×
ความสมถะต่อชีวิตในโลกนี้ อธิบายมุมมองของอิสลามต่อข้อเท็จจริงของโลกดุนยาและความสวยงามน่าหลงใหลของมัน ซึ่งเป็นบททดสอบจิตใจของมนุษย์ พร้อมกับส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักกำหนดจุดยืนที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตบนโลก ด้วยความสมถะ และให้มุ่งมั่นกับโลกหน้าเป็นที่หนึ่ง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    ความสมถะต่อชีวิตในโลกนี้

    [ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน

    ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    ﴿الزهد في الدنيا﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: عبدالصمد عدنان

    مراجعة: يوسف أبوبكر

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่องที่ 113

    ความสมถะต่อชีวิตในโลกนี้

    การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...

    พี่น้องที่รักทุกท่าน

    แท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้กล่าวถึงสภาพอันแท้จริง ภาพจริงของโลกนี้รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในโลกนี้ไว้อย่างละเอียด ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เราทุกคนควรทราบ ได้บอกถึงอายุขัยอันแสนสั้นของโลกใบนี้ และความสุขที่ไม่จีรังยังยืนในโลกนี้

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ ٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا لَعِبٞ وَلَهۡوٞ وَزِينَةٞ وَتَفَاخُرُۢ بَيۡنَكُمۡ وَتَكَاثُرٞ فِي ٱلۡأَمۡوَٰلِ وَٱلۡأَوۡلَٰدِۖ كَمَثَلِ غَيۡثٍ أَعۡجَبَ ٱلۡكُفَّارَ نَبَاتُهُۥ ثُمَّ يَهِيجُ فَتَرَىٰهُ مُصۡفَرّٗا ثُمَّ يَكُونُ حُطَٰمٗاۖ وَفِي ٱلۡأٓخِرَةِ عَذَابٞ شَدِيدٞ وَمَغۡفِرَةٞ مِّنَ ٱللَّهِ وَرِضۡوَٰنٞۚ وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَآ إِلَّا مَتَٰعُ ٱلۡغُرُورِ ٢٠ ﴾ [الحديد : 20]

    ความว่า “พึงทราบเถิดว่า แท้จริงการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริงและเครื่องประดับและความโอ้อวดระหว่างพวกเจ้า และการแข่งขันกันสะสมในทรัพย์สินและลูกหลาน อุปมาโลกนี้ดั่งน้ำฝนที่หลั่งลงมาทำให้พืชผลงอกเงยขึ้นมาที่ยังความพอใจให้แก่กสิกร แล้วมันก็เหี่ยวแห้ง เจ้าจะเห็นมันเป็นสีเหลือง แล้วมันก็กลายเป็นเศษเป็นชิ้นแห้ง ส่วนในวันปรโลกนั้นมีการลงโทษอย่างสาหัส และมีการอภัยโทษและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ มิใช่อื่นใดนอกจากการแสวงหาผลประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น” ( อัล-หะดีด : 20 )

    โองการข้างต้นอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ผู้ทรงรอบรู้ทรงปรีชาญาณยิ่งได้สาธยายถึงสภาพของโลกดุนยาซึ่งเป็นสถานที่ทดสอบมนุษย์ ว่า

    1. มันเป็นสถานที่ละเล่นสนุกสนาน ที่มีแต่การเหน็ดเหนื่อย

    2. เป็นสถานที่ๆ เต็มไปด้วยสิ่งไร้สาระคอยล่อลวงยั่วยุมนุษย์ให้ละทิ้งสิ่งที่เกิดประโยชน์แก่ชีวิตในโลกหน้า

    3. เป็นสถานที่ๆ มีการประดับประดาด้วยความสวยงามที่ลวงตาผู้คน

    4. โลกนี้มีแต่การโอ้อวดประชันและอวดดีกัน

    5. มีการแข่งขันกันสะสมลูกหลานและทรัพย์สินเงินทองกันแค่นั้นเอง

    ต่อมาอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้อุปมาถึงการที่โลกนี้จะล่มสลายและพังพินาศลงอย่างรวดเร็ว ดั่งพืชผลที่งอกเงยขึ้นมาด้วยความเขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำฝนที่หลั่งลงมา สร้างความปลื้มใจแก่ผู้ปลูกเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อการเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว มันก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แล้วกลายเป็นซังแห้งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยขาดกระเจิง ลักษณะเช่นนี้แหล่ะคือสภาพที่แท้จริงของโลกดุนยาที่มันเขียวชอุ่มอยู่หลายปี แต่มันจะพังพินาศลงมาอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้เพื่อบอกให้รู้ว่าเมื่อมันเริ่มที่จะพังเมื่อใดก็จะพังลงมาอย่างรวดเร็ว และใกล้เวลาที่โลกนี้จะพังลงมาแล้วด้วย

