×
อธิบายเป้าหมายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ซึ่งเป็นสูเราะฮฺที่ยาวที่สุดในอัลกุรอาน เป็นสูเราะฮฺอันยิ่งใหญ่ที่กล่าวถึงภาระหน้าที่ของมนุษย์ นั่นคือการเป็นผู้ดูแลโลก ซึ่งประกอบด้วยแนวทางที่ชัดเจนในการทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งตัวอย่างของทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จและผู้ที่ล้มเหลวในการทำหน้าที่นี้ และยังได้ระบุถึงรายละเอียดปลึกย่อยต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์ของอิสลาม ศาสนาที่มีแนวทางอันครอบคลุมและทรงพลังในการปฏิรูปและพัฒนาสังคมโลกตามกรอบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดปราน

    เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ฟุอาด ซัยดาน

    แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือ อะฮฺดาฟ กุลลิ สูเราะฮฺ มิน อัลกุรอาน

    2011 - 1432

    ﴿ أهداف سورة البقرة ﴾

    « باللغة التايلاندية »

    فؤاد زيدان

    ترجمة: محمد صبري يعقوب

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب أهداف كل سورة من القرآن

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เป้าหมายต่างๆ ของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

    มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ พรอันประเสริฐและความศานติจงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเครือญาติตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

    سُورَةُ البَقَرَةِ

    เป้าหมายของสูเราะฮฺ : การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินและแนวทางปฏิบัติ

    สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ ประกอบด้วย 286 อายะฮฺ ถือเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกประทาน ณ เมืองมะดีนะฮฺหลังจากการอพยพของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อมๆกับการเริ่มต้นสร้างรากฐานของประชาชาติอิสลาม (สูเราะฮฺ มะดะนียะฮฺ หรือบทที่ถูกประทานลงมาหลังการอพยบไปยังมะดีนะฮฺ มักจะให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนบัญญัติ) เป็นสูเราะฮฺที่มีเนื้อหายาวที่สุด และเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกจัดอันดับหลังจากสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺ ส่วนความประเสริฐของสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺและผลานิสงส์ในการอ่านมันนั้น มีปรากฏการรายงานหะดีษที่เศาะฮีหฺอย่างมากมาย เช่น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «يُؤْتَى بِالْقُرْآنِ يَوْم الْقِيَامَة وَأَهْلِهِ الَّذِينَ كَانُوا يَعْمَلُونَ بِهِ، تَقْدُمُهُمْ سُورَةُ الْبَقَرَةِ وَآلَ عِمْرَانَ تُحَاجَّانِ عَنْ صَاحِبِهِمَا» [مسلم برقم 1912]

    ความว่า "ในวันกิยามะฮฺอัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมสมาชิกที่ได้ปฎิบัติตามอัลกุรอาน นำโดยสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ และอาล อิมรอน เป็นแถวปกป้องเจ้าของของทั้งสอง" (บันทึกโดย มุสลิม : 1912)

    ในบางสายรานงานระบุว่า

    «كَأَنَّهُمَا غَمَامَتَانِ أَوْ كَأَنَّهُمَا غَيَايَتَانِ»

    ความว่า “จะมาเสมือนเป็นเมฆหรือให้ความร่มเงา”

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «لَا تَـجْعَلُوا بُيُوتَـكُمْ مَقَابِرَ، إنَّ الشَّيْطَانَ يَنْفِرُ مِنَ البَيْتِ الَّذِي تُقْرَأُ فِيهِ سُورَةُ البَقَرَةِ» [مسلم برقم 780]

    ความว่า "อย่าได้ทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเหมือนสุสาน(คือไม่มีการอ่านอัลกุรอานและทำอิบาดะฮฺในบ้าน) แท้จริงแล้วชัยฏอนจะหนีออกจากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ" (บันทึกโดย มุสลิม : 780)

    ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «اقْرَؤُوا سُورَةَ البَقَرَةِ، فَإنَّ أَخْذَهَا بَرَكَةٌ، وَتَرْكَهَا حَسْرَةٌ، وَلَا يَسْتَطِيعُهَا البَطَلَةُ» [مسلم برقم 804]

    ความว่า “ท่านทั้งหลายจงอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ เพราะการอ่านมันนั้นเป็นความบะเราะกะฮฺ(จำเริญ) การละเลยต่อสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ(ไม่อ่าน)ถือว่าขาดทุน และผู้ที่ปลุกเสกคุณไสยไม่อาจชนะสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺได้” (บันทึกโดย มุสลิม : 804)

    เป้าหมายของสูเราะฮฺ กล่าวถึง การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน (มนุษย์มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน) ด้วยเหตุนี้เอง(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ)จึงถูกจัดเป็นอันดับแรก ๆ ของคัมภีร์เล่มนี้ โดยแน่นอนแผ่นดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลล์ พระองค์คือผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา และพระองค์ก็ประสงค์ให้มันดำเนินให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระองค์ โดยจำเป็นที่บนหน้าแผ่นดินนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ(ในการปกครองมัน) ซึ่งอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา เคยให้กลุ่มชนต่างๆ อย่างมากมายก่อนหน้าท่านนบีอาดัมได้เป็นตัวแทน(ในการปกครองมัน)มาแล้ว และภายหลังจากท่านนบีอาดัมก็เช่นเดียวกัน บางกลุ่มในหมู่พวกเขาก็ประสบกับความล้มเหลวในการเป็นตัวแทนในแผ่นดินอันกว้างใหญ่นี้ ส่วนอีกบางกลุ่มก็ประสบกับความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่เราได้อ่านสูเราะฮฺนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีความรู้สึกที่จะรับผิดชอบในการปกครองบนหน้าแผ่นดินนี้

    ดังที่เรากล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า เป้าหมายของสูเราะฮฺนี้คือ การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ซึ่งสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺคือสูเราะฮฺแรกที่ถูกจัดอันดับของคัมภีร์เล่มนี้ และเป็นสูเราะฮฺแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ณ เมืองมะดีนะฮฺ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นในการสร้างรากฐานและก่อร่างรัฐอิสลามใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจำเป็นที่บรรดาผู้ศรัทธาต้องรับรู้ว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง และสิ่งใดบ้างที่เขาต้องคอยระวัง ซึ่งการรับผิดชอบในหน้าที่ ณ ที่นี้ หมายรวมว่า การที่เราได้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงประสงค์ และการปฏิบัติตามในข้อสั่งใช้และการละทิ้งข้อห้ามต่างๆ ของพระองค์

    สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน นั่นคือ

    1.บทนำ

    2.ภาคที่หนึ่ง

    3.ภาคที่สอง

    4.บทสรุป

    ซึ่งข้าพเจ้าจะอธิบายขยายความเป้าหมายของแต่ละบทอย่างพอสังเขป ดังนี้

    บทนำ

    มีเนื้อหาที่สาธยายถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งปรากฏอยู่ในส่วน(รุบุอฺ)ที่หนึ่งนับตั้งแต่อายะฮฺที่ 1-29

    ส่วน(รุบุอฺ)ที่หนึ่ง : (สาธยายถึง)คุณลักษณะต่างๆของมนุษย์

    - บรรดาผู้ยำเกรง(มุตตะกีน) : อายะฮฺที่ 1-5

    - บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา(อัล-กาฟิรูน) : อายะฮฺที่ 6-7

    - บรรดาผู้กลับกลอก(มุนาฟิกีน) : อายะฮฺที่ 8-20 ซึ่งการกล่าวถึงคุณลักกษณะของบรรดาผู้กลับกลอกอย่างยืดยาวนั้น ก็เพื่อเป็นการตักเตือนถึงพิษภัยที่อันตรายและการสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของพวกเขา เนื่องจากพวกเขาได้เสแสร้งแสดงตัวเป็นผู้ศรัทธาและซ่อนการปฏิเสธศรัทธาไว้ และถือได้ว่าพวกเขา(มีพิษภัยที่อันตราย)ยิ่งกว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเสียอีก

    ภาคที่หนึ่ง

    หลังจากนั้น(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ)ก็ดำเนินไปสู่ “บทที่หนึ่ง” ของสูเราะฮฺ นั่นคือส่วนที่เหลือของญุซอ์ที่หนึ่ง(นับตั้งแต่อายะฮฺที่ 30-141) ซึ่งมีเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้

    1.1 ส่วน(รุบุอฺ)ที่สอง : (สาธยายถึง) การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินของท่านนบีอาดัม(ซึ่งเป็นบททดสอบในครั้งเริ่มแรก)

    ﴿وَإِذۡ قَالَ رَبُّكَ لِلۡمَلَٰٓئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ٣٠ ﴾ [البقرة : 30]

    ความว่า “จงรำลึกถึงเวลาที่พระผู้อภิบาลของเจ้า ได้กล่าวกับมลาอิกะฮฺว่า ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 30)

    และอัลลอฮฺ ผู้ทรงอ่อนโยน สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ติดตามอายะฮฺข้างต้นนี้ด้วยกับ

    ﴿وَعلَّمَ ءَادَمَ ٱلۡأَسۡمَآءَ كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمۡ عَلَى ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ فَقَالَ أَنۢبِ‍ُٔونِي بِأَسۡمَآءِ هَٰٓؤُلَآءِ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ ٣١﴾ [البقرة : 31]

    ความว่า “แล้วพระองค์ ได้ทรงสอนอาดัม ถึงนามของทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นพระองค์ ได้ทรงนำมันมาเสนอต่อมลาอิกะฮฺ และถามว่า จงบอกแก่ฉันซึ่งชื่อของสิ่งเหล่านี้ ถ้าสูเจ้าแน่ใจ (ในการคิดว่า การแต่งตั้งตัวแทน จะก่อให้เกิดความวุ่นวายเสียหาย) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 31)

    อายะฮฺเหล่านี้เป็นแก่นที่สื่อถึงนัยว่า ถ้าหากท่านปรารถนาที่จะเป็นผู้รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ จำเป็นที่ท่านต้องมีความรู้ ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา จึงสอนบรรดานามของทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ทรงสอนการใช้ชีวิตว่าจะดำเนินไปอย่างไร พระองค์ยังทรงสอนเทคนิคในการใช้ชีวิต ทั้งยังสอนปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน

    ﴿ٱلَّذِي جَعَلَ لَكُمُ ٱلۡأَرۡضَ فِرَٰشٗا وَٱلسَّمَآءَ بِنَآءٗ وَأَنزَلَ مِنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ فَأَخۡرَجَ بِهِۦ مِنَ ٱلثَّمَرَٰتِ رِزۡقٗا لَّكُمۡۖ فَلَا تَجۡعَلُواْ لِلَّهِ أَندَادٗا وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ ٢٢ ﴾ [البقرة : 22]

    ความว่า “คือผู้ทรงให้แผ่นดินเป็นที่นอนและฟ้าเป็นอาคารแก่พวกเจ้า และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า แล้วได้ทรงให้บรรดาผลไม้ออกมา เนื่องด้วยน้ำนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าให้มีภาคีผู้เท่าเทียมใดๆ ขึ้นสำหรับอัลลอฮฺ โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 22)

    และนี่เป็นข้อแนะนำแก่ประชาชาติอิสลาม หากพวกเขาปรารถนาที่จะแบกรับหน้าที่ในการรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ ซึ่งจำเป็นที่เขาต้องมีความรู้ควบคู่ไปกับการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ประหนึ่งว่าบททดสอบของท่านนบีอาดัมก็คือบททดสอบเพื่อเป็นการอบรมสั่งสอนมนุษย์เกี่ยวกับกระบวนการรับผิดชอบในหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้ว่าควรเป็นไปเช่นไร

    หลังจากนั้นก็ติดตามด้วยอายะฮฺนี้

    ﴿فَأَزَلَّهُمَا ٱلشَّيۡطَٰنُ عَنۡهَا فَأَخۡرَجَهُمَا مِمَّا كَانَا فِيهِۖ وَقُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ بَعۡضُكُمۡ لِبَعۡضٍ عَدُوّٞۖ وَلَكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُسۡتَقَرّٞ وَمَتَٰعٌ إِلَىٰ حِينٖ ٣٦﴾ [البقرة : 36]

    ความว่า “แต่ต่อมา มารร้ายได้หลอกลวงทั้งสองด้วยต้นไม้นั้น (เพื่อมิให้เชื่อฟังคำบัญชาของเรา) และได้นำเขาทั้งสองออกจากสภาพที่เคยอยู่ และเราได้ประกาศว่า เจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ เจ้าต่างเป็นศัตรูกัน และเจ้าจะมีที่พัก และปัจจัยยังชีพบนโลก ชั่วระยะเวลาหนึ่ง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 36)

    ซึ่งเป็นข้อแนะนำให้แก่เราอีกว่า ความโปรดปรานต่างๆ นั้นย่อมมลายหายไปด้วยกับการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา และได้ปิดท้ายเรื่องราวของท่านนบีอาดัมด้วยกับอายะฮฺที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นคือ

    ﴿قُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ مِنۡهَا جَمِيعٗاۖ فَإِمَّا يَأۡتِيَنَّكُم مِّنِّي هُدٗى فَمَن تَبِعَ هُدَايَ فَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ ٣٨﴾ [البقرة : 38]

    ความว่า (ก่อนที่อาดัมจะออกจากสวนสวรรค์) เราได้กล่าวว่า เจ้าทั้งหมดจงออกไปจากที่นี่ และถ้ามีทางนำจากฉันมายังเจ้า แล้วผู้ใดปฏิบัติตามทางนำของฉัน พวกเขาก็จะไม่มีความหวาดกลัว และพวกเขาจะไม่ระทม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 38)

    มันเป็นการตอกย้ำถึงสิ่งที่มีอยู่ในช่วงต้นของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

    ﴿هُدٗى لِّلۡمُتَّقِينَ ٢ ﴾ [البقرة : 2]

    ความว่า “เป็นคำแนะนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 2)

    ซึ่งมีข้อเกี่ยวพันกับสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ

    ﴿اهۡدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلۡمُسۡتَقِيمَ ٦﴾ [الفاتحة : 6]

    ความว่า “ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง” (อัล-ฟาติหะฮฺ 6)

    1.2 ส่วน(รุบุอฺ)ที่ 3 ถึง 7 : ตัวอย่างของความล้มเหลวในการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน

    นั่นคือเรื่องราวของบนีอิสรออีลที่พวกเขาได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ แต่แล้วพวกเขาก็ได้ก่อความเสียหายขึ้นมา

    ﴿يَٰبَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ وَأَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ ٤٧﴾ [البقرة : 47]

    ความว่า “วงศ์วานของอิสรออีลเอ๋ย จงรำลึก ถึงความโปรดปรานของฉัน ที่ฉันได้ให้แก่สูเจ้า และจงจำไว้ว่า ฉันได้ยกย่องสูเจ้าเหนือประชาชาติทั้งหลาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 47)

    ประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวของบนีอิสรออีล นั้นคือ

    ﴿أَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ﴾

    ความว่า “ฉันได้ยกย่องสูเจ้า เหนือประชาชาติทั้งหลาย”

    กล่าวคือ พวกเขามีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ ส่วนประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม คือ

    ﴿إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ٣٠﴾

    ความว่า “ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน”

    กล่าวคือ ท่านมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ และประโยคแรกที่สาธยายถึงเรื่องราวบนีอิสรออีลคือ

    ﴿ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ﴾

    ความว่า “จงรำลึก ถึงความโปรดปรานของฉัน ที่ฉันได้ให้แก่สูเจ้า”

    และประโยคแรกของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺคือ

    ﴿ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٢﴾

    ความว่า “การสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”

    กล่าวคือ การสรรเสริญ(ต่ออัลลอฮ)ในนิอฺมะฮฺหรือความโปรดปรานต่างๆ ดังนั้น(ก็เข้าใจได้ว่า)อัลกุรอานนั้นเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงนิอฺมะฮฺและความตระหนักสำนึกถึงนิอฺมะฮฺ และเรื่องราวของบนีอิสรออีลก็ได้เริ่มต้นด้วยการพูดถึงนิอฺมะฮฺของอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน

    อายะฮฺที่ 49,50,51,52 ได้กล่าวถึงความโปรดปรานนานัปการที่บนีอิสรออีลได้รับ

    ﴿وَإِذۡ نَجَّيۡنَٰكُم مِّنۡ ءَالِ فِرۡعَوۡنَ يَسُومُونَكُمۡ سُوٓءَ ٱلۡعَذَابِ يُذَبِّحُونَ أَبۡنَآءَكُمۡ وَيَسۡتَحۡيُونَ نِسَآءَكُمۡۚ وَفِي ذَٰلِكُم بَلَآءٞ مِّن رَّبِّكُمۡ عَظِيمٞ ٤٩ وَإِذۡ فَرَقۡنَا بِكُمُ ٱلۡبَحۡرَ فَأَنجَيۡنَٰكُمۡ وَأَغۡرَقۡنَآ ءَالَ فِرۡعَوۡنَ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ ٥٠ وَإِذۡ وَٰعَدۡنَا مُوسَىٰٓ أَرۡبَعِينَ لَيۡلَةٗ ثُمَّ ٱتَّخَذۡتُمُ ٱلۡعِجۡلَ مِنۢ بَعۡدِهِۦ وَأَنتُمۡ ظَٰلِمُونَ ٥١ ثُمَّ عَفَوۡنَا عَنكُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ٥٢﴾ [البقرة : 49-52]

    ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่เราได้ช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากพวกพ้องของฟิรเอาน์ โดยที่พวกเขาบังคับขู่เข็ญพวกเจ้าด้วยการทรมานอันร้ายแรง พวกเขาเชือดบรรดาลูกผู้ชายของพวกเจ้า และไว้ชีวิตบรรดาลูกผู้หญิงของพวกเจ้า และในเรื่องนั้น คือการทดสอบอันสำคัญจากพระเจ้าของพวกเจ้า(49) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้แยกทะเลออกให้พวกเจ้า แล้วเราได้ช่วยพวกเจ้าให้รอดพ้น และได้ให้พวกฟิรเอาน์จมน้ำตายขณะที่พวกเจ้ามองดูอยู่ (50) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้สัญญาแก่มูซาไว้สี่สิบคืน แล้วพวกเจ้าได้ยึดถือลูกวัวตัวนั้น(เป็นภาคีในการอิบาดะฮฺ) ณ เบื้องหลังเขา และพวกเจ้านั้นคือผู้อธรรม (51) แล้วเราก็ได้ให้อภัยแก่พวกเจ้าหลังจากนั้น เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ (52) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 49-52)

    นอกจากนี้มีการนำเสนอข้อผิดพลาดของบนีอิสรออีล เพื่อเป็นบทเรียนในการพัฒนาประชาชาติอิสลามในอายะฮฺที่ 55-61

    ﴿وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نُّؤۡمِنَ لَكَ حَتَّىٰ نَرَى ٱللَّهَ جَهۡرَةٗ فَأَخَذَتۡكُمُ ٱلصَّٰعِقَةُ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ ٥٥ ثُمَّ بَعَثۡنَٰكُم مِّنۢ بَعۡدِ مَوۡتِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ٥٦ وَظَلَّلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡغَمَامَ وَأَنزَلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَنَّ وَٱلسَّلۡوَىٰۖ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡۚ وَمَا ظَلَمُونَا وَلَٰكِن كَانُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ يَظۡلِمُونَ ٥٧ وَإِذۡ قُلۡنَا ٱدۡخُلُواْ هَٰذِهِ ٱلۡقَرۡيَةَ فَكُلُواْ مِنۡهَا حَيۡثُ شِئۡتُمۡ رَغَدٗا وَٱدۡخُلُواْ ٱلۡبَابَ سُجَّدٗا وَقُولُواْ حِطَّةٞ نَّغۡفِرۡ لَكُمۡ خَطَٰيَٰكُمۡۚ وَسَنَزِيدُ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ٥٨ فَبَدَّلَ ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ قَوۡلًا غَيۡرَ ٱلَّذِي قِيلَ لَهُمۡ فَأَنزَلۡنَا عَلَى ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ رِجۡزٗا مِّنَ ٱلسَّمَآءِ بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ٥٩ ۞وَإِذِ ٱسۡتَسۡقَىٰ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦ فَقُلۡنَا ٱضۡرِب بِّعَصَاكَ ٱلۡحَجَرَۖ فَٱنفَجَرَتۡ مِنۡهُ ٱثۡنَتَا عَشۡرَةَ عَيۡنٗاۖ قَدۡ عَلِمَ كُلُّ أُنَاسٖ مَّشۡرَبَهُمۡۖ كُلُواْ وَٱشۡرَبُواْ مِن رِّزۡقِ ٱللَّهِ وَلَا تَعۡثَوۡاْ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُفۡسِدِينَ ٦٠ وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نَّصۡبِرَ عَلَىٰ طَعَامٖ وَٰحِدٖ فَٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُخۡرِجۡ لَنَا مِمَّا تُنۢبِتُ ٱلۡأَرۡضُ مِنۢ بَقۡلِهَا وَقِثَّآئِهَا وَفُومِهَا وَعَدَسِهَا وَبَصَلِهَاۖ قَالَ أَتَسۡتَبۡدِلُونَ ٱلَّذِي هُوَ أَدۡنَىٰ بِٱلَّذِي هُوَ خَيۡرٌۚ ٱهۡبِطُواْ مِصۡرٗا فَإِنَّ لَكُم مَّا سَأَلۡتُمۡۗ وَضُرِبَتۡ عَلَيۡهِمُ ٱلذِّلَّةُ وَٱلۡمَسۡكَنَةُ وَبَآءُو بِغَضَبٖ مِّنَ ٱللَّهِۗ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ كَانُواْ يَكۡفُرُونَ بِ‍َٔايَٰتِ ٱللَّهِ وَيَقۡتُلُونَ ٱلنَّبِيِّ‍ۧنَ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّۗ ذَٰلِكَ بِمَا عَصَواْ وَّكَانُواْ يَعۡتَدُونَ ٦١﴾ [البقرة : 55-61]

    ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเป็นอันขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺโดยเปิดเผย แล้วสายฟ้าฝ่าก็ได้คร่าพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ามองดูกันอยู่ (55) ภายหลังเราได้ให้พวกเจ้าคืนชีพ หลังจากที่พวกเจ้าได้ตายไปแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณ (56) และเราได้ให้เมฆบดบังพวกเจ้า และได้ให้อัล-มันน์(น้ำหวานคล้ายน้ำผึ้ง)และอัส-สัลวา(นกคุ้มประเภทหนึ่ง)แก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากสิ่งดีๆ เถิด และพวกเขาหาได้อธรรมแก่เราไม่ แต่ทว่าพวกเขาอธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองต่างหาก (57) และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้กล่าวว่า พวกเจ้าจงเข้าไปในเมืองนี้ แล้วจงบริโภคจากเมืองนั้นอย่างกว้างขวาง ณ ที่ที่พวกเจ้าปรารถนา และจงเข้าประตูนั้น ไปในสภาพผู้โน้มศีรษะลงด้วยความนอบน้อม และจงกล่าวว่า “หิฏเฏาะฮฺ” เราก็จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาความผิดของพวกเจ้า และเราจะเพิ่มพูนแก่บรรดาผู้กระทำความดี (58) แล้วบรรดาผู้อธรรมเหล่านั้น ได้เปลี่ยนเอาคำพูดหนึ่งซึ่งมิใช่คำพูดที่ถูกกล่าวแก่พวกเขา เราจึงได้ให้การลงโทษจากฟากฟ้าลงมาแก่บรรดาผู้อธรรมเหล่านั้น เนื่องจากการที่พวกเขาละเมิด (59) และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้ขอน้ำให้แก่กลุ่มชนของพวกเขา แล้วเราได้กล่าวว่า เจ้าจงตีหินด้วยไม้เท้าของเจ้า แล้วตาน้ำสิบสองตาก็พุ่งออกจากหินนั้น แน่นอนกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม ย่อมรู้แหล่งน้ำดื่มของตน พวกเจ้าจงกินและจงดื่มจากปัจจัยยังชีพของอัลลอฮฺ และจงอย่าก่อกวนในผืนแผ่นดินในฐานะผู้บ่อนทำลาย (60) และจงรำลึกถึงขณะที่พวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราไม่สามารถจะอดทนต่ออาหารชนิดเดียวอีกต่อไปได้ ดังนั้นจงวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่เราเถิด พระองค์จะทรงให้ออกมาแก่เราจากสิ่งที่แผ่นดินให้งอกเงยขึ้น อันได้แก่พืชผัก แตงกวา กระเทียม ถั่ว และหัวหอม มูซาได้กล่าวว่าพวกท่านจะขอเปลี่ยนเอาสิ่งที่มันเลวกว่า กับสิ่งที่มันดีกว่ากระนั้นหรือ? พวกท่านจงลงไปอยู่ในเมืองเถิด แล้วสิ่งที่พวกท่านขอก็จะเป็นของพวกท่าน และความอัปยศ และความขัดสนก็ถูกกระหน่ำลงบนพวกเขา และพวกเขาได้นำเอาความกริ้วโกรธจากอัลลอฮฺกลับไป นั่นก็เพราะว่าพวกเขาเคยปฏิเสธสัญญาณต่างๆ ของอัลลอฮฺ และยังฆ่าบรรดานบี โดยปราศจากความเป็นธรรม นั่นก็เนื่องจากความดื้อดึงของพวกเขา และพวกเขาจึงได้กลายเป็นผู้ละเมิดขอบเขต (61)(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 55-61)

    การนำเสนอข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นของบนีอิสรออีลนั้นก็เพื่อเป็นข้อแนะนำในการพัฒนาประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ซึ่งในจำนวนข้อผิดพลาดต่างๆ นั้นคือ การที่บนีอิสรออีลไม่พึงพอใจที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา, คลั่งไคล้ในวัตถุนิยม, มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง, ไม่เชื่อฟังบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ, หลีกเลี่ยงในการใช้กฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ, ไม่ศรัทธาต่อสิ่งที่เร้นลับ

    บทสรุปเรื่องราวของวัวเพศเมีย : มีชายคนหนึ่งจากบนีอิสรออีลถูกฆ่า โดยไม่รู้ว่าใครเป็นฆาตรกร ดังนั้นพวกเขาจึงไปถามท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม ดังนั้น อัลลอฮฺ สุบหานะฮะวะตะอาลา จึงประทานวะห์ยู(โองการอัลกุรอาน)ลงมาเพื่อบัญชาพวกเขาให้เชือดวัวเพศเมียซึ่งเป็นวัวที่มีคุณลักษณะเฉพาะ โดยให้นำอวัยวะบางส่วนของวัวที่ถูกเชือดตัวนั้นตีบนศพของชายที่ตายไป ซึ่งทำให้ชายคนนั้นฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่งด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา แล้วเขาก็ชี้ฆาตรกรที่ได้ฆ่าเขา

    ﴿قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا لَوۡنُهَاۚ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ صَفۡرَآءُ فَاقِعٞ لَّوۡنُهَا تَسُرُّ ٱلنَّٰظِرِينَ ٦٩ قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا هِيَ إِنَّ ٱلۡبَقَرَ تَشَٰبَهَ عَلَيۡنَا وَإِنَّآ إِن شَآءَ ٱللَّهُ لَمُهۡتَدُونَ ٧٠ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ لَّا ذَلُولٞ تُثِيرُ ٱلۡأَرۡضَ وَلَا تَسۡقِي ٱلۡحَرۡثَ مُسَلَّمَةٞ لَّا شِيَةَ فِيهَاۚ قَالُواْ ٱلۡـَٰٔنَ جِئۡتَ بِٱلۡحَقِّۚ فَذَبَحُوهَا وَمَا كَادُواْ يَفۡعَلُونَ ٧١﴾ [البقرة : 69-71]

    ความว่า “พวกเขากล่าวว่า โปรดวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่พวกเราเถิด พระองค์ก็จะทรงแจ้งแก่พวกเราว่า วัวนั้นสีอะไร? มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวสีเหลือง สีของมันเข้มซึ่งทำให้เกิดความปิติยินดีแก่บรรดาผู้ที่มองดู (69) พวกเขากล่าวว่า โปรดวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่เราเถิด พระองค์ก็จะทรงแจ้งแก่พวกเราว่า วัวนั้นเป็นอย่างไร ? แท้จริงวัวนั้นมันคล้ายๆ กันแก่พวกเรา และหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แน่นอนพวกเราก็เป็นผู้ที่ได้รับคำแนะนำ (70) มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวที่ไม่สยบง่ายๆ ที่จะไถดินและที่จะทดน้ำเข้านา เป็นวัวบริสุทธิ์ปราศจากสีอื่นใดแซมในตัวมัน พวกเขากล่าวว่า บัดนี้ท่านได้นำความจริงมาให้แล้ว แล้วพวกเขาก็เชือดมัน และพวกเขาเกือบจะไม่ทำมันอยู่แล้ว (71) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 69-71)

    และนี่คือหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแก่บนีอิสรออีลและกลุ่มชนอื่นๆ ว่าอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา นั้นมีความสามารถที่จะให้ฟื้นคืนชีพสรรพสิ่งต่างๆ หลังจากที่มันตายไปแล้วได้ เนื่องจากว่าบนีอิสรออีลนั้นเป็นพวกวัตถุนิยม พวกเขามีความปรารถนาในหลักฐานที่เป็นรูปธรรมเพื่อที่จะให้พวกเขาได้เชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งสูเราะฮฺนี้ได้กล่าวแก่ประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าพวกเขานั้นมีหน้าที่รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ และข้างต้นนี้คือข้อผิดพลาดของประชาชาติก่อนหน้านี้ ดังนั้น จงอย่าตกอยู่ในความผิดเหล่านั้นอีก จนกระทั่งอัลลอฮฺจะไม่โกรธกริ้วต่อพวกเขา(ประชาชาติอิสลาม)และไม่ทรงเปลี่ยนให้กลุ่มชนอื่นมาแทนที่

    การตั้งชื่อสูเราะฮฺด้วยชื่อนี้ (อัล-บะเกาะเราะฮฺ) เพื่อให้มุอฺญิซะฮฺ(อภินิหาร)ที่ตื่นตาตื่นใจนี้ยังคงอยู่ รวมทั้งเรื่องราวบนีอิสรออีลกับพฤติกรรมที่สวนทางกับคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ การต่อต้านศาสนทูตของพวกเขา การปฏิเสธศรัทธาในสิ่งเร้นลับของพวกเขา การเป็นกลุ่มชนที่หลงอยู่กับวัตถุนิยมของพวกเขา ผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับ ให้ตรึงตราใจของเราตลอดไป ดังนั้น เราอย่าตกอยู่ในสภาพเหล่านั้น หรือตกอยู่ในความผิดพลาดที่ทำให้อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา โกรธกริ้วพวกเขา(บนี อิสรออีล) ซึ่งเรื่องราวนี้ได้ยืนยันถึงการผินหลังให้กับการศรัทธาของบนีอิสรออีลต่อสิ่งเร้นลับ โดยที่มันมีความสอดคล้องและเกี่ยวพันกับช่วงต้นของสูเราะฮฺนี้

    ﴿ٱلَّذِينَ يُؤۡمِنُونَ بِٱلۡغَيۡبِ ٣﴾ [البقرة : 3]

    ความว่า “คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 3)

    กล่าวคือ เป็นคุณลักษณะของผู้ยำเกรงนั่นเอง ในส่วนเรื่องราวของวัวเพศเมียนั้น มีข้อผิดพลาดที่ปรากฏให้เห็นอย่างมากมาย เพราะมันเป็นตัวอย่างของข้อผิดพลาดที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ทรงทดสอบขอบเขตของเราในการศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ

    ความผิดพลาดของบนีอิสรออีลยังคงมีต่อไป จงถึงอายะฮฺ

    ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَقُولُواْ رَٰعِنَا وَقُولُواْ ٱنظُرۡنَا وَٱسۡمَعُواْۗ وَلِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٞ ١٠٤﴾ [البقرة : 104]

    ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าพูดว่า “รออินา” และจงพูดว่า “อุนซุรฺนา” และจงฟัง และสำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธานั้น คือการลงโทษอันเจ็บแสบ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 104)

    ชาวอาหรับก่อนหน้านี้ต่างก็เข้าใจในคำพูดที่ว่า “รออินา” นี้ เพราะมันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพวกเขา แต่สำหรับบนีอิสรออีลมันเป็นคำพูดที่มีนัยของการด่าทอ ดังนั้น อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา จึงประสงค์ให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นมีความแตกต่างจากพวกยิว แม้จะเป็นเพียงแค่คำหรือวาจาก็ตามที พระองค์จึงมีคำสั่งใช้พวกเขา(บรรดาผู้ศรัทธา)พูดแทนคำ “รออินา” ว่า “อุนซุรฺนา” (เนื่องจากทั้งสองคำนี้มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน -ผู้แปล-)

    1.3 ส่วน(รุบุอฺ)ที่แปด : สาธยายถึงตัวอย่างของความสำเร็จในการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้

    นั่นคือเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ซึ่งเป็นบททดสอบสุดท้ายที่ได้กล่าวถึงในสูเราะฮฺนี้ โดยที่บททดสอบแรกนั้นคือบททดสอบที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลาได้ทดสอบท่านนบีอาดัมในช่วงแรกของการสร้างสรรค์สรรพสิ่งต่างๆ (ตัจญ์ริบะฮฺ ตัมฮีดียะฮฺ-บททดสอบในครั้งเริ่มแรก) หลังจากนั้นก็เป็นบททดสอบของบนีอิสรออีลซึ่งเป็นบททดสอบที่ประสบกับความล้มเหลว และต่อด้วยบททดสอบของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ซึ่งเป็นบททดสอบที่ประสบกับความสำเร็จ

    ﴿۞وَإِذِ ٱبۡتَلَىٰٓ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ رَبُّهُۥ بِكَلِمَٰتٖ فَأَتَمَّهُنَّۖ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِيۖ قَالَ لَا يَنَالُ عَهۡدِي ٱلظَّٰلِمِينَ ١٢٤﴾ [البقرة : 124]

    ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วน พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ เขากล่าวว่า และจากลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย พระองค์ตรัสว่า สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 124)

    ในอายะฮฺนี้เป็นข้อยืนยันว่าการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนั้นไม่ใช่เป็นการเลือกปฏิบัติได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ได้ดำเนินไปด้วยวิถีปฏิบัติของอัลลอฮฺและการเชื่อฟังต่อพระองค์ เขาก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการทำหน้าที่บนหน้าแผ่นดินนี้อยู่ และสำหรับผู้ที่ปลีกตัวออกจากวิถีปฏิบัตินี้ สัญญาของอัลลอฮฺนั้นก็จะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรมอย่างแน่นอน

    ﴿لَا يَنَالُ عَهۡدِي ٱلظَّٰلِمِينَ ١٢٤﴾

    ความว่า “สัญญาของข้านั้นจะไม่ได้แก่บรรดาผู้อธรรม”

    อัลลอฮฺทรงทดทดสอบท่านนบีอิบรอฮีมด้วยกับพระบัญชาบางประการ ครั้นเมื่อท่านได้สนองตามพระบัญชานั้นโดยครบถ้วนแล้ว อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ก็ได้ดำรัสว่า

    ﴿إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ ﴾

    ความว่า “แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ”

    หลังจากนั้น ท่านนบีอิบรอฮีมก็ได้วอนขอให้พระผู้เป็นเจ้าของท่าน ได้โปรดส่งศาสนทูตแก่ประชาชาตินี้จากหมู่พวกเขาเอง

    ﴿رَبَّنَا وَٱبۡعَثۡ فِيهِمۡ رَسُولٗا مِّنۡهُمۡ ١٢٩﴾ [البقرة : 129]

    ความว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดส่งศาสนทูตคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเอง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 129)

    และปิดท้ายเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ด้วยอายะฮฺ

    ﴿قُولُوٓاْ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَمَآ أُنزِلَ إِلَيۡنَا وَمَآ أُنزِلَ إِلَىٰٓ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ... ١٣٦﴾ [البقرة : 136]

    ความว่า “พวกท่านจงกล่าวเถิด เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เรา และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่อิบรอฮีม...” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 136)

    ต่อด้วยการกล่าวถึงศาสนทูตทุกท่าน

    ﴿...وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ وَٱلۡأَسۡبَاطِ وَمَآ أُوتِيَ مُوسَىٰ وَعِيسَىٰ وَمَآ أُوتِيَ ٱلنَّبِيُّونَ مِن رَّبِّهِمۡ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّنۡهُمۡ وَنَحۡنُ لَهُۥ مُسۡلِمُونَ ١٣٦﴾ [البقرة : 136]

    ความว่า “...และอิสมาอีล และอิสฮาก และยะอฺกูบ และบรรดาวงศ์วานเหล่านั้น และสิ่งที่มูซา และอีซาได้รับ และสิ่งที่บรรดานบีได้รับจากพระเจ้าของพวกเขา พวกเรามิได้แบ่งแยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากเขาเหล่านั้น และพวกเราจะเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์เท่านั้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 136)

    และนี่คือ ข้อเกี่ยวพันกับอายะฮฺของสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ที่ว่า

    ﴿صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِمۡ ٧ ﴾ [الفاتحة : 7]

    ความว่า “ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา” (อัล-ฟาติหะฮฺ 7)

    ประหนึ่งว่า ทุกๆ ท่าน(บรรดาศาสนทูตของอัลลอฮฺ)ที่ถูกกล่าวไว้ในอายะฮฺของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺนั้น คือบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานพวกเขา และคือผู้ที่เราจำเป็นที่จะต้องเจริญรอยตามทางนำของพวกเขาและทางที่พวกเขาได้เจริญรอยตาม

    บทสรุปของเนื้อหาในภาคที่หนึ่ง (ญุซอ์ที่ 1 )ของสูเราะฮฺนี้คือ เริ่มต้นด้วยการสาธยายถึง 3 เรื่องราว นั้นคือ

    หนึ่ง เรื่องราวของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม

    ﴿إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ ﴾

    ความว่า “ฉันจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งขึ้นบนหน้าแผ่นดิน”

    สอง ต่อด้วยเรื่องราวของบนีอิสรออีล

    ﴿أَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ﴾

    ความว่า “ฉันได้ยกย่องสูเจ้า เหนือประชาชาติทั้งหลาย”

    สาม ปิดท้ายด้วยเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม

    ﴿إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ ﴾

    ความว่า “แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ”

    เรื่องราวทั้ง 3 นี้ ได้เริ่มต้นด้วยสิ่งเดียวกันนั้นคือ การได้เป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ส่วนเราประชาชาติอิสลามก็มีหน้าที่ในการเรียนรู้บททดสอบต่างๆ ก่อนหน้านี้ และพยายามสัมผัสให้ถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนรุ่นก่อนๆ และพยายามที่จะเตือนตัวเราอย่างสม่ำเสมอ และหากเห็นว่าตัวของเรามีพฤติกรรมเหมือนกับความผิดพลาดต่างๆ เหล่านั้น ก็ให้หยุดกระทำสิ่งนั้นเสีย แล้วให้ทำตามตัวอย่างของกลุ่มชนก่อนหน้านี้ที่ประสบกับความสำเร็จในการทำหน้าเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดิน เช่นท่านนบีอิบรอฮีม

    และเรื่องราวทั้ง 3 นี้ ยังได้สาธยายถึงตัวอย่างที่หลากหลายในการเชื่อฟังอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลาของมนุษย์ โดยได้สาธยายถึงบททดสอบของท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อฟังอัลลอฮฺว่าท่านจะกินต้นไม้อัล-คุลดฺหรือไม่ ต่อด้วยการสาธยายถึงบททดสอบของบนีอิสรออีลในการเชื่อฟังของพวกเขาต่อคำสั่งใช้ต่างๆ ของอัลลอฮฺผ่านศาสนทูตของพระองค์ และการสาธยายถึงบททดสอบของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ต่อการเชื่อฟังอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลาเช่นเดียวกัน ด้วยการมีคำบัญชาจากพระองค์ให้เชือดลูกชายของท่านนั้นคือท่านนบีอิสมาอีล

    ﴿۞وَإِذِ ٱبۡتَلَىٰٓ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ رَبُّهُۥ بِكَلِمَٰتٖ﴾

    ความว่า “และจงรำลึกถึง ขณะที่พระเจ้าของอิบรอฮีมได้ทดสอบเขา ด้วยพระบัญชาบางประการ”

    และบทสรุปอื่นนอกจากนี้นั้นคือ ประชาชาตินี้มีหน้าที่รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ (ใช่แต่เท่านั้น)ในส่วนของปัจเจกบุคคลก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเช่นเดียวกัน ซึ่งการดำรงมั่นในการรับผิดชอบในหน้าที่นี้ ย่อมมีความจำเป็นที่ต้องมีการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺและการแสวงหาความรู้และวิทยาการต่างๆ

    ภาคที่สอง

    เริ่มตั้งแต่ญุซอ์ที่สอง เป็นข้อสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ ของประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้

    เนื้อหาในส่วนนี้เป็นข้อแนะนำแก่มนุษย์ทั้งหลายที่ได้เห็นวิถีปฏิบัติและบททดสอบของกลุ่มชนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีความจำเป็นที่เขาจะต้องเรียนรู้ในข้อผิดพลาดต่างๆ ซึ่งอัลลอฮฺจะนำเสนอให้แก่พวกท่านในส่วนของข้อสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อพวกท่านสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบบนหน้าแผ่นดินนี้ด้วยความชอบธรรม และจะได้เป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการเป็นตัวแทนบนหน้าแผ่นดินนี้ ซึ่งสามารถแบ่งตามส่วนย่อยต่างๆ ดังนี้

    2.1 ส่วน(รุบุอฺ)ที่หนึ่ง : การเปลี่ยนทิศกิบละฮฺ

    ﴿وَكَذَٰلِكَ جَعَلۡنَٰكُمۡ أُمَّةٗ وَسَطٗا لِّتَكُونُواْ شُهَدَآءَ عَلَى ٱلنَّاسِ وَيَكُونَ ٱلرَّسُولُ عَلَيۡكُمۡ شَهِيدٗاۗ وَمَا جَعَلۡنَا ٱلۡقِبۡلَةَ ٱلَّتِي كُنتَ عَلَيۡهَآ إِلَّا لِنَعۡلَمَ مَن يَتَّبِعُ ٱلرَّسُولَ مِمَّن يَنقَلِبُ عَلَىٰ عَقِبَيۡهِۚ وَإِن كَانَتۡ لَكَبِيرَةً إِلَّا عَلَى ٱلَّذِينَ هَدَى ٱللَّهُۗ وَمَا كَانَ ٱللَّهُ لِيُضِيعَ إِيمَٰنَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ بِٱلنَّاسِ لَرَءُوفٞ رَّحِيمٞ ١٤٣ قَدۡ نَرَىٰ تَقَلُّبَ وَجۡهِكَ فِي ٱلسَّمَآءِۖ فَلَنُوَلِّيَنَّكَ قِبۡلَةٗ تَرۡضَىٰهَاۚ فَوَلِّ وَجۡهَكَ شَطۡرَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۚ وَحَيۡثُ مَا كُنتُمۡ فَوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ شَطۡرَهُۥۗ وَإِنَّ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ لَيَعۡلَمُونَ أَنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّهِمۡۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا يَعۡمَلُونَ ١٤٤﴾ [البقرة : 143-144]

    ความว่า “และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และเราะสูล ก็จะเป็นสักขีพยานแด่พวกเจ้า และเรามิได้ให้มีขึ้นซึ่งกิบลัตที่เจ้าเคยผินไป นอกจากเพื่อเราจะได้รู้ว่าใครบ้างที่จะปฏิบัติตามเราะสูล จากผู้ที่กำลังหันสันเท้าทั้งสองของเขากลับ(คืนสู่การปฏิเสธ) และแท้จริงการเปลี่ยนแปลงกิบลัตนั้นเป็นเรื่องใหญ่ นอกจากแก่บรรดาผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงแนะนำเขาแล้วเท่านั้น และใช่ว่าอัลลอฮฺนั้นจะทำให้การศรัทธาของพวกเจ้าสูญไปก็หาไม่ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาแก่มนุษย์เสมอ (143) แท้จริงเราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง แน่นอนเราให้เจ้าผินไปยังทิศ ที่เจ้าพึงใจ ดังนั้นเจ้าจงผินใบหน้าของเจ้าไปทางมัสญิดอัล-หะรอมเถิด และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงผินใบหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศนั้น และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นย่อมรู้ดีว่ามัน คือความจริงที่มาจากพระเจ้าของพวกเขา และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน (144) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 143-144)

