلَا تَنَابَزُواْ بِٱلۡأَلۡقَٰبِۖ ١١ ﴾ [الحجرات: ١١]

    ความว่า “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ” (อัล-หุญุรอต: 11)

    อัฏ-เฏาะบะรียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "อัลลอฮฺทรงสั่งห้ามบรรดามุอ์มินผู้ศรัทธามิให้ดูถูกเหยียดหยามบุคคลอื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆก็ตาม ทั้งในเรื่องของความยากจน ความผิดที่เขากระทำ หรือเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น ส่วนคำตรัสของพระองค์ที่ว่า “และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ” นั้น ทัศนะที่ฉันคิดว่าถูกต้องที่สุดในการอธิบายอายะฮฺนี้ก็คือ พระองค์อัลลอฮฺทรงห้ามบรรดาผู้ศรัทธามิให้เรียกขานผู้อื่นด้วยสรรพนามซึ่งผู้ที่ถูกเรียกนั้นรู้สึกรังเกียจและไม่พอใจโดยไม่มีข้อยกเว้น ตราบใดที่บุคคลที่ถูกพาดพิงไม่พอใจ" (ตัฟสีร อัฏ-เฏาะบะรียฺ 11/293)

    ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ฉันได้พูดถึงเศาะฟิยะฮฺต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำนองว่านางนั้นมีรูปร่างเตี้ย ท่านจึงกล่าวแก่ฉันว่า

    «لَقَدْ قُلْتِ كَلِمَةً لَوْ مُزِجَتْ بِمَاءِ البَحْرِ لَمَزَجَتْهُ»

    ความว่า “คำพูดของเธอนั้นถ้าเอาไปผสมกับน้ำทะเล ก็คงจะทำให้มันเปลี่ยนสภาพไปเป็นแน่แท้” (เพราะความน่ารังเกียจของมัน- ผู้แปล) ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวอีกว่า และฉันได้เคยพูดถึงชายคนหนึ่งให้ท่านนบีฟัง ท่านจึงกล่าวว่า

    «مَا أُحِبُّ أَنِّي حَكَيْتُ إِنْسَانًا، وَأَنَّ لِي كَذَا وَكَذَا» [أبو داود برقم 4875]

    ความว่า “ฉันไม่ชอบที่จะพูดถึงเรื่องที่ไม่ดีของบุคคลอื่นถึงแม้ว่าฉันจะได้สิ่งใดเป็นการตอบแทนก็ตาม” (บันทึกโดยอบูดาวูด เลขที่หะดีษ 4875)

    อัล-มะอฺรูร เล่าว่า ฉันได้พบกับอบู ซัรฺที่รุบซะฮฺพร้อมกับผู้ติดตามของท่าน ซึ่งทั้งสองสวมใส่ชุดที่สวยงามในลักษณะเดียวกัน ฉันจึงถามท่านถึงสิ่งที่เห็น ท่านตอบว่า: ท่านได้เคยต่อว่าด่าทอชายคนหนึ่ง โดยการดูถูกเหยียดหยามมารดาของเขา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่ฉันว่า

    «يَا أَبَا ذَرٍّ ، أَعَيَّرْتَهُ بِأُمِّهِ؟ إِنَّكَ امْرُؤٌ فِيْكَ جَاهِلِيَّةٌ ، إِخْوَانُكُمْ خَوَلُكُمْ ، جَعَلَهُمُ اللهُ تَحْتَ أَيْدِيكُمْ ، فَمَنْ كَانَ أَخُوْهُ تَحْتَ يَدِهِ ، فَلْيُطْعِمْهُ مِمَّا يَأْكُلُ ، وَلْيُلْبِسْهُ مِمَّا يَلْبَسُ ، وَلَا تُكَلِّفُوْهُمْ مَا يَغْلِبُهُمْ ، فَإِنْ كَلَّفْتُمُوْهُمْ فَأَعِيْنُوْهُمْ» [البخاري برقم 30]

