×
อธิบายถึงอันตรายจากการแพร่กระจายของการทำบาปในสังคมมนุษย์ อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดการลงโทษในรูปแบบต่างๆ จากอัลลอฮฺ จำเป็นที่ต้องระวังและหาทางรอดด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่อัลกุรอานและท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ตักเตือนไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    ทางรอดจากการลงโทษ

    ของพระผู้เป็นเจ้า

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    العقوبات الإلهية وأسباب رفعها

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانجسيري

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ทางรอดจากการลงโทษ

    ของพระผู้เป็นเจ้า

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุข ความจำเริญและความศานติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่านโดยทั่วกัน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

    บททดสอบประการหนึ่งที่สังคมมุสลิมทุกวันนี้กำลังเผชิญอยู่ คือการที่ผู้คนกระทำผิดบาปฝ่าฝืนและประพฤติชั่วกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญญาณบอกเหตุร้ายที่เตือนว่าประชาชาติมุสลิมจะต้องประสบกับความหายนะ และอาจจะต้องถูกลงโทษตั้งแต่ในโลกดุนยาก่อนที่การลงโทษในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสเล่าถึงชนยุคก่อนว่า

    ﴿ فَكُلًّا أَخَذۡنَا بِذَنۢبِهِۦۖ فَمِنۡهُم مَّنۡ أَرۡسَلۡنَا عَلَيۡهِ حَاصِبٗا وَمِنۡهُم مَّنۡ أَخَذَتۡهُ ٱلصَّيۡحَةُ وَمِنۡهُم مَّنۡ خَسَفۡنَا بِهِ ٱلۡأَرۡضَ وَمِنۡهُم مَّنۡ أَغۡرَقۡنَاۚ وَمَا كَانَ ٱللَّهُ لِيَظۡلِمَهُمۡ وَلَٰكِن كَانُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ يَظۡلِمُونَ ٤٠ ﴾ [العنكبوت: ٤٠]

    ความว่า “และแต่ละคนเราได้ลงโทษด้วยความผิดของเขา เช่น บางคนในหมู่พวกเขาเราได้ส่งลมพายุร้ายทำลายเขา และบางคนในหมู่พวกเขาเราได้ลงโทษเขาด้วยเสียงกัมปนาท และบางคนในหมู่พวกเขาเราได้ให้แผ่นดินสูบเขา และบางคนในหมู่พวกเขาเราได้ให้เขาจมน้ำตาย และอัลลอฮฺมิได้ทรงอธรรมแก่พวกเขาแต่พวกเขาต่างหากที่อธรรมต่อพวกเขาเอง” (อัล-อันกะบูต: 40)

    ท่านอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม กล่าวว่า

    «يَا مَعْشَرَ المُهَاجِرِيْنَ، خَمْسٌ إِذَا ابْتُلِيْتُمْ بِهِنَّ وَ أَعُوْذُ بِاللهِ أَنْ تُدْرِكُوْهُنَّ: لَمْ تَظْهَرِ الفَاحِشَةُ فِيْ قَوْمٍ حَتَّى يُعْلِنُوْا بِهَا إِلَّا فَشَا فِيْهِمُ الطَاعُوْنُ وَالأَوْجَاعُ الَّتِي لَمْ تَكُنْ مَضَتْ فِيْ أَسْلَافِهِمُ الَّذِيْنَ مَضَوْا ، وَلَمْ يَنْقُصُوا المِكْيَالَ وَالمِيْزَانَ إِلَّا أُخِذُوْا بِالسِّنِيْنَ وَشِدَّةِ المَؤُوْنَةِ وَجَوْرِ السُّلْطَانِ عَلَيْهِمْ ، وَلَمْ يَمْنَعُوْا زَكَاةَ أَمْوَالِهِمْ إِلَّا مُنِعُوا القَطْرَ مِنَ السَّمَاءِ وَلَوْلَا البَهَائِمُ لَمْ يُمْطَرُوْا... » [ابن ماجه برقم 4017، وحسنه الألباني]

