เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
หมวดหมู่
Full Description
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ฟุอาด ซัยดาน
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน
2012 - 1433
﴿ أهداف سورة آل عمران﴾
« باللغة التايلاندية »
فؤاد زيدان
ترجمة: محمد صبري يعقوب
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อาล อิมรอน
มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสถาพรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
เป้าหมายของสูเราะฮฺ
การยืนหยัดอย่างมั่นคง
ในแต่ละสูเราะฮฺของอัลกุรอานก็จะมีเนื้อหาที่ได้กล่าวถึงเป็นประเด็นเรื่อง ๆ ไป และชื่อของทุกสูเราะฮฺนั้นก็จะนำมาจากความเข้าใจต่อประเด็นเรื่องนั้นๆ โดยที่เป้าหมายของ “สูเราะฮฺ อาล อิมรอน” นั้นคือ การยืนหยัดอย่างมั่นคง ซึ่งภายหลังจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้นำเสนอถึงวิถีทางที่จำเป็นต้องดำเนินตามในสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺแล้วนั้น สูเราะฮฺอาล อิมรอนก็ได้ตามมาเพื่อเป็นการบ่งชี้แก่เราซึ่งแนวทางที่จะช่วยให้เรายืนหยัดบนวิถีทางดังกล่าว ไม่ว่าเราจะเพิ่งเริ่มต้นดำเนินบนวิถีทางที่ว่าหรือเคยดำเนินมาก่อนหน้านี้แล้ว สำหรับผู้ศรัทธาแล้วทุกคนก็ต่างต้องการที่จะยืนหยัดอยู่บนวิถีทางนี้ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ไม่เพี่ยงพล้ำ และไม่มีความกริ่งเกรงว่าพวกเขาจะหันเหหรือหลงทางได้อีก
สูเราะฮฺ อาล อิมรอน มีเนื้อหาแบ่งออกเป็นสองส่วน ดังนี้
ส่วนแรก ตั้งแต่อายะฮฺ 1-120 ซึ่งอายะฮฺเหล่านี้ได้ให้ข้อแนะนำแก่เราถึงกระบวนการต่างๆ เชิงแนวคิด ที่จะทำให้เราได้ยืนหยัดอย่างมั่นคงในการเผชิญหน้ากับแนวคิดต่างๆ จากภายนอกได้
ส่วนที่สอง ตั้งแต่อายะฮฺ 121- จนจบสูเราะฮฺ โดยเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงกระบวนการยืนหยัดอย่างมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการภายใน
สูเราะฮฺอาล อิมรอน เริ่มต้นด้วยการนำเสนอเนื้อหาของการยืนหยัดอย่างมั่นคง(อัษ-ษะบาต)เชิงแนวคิดจากภายนอก เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมก่อน หลังจากนั้นสูเราะฮฺนี้ก็ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการยืนหยัดอย่างมั่นคงส่วนที่เป็นภายในของปัจเจกบุคคล
โดยที่สูเราะฮฺอาล อิมรอน ได้มีเนื้อหาที่มุ่งเน้นอยู่ในกรอบของสองเหตุการณ์ดังนี้
หนึ่ง... เหตุการณ์ของผู้แทนชาวคริสต์เมืองนัจญ์รอน ป็นตัวอย่างแรกของการเสวนาระหว่างศาสนาในประวัติศาสตร์ และเป็นการนำเสนอวิธีการที่ทำให้เราสามารถยืนหยัดในการเผชิญหน้ากับแนวคิดจากภายนอกในช่วงที่มีการเสวนากันกับตัวแทนของคริสต์นัจญ์รอน ซึ่งเป็นการสอนแนวคิดวิธีการเสวนากับชาวคัมภีร์โดยทั่วไป
สอง... เหตุการณ์ที่สองคือ สงครามอุหุด เพื่อเป็นข้อแนะนำแก่เราถึงวิธีการยืนหยัดในเชิงรูปธรรม แม้ว่าสงครามอุหุดนั้นจะเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ที่มีตัวแทนคริสต์นัจญ์รอนมาพบก็ตาม แต่การเรียงลำดับของเรื่องราวให้อยู่ในส่วนที่สองนั้นก็เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงแนวคิดการยืนหยัดจากภายนอกก่อน แล้วจึงตามมาด้วยการยืนหยัดจากภายใน
การเริ่มต้นและการปิดท้ายของสูเราะฮฺเป็นการบ่งชี้ว่า “สัจธรรม” นั้นอยู่กับเรา และจำเป็นที่เราต้องยึดมั่นมันไว้
﴿نَزَّلَ عَلَيۡكَ ٱلۡكِتَٰبَ بِٱلۡحَقِّ مُصَدِّقٗا لِّمَا بَيۡنَ يَدَيۡهِ وَأَنزَلَ ٱلتَّوۡرَىٰةَ وَٱلۡإِنجِيلَ ٣﴾ [آل عمران: 3]
ความว่า “พระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์นั้นลงมาแก่เจ้าด้วยความจริง เพื่อยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้า คัมภีร์นั้น และได้ทรงประทานอัต-เตารอฮฺ และอัล-อินญีล”(สูเราะฮฺ อาล อิมรอน : 3)
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱصۡبِرُواْ وَصَابِرُواْ وَرَابِطُواْ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٢٠٠﴾ [آل عمران: 200]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงมีความอดทน และจงต่างอดทนซึ่งกันและกันเถิด และจงรักษาให้มั่น(คือ จงรักษาหน้าที่ของเจ้าให้มั่นคง ทั้งในเรื่องอิบาดะฮฺและหน้าที่อื่นๆ) และพึงกลัวเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 200)
ซึ่งเราขอนำเสนอเนื้อหาของสูเราะฮฺอาล อิมรอน ดังนี้
การยืนหยัดบนสัจธรรม
มีอายะฮฺต่างๆ อย่างมากมายที่ได้กล่าวถึงการยืนหยัดในทุกระดับชั้นของมนุษย์ ดังนี้
หนึ่ง...
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ حَقَّ تُقَاتِهِۦ وَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسۡلِمُونَ ١٠٢ وَٱعۡتَصِمُواْ بِحَبۡلِ ٱللَّهِ جَمِيعٗا وَلَا تَفَرَّقُواْۚ ١٠٣﴾ [آل عمران: 102-103]
ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงยำเกรงอัลลอฮฺอย่างแท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาดนอกจากในฐานะที่พวกเจ้าเป็นมุสลิมผู้นอบน้อมเท่านั้น และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 102-103)
สอง...
﴿وَكَأَيِّن مِّن نَّبِيّٖ قَٰتَلَ مَعَهُۥ رِبِّيُّونَ كَثِيرٞ فَمَا وَهَنُواْ لِمَآ أَصَابَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَمَا ضَعُفُواْ وَمَا ٱسۡتَكَانُواْۗ وَٱللَّهُ يُحِبُّ ٱلصَّٰبِرِينَ ١٤٦﴾ [آل عمران: 146]
ความว่า “และนบีกี่มากน้อยแล้ว ที่กลุ่มชนอันมากมายได้ต่อสู้ร่วมกับเขา แล้วพวกเขาหาได้ท้อแท้ไม่ต่อสิ่งที่ได้ประสบแก่พวกเขาในทางของอัลลอฮฺ และพวกเขาหาได้อ่อนกำลังลง และหาได้สยบไม่ และอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 146)
สาม...