    ความว่า “โอ้ อบูซัร ท่านพูดดูถูกมารดาของเขาหรือ? แท้จริงในตัวท่านนั้นมีลักษณะของพวกญาฮิลียะฮฺ บรรดาพี่น้องของท่านคือผู้ที่อยู่กับท่าน อัลลอฮฺตะอาลาทรงทำให้พวกเขาอยู่ในความดูแลของท่าน ฉะนั้นผู้ใดที่เขามีพี่น้องอยู่ในความดูแลของเขา ก็จงให้อาหารแก่เขาเหมือนดังที่ท่านกิน จงให้เขาสวมใส่เสื้อผ้าเหมือนดังที่ท่านสวมใส่ จงอย่าใช้งานพวกเขาเกินความสามารถของพวกเขา และเมื่อท่านใช้งานพวกเขาท่านก็จงคอยช่วยเหลือพวกเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 30)

    การเยาะเย้ยผู้อื่นถือเป็นลักษณะของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกกลับกลอก ซึ่งพวกเรานั้นถูกสั่งห้ามมิให้กระทำสิ่งใดก็ตามที่เป็นการเลียนแบบกลุ่มคนเหล่านั้น อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ ٱلَّذِينَ يَلۡمِزُونَ ٱلۡمُطَّوِّعِينَ مِنَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ فِي ٱلصَّدَقَٰتِ وَٱلَّذِينَ لَا يَجِدُونَ إِلَّا جُهۡدَهُمۡ فَيَسۡخَرُونَ مِنۡهُمۡ سَخِرَ ٱللَّهُ مِنۡهُمۡ وَلَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ ٧٩ ﴾ [التوبة: ٧٩]

    ความว่า “พวกที่ตำหนิบรรดาผู้ที่สมัครใจจากหมู่ผู้ศรัทธาในการบริจาคทาน และตำหนิผู้ที่ไม่พบสิ่งใด (จะบริจาค) นอกจากค่าแรงงานอันเล็กน้อยของพวกเขา แล้วเย้ยหยันพวกเขานั้น อัลลอฮฺได้ทรงเย้ยหยันพวกเขาแล้ว และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันเจ็บแสบ” (อัต-เตาบะฮฺ: 79)

    อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า "และลักษณะประการหนึ่งของพวกกลับกลอกคือ จะไม่มีผู้ใดสามารถรอดพ้นจากคำตำหนิติเตียนและคำเย้ยหยันของพวกเขาในทุกกรณี แม้แต่บรรดาผู้ที่บริจาคทานก็มิอาจรอดพ้นจากพวกเขาได้ หากบุคคลหนึ่งบริจาคทรัพย์สินมากมาย พวกเขาก็จะกล่าวว่า ท่านนั้นโอ้อวด ในทางกลับกันหากบริจาคเพียงเล็กน้อยพวกเขาก็จะกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงร่ำรวยเกินกว่าที่จะรับการบริจาคทานเพียงเท่านี้" (ตัฟสีรอิบนุ กะษีรฺ 7/247)

    และการเยาะเย้ยผู้อื่นยังเป็นสาเหตุให้จิตใจมืดบอด เมื่อวันกิยามะฮฺมาถึงเขาจะรู้สึกเสียใจและเศร้าใจต่อการกระทำของเขาเป็นอย่างยิ่ง อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ أَن تَقُولَ نَفۡسٞ يَٰحَسۡرَتَىٰ عَلَىٰ مَا فَرَّطتُ فِي جَنۢبِ ٱللَّهِ وَإِن كُنتُ لَمِنَ ٱلسَّٰخِرِينَ ٥٦ ﴾ [الزمر : 56]

    ความว่า “มิฉะนั้นชีวิตหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้ความหายนะจงประสบแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ทอดทิ้งหน้าที่ ที่มีต่ออัลลอฮฺ และข้าพระองค์เคยอยู่ในหมู่ผู้เยาะเย้ยอีกด้วย” (อัซ-ซุมัรฺ: 56)