    ความว่า “โอ้บรรดามุฮาญิรีนเอ๋ย หากความผิดบาปและการฝ่าฝืนห้าประการนี้เกิดขึ้นในหมู่ท่าน มันจะนำมาซึ่งบททดสอบและการลงโทษ และฉันก็ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พวกท่านรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้: เมื่อมีการผิดประเวณีและสัมพันธ์ต้องห้ามอย่างแพร่หลายในกลุ่มชนใด พวกเขาจะต้องเผชิญกับการระบาดของกาฬโรคและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต และหากกลุ่มชนใดโกงการชั่งตวง พวกเขาก็จะประสบกับความแห้งแล้งแร้นแค้นและความอธรรมของผู้ปกครอง และหากกลุ่มชนใดปฏิเสธการจ่ายทานซะกาต ฝนฟ้าก็จะหยุดตก และถ้ามิใช่เพราะสัตว์ต่างๆต้องการฝน พวกเขาเหล่านั้นจะไม่ได้รับความโปรดปรานดังกล่าวนี้อีกต่อไป..." (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 4019 ซึ่งท่านอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษหะสัน)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกเราถึงบางส่วนจากบทลงโทษที่จะประสบแก่ประชาชาติของท่านในยุคหลัง ถ้าหากพวกเขาประพฤติชั่วหรือกระทำการใดๆที่เป็นการฝ่าฝืนอย่างเปิดเผย

    และถ้าเราได้พินิจพิจารณาถึงสภาพของผู้คนในสมัยนี้ เราจะพบว่าบทลงโทษที่อัลลอฮฺตะอาลา และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกเราไว้นั้นล้วนเกิดขึ้นแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจการเงินที่ประสบปัญหาในระดับประเทศและระดับปัจเจกบุคคล การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโรคระบาดที่อันตรายทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัญหาข้าวยากหมากแพงและขาดบะเราะกัตความจำเริญ แผ่นดินไหว ฝนแล้ง อากาศเป็นพิษ ฝุ่นควัน ภูเขาไฟระเบิด สงครามและผลเสียที่ตามมา ความวุ่นวายเกิดขึ้นทั่วทุกหย่อมหญ้า ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่มีความคิดและมิได้เพิกเฉย อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَمَآ أَصَٰبَكُم مِّن مُّصِيبَةٖ فَبِمَا كَسَبَتۡ أَيۡدِيكُمۡ وَيَعۡفُواْ عَن كَثِيرٖ ٣٠ ﴾ [الشورى: ٣٠]

    ความว่า “และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวาย และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว” (อัชชูรอ: 30)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ ظَهَرَ ٱلۡفَسَادُ فِي ٱلۡبَرِّ وَٱلۡبَحۡرِ بِمَا كَسَبَتۡ أَيۡدِي ٱلنَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعۡضَ ٱلَّذِي عَمِلُواْ لَعَلَّهُمۡ يَرۡجِعُونَ ٤١ ﴾ [الروم: ٤١]

    ความว่า “การบ่อนทำลายได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้ เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (อัรรูม: 41)

    และถ้าจะถามถึงวิธีบรรเทาและผ่อนปรนความทุกข์ยากเหล่านี้ ก็คงหนีไม่พ้นสิ่งที่อัลกุรอานและสุนนะฮฺได้บอกไว้แก่พวกเรา ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

    ประการที่หนึ่ง จำเป็นที่จะต้องงดเว้นและออกห่างจากความผิดบาปทั้งหลายที่กระทำอยู่ พร้องทั้งขออภัยโทษและรีบเร่งทำการเตาบัตกลับตัวต่ออัลลอฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوۡمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنفُسِهِمۡۗ ﴾ [الرعد: ١١]

    ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง” (อัร-เราะอฺด์: 11)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ وَلَٰكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذۡنَٰهُم بِمَا كَانُواْ يَكۡسِبُونَ ٩٦ ﴾ [الأعراف: ٩٥]

    ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธาและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็จะเปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดิน แต่ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้นเราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้”(อัล-อะอฺรอฟ: 96)

    ชาวสลัฟบางท่านกล่าวว่า "ท่านอย่าได้รู้สึกแปลกใจว่าเหตุใดการตอบรับดุอาอ์ที่ท่านขอถึงได้ล่าช้านัก ในเมื่อตัวท่านเองได้ปิดช่องทางดังกล่าวด้วยการทำความชั่วและการฝ่าฝืน"

    กวีอาหรับคนหนึ่งกล่าวว่า:

    "พวกเราวิงวอนขอต่อพระเจ้าเมื่อยามทุกข์ใจ

    แต่กลับลืมพระองค์เมื่อยามพ้นภัย

    แล้วเราจะหวังคำตอบจากท่านได้อย่างไร

    เมื่อเราได้ปิดทางนั้นด้วยบาปของเราแล้ว"

    ท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า "บททดสอบและการลงโทษจะประสบกับเราก็ด้วยการทำบาป และจะถูกขจัดไปด้วยการเตาบัต"

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿وَتُوبُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِ جَمِيعًا أَيُّهَ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٣١﴾ [النور : ٣١]

    ความว่า “และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อันนูร: 31)

    ประการที่สอง ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺให้มาก เพราะนั่นคือหนทางแห่งการได้รับความโปรดปราน ทั้งจากน้ำฝน ทรัพย์สินเงินทอง ลูกหลานสืบสกุล และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ فَقُلۡتُ ٱسۡتَغۡفِرُواْ رَبَّكُمۡ إِنَّهُۥ كَانَ غَفَّارٗا ١٠ يُرۡسِلِ ٱلسَّمَآءَ عَلَيۡكُم مِّدۡرَارٗا ١١ وَيُمۡدِدۡكُم بِأَمۡوَٰلٖ وَبَنِينَ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ جَنَّٰتٖ وَيَجۡعَل لَّكُمۡ أَنۡهَٰرٗا ١٢ ﴾ [نوح: ١٠- ١٢]

    ความว่า “ข้าพระองค์ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และจะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน” (นูหฺ: 10-12)

    อัล-ฟุฎ็อยล์ บิน อิยาฏ กล่าวว่า "การขออภัยโทษโดยไม่คิดจะละเลิกในความผิดที่ทำอยู่ เป็นการเตาบัตกลับตัวของผู้ที่โกหกปลิ้นปล้อน"

    ท่านอัล-อะฆ็อร อัล-มุซะนียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّهُ لَيُغَانُ عَلَى قَلْبِيْ ، وَإِنِّي لَأَسْتَغْفِرُ اللهَ فِي اْليَوْمِ مِئَةَ مَرَّةٍ » [مسلم برقم 2702]

    ความว่า “ในบางครั้งฉันยังรู้สึกว่าหัวใจของฉันขุ่นหมอง ฉันจึงขออภัยโทษต่อพระองค์อัลลอฮฺหนึ่งร้อยครั้งในหนึ่งวัน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2702)

    ถ้าหากนี่คือสภาพของท่านนบีซึ่งเป็นผู้นำแห่งมวลมนุษยชาติ ทั้งๆที่ท่านนั้นได้รับการอภัยโทษในบาปความผิดของท่านทั้งปวงแล้ว แล้วพวกเราที่มีทั้งความผิดและความบกพร่องมากมายเล่าจะมีสภาพอย่างไร?

    ประการที่สาม การออกห่างจากทรัพย์สินที่หะรอมต้องห้าม ซึ่งที่เลวร้ายที่สุดประการหนึ่งก็คือดอกเบี้ย ผู้ที่ข้องเกี่ยวกับเงินดอกเบี้ยถือว่าเขานั้นได้ประกาศสงครามกับอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَذَرُواْ مَا بَقِيَ مِنَ ٱلرِّبَوٰٓاْ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ ٢٧٨ فَإِن لَّمۡ تَفۡعَلُواْ فَأۡذَنُواْ بِحَرۡبٖ مِّنَ ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦۖ وَإِن تُبۡتُمۡ فَلَكُمۡ رُءُوسُ أَمۡوَٰلِكُمۡ لَا تَظۡلِمُونَ وَلَا تُظۡلَمُونَ ٢٧٩ ﴾ [البقرة: ٢٧٨- ٢٧٩]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสียหากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาและถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่ามันเป็นการประกาศซึ่งสงครามต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 278-279)

    เป็นที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ผู้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่นำเงินทองที่มีไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ย แล้วเรียกดอกเบี้ยนี้ว่าเป็นผลประโยชน์ หรือไม่พวกก็กู้เงินภายใต้สัญญาดอกเบี้ยหรือซื้อขายหุ้นของธนาคารที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นผู้ที่งดงาม และพระองค์จะไม่ทรงตอบรับสิ่งใดนอกจากจะเป็นสิ่งที่ดีและงดงาม และพระองค์ทรงสั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงสั่งใช้บรรดาเราะสูล พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلرُّسُلُ كُلُواْ مِنَ ٱلطَّيِّبَٰتِ وَٱعۡمَلُواْ صَٰلِحًاۖ إِنِّي بِمَا تَعۡمَلُونَ عَلِيمٞ ٥١﴾ [المؤمنون : ٥١]

    ความว่า “โอ้ บรรดาเราะสูลเอ๋ย! พวกเจ้าจงบริโภคสิ่งที่ดี และจงกระทำความดีเถิด เพราะแท้จริงข้ารอบรู้สิ่งพวกเจ้ากระทำ” (อัล-มุอฺมินูน: 51)

    และตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡ ﴾ [البقرة: ١٧٢]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดีๆทั้งหลาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 172)

    หลังจากนั้นท่านก็ได้กล่าวถึงผู้ที่เดินทางไกลด้วยความยากลำบาก ผมเผ้ายุ่งเหยิง โดยเขาได้ยกมือขึ้นขอวิงวอนต่อพระเจ้า ในขณะที่อาหารของเขานั้นหะรอม เครื่องดื่มของเขาหะรอม เสื้อผ้าของเขาก็หะรอม และเลือดเนื้อของเขาถูกเสริมสร้างขึ้นด้วยสิ่งที่หะรอมทั้งสิ้น แล้วดุอาอ์ของเขาจะถูกตอบรับได้อย่างไร?” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1015)

    จะเห็นว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกเราว่าผู้ที่บริโภคทรัพย์ที่หะรอม ดุอาอ์ของเขาจะไม่ถูกตอบรับ

    ประการที่สี่ การออกห่างจากสิ่งที่น่าเคลือบแคลงสงสัย เช่น การเล่นหุ้นในรูปแบบที่ผู้คนนิยมกัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการพนันเสี่ยงทาย ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «لَيَأْتِيَنَّ علَىَ النَّاسِ زَمَانٌ لَا يُبَالِي المَرْءُ بِمَا أَخَذَ اْلمَالَ: أَمِنْ حَلَالٍ أَمْ مِنْ حَرَامٍ؟ » [البخاري برقم 2083]

    ความว่า “ในยุคสมัยหนึ่งในอนาคต ผู้คนจะไม่สนใจว่าทรัพย์สินของพวกเขานั้นได้มาด้วยวิธีการใด และจากแหล่งที่มาที่หะล้าลหรือหะรอม?” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2083)

    อิบนุ อัล-มุบาร็อก กล่าวว่า "สำหรับฉันแล้วการคืนเงินหนึ่งดิรฮัมที่ไม่แน่ใจในแหล่งที่มาของมัน ดีกว่าการที่ฉันจะบริจาคเงินหนึ่งแสนดิรฮัมเสียอีก" ท่านอุมัร กล่าวว่า "พวกเรานั้นออกห่างจากเก้าในสิบของสิ่งที่หะล้าลเพียงเพราะเกรงว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่หะรอม" นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า "เมื่อท่านสงสัยในสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่ามันเป็นสิ่งที่หะล้าลหรือว่าหะรอม ก็จงพิจารณาที่ผลของมัน เพราะสิ่งที่ดีย่อมให้ผลที่ดี ส่วนสิ่งที่ชั่วร้ายนั้นย่อมให้ผลที่ชั่วร้ายเช่นเดียวกัน"

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «استَفْتِ نَفْسَكَ وَإِنْ أَفْتَاكَ الُمفْتُوْنَ » [البخاري في التاريخ 1/144-145]

    ความว่า “ท่านจงสอบถามหัวใจของท่านด้วยเถิด แม้ว่าผู้คนมากมายจะให้คำตอบแก่ท่านอย่างไรก็ตาม" ็็้(อัล-บุคอรียฺ ในตารีค 1/144-145)

    ประการที่ห้า การจ่ายซะกาตเมื่อครบกำหนดเวลา และนี่ก็คือรุก่นอิสลามข้อที่สาม

    ท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    « بُنِيَ الإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ : شَهَادَةُ أَنْ لَا إِلهَ إِلَّا اللهُ وَ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ ، وَإِيْتَاءِ الزَّكاَةِ ، وَاْلحَجِّ ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ » [البخاري برقم 8، ومسلم برقم 16]