    ต่อมาอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ก็ได้บอกถึงการลงโทษอันทรมานในโลกหน้าต่อบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ และสัญญาที่จะให้อภัยและให้ความพึงพอใจแก่ผู้ที่เคารพภักดีต่อพระองค์

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสบอกถึงสภาพการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลกอาคิเราะฮฺ จะมีการลงโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ฝ่าฝืน และจะได้รับการอภัยโทษความพอพระทัยได้รับความเปี่ยมสุขแก่ผู้ที่เคารพภักดีต่อพระองค์ ว่า

    ﴿ وَٱضۡرِبۡ لَهُم مَّثَلَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا كَمَآءٍ أَنزَلۡنَٰهُ مِنَ ٱلسَّمَآءِ فَٱخۡتَلَطَ بِهِۦ نَبَاتُ ٱلۡأَرۡضِ فَأَصۡبَحَ هَشِيمٗا تَذۡرُوهُ ٱلرِّيَٰحُۗ وَكَانَ ٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ مُّقۡتَدِرًا ٤٥﴾ [الكهف : 45]

    ความว่า “และจงเปรียบอุทาหรณ์การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้แก่พวกเขา ประหนึ่งน้ำที่เราหลั่งมาจากฟากฟ้า ดังนั้นพืชผลในแผ่นดินก็จะคลุกเคล้าไปกับน้ำ แล้วมันก็แห้งกรังเป็นเศษเป็นชิ้น ซึ่งลมจะพัดพามันให้ปลิวว่อน และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกอย่าง” (อัล-กะฮ์ฟฺ : 45)

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ ٱلشَّهَوَٰتِ مِنَ ٱلنِّسَآءِ وَٱلۡبَنِينَ وَٱلۡقَنَٰطِيرِ ٱلۡمُقَنطَرَةِ مِنَ ٱلذَّهَبِ وَٱلۡفِضَّةِ وَٱلۡخَيۡلِ ٱلۡمُسَوَّمَةِ وَٱلۡأَنۡعَٰمِ وَٱلۡحَرۡثِۗ ذَٰلِكَ مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَٱللَّهُ عِندَهُۥ حُسۡنُ ٱلۡمَ‍َٔابِ ١٤ ۞قُلۡ أَؤُنَبِّئُكُم بِخَيۡرٖ مِّن ذَٰلِكُمۡۖ لِلَّذِينَ ٱتَّقَوۡاْ عِندَ رَبِّهِمۡ جَنَّٰتٞ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَا وَأَزۡوَٰجٞ مُّطَهَّرَةٞ وَرِضۡوَٰنٞ مِّنَ ٱللَّهِۗ وَٱللَّهُ بَصِيرُۢ بِٱلۡعِبَادِ ١٥﴾ [آل عمران: 14-15]

    ความว่า “ได้ถูกทำให้สวยงาม (ลุ่มหลง) แก่มนุษย์ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์อันได้แก่ ผู้หญิงและลูกชาย ทองและเงินอันมากมาย ม้าดี ปศุสัตว์ และไร่นา นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์ คือที่กลับอันสวยงาม (มุหัมมัด) เจ้าจงกล่าวเถิดว่าจะให้ฉันบอกพวกเจ้าถึงสิ่งที่ดีกว่านั้นไหม คือบรรดาผู้ที่มีความยำเกรงจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์ ณ พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล และจะได้รับบรรดาคู่ครองที่บริสุทธิ์ รวมทั้งได้รับความพึงพอใจจากอัลลอฮฺด้วย และอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นปวงบ่าวทั้งหลาย” (อาล อิมรอน : 14-15)

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ٱللَّهُ يَبۡسُطُ ٱلرِّزۡقَ لِمَن يَشَآءُ وَيَقۡدِرُۚ وَفَرِحُواْ بِٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا مَتَٰعٞ ٢٦﴾ [الرعد: 26]