    ผู้ที่เยาะเย้ยผู้อื่นจะได้รับการลงโทษที่เจ็บแสบทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ โดยในดุนยาผู้ที่เยาะเย้ยอาจจะถูกเย้ยหยันกลับบ้าง ส่วนในอาคิเราะฮฺเขาจะได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺ พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ أَجۡرَمُواْ كَانُواْ مِنَ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ يَضۡحَكُونَ ٢٩ وَإِذَا مَرُّواْ بِهِمۡ يَتَغَامَزُونَ ٣٠ وَإِذَا ٱنقَلَبُوٓاْ إِلَىٰٓ أَهۡلِهِمُ ٱنقَلَبُواْ فَكِهِينَ ٣١ ﴾ [المطففين : 29-31]

    ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้กระทำผิดนั้น เคยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ศรัทธาและเมื่อบรรดาผู้ศรัทธาเดินผ่านพวกเขาไป พวกเขาจะหลิ่วตาเย้ยหยันและเมื่อพวกเขากลับไปยังพวกพ้องของพวกเขา พวกเขาก็กลับไปอย่างตลกคะนอง” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน: 29-31)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ وَٱلَّذِينَ يُؤۡذُونَ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتِ بِغَيۡرِ مَا ٱكۡتَسَبُواْ فَقَدِ ٱحۡتَمَلُواْ بُهۡتَٰنٗا وَإِثۡمٗا مُّبِينٗا ٥٨ ﴾ [الأحزاب : ٥٨]

    ความว่า “และบรรดาผู้กล่าวร้ายแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิงในสิ่งที่พวกเขามิได้กระทำ แน่นอนพวกเขาได้แบกการกล่าวร้าย และบาปอันชัดแจ้งไว้” (อัล-อะหฺซาบ: 58)

    ผู้ที่เยาะเย้ยผู้อื่นคือผู้ห่างไกลจากพระเจ้าของเขาและอยู่ใกล้ชิดชัยฏอน อัลลอฮฺ ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّهُۥ كَانَ فَرِيقٞ مِّنۡ عِبَادِي يَقُولُونَ رَبَّنَآ ءَامَنَّا فَٱغۡفِرۡ لَنَا وَٱرۡحَمۡنَا وَأَنتَ خَيۡرُ ٱلرَّٰحِمِينَ ١٠٩ فَٱتَّخَذۡتُمُوهُمۡ سِخۡرِيًّا حَتَّىٰٓ أَنسَوۡكُمۡ ذِكۡرِي وَكُنتُم مِّنۡهُمۡ تَضۡحَكُونَ ١١٠ إِنِّي جَزَيۡتُهُمُ ٱلۡيَوۡمَ بِمَا صَبَرُوٓاْ أَنَّهُمۡ هُمُ ٱلۡفَآئِزُونَ ١١١ ﴾ [المؤمنون : ١٠٩-١١١]

    ความว่า “แท้จริงมีหมู่ชนกลุ่มหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา พวกเขากล่าวว่า 'ข้าแต่พระเจ้าของเรา พวกเราได้ศรัทธาต่อพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่เรา และทรงเมตตาต่อเราด้วย และพระองค์ท่านเท่านั้น ทรงเป็นผู้เมตตาที่ดียิ่ง' พวกเจ้าได้ดูถูกเหยียดหยามพวกเขา จนกระทั่ง (การกระทำเช่นนั้นแก่พวกเขา) ทำให้พวกเจ้าลืมนึกถึงข้า และพวกเจ้าก็หัวเราะเยาะเย้ยพวกเขาแท้จริงข้าได้ตอบแทนรางวัลให้แก่พวกเขาแล้วในวันนี้ เพราะพวกเขาอดทน แท้จริงพวกเขาเท่านั้นเป็นผู้ได้รับชัยชนะ” (อัล-มุอ์มินูน: 109-111)

    อัล-กุรฏุบียฺ กล่าวว่า "ข้อคิดที่เราได้รับจากอายะฮฺข้างต้นคือ พึงระวังการเย้ยหยันผู้ที่อ่อนแอและขัดสน รวมถึงการดูถูกและเข้าไปยุ่งวุ่นวายในสิ่งที่ไม่ควร การกระทำทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผู้กระทำนั้นอยู่ห่างไกลจากอัลลอฮฺ" (ตัฟสีร อัล-กุรฏุบียฺ 15/95)

    และจากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเห็นได้ชัดเจนว่าการเย้ยหยันผู้อื่นนั้นถือเป็นบาปใหญ่ ซึ่งขัดกับหลักการศาสนาและจรรยามารยาทอันดีงาม

    และนี่คือตัวอย่างบางประการของการเยาะเย้ยในสังคมปัจจุบัน:

    การเยาะเย้ยต่อบรรดาผู้รู้ ผู้คงแก่เรียน ผู้สั่งใช้ให้ผู้อื่นทำความดีละเว้นความชั่ว รวมทั้งบุคคลอื่นๆทั้งหลายที่เป็นคนดีของสังคม อีกทั้งยังเรียกพวกเขาด้วยสรรพนามที่น่ารังเกียจ หาเรื่องใส่ร้ายป้ายสีโดยทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน นักวิชาการบางท่านกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ผู้ใดเยาะเย้ยผู้รู้หรือผู้ที่สั่งใช้ผู้อื่นให้ทำความดีละเว้นความชั่วในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ถือว่าเขานั้นได้ออกจากวงจรแห่งศาสนาแล้ว อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَلَئِن سَأَلۡتَهُمۡ لَيَقُولُنَّ إِنَّمَا كُنَّا نَخُوضُ وَنَلۡعَبُۚ قُلۡ أَبِٱللَّهِ وَءَايَٰتِهِۦ وَرَسُولِهِۦ كُنتُمۡ تَسۡتَهۡزِءُونَ ٦٥ ﴾ [التوبة: ٦٥]

    ความว่า “และถ้าหากเจ้าได้ถามพวกเขา แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นเพียงแต่พูดสนุก พูดเล่นเท่านั้นจงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮฺและบรรดาโองการของพระองค์และเราะสูลของพระองค์กระนั้นหรือ ที่พวกท่านเย้ยหยันกัน? พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากการมีศรัทธาของพวกท่าน” (อัต-เตาบะฮฺ: 65)

    อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการเยาะเย้ยต่อคนงาน หรือคนจนและคนอ่อนแอ รวมทั้งการดูถูกพวกเขาว่าเป็นคนสัญชาตินั้น สัญชาตินี้ หรือมาจากประเทศนั้นประเทศนี้ มีชายคนหนึ่งเดินผ่านท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านกล่าวถามผู้ที่อยู่กับท่านว่า “พวกท่านเห็นว่าชายคนนี้เป็นอย่างไร?” พวกเขาตอบว่า "แน่นอนเขาผู้นี้หากไปขอใครแต่งงานก็คงได้รับการยินยอม ขอความช่วยเหลือใครก็ได้รับความช่วยเหลือ หรือพูดสิ่งใดก็มีคนรับฟัง" ท่านนบีก็เงียบ จนกระทั่งชายยากจนคนหนึ่งเดินผ่านมา ท่านนบีจึงถามขึ้นอีกว่า “แล้วชายผู้นี้เล่าพวกท่านเห็นเป็นอย่างไร?” พวกเขาตอบว่า "แน่นอนเขาผู้นี้หากไปขอใครแต่งงานก็คงไม่มีใครยกให้ ขอความช่วยเหลือใครคงไม่มีใครยอมช่วยเหลือ หรือพูดสิ่งใดก็คงไม่มีใครรับฟัง" ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ชายยากจนผู้นี้ประเสริฐยิ่งกว่าผู้นั้น แม้ว่าจะมีจำนวนเต็มแผ่นดินรวมกันเสียอีก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 5091)

    ผู้ที่เยาะเย้ยผู้อื่นเขานั้นไม่รู้หรอกว่าผู้ที่เขาเยาะเย้ยนั้นอาจเป็นคนดีและเป็นผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากกว่าเขาเสียอีก พระองค์ ตรัสว่า