    ความว่า “อิสลามนั้นวางอยู่บนรากฐานห้าประการ คือการปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นเราะสูลของพระองค์ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 8 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 16)

    แต่ผู้คนจำนวนมากในสมัยนี้กลับปฏิเสธที่จะจ่ายซะกาต หรือไม่ก็พยายามหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่จ่าย ดังเช่นหะดีษข้างต้นที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวความว่า “และหากกลุ่มชนใดปฏิเสธการจ่ายทานซะกาต ฝนก็จะหยุดตก และถ้ามิใช่เพราะสัตว์ต่างๆต้องการฝน พวกเขาเหล่านั้นจะไม่ได้รับความโปรดปรานดังกล่าวนี้อีกต่อไป"

    กวีอาหรับคนหนึ่งกล่าวว่า

    "และฉันมั่นใจว่าถ้าผู้คนต่างจ่ายซะกาตกันทุกคน

    ท่านจะไม่มีวันเห็นลูกหลานผู้ยากไร้เดินขอทานเป็นแน่"

    นอกจากซะกาตที่จำเป็นแล้ว เราก็ควรที่จะบริจาคทานเศาะดะเกาะฮฺแก่ผู้ยากจนขัดสนด้วย เพราะสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะขจัดความชั่วร้ายให้พ้นไปจากเรา

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะลัลลัม กล่าวว่า

    «وَالصَّدَقَةُ تُطْفِئُ الخَطِيْئَةَ كَمَا تُطْفِئُ المَاءُ النَّارَ » [الترمذي برقم 2616]

    ความว่า “การบริจาคทานนั้นจะลบล้างความผิดบาปเสมือนกับน้ำที่ดับไฟ” (ส่วนหนึ่งจากหะดีษที่บันทึกโดยอัตติรมีซียฺ หะดีษเลขที่ 2616)

    ประการที่หก การนำสื่อทีวีต่างๆที่เผยแพร่เชิญชวนสู่ความชั่วร้ายและต่อต้านความดีงามออกจากสถานที่อยู่ของเรา เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเข้ามาทำลายเกียรติและศักดิ์ศรีของเรา อีกทั้งยังทำให้เราเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไร้สาระ โดยทำให้เราออกห่างจากการละหมาดหรือการทำอิบาดะฮฺอื่นๆ

    เชคอิบนุอุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيْهِ اللهُ رَعِيَّةً ، يَمُوْتُ يَوْمَ يَمُوْتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتِهِ ، إِلَّا حَرَّمَ اللهُ عَلَيْهِ الجَنَّةَ» [البخاري برقم 715، ومسلم برقم 142]

    ความว่า “บ่าวคนหนึ่งคนใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขานั้นเป็นผู้ปกครองดูแลผู้ที่อยู่ภายใต้เขา แต่ทว่าเขานั้นกลับละเลยหน้าที่ดังกล่าว พระองค์จะทรงห้ามมิให้เขาได้เข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่715 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 142)

    ซึ่งการดูแลรับผิดชอบที่ว่านี้ครอบคลุมทั้งในสังคมใหญ่และสังคมเล็กๆ เช่นคนในครอบครัว ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «وَالرَّجُلُ رَاعٍ فِيْ أَهْلِهِ ، وَهُوَ مَسْؤُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ » [البخاري برقم 893، ومسلم برقم 1829]

    ความว่า “หัวหน้าครอบครัวคือผู้ที่ดูแลครอบครัวของเขา ซึ่งเขานั้นคือผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ในการปกครองของเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 893 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1829)

    ฉะนั้น ผู้ใดที่ตายไปโดยที่เขาได้ปล่อยปะละเลยให้ที่บ้านของเขานั้นมีจานรับสัญญาณที่เผยแพร่สิ่งที่ไม่ดี ก็เท่ากับว่าเขาตายไปในสภาพที่บกพร่องต่อหน้าที่ของเขา และเราขอบอกว่า บาปความผิดใดที่เป็นผลอันเนื่องจากการติดจานดาวเทียมดังกล่าว เขาก็จะต้องเป็นผู้แบกเอาความผิดดังกล่าวนั้นไปด้วย ไม่ว่าจะตายไปนานเท่าใดหรือมีบาปความผิดเกิดขึ้นมากมายเพียงใด" (คุฏบะฮฺของเชคอิบนุอุษัยมีน เมื่อวันที่ 25/3/1417)

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.