﴿ٱلَّذِينَ قَالَ لَهُمُ ٱلنَّاسُ إِنَّ ٱلنَّاسَ قَدۡ جَمَعُواْ لَكُمۡ فَٱخۡشَوۡهُمۡ فَزَادَهُمۡ إِيمَٰنٗا وَقَالُواْ حَسۡبُنَا ٱللَّهُ وَنِعۡمَ ٱلۡوَكِيلُ ١٧٣ فَٱنقَلَبُواْ بِنِعۡمَةٖ مِّنَ ٱللَّهِ وَفَضۡلٖ لَّمۡ يَمۡسَسۡهُمۡ سُوٓءٞ وَٱتَّبَعُواْ رِضۡوَٰنَ ٱللَّهِۗ وَٱللَّهُ ذُو فَضۡلٍ عَظِيمٍ ١٧٤﴾ [آل عمران: 173-174]
ความว่า “บรรดาคนที่ผู้คนได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงมีผู้คนได้ชุมนุมเพื่อโจมตีพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงกลัวพวกเขาเถิด แล้วสิ่งดังกล่าวก็ได้เพิ่มการอีมานแก่พวกเขา และพวกเขากล่าวว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่พอเพียงแก่เราแล้ว และเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม แล้วพวกเขาก็กลับมาพร้อมด้วยความกรุณาจากอัลลอฮฺ และความโปรดปราน(จากพระองค์) โดยมิได้มีอันตรายใดๆ ประสบแก่พวกเขา และพวกเขาได้ปฏิบัติตามความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺคือผู้ทรงโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 173-174)
สี่...
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱصۡبِرُواْ وَصَابِرُواْ وَرَابِطُواْ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٢٠٠﴾ [آل عمران: 200]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงมีความอดทน และจงต่างอดทนซึ่งกันและกันเถิด และจงรักษาหน้าที่ให้มั่น และพึงกลัวเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 200)
สูเราะฮฺอาล อิมรอน ได้ให้ข้อพึงระวังในปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้การยืนหยัดนั้นบกพร่อง และได้นำเสนอปัญหาและอุปสรรคของการดำรงอยู่บนแนวทางนี้
อุปสรรคต่างๆของการยืนหยัด
หนึ่ง...
﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ ٱلشَّهَوَٰتِ مِنَ ٱلنِّسَآءِ وَٱلۡبَنِينَ وَٱلۡقَنَٰطِيرِ ٱلۡمُقَنطَرَةِ مِنَ ٱلذَّهَبِ وَٱلۡفِضَّةِ وَٱلۡخَيۡلِ ٱلۡمُسَوَّمَةِ وَٱلۡأَنۡعَٰمِ وَٱلۡحَرۡثِۗ ذَٰلِكَ مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَٱللَّهُ عِندَهُۥ حُسۡنُ ٱلۡمََٔابِ ١٤﴾ [آل عمران: 14]
ความว่า “ได้ถูกทำให้สวยงาม (ลุ่มหลง) แก่มนุษย์ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์ อันได้แก่ ผู้หญิงและลูกชาย, ทองและเงินอันมากมาย ม้าดีและปศุสัตว์ และไร่นา นั่นเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์ชั่วคราวในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้เท่านั้น และอัลลอฮฺนั้น ณ พระองค์ คือที่กลับอันสวยงาม” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 14)
สอง...
﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ تَوَلَّوۡاْ مِنكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡتَقَى ٱلۡجَمۡعَانِ إِنَّمَا ٱسۡتَزَلَّهُمُ ٱلشَّيۡطَٰنُ بِبَعۡضِ مَا كَسَبُواْۖ وَلَقَدۡ عَفَا ٱللَّهُ عَنۡهُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٌ حَلِيمٞ ١٥٥﴾ [آل عمران: 155]
ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้าที่หันหลังหนีในวันที่สองกลุ่มเผชิญหน้ากันนั้น แท้จริงชัยฏอนต่างหากที่เป็นตัวการล่อลวงทำให้พลั้งพลาดไป เนื่องจากบางสิ่งที่พวกเขาได้ประกอบไว้ และแน่นอนอัลลอฮฺก็ทรงอภัยให้แก่พวกเขาแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงหนักแน่น” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 155) อายะฮฺนี้ได้บ่งชี้ว่า บรรดาผู้ที่หันหลังหนีให้กับสงครามอุหุดจากบรรดาผู้ศรัทธานั้น พวกเขาถูกชัยฏอนทำให้พลั้งพลาดไป ซึ่งมันเป็นผลจากความผิดบางประการที่พวกเขาได้กระทำก่อนหน้านี้
สาม....
﴿أَوَلَمَّآ أَصَٰبَتۡكُم مُّصِيبَةٞ قَدۡ أَصَبۡتُم مِّثۡلَيۡهَا قُلۡتُمۡ أَنَّىٰ هَٰذَاۖ قُلۡ هُوَ مِنۡ عِندِ أَنفُسِكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ ١٦٥﴾ [آل عمران: 165]
ความว่า “และเมื่อมีภยันตรายหนึ่ง ประสบแก่พวกเจ้า ทั้งๆ ที่พวกเจ้าได้ให้ประสบแก่พวกเขามาแล้วถึงสองเท่าแห่งภยันตรายนั้น พวกเจ้าก็ยังกล่าวว่าสิ่งนี้มาจากไหนกระนั้นหรือ ? จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) ว่า มันมาจากที่ตัวของพวกท่านเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 165)
หมายถึงว่า บรรดาผู้ศรัทธานั้นเคยมีชัยเหนือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากผลของการรักหรือลุ่มหลงในสิ่งล่อลวงต่างๆ พวกเขาจึงได้ฝ่าฝืนท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ด้วยเหตุนี้ ภยันตรายที่ได้ประสบแก่พวกเขา มันก็มาจากตัวของพวกเขาเอง และมาจากการฝ่าฝืนของพวกเขา
หลังจากนั้นสูเราะฮฺนี้ก็ได้กล่าวถึง : ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการยืนหยัดอย่างมั่นคง
หนึ่ง...การวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา
﴿رَبَّنَا لَا تُزِغۡ قُلُوبَنَا بَعۡدَ إِذۡ هَدَيۡتَنَا وَهَبۡ لَنَا مِن لَّدُنكَ رَحۡمَةًۚ إِنَّكَ أَنتَ ٱلۡوَهَّابُ ٨﴾ [آل عمران: 8]
ความว่า “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ! โปรดอย่าให้หัวใจของพวกเราเอนเอียงออกจากความจริงเลย หลังจากที่พระองค์ได้ทรงแนะนำแก่พวกเราแล้ว และโปรดได้ประทานความเอ็นดูเมตตา จากที่พระองค์ให้แก่พวกเราด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 8)
และช่วงอายะฮฺท้ายๆ ของสูเราะฮฺ