    ﴿إِنَّ أَكۡرَمَكُمۡ عِندَ ٱللَّهِ أَتۡقَىٰكُمۡۚ ﴾ [الحجرات: ١٣]

    ความว่า “แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (อัล-หุญุรอต: 13)

    มะหฺมูด อัล-ฆ็อซนะวียฺ กล่าวว่า:

    فلا تَحْقِرَنَّ خَــلقًا مِن النـــاسِ عَلَّهُ وَلِيُّ إِلَـــهِ العــــالمينَ وَمَـا تَدْرِي

    فذو القَدْرِ عِنْدَ اللهِ خَافٍ عَنِ الوَرَى كَمَا خَفِيَتْ عَنْ عِلْمِهِمْ ليلةُ القدرِ

    ท่านอย่าได้ดูถูกผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาดเพราะเขาคนนั้น

    อาจเป็นที่รักของพระเจ้าแห่งสากลโลกโดยที่ท่านไม่รู้

    ผู้ที่มีสถานะอันสูงส่ง ณ อัลลอฮฺมักไม่ปรากฏต่อสายตาผู้อื่น

    เหมือนที่พวกเขาไม่อาจรู้ได้ว่าคืนใดคือลัยละตุลก็อดรฺ

    และอีกตัวอย่างหนึ่ง คือการเยาะเย้ยต่อเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงและญาติพี่น้อง ซึ่งสาเหตุของการดูถูกเยาะเย้ยนี้นั้นอาจเกิดจากความอิจฉาริษยา กล่าวคือบางคนอาจโดดเด่นเหนือญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง ทั้งในเรื่องการค้าขาย เรื่องความรู้ รวมทั้งเรื่องการศึกษา จึงมีผู้อิจฉาและแสดงออกด้วยการพูดดูแคลนเยาะเย้ยนินทาพวกเขาเหล่านี้ในที่ชุมนุมเพื่อให้พวกเขาดูไม่ดีในสายตาผู้อื่น

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «لَا تَحَاسَدُوْا ، وَلَا تَنَاجَشُوْا ، وَلَا تَبَاغَضُوْا ، وَلَا تَدَابَرُوْا ، وَلَا يَبِعْ بَعْضُكُمْ عَلىَ بَيْعِ بَعْضٍ ، وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ! إِخْوَانًا ، المُسْلِمُ أَخُو المُسْلِمِ ، لَا يَظْلِمُهُ وَلَا يَخْذُلُهُ وَلَا يَحْقِرُهُ ، التَّقْوَى هَهُنَا» ويشير إلى صدره ثلاث مرات «بِحَسْبِ امْرِئٍ مِنَ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاُه المُسْلِمَ ، كُلُّ المُسْلِمِ عَلَى المُسْلِمِ حَرَامٌ : دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ» [مسلم برقم 2564]

    ความว่า “พวกท่านจงอย่าอิจฉาริษยาผู้อื่น อย่าเพิ่มราคาสินค้าโดยที่ท่านเองไม่ต้องการซื้อเพื่อเป็นหน้าม้าให้ผู้ขายได้รับประโยชน์ อย่าได้โกรธเคืองซึ่งกันและกัน อย่าได้ขัดแย้งกันเอง อย่าได้ขายของตัดหน้ากัน และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน มุสลิมทุกคนคือพี่น้องกัน ท่านอย่าได้อธรรมต่อกัน อย่าได้ให้ร้ายต่อกัน และอย่าดูถูกซึ่งกันและกัน แท้จริงการยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮฺอยู่ที่นี่” แล้วท่านนบีก็ชี้ไปที่หน้าอกของท่านสามครั้ง และกล่าวว่า “ถือเป็นความชั่วร้ายที่มุสลิมจะดูถูกพี่น้องมุสลิมด้วยกัน เพราะมุสลิมทุกคนนั้น เลือดเนื้อของเขา ทรัพย์สินของเขา และเกียรติของเขานั้นเป็นสิ่งต้องห้ามระหว่างกัน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2564)

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.