    ทำไมต้องมีอายะฮฺมาเพื่อเปลี่ยนทิศกิบละฮฺจากบัยตุลมักดิสเป็นบัยตุลลอฮฺ อัล-หะรอม ? (ก็เพราะ)บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นประชาชาติที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้พวกเขามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังที่พระองค์ ได้มีดำรัสว่า

    ﴿وَكَذَٰلِكَ جَعَلۡنَٰكُمۡ أُمَّةٗ وَسَطٗا لِّتَكُونُواْ شُهَدَآءَ عَلَى ٱلنَّاسِ﴾

    ความว่า “และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย”

    ดังนั้น ด้วยสิ่งใดที่จะทำให้พวกท่านเป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลายได้ ? แน่นอน ก็คือด้วยการที่พวกท่านต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น(เหนือกลุ่มชนอื่น ๆ)เท่านั้น และ(พวกท่าน)ย่อมไม่สามารถที่จะเป็นตัวแทน(ในการปกครองบนหน้าแผ่นดินนี้)ได้หากไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นยิ่งนักที่ประชาชาติอิสลามนั้นต้องมีความโดดเด่นในเรื่องทิศการผินหน้าของเขา โดยต้องไม่ตามกลุ่มชนรุ่นก่อนๆ อย่างหลับหูหลับตา ดังอายะฮฺที่ 104 และในเรื่องการใช้ภาษา โดยให้เปลี่ยนจากใช้คำว่า “รออินา” เป็น “อุนซุรฺนา” ในอายะฮฺที่ 144 รวมทั้งในเรื่องวิถีปฏิบัติในสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺที่ว่า

    ﴿اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيمَ﴾

    ความว่า “ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง”

    2.2 ส่วน(รุบุอฺ)ที่สอง : ความสมดุลในเอกลักษ์ที่โดดเด่น

    ﴿۞إِنَّ ٱلصَّفَا وَٱلۡمَرۡوَةَ مِن شَعَآئِرِ ٱللَّهِۖ فَمَنۡ حَجَّ ٱلۡبَيۡتَ أَوِ ٱعۡتَمَرَ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِ أَن يَطَّوَّفَ بِهِمَاۚ وَمَن تَطَوَّعَ خَيۡرٗا فَإِنَّ ٱللَّهَ شَاكِرٌ عَلِيمٌ ١٥٨﴾ [البقرة : 158]

    ความว่า “แท้จริงภูเขาเศาะฟาและภูเขามัรวะฮฺนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาเครื่องหมายของอัลลอฮฺ ดังนั้น ผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ณ บัยตุลลอฮฺก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาที่จะเดินวนเวียนไปมา ณ ภูเขาทั้งสองนั้น และผู้ใดประกอบความดีโดยสมัครใจแล้ว แน่นอนอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงขอบใจและผู้ทรงรอบรู้” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 158)

    สาเหตุแห่งการประทานอายะฮฺนี้คือ เมื่ออายะฮฺที่ให้เปลี่ยนทิศการผินหน้าถูกประทานลงมาเพื่อที่จะได้จำแนกพวกเขา(บรรดาผู้ศรัทธา)ออกจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ทำให้บรรดาเศาะหาบะฮฺเข้าใจกันว่าภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายทางศาสนาของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ในขณะที่พวกเขาก็ถูกเรียกร้องให้เป็นผู้ที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แต่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ก็ได้ประทานอายะฮฺนี้ลงมาเพื่ออธิบายว่า ไม่ใช่ว่าทุกการกระทำของผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นจำเป็นที่บรรดาผู้ศรัทธาต้องทำให้เกิดข้อจำแนกที่แตกต่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไปทั้งหมด ดังนั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดถ้าพวกเขาจะเดินเวียนไปมา ณ ภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ เพราะมันเป็นเครื่องหมายของอัลลอฮฺ และไม่ใช่เป็นการปฏิบัติตามกลุ่มชนรุ่นก่อน ๆ อย่างใดไม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น จำเป็นสำหรับเราที่ต้องหลีกห่างจากการปฏิบัติตามกลุ่มชนรุ่นก่อนหน้าเราอย่างมืดบอด แต่ก็ให้คงความสมดุลไว้ กล่าวคือ แท้จริงเราเป็นประชาชาติที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแต่เราก็ยังคงความสมดุลของมันอยู่

    2.3 ส่วน(รุบุอฺ)ที่สาม : กระบวนการปฏิรูปที่ครอบคลุมในทุกมิติ

    ﴿۞لَّيۡسَ ٱلۡبِرَّ أَن تُوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ قِبَلَ ٱلۡمَشۡرِقِ وَٱلۡمَغۡرِبِ وَلَٰكِنَّ ٱلۡبِرَّ مَنۡ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ وَٱلۡكِتَٰبِ وَٱلنَّبِيِّ‍ۧنَ وَءَاتَى ٱلۡمَالَ عَلَىٰ حُبِّهِۦ ذَوِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينَ وَٱبۡنَ ٱلسَّبِيلِ وَٱلسَّآئِلِينَ وَفِي ٱلرِّقَابِ وَأَقَامَ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَى ٱلزَّكَوٰةَ وَٱلۡمُوفُونَ بِعَهۡدِهِمۡ إِذَا عَٰهَدُواْۖ وَٱلصَّٰبِرِينَ فِي ٱلۡبَأۡسَآءِ وَٱلضَّرَّآءِ وَحِينَ ٱلۡبَأۡسِۗ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ صَدَقُواْۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُتَّقُونَ ١٧٧﴾ [البقرة : 177]

    ความว่า “หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮฺ ต่อบรรดาคัมภีร์และนบีทั้งหลาย และบริจาคทรัพย์ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้น แก่บรรดาญาติที่สนิทและบรรดาเด็กกำพร้า และแก่บรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และบรรดาผู้ที่มาขอและบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และ(คุณธรรมนั้น) คือบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนในความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน และขณะต่อสู้ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่พูดจริง และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 177)

    ในอายะฮฺข้างต้นมีรายละเอียดต่างๆ อย่างมากมาย กล่าวคือ หลังจากที่พวกเขาได้ฏออะฮฺ(เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ) และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นพร้อมๆ กับการรักษาความสมดุลแล้ว ก็จำเป็นสำหรับพวกเขาที่ต้องมีกระบวนการปฏิรูปที่ครอบคลุมในทุกมิติ (นั่นคือ การศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่เร้นลับ, การใช้จ่ายทรัพย์สิน(ในหนทางของอัลลอฮฺ), การให้เศาะดะเกาะฮฺ, การให้ซะกาต, การปฏิบัติตามสัญญา, การเป็นผู้ที่อดทน, การเป็นผู้ที่มีความสัจจริง, และการเป็นผู้ที่มีความยำเกรง) และประหนึ่งว่ารุบุอฺที่หนึ่งและสองนั้นได้กลายเป็นการปูพื้นฐานให้กับประชาชาติด้วยกับการฏออะฮฺ(เคารพภักดี) มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยกับการมีความสมดุลของมันอยู่ และมีการปฏิรูปที่ครอบคลุมในทุกมิติ โดยมีการเริ่มต้นนำเสนออายะฮฺต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงข้อสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ ที่ต้องการ ณ ที่นี้ด้วย

    ข้อสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ ที่ครอบคลุมการปฏิรูปในทุกมิติ

    - บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องทางอาญา (บทลงโทษฆาตกร)

    ﴿وَلَكُمۡ فِي ٱلۡقِصَاصِ حَيَوٰةٞ يَٰٓأُوْلِي ٱلۡأَلۡبَٰبِ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٧٩﴾ [البقرة : 179]

    ความว่า “และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย! เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 179)

    - บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องทางแพ่ง (ทรัพย์สิน มรดก และคำสั่งเสียต่างๆ)

    ﴿كُتِبَ عَلَيۡكُمۡ إِذَا حَضَرَ أَحَدَكُمُ ٱلۡمَوۡتُ إِن تَرَكَ خَيۡرًا ٱلۡوَصِيَّةُ لِلۡوَٰلِدَيۡنِ وَٱلۡأَقۡرَبِينَ بِٱلۡمَعۡرُوفِۖ حَقًّا عَلَى ٱلۡمُتَّقِينَ ١٨٠﴾ [البقرة : 180]

    ความว่า “การทำพินัยกรรมให้แก่ผู้บังเกิดเกล้า ทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมนั้น ได้ถูกกำหนดขึ้นแก่พวกเจ้าแล้ว เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้า หากเขาได้ทิ้งทรัพย์ สมบัติไว้ ทั้งนี้เป็นหน้าที่แก่ผู้ยำเกรงทั้งหลาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 180)

    - บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ

    ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣﴾ [البقرة : 183]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” เป็นการเคารพภักดีและข้อตัดสินต่างๆ ของการถือศีลอด

    - การทำญิฮาดและการใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลอฮฺ โดยที่มัน(การญิฮาด)จะคอยควบคุมดูแลวิถีที่ได้ปฏิบัติอยู่ ซึ่งมันย่อมไม่สามารถให้การดูแลได้ถ้าปราศจากทรัพย์สินและการใช้จ่ายมัน(ในหนทางนี้)

    ﴿وَأَنفِقُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلَا تُلۡقُواْ بِأَيۡدِيكُمۡ إِلَى ٱلتَّهۡلُكَةِ وَأَحۡسِنُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ ١٩٥﴾ [البقرة : 195]

    ความว่า “จงใช้จ่ายทรัพย์สินของสูเจ้าในหนทางของอัลลอฮฺ และจงอย่าโยนตัวของสูเจ้าเองลงไปสู่ความพินาศด้วยมือของเจ้าเอง และจงประพฤติให้ดี เพราะอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ทำดี” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 195)

    ﴿۞لَّيۡسَ ٱلۡبِرَّ أَن تُوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ قِبَلَ ٱلۡمَشۡرِقِ وَٱلۡمَغۡرِبِ وَلَٰكِنَّ ٱلۡبِرَّ مَنۡ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ وَٱلۡكِتَٰبِ وَٱلنَّبِيِّ‍ۧنَ وَءَاتَى ٱلۡمَالَ عَلَىٰ حُبِّهِۦ ذَوِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينَ وَٱبۡنَ ٱلسَّبِيلِ وَٱلسَّآئِلِينَ وَفِي ٱلرِّقَابِ وَأَقَامَ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَى ٱلزَّكَوٰةَ وَٱلۡمُوفُونَ بِعَهۡدِهِمۡ إِذَا عَٰهَدُواْۖ وَٱلصَّٰبِرِينَ فِي ٱلۡبَأۡسَآءِ وَٱلضَّرَّآءِ وَحِينَ ٱلۡبَأۡسِۗ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ صَدَقُواْۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُتَّقُونَ ١٧٧﴾ [البقرة : 177]

    ความว่า “หาใช่คุณธรรมไม่ ในการที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮฺ ต่อบรรดาคัมภีร์และนบีทั้งหลาย และบริจาคทรัพย์ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้น แก่บรรดาญาติที่สนิทและบรรดาเด็กกำพร้า และแก่บรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และบรรดาผู้ที่มาขอและบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และ(คุณธรรมนั้น) คือบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนในความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน และขณะต่อสู้ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่พูดจริง และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 177)

    (อายะฮฺข้างต้นนี้)ได้แจกแจงรายละเอียดของหุก่มหรือข้อตัดสินต่างๆ ในเรื่องนี้ (สังเกตได้ว่า)ทุกครั้งที่มีอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติก็จะจบท้ายด้วยการกล่าวถึงความยำเกรง ก็เนื่องจากว่าคนหนึ่งคนใดย่อมไม่สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติต่าง ๆ ได้นอกจากด้วยความยำเกรงเท่านั้น ซึ่งมันมีความสอดคล้องและเกี่ยวพันกับทางนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงที่ระบุในตอนต้นของสูเราะฮฺนี้ โดยให้เราสังเกตุคำว่า “التقوى” และ “المتقين” ในอายะฮฺต่างๆ ก่อนหน้านี้

    เพราะฉะนั้น กรอบทั่วไปของการดำเนินตามวิถีปฏิบัตินี้นั้นคือ มีการฏออะฮฺ(เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ) แล้วสร้างให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น สุดท้ายก็คือมีความยำเกรง

    ซึ่งเราขอนำเสนอกระบวนการต่างๆ ที่ดียิ่งไว้ ณ ที่นี้ คือ

    หนึ่ง ...

    ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣﴾ [البقرة : 183]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 183)

    สอง ...

    ﴿وَلَكُمۡ فِي ٱلۡقِصَاصِ حَيَوٰةٞ يَٰٓأُوْلِي ٱلۡأَلۡبَٰبِ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٧٩﴾ [البقرة : 179]

    ความว่า “และในการประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย! เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 179)

    สาม ...

    ﴿قَدۡ نَرَىٰ تَقَلُّبَ وَجۡهِكَ فِي ٱلسَّمَآءِۖ فَلَنُوَلِّيَنَّكَ قِبۡلَةٗ تَرۡضَىٰهَاۚ فَوَلِّ وَجۡهَكَ شَطۡرَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۚ وَحَيۡثُ مَا كُنتُمۡ فَوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ شَطۡرَهُۥۗ وَإِنَّ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ لَيَعۡلَمُونَ أَنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّهِمۡۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا يَعۡمَلُونَ ١٤٤﴾ [البقرة : 144]

    ความว่า “แท้จริงเราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง แน่นอนเราให้เจ้าผินไปยังทิศที่เจ้าพึงใจ ดังนั้นเจ้าจงผินใบหน้าของเจ้าไปทางมัสญิดอัล-หะรอมเถิด และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงผินใบหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศนั้น และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ นั้นย่อมรู้ดีว่ามัน คือความจริงที่มาจากพระเจ้าของพวกเขา และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 144)

    สี่ ...

    ﴿۞إِنَّ ٱلصَّفَا وَٱلۡمَرۡوَةَ مِن شَعَآئِرِ ٱللَّهِۖ فَمَنۡ حَجَّ ٱلۡبَيۡتَ أَوِ ٱعۡتَمَرَ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِ أَن يَطَّوَّفَ بِهِمَاۚ وَمَن تَطَوَّعَ خَيۡرٗا فَإِنَّ ٱللَّهَ شَاكِرٌ عَلِيمٌ ١٥٨﴾ [البقرة : 158]

    ความว่า “แท้จริงภูเขาเศาะฟาและภูเขามัรวะฮฺนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาเครื่องหมายของอัลลอฮฺ ดังนั้นผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺ ณ บัยตุลลอฮฺก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาที่จะเดินวนเวียนไปมา ณ ภูเขาทั้งสองนั้น และผู้ใดประกอบความดีโดยสมัครใจแล้ว แน่นอนอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงขอบใจและผู้ทรงรอบรู้” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 158)

    โดยในแต่ละอายะฮฺข้างต้นนั้นคืออายะฮฺแรกๆ ในรุบุอฺ(ที่สาม)นี้ ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวถึงมันแล้ว

    2.4 ส่วน(รุบุอฺ)ที่สี่ : เป็นอายะฮฺในส่วนที่เหลือของกระบวนการเป็นตัวแทน(บนหน้าแผ่นดินนี้)

    - การทำญิฮาดและการใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ

    ﴿وَقَٰتِلُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ٱلَّذِينَ يُقَٰتِلُونَكُمۡ وَلَا تَعۡتَدُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يُحِبُّ ٱلۡمُعۡتَدِينَ ١٩٠ وَٱقۡتُلُوهُمۡ حَيۡثُ ثَقِفۡتُمُوهُمۡ وَأَخۡرِجُوهُم مِّنۡ حَيۡثُ أَخۡرَجُوكُمۡۚ وَٱلۡفِتۡنَةُ أَشَدُّ مِنَ ٱلۡقَتۡلِۚ وَلَا تُقَٰتِلُوهُمۡ عِندَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِ حَتَّىٰ يُقَٰتِلُوكُمۡ فِيهِۖ فَإِن قَٰتَلُوكُمۡ فَٱقۡتُلُوهُمۡۗ كَذَٰلِكَ جَزَآءُ ٱلۡكَٰفِرِينَ ١٩١﴾ [البقرة : 190-191]

    ความว่า “และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺกับบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน แท้จริง อัลลอฮฺไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน (190) และจงประหัตประหารพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา และจงขับไล่พวกเขา ออกจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออก และการก่อความวุ่นวายนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการประหัตประหารเสียอีก และจงอย่าสู้รบกับพวกเขา ณ อัล-มัสญิด อัล-หะรอม จนกว่าพวกเขาจะทำร้ายพวกเจ้าในที่นั้น หากพวกเขาทำร้ายพวกเจ้าแล้วก็จง ประหัตประหารพวกเขาเสีย เช่นนั้นแหละคือการตอบแทนแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธา (191) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 190-191)

    - การประกอบพิธีหัจญ์และหุก่มต่างๆ ของมัน (อายะฮฺที่ 196-200)

    เพราะเหตุใดบรรดาอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับหุก่มต่างๆ ของการทำหัจญ์ต้องมาภายหลังจาก(อายะฮฺที่กล่าวถึง) การทำญิฮาด ? ก็เนื่องจากว่าการทำหัจญ์นั้นถือเป็นกระบวนการฝึกฝนขั้นสูงสุดของการต่อสู้ดิ้นรน และเป็นขั้นสูงสุดของการต่อสู้กับจิตใจ โดยที่บรรดาอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์อย่างละเอียดนั้นได้ถูกนำเสนอในสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺนี้ ซึ่งเป็นการตอบรับการเรียกร้องของท่านนบีอิบรอฮีมในรุบุอฺที่แปดของญุซอ์แรกที่ได้กล่าวไปแล้ว นั่นคือ

    ﴿وَأَرِنَا مَنَاسِكَنَا﴾ [البقرة : 128]

    ความว่า “ขอได้ทรงแสดงให้เราเห็นถึงการปฏิบัติศาสนกิจของเรา” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 128)

    ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่าสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺนั้นได้ประมวลหลักการสำคัญ(รุกุ่น)ต่างๆ ของศาสนาอิสลามทั้ง 5 ประการไว้ อันได้แก่ การกล่าวคำปฏิญาณ(ชะฮาดะฮฺ), การละหมาด, การจ่ายซะกาต, การถือศีลอด, และการประกอบพิธีหัจญ์ ซึ่งมันไม่มีการแจกแจงรายละเอียดต่างๆ ของหลักการสำคัญทั้งหลายในสูเราะฮฺอื่นๆ ของอัลกุรอานเหมือนกับการแจกแจงรายละเอียดที่มีอยู่ในสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺนี้

    อิสลามเป็นวิถีปฏิบัติที่สมบูรณ์ยิ่ง

    ﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱدۡخُلُواْ فِي ٱلسِّلۡمِ كَآفَّةٗ وَلَا تَتَّبِعُواْ خُطُوَٰتِ ٱلشَّيۡطَٰنِۚ إِنَّهُۥ لَكُمۡ عَدُوّٞ مُّبِينٞ ٢٠٨﴾ [البقرة : 208]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเข้าสู่อิสลามโดยสมบูรณ์ และจงอย่าปฏิบัติตามรอยเท้าของมาร เพราะมันเป็นศัตรูที่เด่นชัดของสูเจ้า” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 208)

    เป็นการให้ข้อแนะนำแก่บรรดาผู้ศรัทธาโดยตรงว่า พวกเขาอย่าได้เป็นเหมือนบนีอิสรออีลที่ศรัทธาเพียงบางส่วนของคัมภีร์และปฏิเสธบางส่วน

    ﴿أَفَتُؤۡمِنُونَ بِبَعۡضِ ٱلۡكِتَٰبِ وَتَكۡفُرُونَ بِبَعۡضٖۚ ﴾ [البقرة : 85]

    ความว่า “แล้วสูเจ้าศรัทธาเพียงบางส่วนของคัมภีร์และปฏิเสธบางส่วนกระนั้นหรือ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 85)

    และแน่แท้ พวกเขาต้องนำหลักคำสอนของศาสนานี้ไปใช้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่แบ่งมันเป็นส่วนๆ ประหนึ่งว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา ต้องการแนะนำให้แก่เราในบริบทของสูเราะฮฺนี้ถึงการแสดงความเคารพภักดี(ฏออะฮฺ) และการมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงประทานบางโครงสร้างของวิถีปฏิบัตินี้ให้แก่เรา แล้วพระองค์ก็ได้สั่งใช้ให้เรานำคำสอนของอิสลามทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ โดยที่เราอย่าได้ปฏิบัติเหมือนกับบนีอิสรออีล หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงให้วิถีปฏิบัตินี้มีความสมบูรณ์แก่เรา ซึ่งในอายะฮฺ “จงเข้าสู่อิสลามโดยสมบูรณ์” มันแสดงถึงความจำเป็นที่ต้องมีสิ่งนี้อยู่ภายหลังจากที่มีการเคารพภักดี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น มีการปฏิบัติตามข้อสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ มีการทำญิฮาด มีการใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการปกปักษ์รักษาวิถีปฏิบัตินี้ หลังจากนั้นก็ให้มีการนำหลักคำสอนของศาสนาโดยสมบูรณ์ แล้วให้มีความยำเกรงซึ่งมันจะส่งผลให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นสามารถดำเนิน(ตามวิถีปฏิบัตินี้ได้)

    2.5 ส่วน(รุบุอฺ)ถัดไป วิถีปฏิบัติที่มีความสมบูรณ์ (อายะฮฺที่ 219-242)

    ในเนื้อหาของอายะฮฺต่างๆ ส่วนนี้ ได้ทำให้วิถีปฏิบัติของอิสลามมีความสมบูรณ์ด้วยหุก่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว เช่น การแต่งงาน การหย่าร้าง การให้น้ำนมลูก การหมั้นหมาย การยกเลิก ช่วงอิดดะฮฺ และอื่นจากนี้ ซึ่งบริบทต่างๆ ข้างต้นนั้นก็มีข้อเกี่ยวพันกับความยำเกรง โดยที่เราจะสังเกตได้ว่าในตอนท้ายของทุกอายะฮฺข้างต้นก็จะมีคำว่าความยำเกรงหรือคำที่คล้ายคลึงกันนี้ปรากฎอยู่