﴿رَبَّنَآ إِنَّكَ مَن تُدۡخِلِ ٱلنَّارَ فَقَدۡ أَخۡزَيۡتَهُۥۖ وَمَا لِلظَّٰلِمِينَ مِنۡ أَنصَارٖ ١٩٢ رَّبَّنَآ إِنَّنَا سَمِعۡنَا مُنَادِيٗا يُنَادِي لِلۡإِيمَٰنِ أَنۡ ءَامِنُواْ بِرَبِّكُمۡ فََٔامَنَّاۚ رَبَّنَا فَٱغۡفِرۡ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرۡ عَنَّا سَئَِّاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ ٱلۡأَبۡرَارِ ١٩٣ رَبَّنَا وَءَاتِنَا مَا وَعَدتَّنَا عَلَىٰ رُسُلِكَ وَلَا تُخۡزِنَا يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِۖ إِنَّكَ لَا تُخۡلِفُ ٱلۡمِيعَادَ ١٩٤﴾ [آل عمران: 192-194]
ความว่า “โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์ แท้จริงผู้ใดที่พระองค์ทรงให้เข้าไฟนรก แน่นอนพระองค์ก็ยังความอัปยศแก่เขาแล้ว และสำหรับบรรดาผู้อธรรมนั้น ย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือใดๆ โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! แท้จริงพวกข้าพระองค์ได้ยินผู้ประกาศเชิญชวนผู้หนึ่ง ได้ประกาศเชิญชวนให้มีการศรัทธาว่า ท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด และพวกข้าพระองค์ก็ศรัทธากันแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! โปรดทรงอภัยแก่พวกข้าพระองค์ด้วย ซึ่งบรรดาโทษของพวกข้าพระองค์และโปรดลบล้างให้พ้นจากพวกข้าพระองค์ ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์ และโปรดทรงให้พวกข้าพระองค์สิ้นชีวิตโดยร่วมอยู่กับบรรดาผู้ที่เป็นคนดีด้วยเถิด โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์! ได้โปรดประทานแก่พวกข้าพระองค์สิ่งที่พระองค์ได้สัญญาไว้แก่พวกข้าพระองค์ โดยผ่านบรรดาเราะสูลของพระองค์ และโปรดอย่าได้ทรงยังความอัปยศแก่พวกข้าพระองค์ในวันปรโลกเลย แท้จริงพระองค์นั้นไม่ทรงผิดสัญญา” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 192-194)
เช่นเดียวกันการขอดุอาอ์ของภรรยาของท่านอิมรอน
﴿إِذۡ قَالَتِ ٱمۡرَأَتُ عِمۡرَٰنَ رَبِّ إِنِّي نَذَرۡتُ لَكَ مَا فِي بَطۡنِي مُحَرَّرٗا فَتَقَبَّلۡ مِنِّيٓۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ ٣٥﴾ [آل عمران: 35]
ความว่า “จงรำลึกถึงขณะที่ภรรยาของอิมรอน กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง(บุตร)ที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 35)
รวมทั้งการขอดุอาอ์ของท่านนบีซะกะรียา
﴿هُنَالِكَ دَعَا زَكَرِيَّا رَبَّهُۥۖ قَالَ رَبِّ هَبۡ لِي مِن لَّدُنكَ ذُرِّيَّةٗ طَيِّبَةًۖ إِنَّكَ سَمِيعُ ٱلدُّعَآءِ ٣٨﴾ [آل عمران: 38]
ความว่า “ที่โน่นแหละ ซะกะรียาได้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 38)
สังเกตได้ว่าสูเราะฮฺอาล อิมรอน เป็นสูเราะฮฺที่มากด้วยบทดุอาอ์ต่างๆ ก็เพราะว่า หากเราต้องการให้เรามีสภาพของการยืนหยัดบนวิถีทางนี้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเราที่ต้องขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา วอนขอต่อพระองค์ จนกระทั่งพระองค์ทรงช่วยเหลือเราให้มีความมั่นคง แน่นอนว่า เราต่างก็ต้องการความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺตะอาลาเพื่อให้มีความยืนหยัดมั่นคงกันทุกคน
สอง...การทำอิบาดะฮฺ ซึ่งสูเราะฮฺนี้ก็เต็มไปด้วยการนำเสนอตัวอย่างของผู้ที่ดำรงในการทำอิบาดะฮฺต่างๆ อย่างมากมาย เช่น ท่านหญิงมัรยัมและการทำอิบาดะฮฺของท่าน
﴿فَتَقَبَّلَهَا رَبُّهَا بِقَبُولٍ حَسَنٖ وَأَنۢبَتَهَا نَبَاتًا حَسَنٗا وَكَفَّلَهَا زَكَرِيَّاۖ كُلَّمَا دَخَلَ عَلَيۡهَا زَكَرِيَّا ٱلۡمِحۡرَابَ وَجَدَ عِندَهَا رِزۡقٗاۖ قَالَ يَٰمَرۡيَمُ أَنَّىٰ لَكِ هَٰذَاۖ قَالَتۡ هُوَ مِنۡ عِندِ ٱللَّهِۖ إِنَّ ٱللَّهَ يَرۡزُقُ مَن يَشَآءُ بِغَيۡرِ حِسَابٍ ٣٧﴾ [آل عمران: 37]
ความว่า “แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยและได้ทรงให้ซะกะรียาอุปการะนาง คราใดที่ซะกะรียาเข้าไปหานางที่อัล-มิห์รอบ เขาก็พบปัจจัยยังชีพอยู่ที่นาง เขากล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! เธอได้สิ่งนี้มาอย่างไร? นางกล่าวว่า มันมาจากที่อัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์โดยปราศจากการคิดคำนวณ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 37)
และการทำอิบาดะฮฺของท่านนบีซะกะรียา
﴿فَنَادَتۡهُ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ وَهُوَ قَآئِمٞ يُصَلِّي فِي ٱلۡمِحۡرَابِ أَنَّ ٱللَّهَ يُبَشِّرُكَ بِيَحۡيَىٰ مُصَدِّقَۢا بِكَلِمَةٖ مِّنَ ٱللَّهِ وَسَيِّدٗا وَحَصُورٗا وَنَبِيّٗا مِّنَ ٱلصَّٰلِحِينَ ٣٩﴾ [آل عمران: 39]
ความว่า “และมะลาอิกะฮฺได้เรียกเขา ขณะที่เขากำลังยืนละหมาด อยู่ในอัล-มิห์รอบ ว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงแจ้งข่าวดีแก่ท่านด้วยยะห์ยา โดยที่จะเป็นผู้ยืนยันพจมานหนึ่งจากอัลลอฮฺ และจะเป็นผู้นำและผู้รักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ และเป็นนบีคนหนึ่งจากหมู่ชนที่เป็นคนดี” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 39)
﴿رَّبَّنَآ إِنَّنَا سَمِعۡنَا مُنَادِيٗا يُنَادِي لِلۡإِيمَٰنِ أَنۡ ءَامِنُواْ بِرَبِّكُمۡ فََٔامَنَّاۚ رَبَّنَا فَٱغۡفِرۡ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرۡ عَنَّا سَئَِّاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ ٱلۡأَبۡرَارِ ١٩٣﴾ [آل عمران: 193]
ความว่า “โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! แท้จริงพวกข้าพระองค์ได้ยินผู้ประกาศเชิญชวนผู้หนึ่ง กำลังประกาศเชิญชวนให้มีการศรัทธาว่า ท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่อพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด และพวกข้าพระองค์ก็ศรัทธากัน โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์! โปรดทรงอภัยแก่พวกข้าพระองค์ด้วย ซึ่งบรรดาโทษของพวกข้าพระองค์และโปรดลบล้างให้พ้นจากพวกข้าพระองค์ซึ่งบรรดาความผิดของพวกข้าพระองค์ และโปรดทรงให้พวกข้าพระองค์สิ้นชีวิตโดยร่วมอยู่กับบรรดาผู้ที่เป็นคนดีด้วยเถิด” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 193)