    ความว่า “อัลลอฮฺเป็นผู้ให้ปัจจัยอย่างกว้างขวางหรือแต่เพียงน้อยนิดแก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์ และพวกเขาดีใจต่อชีวิตในโลกนี้ เมื่อเปรียบชีวิตในโลกนี้กับโลกหน้าแล้ว หาใช่อื่นใดไม่นอกจากความเพลิดเพลินเท่านั้น” (อัร-เราะอฺดุ : 26)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «وَاللَّهِ!، مَا الدُّنْيَا فِي الْآخِرَةِ إِلَّا مِثْلُ مَا يَجْعَلُ أَحَدُكُمْ إِصْبَعَهُ هَذِهِ - وَأَشَارَ يَحْيَى بِالسَّبَّابَةِ - فِي الْيَمِّ فَلْيَنْظُرْ بِمَ تَرْجِعُ» [رواه مسلم برقم 2858]

    ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ค่าของดุนยาอันน้อยนิดเมื่อเปรียบเทียบกับโลกหน้าแล้วเท่ากับน้ำที่ติดมากับนิ้วชี้ที่เมื่อจุ่มลงไปในทะเล ( ส่วนน้ำที่เหลือในทะเลคือค่าที่มีอยู่ในโลกหน้า) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 2858)

    อับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

    اضْطَجَعَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى حَصِيرٍ فَأَثَّرَ فِي جِلْدِهِ فَقُلْتُ : بِأَبِي وَأُمِّي يَا رَسُولَ اللَّهِ، لَوْ كُنْتَ آذَنْتَنَا فَفَرَشْنَا لَكَ عَلَيْهِ شَيْئًا يَقِيكَ مِنْهُ. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «مَا أَنَا وَالدُّنْيَا، إِنَّمَا أَنَا وَالدُّنْيَا كَرَاكِبٍ اسْتَظَلَّ تَحْتَ شَجَرَةٍ ثُمَّ رَاحَ وَتَرَكَهَا» [رواه ابن ماجه برقم 4109]

    ความว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม นอนอยู่บนเสื่อ ซึ่งทำให้ปรากฏรอยเสื่อบนผิวหนังของท่าน ฉันจึงเสนอว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากท่านเห็นสมควรเราจะนำสิ่งอื่นมาปูทับบนเสื่อของท่าน แต่ท่านกล่าวว่า “อะไรกันนักหนากับดุนยา ฉันมีชีวิตอยู่ในดุนยานี้เหมือนกับผู้ที่เดินทางมาพักใต้ร่มไม้ แล้วเขาก็จากไปเท่านั้นเอง” (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข : 4109)

    อิบนุล-ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ อธิบายว่า “การแสวงหาโลกแห่งอาคิเราะฮฺจะไม่สมบูรณ์ได้ เว้นแต่ว่าจะต้องมีความมักน้อยต่อชีวิตในโลกนี้ และความมักน้อย (สันโดษ) ในโลกนี้จะไม่ถูกต้องเว้นแต่จะต้องมองโลกนี้ในสองมิติ ได้แก่

    1. ต้องมองว่าโลกใบนี้จะต้องบุบสลายลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีอะไรที่ยั่งยืน การแก่งแย่งและความพยายามกับโลกดุนยาย่อมพบกับความทรมาน โลกดุนยาเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบาก ความสาหัสสากรรจ์ สุดท้ายก็ต้องพังพินาศ พร้อมทั้งมีความระทม ผู้แสวงหาดุนยาจะมุ่งมั่นก่อนที่เขาจะได้รับดั่งใจหวัง และยังคงมุ่งมั่นต่อไปเมื่อได้รับมาแล้ว และเขาจะรู้สึกเศร้าโศกเสียใจเมื่อไม่ได้รับตามที่คาดหวัง

    2. ต้องมองไปยังโลกหน้า (อาคิเราะฮฺ) ว่า มันกำลังคืบคลานเข้ามาหา และมีความจีรังมั่นคงตลอดไป ซึ่งในโลกนี้มีความดีงามและความปลื้มใจอันมากมายมีค่ายิ่งนัก ระหว่างโลกนี้กับโลกหน้ามีความต่างกันอย่างมากมาย

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿وَٱلۡأٓخِرَةُ خَيۡرٞ وَأَبۡقَىٰٓ ١٧﴾ [الأعلى: 17]

    ความว่า “และวันปรโลกย่อมดีกว่าและยั่งยืนยิ่งกว่า” ( อัล-อะอฺลา : 17 )