    ซึ่งการที่อายะฮฺซึ่งเกี่ยวข้องกับหุก่มในเรื่องของครอบครัวได้ตามมาหลังจากอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับหุก่มของการถือศีลอด ก็เนื่องจากว่าหลังจากที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้บรรดาผู้ศรัทธาตระเตรียมตัวเองด้วยกับความยำเกรงและการเคารพภักดีแล้วนั้น ก็ถึงคราวที่ต้องนำหุก่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครอบครัวนำปฏิบัติ ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะปฏิบัติมันได้นอกจากด้วยความยำเกรงและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าของเขาเท่านั้น เพราะวิถีปฏิบัติในเรื่องจรรยามารยาทและการประพฤติปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ย่อมมีส่วนที่พัวพันสอดแทรกซึ่งกันและกันในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอยู่แล้ว มันย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ถ้าจะให้เริ่มต้นด้วยกับหุก่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครอบครัว ในขณะที่ความยำเกรงยังไม่ปรากฏให้เห็นในจิตใจของมนุษย์เลย

    2.6 ส่วน(รุบุอฺ)ที่กล่าวถึง เรื่องราวของฏอลูตและญาลูต (อายะฮฺ 264-251)

    คือเรื่องราวของชนกลุ่มหนึ่งที่ได้ละทิ้งการให้ความช่วยเหลือ(ในกิจการต่างๆ )ทางศาสนา ซึ่งการนำเสนอเรื่องราวข้างต้น ณ ที่นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่ง เนื่องจากโดยข้อเท็จจริงแล้ว วิถีปฏิบัตินี้(กระบวนการปฏิรูปตามที่กล่าวมาในอายะฮฺก่อนๆ)ย่อมต้องได้รับการพิทักษ์และดูแล และมันย่อมไม่มีความสมบูรณ์อย่างแน่นอน เว้นแต่จะต้องมีชนกลุ่มหนึ่งมาทำหน้าที่ในการปกปักษ์รักษามันไว้

    2.7 อายะฮฺอัล-กุรสีย์

    ﴿ٱللَّهُ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلۡحَيُّ ٱلۡقَيُّومُۚ لَا تَأۡخُذُهُۥ سِنَةٞ وَلَا نَوۡمٞۚ لَّهُۥ مَا فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَمَا فِي ٱلۡأَرۡضِۗ مَن ذَا ٱلَّذِي يَشۡفَعُ عِندَهُۥٓ إِلَّا بِإِذۡنِهِۦۚ يَعۡلَمُ مَا بَيۡنَ أَيۡدِيهِمۡ وَمَا خَلۡفَهُمۡۖ وَلَا يُحِيطُونَ بِشَيۡءٖ مِّنۡ عِلۡمِهِۦٓ إِلَّا بِمَا شَآءَۚ وَسِعَ كُرۡسِيُّهُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضَۖ وَلَا يَ‍ُٔودُهُۥ حِفۡظُهُمَاۚ وَهُوَ ٱلۡعَلِيُّ ٱلۡعَظِيمُ ٢٥٥﴾ [البقرة : 255]

    ความว่า “อัลลอฮฺนั้น คือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย โดยที่การง่วงนอนและการนอนหลับใดๆ จะไม่เอาพระองค์ สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ไว้ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ประสงค์เท่านั้น เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักแก่พระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 255)

    ตำแหน่งของอายะฮฺข้างต้นในสูเราะฮฺนี้ถือมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมันได้บ่งชี้แก่เราว่าหากเราต้องการที่จะดำเนินตามวิถีปฏิบัตินี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องตระหนักถึงพระเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ตะอาลา รวมทั้งความยิ่งใหญ่และความเกรียงไกรของพระองค์ “อัลลอฮฺนั้น คือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย” ซึ่งกระบวนการตามวิถีปฏิบัติที่ได้สาธยายไปแต่แรกนั้นมันมีความหนักหน่วงยิ่งนัก และต้องการความมุ่งมั่นอย่างยิ่งยวด แต่มันก็เป็นสิ่งที่คู่ควรจะต้องปฏิบัติให้ได้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง เนื่องจากมันเป็นแนวทางของอัลลอฮฺ ตะอาลา “อัลลอฮฺนั้น คือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น”

    2.8 หลังจากนั้นก็มีอายะฮฺที่ระบุถึงสุดยอดแห่งความกรุณาและความยุติธรรมของอัลลอฮฺ ตะอาลา ตามมา

    ﴿لَآ إِكۡرَاهَ فِي ٱلدِّينِۖ قَد تَّبَيَّنَ ٱلرُّشۡدُ مِنَ ٱلۡغَيِّۚ فَمَن يَكۡفُرۡ بِٱلطَّٰغُوتِ وَيُؤۡمِنۢ بِٱللَّهِ فَقَدِ ٱسۡتَمۡسَكَ بِٱلۡعُرۡوَةِ ٱلۡوُثۡقَىٰ لَا ٱنفِصَامَ لَهَاۗ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ ٢٥٦﴾ [البقرة : 256]

    ความว่า “ไม่มีการบังคับใด(ให้นับถือ)ในศาสนาอิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูต และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใดๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 256)

    มันเป็นข้อสั่งใช้ที่มาจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ไม่ให้เราบังคับคนหนึ่งคนใดเพื่อขู่เข็ญให้นับถือศาสนาอิสลาม เพราะอะไรกัน ? ก็เพราะว่าศาสนาอิสลามนี้มีความชัดเจนในตัวของมัน ในพระดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา นี้อยู่แล้ว “อัลลอฮฺนั้น คือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น” ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่เข้าใจคำว่า “อัลลอฮฺนั้น คือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น” และเขาก็ไม่มีความรู้สึกที่ได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของนัยในเนื้อหานี้ ก็ไม่มีเหตุผลใดๆ อีกที่ต้องบังคับเขาให้นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งๆ ที่ความถูกต้องก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว และความหลงผิดก็เป็นที่กระจ่างแจ้งเช่นเดียวกัน

    2.9 ความสามารถของอัลลอฮฺ ตะอาลา ในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งหลาย (อายะฮฺที่ 258-261) (เป็นหลักฐานในการฟื้นคืนชีพของคนที่ตายไปแล้ว) โดยมี 3 เรื่องราวด้วยกัน ได้แก่

    เรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีมกับนัมรูด

    ﴿أَلَمۡ تَرَ إِلَى ٱلَّذِي حَآجَّ إِبۡرَٰهِ‍ۧمَ فِي رَبِّهِۦٓ أَنۡ ءَاتَىٰهُ ٱللَّهُ ٱلۡمُلۡكَ إِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِ‍ۧمُ رَبِّيَ ٱلَّذِي يُحۡيِۦ وَيُمِيتُ قَالَ أَنَا۠ أُحۡيِۦ وَأُمِيتُۖ قَالَ إِبۡرَٰهِ‍ۧمُ فَإِنَّ ٱللَّهَ يَأۡتِي بِٱلشَّمۡسِ مِنَ ٱلۡمَشۡرِقِ فَأۡتِ بِهَا مِنَ ٱلۡمَغۡرِبِ فَبُهِتَ ٱلَّذِي كَفَرَۗ وَٱللَّهُ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلظَّٰلِمِينَ ٢٥٨ ﴾ [البقرة : 258]

    ความว่า “เจ้า(มุหัมมัด) มิได้มองดูดอกหรือ? ผู้ที่โต้แย้งอิบรอฮีมในเรื่องพระเจ้าของเขา เนื่องจากอัลลอฮฺได้ทรงประทานอำนาจแก่เขา ขณะที่อิบรอฮีมได้กล่าวว่า พระเจ้าของฉันนั้น คือ ผู้ที่ทรงให้เป็นและทรงให้ตายได้ เขากล่าวว่า ข้าก็ให้เป็นและให้ตายได้ อิบรอฮีมกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ท่านจงนำมันมาจากทิศตะวันตกเถิด แล้วผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น ก็เกิดอาการงงงวย(เพราะอับจนที่จะโต้ตอบ) และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงประทานแนวทางอันถูกต้องแก่ผู้อธรรมทั้งหลาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 258)

    เรื่องราวของอุซัยรฺและเมืองที่ล่มสลาย

    ﴿أَوۡ كَٱلَّذِي مَرَّ عَلَىٰ قَرۡيَةٖ وَهِيَ خَاوِيَةٌ عَلَىٰ عُرُوشِهَا قَالَ أَنَّىٰ يُحۡيِۦ هَٰذِهِ ٱللَّهُ بَعۡدَ مَوۡتِهَاۖ فَأَمَاتَهُ ٱللَّهُ مِاْئَةَ عَامٖ ثُمَّ بَعَثَهُۥۖ قَالَ كَمۡ لَبِثۡتَۖ قَالَ لَبِثۡتُ يَوۡمًا أَوۡ بَعۡضَ يَوۡمٖۖ قَالَ بَل لَّبِثۡتَ مِاْئَةَ عَامٖ فَٱنظُرۡ إِلَىٰ طَعَامِكَ وَشَرَابِكَ لَمۡ يَتَسَنَّهۡۖ وَٱنظُرۡ إِلَىٰ حِمَارِكَ وَلِنَجۡعَلَكَ ءَايَةٗ لِّلنَّاسِۖ وَٱنظُرۡ إِلَى ٱلۡعِظَامِ كَيۡفَ نُنشِزُهَا ثُمَّ نَكۡسُوهَا لَحۡمٗاۚ فَلَمَّا تَبَيَّنَ لَهُۥ قَالَ أَعۡلَمُ أَنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ ٢٥٩ ﴾ [البقرة : 259]

    ความว่า “หรือเช่นผู้ที่ได้ผ่านเมืองหนึ่ง (บัยตุลมักดิส) โดยที่มันพังทับลงบนหลังคาของมัน เขาได้กล่าวว่า อัลลอฮฺจะทรงให้เมืองนี้มีชีวิตขึ้นได้อย่างไร หลังจากที่มันได้ตายพินาศไปแล้ว และอัลลอฮฺก็ทรงให้เขาตายเป็นเวลาร้อยปี ภายหลังพระองค์ได้ทรงให้เขาฟื้นคืนชีพ พระองค์รงกล่าวว่า เจ้าพักอยู่นานเท่าใด? เขากล่าวว่า ข้าพระองค์พักอยู่วันหนึ่งหรือบางส่วนของวันเท่านั้น พระองค์ทรงกล่าวว่ามิได้ เจ้าพักอยู่นานถึงร้อยปี เจ้าจงมองดูอาหารของเจ้า และเครื่องดื่มของเจ้า มันยังไม่บูดเลย และจงมองดูลาของเจ้าซิ และเพื่อเราจะให้เจ้าเป็นสัญญาณหนึ่งสำหรับมนุษย์ และจงมองบรรดากระดูกเหล่านั้น ดูว่าเรากำลังยกมันไว้ ณ ที่ของมัน และประกอบมันขึ้น แล้วให้มีเนื้อหุ้มห่อมันไว้อย่างไร? ครั้นเมื่อสิ่งเหล่านั้นได้ประจักษ์แก่เขา เขาก็กล่าวว่า ข้าพระองค์รู้แล้วว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 259)

    เรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีมกับนก

    ﴿وَإِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِ‍ۧمُ رَبِّ أَرِنِي كَيۡفَ تُحۡيِ ٱلۡمَوۡتَىٰۖ قَالَ أَوَ لَمۡ تُؤۡمِنۖ قَالَ بَلَىٰ وَلَٰكِن لِّيَطۡمَئِنَّ قَلۡبِيۖ قَالَ فَخُذۡ أَرۡبَعَةٗ مِّنَ ٱلطَّيۡرِ فَصُرۡهُنَّ إِلَيۡكَ ثُمَّ ٱجۡعَلۡ عَلَىٰ كُلِّ جَبَلٖ مِّنۡهُنَّ جُزۡءٗا ثُمَّ ٱدۡعُهُنَّ يَأۡتِينَكَ سَعۡيٗاۚ وَٱعۡلَمۡ أَنَّ ٱللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٞ ٢٦٠ ﴾ [البقرة : 260]

    ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่ที่อิบรอฮีม กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าจองข้าพระองค์ โปรดได้ทรงให้ข้าพระองค์เห็นด้วยเถิดว่า พระองค์จะทรงให้บรรดาผู้ที่ตายมีชีวิตขึ้นอย่างไร ? พระองค์ตรัสว่า เจ้ามิได้เชื่อดอกหรือ ? อิบรอฮีมกล่าวว่า หามิได้ แต่ทว่าเพื่อหัวใจของข้าพระองค์จะได้สงบ พระองค์ตรัสว่าเจ้าจงเอานกมาสี่ตัว แล้วจงเลี้ยงมันให้ค้นแก่เจ้า และตัดมันออกเป็นท่อนๆ ภายหลังเจ้าจงวางไว้บนภูเขาทุกลูกโดยแบ่งแต่ละส่วนหนึ่งจากนกเหล่านั้น แล้วจงเรียกมัน มันจะมายังเจ้าโดยรีบเร่ง และพึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 260)

    ซึ่งเรื่องราวทั้งสามนี้ ได้เน้นย้ำถึงความสามารถของอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่าพระองค์นั้น “ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น” ดังนั้น ทำไมเราจึงยังไม่น้อมรับในการดำเนินตามและร่วมกันสร้างแนวทางนี้ให้เกิดขึ้นจริง หรือเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการปกครองแผ่นดินนี้ให้สำเร็จ ภายหลังจากที่เราได้มองเห็นถึงความสามารถของอัลลอฮฺ ตะอาลา ในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว

    2.10 ส่วน(รุบุอฺ)สุดท้าย : การใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ (อายะฮฺที่ 261-283)

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَذَرُواْ مَا بَقِيَ مِنَ ٱلرِّبَوٰٓاْ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ ٢٧٨ فَإِن لَّمۡ تَفۡعَلُواْ فَأۡذَنُواْ بِحَرۡبٖ مِّنَ ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦۖ وَإِن تُبۡتُمۡ فَلَكُمۡ رُءُوسُ أَمۡوَٰلِكُمۡ لَا تَظۡلِمُونَ وَلَا تُظۡلَمُونَ ٢٧٩ ﴾ [البقرة: ٢٧٨- ٢٧٩]

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา (278) หากพวกเจ้าไม่ทำเช่นนั้น ก็จงรับประกาศสงครามจากอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แต่ถ้าหากพวกเจ้ากลับตัว พวกเจ้าก็จะได้ทุนจากทรัพย์สินของพวกเจ้าคืน พวกเจ้าจะได้ไม่อยุติธรรมกับผู้อื่น และไม่ต้องถูกผู้อื่นอยุติธรรมกับพวกเจ้าด้วย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 278-279)

    อายะฮฺข้างต้นถือเป็นส่วนสุดท้ายของแนวทางหรือกระบวนการปฏิรูปนี้ ซึ่งในเนื้อหาของมันได้ต่อสู้อย่างหนักหน่วงต่อความเลวร้ายของระบบดอกเบี้ยที่ได้ทำลายโครงสร้างของสังคม และได้ต่อสู้กับบรรดาผู้ที่ปล่อยดอกเบี้ย ด้วยการประกาศสงครามจากอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ และต่อทุกๆ คนที่มีข้อเกี่ยวพันกับระบบดอกเบี้ยหรือนำเสนอมันขึ้นมา ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอแนวทางที่จะใช้เพื่อทดแทนระบบดังกล่าว โดยแน่แท้อิสลามจะไม่ห้ามจากการทำสิ่งใดหากไม่มีการนำเสนอสิ่งที่มาทดแทนที่เป็นข้ออนุญาตให้ปฏิบัติได้(หะลาล) ซึ่งปรากฏว่าการมาของอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับระบบดอกเบี้ยนั้นจะสอดแทรกอยู่ระหว่างบรรดาอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่ามีวิถีปฏิบัติที่มาทดแทนระบบดอกเบี้ย ซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและปัจจัยยังชีพที่เป็นข้ออนุญาต(หะลาล)ให้ปฏิบัติได้

    บทสรุปจบท้าย

    ด้วยอายะฮฺที่ซาบซึ้งงดงามที่สุดของสูเราะฮฺนี้ นั่นคือ

    ﴿ءَامَنَ ٱلرَّسُولُ بِمَآ أُنزِلَ إِلَيۡهِ مِن رَّبِّهِۦ وَٱلۡمُؤۡمِنُونَۚ كُلٌّ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَمَلَٰٓئِكَتِهِۦ وَكُتُبِهِۦ وَرُسُلِهِۦ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّن رُّسُلِهِۦۚ وَقَالُواْ سَمِعۡنَا وَأَطَعۡنَاۖ غُفۡرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيۡكَ ٱلۡمَصِيرُ ٢٨٥﴾ [البقرة : 285]

    ความว่า “เราะสูลนั้น(นบีมุหัมมัด) ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระเจ้าของเขา และมุอ์มินทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย ทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาเราะสูลของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาเราะสูลของพระองค์ และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และได้ปฏิบัติตามแล้วการอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา! และยังพระองค์นั้น คือ การกลับไป” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 285)

    ด้วยกับภาระหน้าที่อันมากมาย รวมทั้งคำสอนและแนวทางที่หนักหนาและหนักหน่วง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีอายะฮฺที่มีเนื้อหาของการวิงวอนขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เพื่อให้มันได้ช่วยเหลือเราในการดำเนินปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้

    ﴿لَا يُكَلِّفُ ٱللَّهُ نَفۡسًا إِلَّا وُسۡعَهَاۚ لَهَا مَا كَسَبَتۡ وَعَلَيۡهَا مَا ٱكۡتَسَبَتۡۗ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذۡنَآ إِن نَّسِينَآ أَوۡ أَخۡطَأۡنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تَحۡمِلۡ عَلَيۡنَآ إِصۡرٗا كَمَا حَمَلۡتَهُۥ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلۡنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِۦۖ وَٱعۡفُ عَنَّا وَٱغۡفِرۡ لَنَا وَٱرۡحَمۡنَآۚ أَنتَ مَوۡلَىٰنَا فَٱنصُرۡنَا عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ ٢٨٦﴾ [البقرة : 286]

    ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น ชีวิตนั้นจะได้รับการตอบแทนดีในสิ่งที่เขาได้แสวงหาไว้ และชีวิตนั้นจะได้รับการลงโทษในสิ่งชั่วที่เขาได้แสวงหาไว้ โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าได้บรรทุกภาระหนักใดๆ แก่พวกเรา เช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบรรทุกมันแก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเรามาแล้ว โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราแบกสิ่งที่ไม่มีกำลังใดๆ แก่พวกเราที่จะแบกมันได้ และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้น คือผู้ปกครองของพวกเรา ดังนั้น โปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 286)

    กล่าวคือ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดช่วยเหลือเราในการปฏิบัติตามแนวทางนี้ด้วยเถิด เพราะมันย่อมมีอุปสรรคต่างๆ ที่จะหักห้ามเราจากการดำเนินตามแนวทางนั้น โดยแน่นอนเราย่อมไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้ หากปราศจากการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ

    การจบท้ายของสูเราะฮฺนี้ได้ประมวลเนื้อหาด้วยคำแนะนำให้บรรดาผู้ศรัทธาได้เตาบะฮฺตัวและสำนึกผิด รวมทั้งวอนขอต่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลล์ ให้ปลดเปลื้องภาระอันหนักหน่วงและความผิดบาปทั้งหลาย และวอนขอชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา และขอดุอาอ์ให้มีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    ﴿رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلۡنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِۦۖ وَٱعۡفُ عَنَّا وَٱغۡفِرۡ لَنَا وَٱرۡحَمۡنَآۚ أَنتَ مَوۡلَىٰنَا فَٱنصُرۡنَا عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ ٢٨٦﴾ [البقرة : 286]

    ความว่า “โอ้พระเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้พวกเราแบกสิ่งที่ไม่มีกำลังใด ๆ แก่พวกเราที่จะแบกมันได้ และโปรดได้ทรงอภัยแก่พวกเราและยกโทษให้แก่พวกเรา และเมตตาแก่พวกเราด้วยเถิด พระองค์นั้น คือผู้ปกครองของพวกเราดังนั้นโปรดได้ทรงช่วยเหลือพวกเราให้ไดเรับชัยชนะเหนือกลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธาด้วยเถิด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 286)

    แท้จริง สูเราะฮฺนี้ได้จบท้ายด้วยการขอดุอาอ์ของบรรดาผู้ศรัทธา เช่นที่มันได้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอคุณลักษณะต่างๆ ของบรรดาผู้ศรัทธา และด้วยเหตุนี้เอง ความสอดคล้องในเนื้อหาทั้งหมดของสูเราะฮฺนี้ จึงเป็นความสอดคล้องที่ดีเยี่ยมที่สุด มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่

    บทสรุป เรามีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ(ในการปกครอง)บนหน้าแผ่นดินนี้ และแนวทาง(มันฮัจญ์)ของมันก็มีความสมบูรณ์เพียบพร้อมแล้ว ซึ่งจำเป็นที่เราต้องเข้าสู่(ปฏิบัติตาม)ศาสนาอิสลามนี้โดยสมบูรณ์ ซึ่งกรอบของแนวทางนี้ก็คือ การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ(ฏออะฮฺ), มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น(ตะมัยยุซ) และมีความยำเกรง(ตักวา) ในส่วนของโครงสร้างหรือองค์ประกอบของแนวทางนี้ก็คือ บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องอาญา, การแบ่งทรัพย์มรดก, การใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ, การญิฮาด, การประกอบพิธีหัจญ์, หุก่มต่างๆ ของการถือศีลอด และด้วยภาระหน้าที่และคำสอนต่างๆ อันมากมายนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺให้เราสามารถปฏิบัติตามภาระหน้าที่และคำแนะนำต่างๆ นั้นได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เรามีสิทธิ์ในการปกครองแผ่นดินนี้ และเพื่อไม่ให้เราตกอยู่ในข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับประชาชาติชนรุ่นก่อนหน้าที่ผ่านพ้นไปแล้วในอดีตนั่นเอง

    والله أعلم بالصواب، وصلّى الله على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه وسلم، والحمد لله رب العالمين