สาม...การเชิญชวน(ดะอฺวะฮฺ)สู่อัลลอฮฺ เพราะใครก็ตามที่ได้ทำหน้าที่ในการเชิญชวนผู้อื่นสู่อัลลอฮฺ มันก็จะส่งผลช่วยให้เขามีความยืนหยัดมั่นคงไปด้วย
﴿وَلۡتَكُن مِّنكُمۡ أُمَّةٞ يَدۡعُونَ إِلَى ٱلۡخَيۡرِ وَيَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ ١٠٤﴾ [آل عمران: 104]
ความว่า “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบและชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 104)
﴿كُنتُمۡ خَيۡرَ أُمَّةٍ أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ تَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَتَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَتُؤۡمِنُونَ بِٱللَّهِۗ وَلَوۡ ءَامَنَ أَهۡلُ ٱلۡكِتَٰبِ لَكَانَ خَيۡرٗا لَّهُمۚ مِّنۡهُمُ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ وَأَكۡثَرُهُمُ ٱلۡفَٰسِقُونَ ١١٠﴾ [آل عمران: 110]
ความว่า “พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และถ้าหากว่าบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ ศรัทธากันแล้วไซร้ แน่นอนมันก็เป็นการดีแก่พวกเขา จากพวกเขานั้นมีบรรดาผู้ที่ศรัทธา และส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ละเมิด” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 110)
สี่...มีเป้าหมายที่ชัดเจน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินชีวิต
﴿ٱلَّذِينَ يَذۡكُرُونَ ٱللَّهَ قِيَٰمٗا وَقُعُودٗا وَعَلَىٰ جُنُوبِهِمۡ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلۡقِ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ رَبَّنَا مَا خَلَقۡتَ هَٰذَا بَٰطِلٗا سُبۡحَٰنَكَ فَقِنَا عَذَابَ ٱلنَّارِ ١٩١﴾ [آل عمران: 191]
ความว่า “คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮฺ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง และพวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 191)
ห้า...ความเป็นพี่น้อง(อุคูวะฮฺ) โดยให้มีความเข้มข้นในความเป็นพี่น้อง เพราะมันมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เกิดความยืนหยัดมั่นคง
﴿وَٱعۡتَصِمُواْ بِحَبۡلِ ٱللَّهِ جَمِيعٗا وَلَا تَفَرَّقُواْۚ وَٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ إِذۡ كُنتُمۡ أَعۡدَآءٗ فَأَلَّفَ بَيۡنَ قُلُوبِكُمۡ فَأَصۡبَحۡتُم بِنِعۡمَتِهِۦٓ إِخۡوَٰنٗا وَكُنتُمۡ عَلَىٰ شَفَا حُفۡرَةٖ مِّنَ ٱلنَّارِ فَأَنقَذَكُم مِّنۡهَاۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمۡ ءَايَٰتِهِۦ لَعَلَّكُمۡ تَهۡتَدُونَ ١٠٣ ﴾ [آل عمران: 103]
ความว่า “และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจงรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮฺจะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระองค์เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 103)
﴿وَلَا تَكُونُواْ كَٱلَّذِينَ تَفَرَّقُواْ وَٱخۡتَلَفُواْ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَهُمُ ٱلۡبَيِّنَٰتُۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ لَهُمۡ عَذَابٌ عَظِيمٞ ١٠٥﴾ [آل عمران: 105]
ความว่า “และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกและขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว และชนเหล่านี้แหละสำหรับพวกเขา คือการลงโทษอันใหญ่หลวง” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 105)
ส่วนครึ่งแรกของสูเราะฮฺได้เรียกร้องให้มีการยืนหยัดอย่างมั่นคงในด้านแนวคิด
โดยได้นำเสนอตัวอย่างการพูดคุยเสวนาด้วยมารยาทที่สูงส่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กับชาวคัมภีร์เพื่อนำเสนอต่อพวกเขาว่า “สัจธรรมที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใด” ซึ่งตัวแทนของชาวคริสต์นัจญ์รอนได้มา ณ มัสญิดของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม โดยที่พวกเขาก็ได้มีการอภิปรายเช่นเดียวกัน ซึ่งจำเป็นสำหรับเราที่ต้องเก็บบทเรียนเหล่านี้เพื่อใช้ในการพูดคุยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราในเรื่องหลักศรัทธาและการเจริญรอยตามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
สูเราะฮฺอาล อิมรอน ได้ให้ผู้ศรัทธามีการยืนหยัดอย่างมั่นคงอย่างไรบ้าง ?
- เสริมสร้างอะกีดะฮฺ(หลักศรัทธา)ให้แก่ผู้ศรัทธาก่อนจะมีการเสวนากัน
﴿شَهِدَ ٱللَّهُ أَنَّهُۥ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ وَأُوْلُواْ ٱلۡعِلۡمِ قَآئِمَۢا بِٱلۡقِسۡطِۚ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ ١٨ إِنَّ ٱلدِّينَ عِندَ ٱللَّهِ ٱلۡإِسۡلَٰمُۗ وَمَا ٱخۡتَلَفَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ إِلَّا مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَهُمُ ٱلۡعِلۡمُ بَغۡيَۢا بَيۡنَهُمۡۗ وَمَن يَكۡفُرۡ بَِٔايَٰتِ ٱللَّهِ فَإِنَّ ٱللَّهَ سَرِيعُ ٱلۡحِسَابِ ١٩ فَإِنۡ حَآجُّوكَ فَقُلۡ أَسۡلَمۡتُ وَجۡهِيَ لِلَّهِ وَمَنِ ٱتَّبَعَنِۗ وَقُل لِّلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡأُمِّيِّۧنَ ءَأَسۡلَمۡتُمۡۚ فَإِنۡ أَسۡلَمُواْ فَقَدِ ٱهۡتَدَواْۖ وَّإِن تَوَلَّوۡاْ فَإِنَّمَا عَلَيۡكَ ٱلۡبَلَٰغُۗ وَٱللَّهُ بَصِيرُۢ بِٱلۡعِبَادِ ٢٠﴾ [آل عمران: 18-20]