    และความดีงามในวันปรโลกมีความสมบูรณ์และจีรังยิ่ง แต่ในโลกนี้เป็นภาพลวงตาเท่านั้น

    เมื่อใดที่คนหนึ่งได้เห็นถึงแก่นแท้ของโลกทั้งสองแล้ว ย่อมมีผลดีต่อเขาที่จะใช้สติปัญญาที่มีไตร่ตรองในทางที่จะให้มีความพอเพียงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยปกติคนเราย่อมรู้ดีว่าอะไรที่มีอยู่ในโลกที่จะให้ประโยชน์แก่ชีวิตเขาได้เขาก็จะรับมันเอาไว้ และอะไรที่เป็นความสุขของโลกหน้าที่เขากำลังรอคอย

    แต่...คนเราจะมีความรู้สึกเช่นนี้ได้เมื่อเขามีทัศนคติว่าโลกหน้าย่อมดีกว่าโลกนี้ มีความปรารถนาต่อการตอบแทนในโลกหน้ามากกว่าโลกนี้ มิเช่นนั้นแล้วเขาจะรักความสุขในโลกนี้มากกว่า และจะเลือกใช้ชีวิตเพื่อโลกนี้มากกว่า นั่นก็เพราะว่า

    1. เขาอาจจะไม่สามารถแยกแยะถึงคุณค่าที่แท้จริงระหว่างโลกนี้กับโลกหน้าได้

    2. หรือไม่ก็รู้แล้วแต่ก็เลือกสิ่งที่ด้อยกว่าให้แก่ชีวิตของเขา

    อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณีจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการศรัทธาที่อ่อนแอของเขา และยังบ่งชี้ถึงสติปัญญาที่ไม่สมบูรณ์ของเขาอีกด้วย เนื่องจากผู้คนจะมีมุมมองกับชีวิตในโลกหน้าสองกรณี

    1. เขาย่อมเล็งเห็นและเชื่อมั่นแล้วว่าคุณค่าของโลกหน้าดีกว่าโลกนี้อย่างแน่นอน

    2. หรือเขาอาจจะไม่เชื่อมั่นว่าโลกหน้าดีกว่าโลกนี้

    หากเขาไม่เชื่อมั่น ก็เท่ากับว่าเขาไม่ศรัทธามาเลยตั้งแต่แรก แต่หากเขาเชื่อมั่นแล้ว แต่ความเชื่อไม่ได้มีผลอันใดต่อเขาเลย ก็เท่ากับว่าสติปัญญาของเขาไม่สมบูรณ์ในการที่เขาเลือกสิ่งที่มีค่าน้อยกว่าให้แก่ชีวิตของเขา (อัล-ฟะวาอิด หน้า : 140-141)

    มีข้อเตือนใจจากกวีบทหนึ่งที่ว่า

    “ชีวิตหาได้พบความสุขไม่ ตราบใดที่มีความตายมากระชากความสุขให้มลายไป”

    อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้กล่าวถึงการลงโทษแก่ผู้ที่พึงพอใจ เชื่อมั่นอย่างหนักแน่นต่อชีวิตในโลกนี้ และไม่สนใจ หลงลืมต่อชีวิตในโลกหน้าว่า

    ﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ لَا يَرۡجُونَ لِقَآءَنَا وَرَضُواْ بِٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَٱطۡمَأَنُّواْ بِهَا وَٱلَّذِينَ هُمۡ عَنۡ ءَايَٰتِنَا غَٰفِلُونَ ٧ أُوْلَٰٓئِكَ مَأۡوَىٰهُمُ ٱلنَّارُ بِمَا كَانُواْ يَكۡسِبُونَ﴾ [يونس: 8، 7]

    ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ไม่หวังที่จะมาพบกับเราทั้งยังพึงพอใจกับชีวิตในโลกนี้และมีความมั่นใจต่อมัน และบรรดาผู้ที่ละเลยต่อสัญญาณต่างๆ ของเรา ชนเหล่านั้นมีที่พำนักอยู่ในนรก เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาขวนขวายเอาไว้เอง” (ยูนุส : 7-8)

    และอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ตรัสตำหนิต่อบรรดาผู้ศรัทธาที่พึงพอใจกับชีวิตในโลกนี้ ว่า

    ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَا لَكُمۡ إِذَا قِيلَ لَكُمُ ٱنفِرُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ٱثَّاقَلۡتُمۡ إِلَى ٱلۡأَرۡضِۚ أَرَضِيتُم بِٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا مِنَ ٱلۡأٓخِرَةِۚ فَمَا مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا قَلِيلٌ ٣٨﴾ [التوبة: 38]

    ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย มีอะไรเกิดขึ้นหรือ เมื่อมีผู้ป่าวประกาศแก่พวกเจ้าให้ออกต่อสู้ พวกเจ้าก็อืดอาดล่าช้าไม่เต็มใจที่จะออกรบ พวกเจ้าพึงพอใจกับชีวิตแห่งโลกนี้กระนั้นหรือ? ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้มีค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตในโลกหน้า” (อัต-เตาบะฮฺ : 38)

    บุคคลหนึ่งจะมีความรู้สึกหนักอึ้งหรือลำบากใจต่อการเคารพภักดีอัลลอฮฺ และการแสวงหาการปฏิบัติการงานแห่งโลกหน้า ขึ้นอยู่กับปริมาณความปรารถนาของเขาที่มีต่อชีวิตแห่งโลกนี้

    และโองการอัลกุรอานที่จะนำเสนอต่อไปนี้น่าจะเป็นการเพียงพอที่มาจะกระตุ้นจิตสำนึกให้มุสลิมทุกคนรู้สึกมีความพอเพียงกับโลกนี้

    ﴿ أَفَرَءَيۡتَ إِن مَّتَّعۡنَٰهُمۡ سِنِينَ ٢٠٥ ثُمَّ جَآءَهُم مَّا كَانُواْ يُوعَدُونَ ٢٠٦ مَآ أَغۡنَىٰ عَنۡهُم مَّا كَانُواْ يُمَتَّعُونَ ٢٠٧﴾ [الشعراء: 205، 207]

    ความว่า “เจ้าไม่เห็นดอกหรือ หากเราได้ให้พวกเขารื่นเริงต่อไปอีกเป็นปีๆ แล้วการลงโทษที่พวกเขาถูกสัญญาไว้ก็ได้บังเกิดขึ้น สิ่งที่พวกเขาได้รับให้เป็นสิ่งที่รื่นเริงจะไม่อำนวยประโยชน์ใดๆ แก่พวกเขาเลยแม้แต่น้อย” (อัช-ชุอะรออ์ : 205-207)

    อัลลอฮฺตรัสอีกว่า

    ﴿كَأَنَّهُمۡ يَوۡمَ يَرَوۡنَ مَا يُوعَدُونَ لَمۡ يَلۡبَثُوٓاْ إِلَّا سَاعَةٗ مِّن نَّهَارِۢۚ بَلَٰغٞۚ فَهَلۡ يُهۡلَكُ إِلَّا ٱلۡقَوۡمُ ٱلۡفَٰسِقُونَ ٣٥﴾ [الأحقاف: 35]

    ความว่า “วันที่พวกเขาจะเห็นสิ่งที่ถูกสัญญาไว้แก่พวกเขา ประหนึ่งว่าพวกเขามิได้พำนักอยู่ในโลกนี้เว้นแต่เพียงชั่วครู่หนึ่งยามกลางวันเท่านั้น นี่คือการประกาศตักเตือน ดังนั้น ความหายนะจะไม่ประสบแก่ผู้ใดนอกจากหมู่ชนผู้ฝ่าฝืนเท่านั้น” (อัล-อะหฺกอฟ : 35)

    ﴿وَيَوۡمَ تَقُومُ ٱلسَّاعَةُ يُقۡسِمُ ٱلۡمُجۡرِمُونَ مَا لَبِثُواْ غَيۡرَ سَاعَةٖۚ كَذَٰلِكَ كَانُواْ يُؤۡفَكُونَ ٥٥ ﴾ [الروم: 55]

    ความว่า “และเมื่อวันอวสานเกิดขึ้น ผู้กระทำผิดทั้งหลายจะสาบานว่า พวกเขามิได้พำนักอยู่ (ในโลกดุนยา) นอกจากเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เช่นนั้นแหละพวกเขาถูกให้หันออก (จากความจริงสู่ความเท็จ) (อัร-รูม : 55)

    อนึ่ง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองเป็นผู้ที่มีความรู้จักเพียงพอและมีความมักน้อยกับสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ ดังปรากฏจากคำบอกเล่าของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ซึ่งได้กล่าวแก่อุรวะฮฺว่า