ความว่า “อัลลอฮฺทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น และมะลาอิกะฮฺ และผู้มีความรู้ในฐานะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้น ก็ยืนยันด้วยว่าไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮฺนั้นคืออิสลาม และบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นมิได้ขัดแย้งกันนอกจากหลังจากที่ได้รับความรู้ มายังพวกเขาแล้วเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขาเอง และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อบรรดาโองการของอัลลอฮฺแล้วไซร้แน่นอนอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระ แล้วหากพวกเขาโต้แย้งเจ้า ก็จงกล่าวเถิดว่าฉันได้มอบใบหน้า(ร่างกาย)ของฉันแด่อัลลอฮฺแล้ว และผู้ที่ปฏิบัติตามฉัน(ก็มอบ)ด้วย และเจ้าจงกล่าวแก่บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์และบรรดาผู้ที่เขียนอ่านไม่เป็นว่า พวกท่านมอบ (ใบหน้าแด่อัลลอฮฺ) แล้วหรือ? ถ้าหากพวกเขาได้มอบแล้วแน่นอนพวกเขาก็ได้รับแล้วซึ่งแนวทางอันถูกต้อง และถ้าหากพวกเขาผินหลังให้ แท้จริงหน้าที่ของเจ้านั้นเพียงการประกาศให้ทราบเท่านั้น และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเห็นปวงบ่าวทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 18-20)
﴿أَفَغَيۡرَ دِينِ ٱللَّهِ يَبۡغُونَ وَلَهُۥٓ أَسۡلَمَ مَن فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ طَوۡعٗا وَكَرۡهٗا وَإِلَيۡهِ يُرۡجَعُونَ ٨٣﴾ [آل عمران: 83]
ความว่า “อื่นจากศาสนาของอัลลอฮฺกระนั้นหรือที่พวกเขาแสวงหา? และแด่พระองค์นั้น ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินได้นอบน้อมกัน ทั้งด้วยการสมัครใจและฝืนใจ และยังพระองค์นั้นพวกเขาจะถูกนำกลับไป” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 83)
﴿وَمَن يَبۡتَغِ غَيۡرَ ٱلۡإِسۡلَٰمِ دِينٗا فَلَن يُقۡبَلَ مِنۡهُ وَهُوَ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ ٨٥﴾ [آل عمران: 85]
ความว่า “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 85)
- กำหนดประเด็น(ในการเสวนา)ที่เห็นพ้องกันระหว่างผู้ศรัทธากับชาวอะฮฺลุลกิตาบ(คริสต์และยิว)
﴿قُلۡ يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ تَعَالَوۡاْ إِلَىٰ كَلِمَةٖ سَوَآءِۢ بَيۡنَنَا وَبَيۡنَكُمۡ أَلَّا نَعۡبُدَ إِلَّا ٱللَّهَ وَلَا نُشۡرِكَ بِهِۦ شَيۡٔٗا وَلَا يَتَّخِذَ بَعۡضُنَا بَعۡضًا أَرۡبَابٗا مِّن دُونِ ٱللَّهِۚ فَإِن تَوَلَّوۡاْ فَقُولُواْ ٱشۡهَدُواْ بِأَنَّا مُسۡلِمُونَ ٦٤﴾ [آل عمران: 64]
ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ ! จงมายังถ้อยคำหนึ่งซึ่งเท่าเทียมกัน ระหว่างเราและพวกท่าน คือว่าเราจะไม่เคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น และเราจะไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺ แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นมุสลิมผู้นอบน้อมต่ออัลลอฮฺ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 64)
﴿قُلۡ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَمَآ أُنزِلَ عَلَيۡنَا وَمَآ أُنزِلَ عَلَىٰٓ إِبۡرَٰهِيمَ وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ وَٱلۡأَسۡبَاطِ وَمَآ أُوتِيَ مُوسَىٰ وَعِيسَىٰ وَٱلنَّبِيُّونَ مِن رَّبِّهِمۡ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّنۡهُمۡ وَنَحۡنُ لَهُۥ مُسۡلِمُونَ ٨٤﴾ [آل عمران: 84]
ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้วและได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานแก่เรา และสิ่งที่ถูกประทานแก่อิบรอฮีมและอิสมาอีล และอิสหาก และยะอฺกูบและบรรดาผู้สืบเชื้อสาย(จากยะอฺกูบ) และศรัทธาต่อสิ่งที่มูซาและอีซา และนบีทั้งหลายได้รับจากพระเจ้าของพวกเขา โดยที่เราจะไม่แยกระหว่างคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา และพวกเรานั้นเป็นผู้ที่นอบน้อมต่อพระองค์” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 64)
- ข้อโต้แย้งและหลักฐานต่างๆ คือแนวทางของอัลกุรอานในการสร้างให้เกิดความมั่นคง ซึ่งเป็นพื้นฐานประการหนึ่งในการเสวนาและโต้ตอบกัน หลังจากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว คือการนำเสนอหลักฐานโดยการให้เหตุผลทางสติปัญญาและเชิงตรรกะ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการยืนยันให้พวกเขายอมรับในสัจธรรม
﴿إِنَّ مَثَلَ عِيسَىٰ عِندَ ٱللَّهِ كَمَثَلِ ءَادَمَۖ خَلَقَهُۥ مِن تُرَابٖ ثُمَّ قَالَ لَهُۥ كُن فَيَكُونُ ٥٩﴾ [آل عمران: 59]
ความว่า “แท้จริงอุปมาของอีซานั้น ดั่งอุปมัยของอาดัม พระองค์ทรงบังเกิดเขาจากดิน และได้ทรงประกาศิตแก่เขาว่าจงเป็นขึ้นเถิด แล้วเขาก็เป็นขึ้น” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 59)
﴿يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ لِمَ تُحَآجُّونَ فِيٓ إِبۡرَٰهِيمَ وَمَآ أُنزِلَتِ ٱلتَّوۡرَىٰةُ وَٱلۡإِنجِيلُ إِلَّا مِنۢ بَعۡدِهِۦٓۚ أَفَلَا تَعۡقِلُونَ ٦٥﴾ [آل عمران: 65]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ ! เพราะเหตุใดเล่าพวกเจ้าจึงโต้เถียงกันในตัวของอิบรอฮีม ในขณะที่ อัต-เตารอต และอัล-อินญีลนั้นมิได้ถูกประทานลงมานอกจากหลังจากยุคสมัยของเขา แล้วพวกเจ้าไม่ใช้ปัญญาดอกหรือ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 65)
﴿هَٰٓأَنتُمۡ هَٰٓؤُلَآءِ حَٰجَجۡتُمۡ فِيمَا لَكُم بِهِۦ عِلۡمٞ فَلِمَ تُحَآجُّونَ فِيمَا لَيۡسَ لَكُم بِهِۦ عِلۡمٞۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ وَأَنتُمۡ لَا تَعۡلَمُونَ ٦٦﴾ [آل عمران: 66]
ความว่า “พวกเจ้านี้แหละ ได้โต้เถียงกันในสิ่งที่พวกเจ้ามีความรู้ในสิ่งนั้นแล้ว แล้วก็เหตุไฉนเล่าพวกเจ้าจึงโต้เถียงกันในสิ่งที่พวกเจ้าไม่มีความรู้ และอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ แต่พวกเจ้าไม่รู้” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 66)
﴿مَا كَانَ لِبَشَرٍ أَن يُؤۡتِيَهُ ٱللَّهُ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحُكۡمَ وَٱلنُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ كُونُواْ عِبَادٗا لِّي مِن دُونِ ٱللَّهِ وَلَٰكِن كُونُواْ رَبَّٰنِيِّۧنَ بِمَا كُنتُمۡ تُعَلِّمُونَ ٱلۡكِتَٰبَ وَبِمَا كُنتُمۡ تَدۡرُسُونَ ٧٩﴾ [آل عمران: 79]
ความว่า “ไม่เคยปรากฏแก่บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์และข้อตัดสิน และการเป็นนบีแก่เขา แล้วเขากล่าวแก่ผู้คนว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นบ่าวของฉัน อื่นจากอัลลอฮฺ หากแต่(เขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันกับพระเจ้าเถิด เนื่องจากการที่พวกท่านเคยสอนคัมภีร์ และเคยศึกษาคัมภีร์มา” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 79)
- เตือนชาวอะฮฺลุลกิตาบจากการปฏิเสธหรือไม่เชื่อ(ในสัจธรรม)
﴿يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ لِمَ تَكۡفُرُونَ بَِٔايَٰتِ ٱللَّهِ وَأَنتُمۡ تَشۡهَدُونَ ٧٠ يَٰٓأَهۡلَ ٱلۡكِتَٰبِ لِمَ تَلۡبِسُونَ ٱلۡحَقَّ بِٱلۡبَٰطِلِ وَتَكۡتُمُونَ ٱلۡحَقَّ وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ ٧١﴾ [آل عمران: 71]
ความว่า “โอ้ผู้ที่ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย ! เพราะเหตุใดพวกเจ้าจึงปฏิเสธบรรดาโองการของอัลลอฮฺ ทั้งๆ ที่พวกเจ้าก็เป็นพยานยืนยันอยู่ โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย ! เพราะเหตุใดพวกเจ้าจึงสวมความจริงไว้ด้วยความเท็จ และปกปิดความจริงไว้ ทั้งๆ ที่พวกเจ้าก็รู้ดีอยู่” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 70-71)
﴿وَمِنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ مَنۡ إِن تَأۡمَنۡهُ بِقِنطَارٖ يُؤَدِّهِۦٓ إِلَيۡكَ وَمِنۡهُم مَّنۡ إِن تَأۡمَنۡهُ بِدِينَارٖ لَّا يُؤَدِّهِۦٓ إِلَيۡكَ إِلَّا مَا دُمۡتَ عَلَيۡهِ قَآئِمٗاۗ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ قَالُواْ لَيۡسَ عَلَيۡنَا فِي ٱلۡأُمِّيِّۧنَ سَبِيلٞ وَيَقُولُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ ٧٥﴾ [آل عمران: 75]
ความว่า “และจากหมู่ผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้น มีผู้ที่หากเจ้าฝากเขาไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติอันมากมาย เขาก็จะคืนมันแก่เจ้า และจากหมู่พวกเขานั้นมีผู้ที่หากเจ้าฝากเขาไว้สักเหรียญทองหนึ่ง เขาก็จะไม่คืนมันแก่เจ้า นอกจากเจ้าจะยืนเฝ้าทวงเขาอยู่เท่านั้น นั่นก็เพราะว่าพวกเขากล่าวว่า ในหมู่ผู้ที่อ่านเขียนไม่เป็นนั้น ไม่มีทางใดที่เป็นโทษแก่เราได้ และพวกเขากล่าวความเท็จให้แก่อัลลอฮฺทั้งๆ ที่พวกเขารู้กันดีอยู่” (สูเราะฮฺ อาล อิมรอน : 75)
- การท้าทายที่แข็งกร้าว
﴿فَمَنۡ حَآجَّكَ فِيهِ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَكَ مِنَ ٱلۡعِلۡمِ فَقُلۡ تَعَالَوۡاْ نَدۡعُ أَبۡنَآءَنَا وَأَبۡنَآءَكُمۡ وَنِسَآءَنَا وَنِسَآءَكُمۡ وَأَنفُسَنَا وَأَنفُسَكُمۡ ثُمَّ نَبۡتَهِلۡ فَنَجۡعَل لَّعۡنَتَ ٱللَّهِ عَلَى ٱلۡكَٰذِبِينَ ٦١﴾ [آل عمران: 61]
ความว่า “ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้าในเรื่องของเขา (อีซา) หลังจากที่ได้มีความรู้มายังเจ้าแล้ว ก็จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราก็จะเรียกลูกๆ ของเรา และลูกของพวกท่านและเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน และตัวของพวกเราและตัวของพวกท่านและเราก็จะวิงวอนกัน (ต่ออัลลอฮฺ)ด้วยความนอบน้อม โดยที่เราจะขอให้ละอฺนะฮฺ(การสาปแช่ง)ของอัลลอฮฺพึงประสบแก่บรรดาผู้ที่พูดโกหก” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 61)
- มีความเป็นธรรมในทัศนคติที่มีต่อชาวอะฮฺลุลกิตาบ
﴿وَمِنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ مَنۡ إِن تَأۡمَنۡهُ بِقِنطَارٖ يُؤَدِّهِۦٓ إِلَيۡكَ وَمِنۡهُم مَّنۡ إِن تَأۡمَنۡهُ بِدِينَارٖ لَّا يُؤَدِّهِۦٓ إِلَيۡكَ إِلَّا مَا دُمۡتَ عَلَيۡهِ قَآئِمٗاۗ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ قَالُواْ لَيۡسَ عَلَيۡنَا فِي ٱلۡأُمِّيِّۧنَ سَبِيلٞ وَيَقُولُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ ٧٥﴾ [آل عمران: 75]
ความว่า “และจากหมู่ผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้น มีผู้ที่หากเจ้าฝากเขาไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติอันมากมาย เขาก็จะคืนมันแก่เจ้า และจากหมู่พวกเขานั้นมีผู้ที่หากเจ้าฝากเขาไว้สักเหรียญทองหนึ่ง เขาก็จะไม่คืนมันแก่เจ้า นอกจากเจ้าจะยืนเฝ้าทวงเขาอยู่เท่านั้น นั่นก็เพราะว่าพวกเขากล่าวว่า ในหมู่ผู้ที่อ่านเขียนไม่เป็นนั้น ไม่มีทางใดที่เป็นโทษแก่เราได้ และพวกเขากล่าวความเท็จให้แก่อัลลอฮฺทั้งๆ ที่พวกเขารู้กันดีอยู่” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 75)
﴿لَيۡسُواْ سَوَآءٗۗ مِّنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ أُمَّةٞ قَآئِمَةٞ يَتۡلُونَ ءَايَٰتِ ٱللَّهِ ءَانَآءَ ٱلَّيۡلِ وَهُمۡ يَسۡجُدُونَ ١١٣﴾ [آل عمران: 113]
ความว่า “พวกเขาหาใช่เหมือนกันไม่ จากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นมีกลุ่มชนหนึ่งที่เที่ยงธรรม ซึ่งพวกเขาอ่านบรรดาโองการของอัลลอฮฺในยามค่ำคืน และพร้อมกันนั้น พวกเขาก็สุญูดกัน” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 113)
- เทิดเกียรติแก่บรรดาศาสนทูตที่ถูกส่งไปยังชาวยิวและคริสต์
﴿إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰٓ ءَادَمَ وَنُوحٗا وَءَالَ إِبۡرَٰهِيمَ وَءَالَ عِمۡرَٰنَ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ ٣٣﴾ [آل عمران: 33]
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือก อาดัมและนูห์ และวงศ์วานของอิบรอฮีม และวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 33)
﴿وَإِذۡ قَالَتِ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ يَٰمَرۡيَمُ إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰكِ وَطَهَّرَكِ وَٱصۡطَفَىٰكِ عَلَىٰ نِسَآءِ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٤٢﴾ [آل عمران: 42]
ความว่า “และจงรำลึกขณะที่มลาอิกะฮฺกล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเลือกเธอและทรงทำให้เธอบริสุทธิ์ และได้ทรงเลือกเธอให้เหนือบรรดาหญิงแห่งประชาชาติทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 42)
หลังจากที่หลักฐานต่างๆ ได้ให้ผู้ศรัทธามีความมั่นคงในแนวคิดแล้ว เราจะสังเกตได้อีกว่าเนื้อหาส่วนแรกของสูเราะฮฺนี้ก็จะปิดท้ายด้วยอายะฮฺที่กล่าวถึงการยืนหยัดอย่างมั่นคงโดยตรง
﴿إِن تَمۡسَسۡكُمۡ حَسَنَةٞ تَسُؤۡهُمۡ وَإِن تُصِبۡكُمۡ سَيِّئَةٞ يَفۡرَحُواْ بِهَاۖ وَإِن تَصۡبِرُواْ وَتَتَّقُواْ لَا يَضُرُّكُمۡ كَيۡدُهُمۡ شَيًۡٔاۗ إِنَّ ٱللَّهَ بِمَا يَعۡمَلُونَ مُحِيطٞ ١٢٠﴾ [آل عمران: 120]
ความว่า “หากมีความดีใดๆ ประสบแก่พวกเจ้า ก็ทำให้พวกเขาเศร้าใจ และถ้าหากความชั่วใดๆ ประสบแก่พวกเจ้า พวกเขาก็ดีใจเนื่องด้วยความชั่วนั้น และถ้าพวกเจ้าอดทนและยำเกรงแล้วไซร้ อุบายของพวกเขาก็ย่อมไม่เป็นอันตรายแก่พวกเจ้าแต่อย่างใด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงห้อมล้อมซึ่งสิ่งที่พวกเขากระทำกัน” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 120)
และการปิดท้ายอายะฮฺส่วนที่สองของสูเราะฮฺก็เป็นอายะฮฺที่กล่าวถึงการยืนหยัดอย่างมั่นคงเช่นเดียวกัน
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱصۡبِرُواْ وَصَابِرُواْ وَرَابِطُواْ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ٢٠٠﴾ [آل عمران: 200]
ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงมีความอดทน และจงต่างอดทนซึ่งกันและกันเถิด และจงรักษาหน้าที่ให้มั่น และพึงกลัวเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 200)
ส่วนที่สองของสูเราะฮฺ
เนื้อหาของส่วนนี้ได้กล่าวถึงสงครามอุหุด เนื่องจากมันได้ทิ้งบทเรียนที่สำคัญและหนักหน่วงแก่จิตใจของผู้ศรัทธาจากการที่พวกเขาได้ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเราสังเกตได้ว่าการดำเนินเรื่องของสงครามอุหุดและการทำให้ผู้ศรัทธามีความมั่นคงนั้น มาในรูปแบบที่สูงเปี่ยมด้วยวิทยปัญญาเป็นอย่างยิ่ง สุบหานัลลอฮฺ!
ลำดับแรก อัลลอฮฺได้กล่าวถึงความโปรดปรานของพระองค์ที่ทรงประทานให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา
﴿وَإِذۡ غَدَوۡتَ مِنۡ أَهۡلِكَ تُبَوِّئُ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ مَقَٰعِدَ لِلۡقِتَالِۗ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ ١٢١ إِذۡ هَمَّت طَّآئِفَتَانِ مِنكُمۡ أَن تَفۡشَلَا وَٱللَّهُ وَلِيُّهُمَاۗ وَعَلَى ٱللَّهِ فَلۡيَتَوَكَّلِ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ١٢٢ وَلَقَدۡ نَصَرَكُمُ ٱللَّهُ بِبَدۡرٖ وَأَنتُمۡ أَذِلَّةٞۖ فَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ١٢٣ إِذۡ تَقُولُ لِلۡمُؤۡمِنِينَ أَلَن يَكۡفِيَكُمۡ أَن يُمِدَّكُمۡ رَبُّكُم بِثَلَٰثَةِ ءَالَٰفٖ مِّنَ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ مُنزَلِينَ ١٢٤﴾ [آل عمران: 121-124]
ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่เจ้าจากครอบครัวของเจ้าไปแต่เช้าตรู่ โดยที่เจ้าจะได้จัดให้บรรดามุอ์มินประจำที่มั่นต่างๆ เพื่อการสู้รบ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ จงรำลึกขณะที่สองกลุ่ม ในหมู่พวกเจ้ารู้สึกอ่อนแอและขลาด และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองทั้งสองกลุ่มนั้นไว้ และแด่อัลลอฮฺนั้นมุอ์มินทั้งหลายจงมอบหมายเถิด และแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงช่วยเหลือพวกเจ้าที่บะดัรฺมาแล้ว ทั้งๆ ที่พวกเข้าเป็นพวกด้อยกว่า ดังนั้นพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด หวังว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ จงรำลึกถึงขณะที่เจ้า(มุหัมมัด)กล่าวแก่บรรดามุอ์มินว่า ไม่เพียงพอแก่พวกเจ้าเลยหรือ การที่พระเจ้าของพวกท่านจะหนุนกำลังแก่พวกท่าน ด้วยมะลาอิกะฮฺจำนวนสามพันโดยถูกส่งลงมา” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 121-124)
หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ปลอบขวัญแก่พวกเขา แล้วพระองค์ก็ได้ให้อภัยโทษแก่พวกเขา แล้วพระองค์ก็ได้ตำหนิบรรดาผู้ที่ผินหลังด้วยการตำหนิอย่างนุ่มนวลอ่อนโยน
﴿وَلَقَدۡ صَدَقَكُمُ ٱللَّهُ وَعۡدَهُۥٓ إِذۡ تَحُسُّونَهُم بِإِذۡنِهِۦۖ حَتَّىٰٓ إِذَا فَشِلۡتُمۡ وَتَنَٰزَعۡتُمۡ فِي ٱلۡأَمۡرِ وَعَصَيۡتُم مِّنۢ بَعۡدِ مَآ أَرَىٰكُم مَّا تُحِبُّونَۚ مِنكُم مَّن يُرِيدُ ٱلدُّنۡيَا وَمِنكُم مَّن يُرِيدُ ٱلۡأٓخِرَةَۚ ثُمَّ صَرَفَكُمۡ عَنۡهُمۡ لِيَبۡتَلِيَكُمۡۖ وَلَقَدۡ عَفَا عَنكُمۡۗ وَٱللَّهُ ذُو فَضۡلٍ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ١٥٢﴾ [آل عمران: 152]
ความว่า “และแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงให้สัญญาของพระองค์สมจริงแก่พวกเจ้าแล้ว ขณะที่พวกเจ้าประหัตประหารพวกเขา ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ จนกระทั่งพวกเจ้าขลาดที่จะต่อสู้ และขัดแย้งกันในคำสั่งและพวกเจ้าได้ฝ่าฝืนหลังจากที่พระองค์ได้ทรงให้พวกเจ้าเห็นสิ่งที่พวกเจ้าชอบ จากนั้นมีผู้ที่ต้องการโลกนี้ และจากพวกเจ้านั้นมีผู้ที่ต้องการปรโลก แล้วพระองค์ก็ทรงให้พวกเจ้าหันกลับจากพวกเขาเสีย เพื่อที่จะทรงทดสอบพวกเจ้า และแน่นอนพระองค์ได้ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเจ้าแล้ว และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงมีพระคุณแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 152)
หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้ปลอบขวัญแก่พวกเขาอีกครั้งว่า
﴿ثُمَّ أَنزَلَ عَلَيۡكُم مِّنۢ بَعۡدِ ٱلۡغَمِّ أَمَنَةٗ نُّعَاسٗا يَغۡشَىٰ طَآئِفَةٗ مِّنكُمۡۖ وَطَآئِفَةٞ قَدۡ أَهَمَّتۡهُمۡ أَنفُسُهُمۡ يَظُنُّونَ بِٱللَّهِ غَيۡرَ ٱلۡحَقِّ ظَنَّ ٱلۡجَٰهِلِيَّةِۖ يَقُولُونَ هَل لَّنَا مِنَ ٱلۡأَمۡرِ مِن شَيۡءٖۗ قُلۡ إِنَّ ٱلۡأَمۡرَ كُلَّهُۥ لِلَّهِۗ يُخۡفُونَ فِيٓ أَنفُسِهِم مَّا لَا يُبۡدُونَ لَكَۖ يَقُولُونَ لَوۡ كَانَ لَنَا مِنَ ٱلۡأَمۡرِ شَيۡءٞ مَّا قُتِلۡنَا هَٰهُنَاۗ قُل لَّوۡ كُنتُمۡ فِي بُيُوتِكُمۡ لَبَرَزَ ٱلَّذِينَ كُتِبَ عَلَيۡهِمُ ٱلۡقَتۡلُ إِلَىٰ مَضَاجِعِهِمۡۖ وَلِيَبۡتَلِيَ ٱللَّهُ مَا فِي صُدُورِكُمۡ وَلِيُمَحِّصَ مَا فِي قُلُوبِكُمۡۚ وَٱللَّهُ عَلِيمُۢ بِذَاتِ ٱلصُّدُورِ ١٥٤﴾ [آل عمران: 154]
ความว่า “แล้วพระองค์ก็ทรงประทานแก่พวกเจ้าซึ่งความปลอดภัย หลังจากความเศร้าโศกนั้น คือให้มีการงีบหลับครอบคลุมกลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งนั้น ตัวของพวกเขาเองทำให้พวกเขากระวนกระวายใจ พวกเขากล่าวหาอัลลอฮฺ โดยปราศจากความเป็นธรรมเหมือนอย่างพวกญาฮิลียะฮฺ พวกเขากล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราบ้างไหม? จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่า แท้จริง กิจการนั้นทั้งหมดเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น พวกเขาปกปิดไว้ในใจของพวกเขาสิ่งซึ่งพวกเขาจะไม่เปิดเผยแก่เจ้า พวกเขากล่าวว่า หากปรากฏว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราแล้วไซร้ พวกเราก็ไม่ถูกฆ่าตายที่นี่ จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า แม้ปรากฏว่า พวกท่านอยู่ในบ้านของพวกท่านก็ตาม แน่นอนบรรดาผู้ที่การฆ่าได้ถูกกำหนดแก่พวกเขาก็จะออกไปสู่ที่นอนตายของพวกเขา และเพื่อที่อัลลอฮฺจะทรงทดสอบสิ่งที่อยู่ในหัวอกของพวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่หัวอกทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 154)
หลังจากนั้นพระองค์ก็ได้กล่าวถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดความพ่ายแพ้และการฝ่าฝืน(ในอายะฮฺที่152) ซึ่งมันมีความเกี่ยวพันกับเนื้อหาส่วนเริ่มต้นของสูเราะฮฺในคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿زُيِّنَ لِلنَّاسِ حُبُّ ٱلشَّهَوَٰتِ ١٤﴾ [آل عمران: 14]
ความว่า “ได้ถูกทำให้สวยงาม(ลุ่มหลง)แก่มนุษย์ซึ่งความรักในบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 14)
ซึ่งบรรดาสิ่งที่เป็นเสน่ห์เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้มีการฝ่าฝืนขึ้นมา เช่นเดียวกับดอกเบี้ยที่ได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งต่างๆ อย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้เองอายะฮฺที่กล่าวถึงดอกเบี้ยจึงถูกนำเสนอในสูเราะฮฺอาล อิมรอนเช่นเดียวกันว่า
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَأۡكُلُواْ ٱلرِّبَوٰٓاْ أَضۡعَٰفٗا مُّضَٰعَفَةٗۖ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ ١٣٠ ﴾ [آل عمران: 130]
ความว่า “โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวี และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 130)
สาเหตุการตั้งชื่อสูเราะฮฺ
ส่วนที่เรียกชื่อสูเราะฮฺนี้ว่า “อาล อิมรอน” ก็เพื่อเป็นการเทิดเกียรติแก่ภรรยาของท่านอิมรอน และท่านหญิงมัรยัม ซึ่งเป็นบุตรีของท่านอิมรอน โดยท่านหญิงมัรยัม อะลัยฮัสสลาม นั้นเป็นตัวอย่างของการยืนหยัดในการทำอิบาดะฮฺ และการทำตนให้มีจิตใจและร่างกายอันบริสุทธิ์ ส่วนภรรยาของท่านอิมรอนนั้นเป็นตัวอย่างของการยืนหยัดในการช่วยเหลือศาสนาอิสลาม
﴿رَبِّ إِنِّي نَذَرۡتُ لَكَ مَا فِي بَطۡنِي مُحَرَّرٗا ٣٥﴾ [آل عمران: 35]
ความว่า “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง(บุตร)ที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น” (สูเราะฮฺอาล อิมรอน : 35)
ซึ่งในช่วงเวลานั้น บรรดาผู้ศรัทธาได้ใช้มัสญิดอัล-อักศอในการประกอบศาสนกิจ ดังนั้นท่านหญิงจึงได้บนไว้ว่าให้บุตรที่อยู่ในครรภ์ของท่านหญิงนั้นได้รับใช้มัสญิดอัล-อักศอ ซึ่งท่านหญิงก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นบุตรี และอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้ตอบรับ(การวิงวอน)จากท่านหญิง เช่นเดียวกันสูเราะฮฺอาล อิมรอน มีเนื้อหาที่ได้กล่าวถึงมุมมองอันสูงส่งต่อผู้หญิง ด้วยการกล่าวถึงภรรยาของท่านอิมรอน และท่านหญิงมัรยัม อะลัยฮัสสลาม ซึ่งเป็นผู้ปลุกแรงบันดาลใจที่สูงส่งแก่ท่านนบีซะกะรียา ดังนั้น ท่านจึงได้วอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าของท่านให้ทรงประทานครอบครัวที่ดี(ศอลิหฺ)แก่ท่าน และนี่เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า สัญลักษณ์แห่งการยืนหยัดมั่นคงนั้นคือบรรดาผู้หญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้เองสูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ จึงถูกจัดลำดับของตามมาโดยทันทีหลังจากสูเราะฮฺอาล อิมรอน วัลลอฮุ อะอฺลัม
والله أعلم بالصواب، وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم، والحمد لله رب العالمين.