    عن عروة قال : قالت عائشة رضي الله عنها : إِنْ كُنَّا لَنَنْظُرُ إِلَى الْهِلَالِ ثُمَّ الْهِلَالِ ثُمَّ الْهِلَالِ، ثَلَاثَةَ أَهِلَّةٍ فِي شَهْرَيْنِ، وَمَا أُوقِدَ فِي أَبْيَاتِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَارٌ، قَالَ: قُلْتُ: يَا خَالَةُ، فَمَا كَانَ يُعَيِّشُكُمْ؟ قَالَتْ : الْأَسْوَدَانِ، التَّمْرُ وَالْمَاءُ، إِلَّا أَنَّهُ قَدْ كَانَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ جِيرَانٌ مِنْ الْأَنْصَارِ، وَكَانَتْ لَهُمْ مَنَائِحُ، فَكَانُوا يُرْسِلُونَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَلْبَانِهَا فَيَسْقِينَاهُ. [رواه مسلم برقم 2972]

    ความว่า “เราเคยเจอกับภาวะที่เราต้องเฝ้ามองจันทร์เสี้ยว แล้วก็จันทร์เสี้ยว แล้วก็จันทร์เสี้ยวถึงสามจันทร์เสี้ยวเป็นระยะเวลาสองเดือนที่ไม่มีการจุดไฟปรุงอาหาร ณ บ้านของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อุรวะฮฺจึงถามนางว่า แล้วพวกท่านใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไร? นางตอบว่า เรารับประทานอินทผลัมกับน้ำ อีกอย่างท่านเราะสูลุลลอฮฺมีเพื่อนบ้านชาวอันศอรฺซึ่งเขามีอูฐไว้รีดน้ำนม พวกเขาได้ส่งนมมาให้กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ แล้วท่านก็นำมาให้พวกเราดื่ม” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข : 2972)

    และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองได้กล่าวสั่งเสียชาวอันศอรฺกลุ่มหนึ่งให้สะสมปัจจัยแห่งโลกนี้แค่พอเพียงดั่งเสบียงของผู้เดินทาง ท่านได้สั่งเสียแก่อิบนุ อุมัรฺให้ใช้ชีวิตในโลกนี้ดั่งคนแปลกหน้า หรือเป็นดั่งผู้เดินทาง และให้นับตนเองว่าเป็นคนหนึ่งของชาวสุสาน (กุโบร์ )

    อิบนุล-ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ความมักน้อยกับชีวิตในโลกนี้ คือ

    1. มักน้อยโดยการระงับจากสิ่งที่หะรอม ซึ่งถือเป็นฟัรฎูอัยนฺ (เป็นหน้าที่ระดับปัจเฉกบุคคล)

    2. มักน้อยโดยการหลีกห่างจากสิ่งที่คลุมเครือ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความแตกต่างของความคลุมเครือ หากคลุมเครือมากก็จะเป็นวาญิบ แต่หากเพียงเล็กน้อยก็จะเป็นแค่สุนัต

    3. มักน้อยในสิ่งที่เกินความจำเป็น

    4. มักน้อยโดยการหลีกห่างจากคำพูด การมอง การถาม และการพบปะสังสรรค์กันในเรื่องที่ไร้สาระ

    5. มักน้อยต่อความรู้สึกที่ไม่จำเป็นต้องแคร์กับผู้คนทั้งหลาย

    6. มักน้อยไม่แยแสกับอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง โดยที่จะต้องยอมสยบต่ออัลลอฮฺอย่างศิโรราบ

    7. การมักน้อยที่คลอบคลุมทุกๆ เรื่อง นั่นคือ การมักน้อยต่อสรรพสิ่งทั้งปวงที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ และจากทุก สิ่งที่ทำให้หลงลืมต่อพระองค์

    8. และความมักน้อยที่ประเสริฐสุด คือการไม่แสดงออกถึงความมักน้อยต่อหน้าสาธารณชน

    อนึ่ง ความแตกต่างระหว่าง ซุฮดฺ (الزهد) ความมักน้อย สมถะหรือความพอเพียง กับ วัรอฺ (الورع) การระวังตน คือ คำว่า ซุฮดฺ (การมักน้อยและสมถะ) หมายถึง การละเว้นจากสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ในวันอาคิเราะฮฺ

    ส่วนคำว่า วัรอฺ (การระวังตน) หมายถึง การละเว้นจากสิ่งที่เกรงว่าจะทำให้เกิดโทษในวันอาคิเราะฮฺ

    ส่วนจิตใจที่หมกมุ่นจมปลักอยู่กับอารมณ์ใฝ่ต่ำย่อมจะไม่ก่อให้เกิดการพอเพียงและการระวังตนอย่างแน่นอน (อัล-ฟะวาอิด หน้า : 172)

    والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .