×
กล่าวถึงความสำคัญของการละหมาดญะมาอะฮฺ หรือการละหมาดเป็นหมู่คณะที่มัสยิด และกล่าวตักเตือนผู้ที่ละเลยการละหมาดญะมาอะฮฺ โดยรวมหลักฐานต่างๆ ที่พูดถึงเรื่องนี้จากอัลกุรอาน และหะดีษ ผ่านคำอธิบายของอุละมาอ์นักวิชาการอิสลาม รวมถึงได้ชี้แจงถึงความประเสริฐและคุณค่าบางประการของการละหมาดญะมาอะฮฺไว้ด้วย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

    การละหมาดญะมาอะฮฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อับดุศศอมัด อัดนาน

    ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    2011 - 1432


    ﴿ صلاة الجماعة ﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: عبدالصمد عدنان

    مراجعة: يوسف أبوبكر

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่องที 106

    การละหมาดญะมาอะฮฺ

    การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...

    แท้จริงการละหมาดเป็นเสาหลักของศาสนา และเป็นบทบัญญัติที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดหลังจากการกล่าวคำปฎิญาณตนยอมรับต่ออัลลอฮฺและท่านเราะสูลุลลอฮฺ และอัลลอฮฺได้กล่าวสรรเสริญต่อบรรดาปวงบ่าวที่รักษาการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดว่า

    ﴿فِي بُيُوتٍ أَذِنَ ٱللَّهُ أَن تُرۡفَعَ وَيُذۡكَرَ فِيهَا ٱسۡمُهُۥ يُسَبِّحُ لَهُۥ فِيهَا بِٱلۡغُدُوِّ وَٱلۡأٓصَالِ ٣٦ رِجَالٞ لَّا تُلۡهِيهِمۡ تِجَٰرَةٞ وَلَا بَيۡعٌ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِ وَإِقَامِ ٱلصَّلَوٰةِ وَإِيتَآءِ ٱلزَّكَوٰةِ يَخَافُونَ يَوۡمٗا تَتَقَلَّبُ فِيهِ ٱلۡقُلُوبُ وَٱلۡأَبۡصَٰرُ﴾ النور : 36-37

    ความว่า “ในบรรดามัสยิดที่อัลลอฮฺได้อนุญาตให้มีการเทิดเกียรติและรำลึกถึงพระนามของพระองค์ เพื่อที่จะสดุดีต่อพระองค์ทั้งในยามเช้าและยามเย็น บรรดาผู้ชายที่การค้าขายมิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการดำรงละหมาด และการจ่ายซะกาต นั่นเพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น” ( อัน-นูรฺ :36-37 )

    ﴿إِنَّمَا يَعۡمُرُ مَسَٰجِدَ ٱللَّهِ مَنۡ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَأَقَامَ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَى ٱلزَّكَوٰةَ وَلَمۡ يَخۡشَ إِلَّا ٱللَّهَۖ فَعَسَىٰٓ أُوْلَٰٓئِكَ أَن يَكُونُواْ مِنَ ٱلۡمُهۡتَدِينَ ١٨﴾ التوبة : 18

    ความว่า “แท้จริงผู้ที่จะบูรณะบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และเขามิได้ยำเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ดังนั้น จึงหวังได้ว่า ชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้รับคำแนะนำ” (อัต-เตาบะฮฺ : 18 )

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «صَلَاةُ الرَّجُلِ فِي الْجَمَاعَةِ تُضَعَّفُ عَلَى صَلَاتِهِ فِي بَيْتِهِ وَفِي سُوقِهِ خَمْسًا وَعِشْرِينَ ضِعْفًا، وَذَلِكَ أَنَّهُ إِذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الْوُضُوءَ ثُمَّ خَرَجَ إِلَى الْمَسْجِدِ لَا يُخْرِجُهُ إِلَّا الصَّلَاةُ، لَمْ يَخْطُ خَطْوَةً إِلَّا رُفِعَتْ لَهُ بِهَا دَرَجَةٌ، وَحُطَّ عَنْهُ بِهَا خَطِيئَةٌ، فَإِذَا صَلَّى لَمْ تَزَلْ الْمَلَائِكَةُ تُصَلِّي عَلَيْهِ مَا دَامَ فِي مُصَلَّاهُ، اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَيْهِ، اللَّهُمَّ ارْحَمْهُ، وَلَا يَزَالُ أَحَدُكُمْ فِي صَلَاةٍ مَا انْتَظَرَ الصَّلَاةَ» [البخاري برقم 647، ومسلم برقم 649]

    ความว่า “ละหมาดของคนๆหนึ่งในรูปแบบญะมาอะฮฺจะได้รับผลตอบแทนต่างจากการละหมาดที่บ้านของเขา หรือในตลาดถึงยี่สิบห้าเท่า คราใดที่เขาอาบน้ำละหมาดอย่างถูกต้องแล้วออกจากบ้านด้วยหัวใจที่ตั้งมั่นเพื่อไปละหมาด อัลลอฮฺจะเทิดทูนเกียรติของเขา และจะลบความผิดของเขาในทุกก้าวย่างที่เขาย่ำไป เมื่อเขาละหมาดมะลาอิกะฮฺจะขอพรให้แก่เขาตราบใดที่เขายังอยู่ในสถานที่ละหมาด (โดยมะลาอิกะฮฺจะกล่าวว่า)โอ้อัลลอฮฺขอได้โปรดให้พรแก่เขาด้วยเถิด และได้โปรดเมตตาเขาด้วยเถิด คนๆ หนึ่งยังคงอยู่ในการละหมาดตราบใดที่เขายังคอยละหมาดในเวลาต่อไป” ( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์: 647 และมุสลิม : 649 )

    وفي رواية : «صَلَاةُ الْجَمَاعَةِ تَفْضُلُ صَلَاةَ الْفَذِّ بِسَبْعٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً» [البخاري برقم 654]

    และในอีกสายรายงานหนึ่งกล่าวว่า “การละหมาดในรูปแบบญะมาอะฮฺจะได้รับผลตอบแทนดีกว่าการละหมาดคนเดียวถึงยี่สิบเจ็ดเท่า” ( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ :654 )

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «أَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَمْحُو اللَّهُ بِهِ الْخَطَايَا، وَيَرْفَعُ بِهِ الدَّرَجَاتِ». قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ «إِسْبَاغُ الْوُضُوءِ عَلَى الْمَكَارِهِ، وَكَثْرَةُ الْخُطَا إِلَى الْمَسَاجِدِ، وَانْتِظَارُ الصَّلاَةِ بَعْدَ الصَّلاَةِ، فَذَلِكُمُ الرِّبَاطُ» [مسلم برقم 651]

    ความว่า “เป็นการดีไหมหากฉันจะบอกพวกเจ้าเกี่ยวกับการกระทำที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดของพวกเจ้า บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวว่า ได้ครับท่าน ท่านนบีจึงบอกว่า พวกเจ้าต้องอาบน้ำละหมาดให้ถูกต้องสมบูรณ์ในขณะที่หนาวจัด และเดินย่ำไปละหมาดที่มัสยิดให้มากๆ และรอคอยที่จะละหมาดในเวลาต่อไป อย่างนั้นแหล่ะถือว่าเป็นการเฝ้ายาม ” (บันทึกโดยมุสลิม : 651)

    เชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮุ ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา ได้พูดถึงการละหมาดในคัมภีร์อัลกุรอานไว้หลายครั้ง เพื่อยืนยันถึงความสำคัญ และได้บัญชาให้ปฎิบัติในรูปแบบญะมาอะฮฺ ทั้งยังได้กำชับว่าการละเลยต่อการละหมาดญะมาอะฮฺเป็นนิสัยของผู้กลับกลอก”

    ﴿حَٰفِظُواْ عَلَى ٱلصَّلَوَٰتِ وَٱلصَّلَوٰةِ ٱلۡوُسۡطَىٰ وَقُومُواْ لِلَّهِ قَٰنِتِينَ﴾ البقرة : 238

    ความว่า “พวกเจ้าจงรักษาการละหมาด และพึงรักษาการละหมาดอัศรฺไว้ด้วยเถิด และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม” ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 238)

    ﴿وَإِذَا كُنتَ فِيهِمۡ فَأَقَمۡتَ لَهُمُ ٱلصَّلَوٰةَ فَلۡتَقُمۡ طَآئِفَةٞ مِّنۡهُم مَّعَكَ وَلۡيَأۡخُذُوٓاْ أَسۡلِحَتَهُمۡۖ فَإِذَا سَجَدُواْ فَلۡيَكُونُواْ مِن وَرَآئِكُمۡ وَلۡتَأۡتِ طَآئِفَةٌ أُخۡرَىٰ لَمۡ يُصَلُّواْ فَلۡيُصَلُّواْ مَعَكَ وَلۡيَأۡخُذُواْ حِذۡرَهُمۡ وَأَسۡلِحَتَهُمۡۗ وَدَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ لَوۡ تَغۡفُلُونَ عَنۡ أَسۡلِحَتِكُمۡ وَأَمۡتِعَتِكُمۡ فَيَمِيلُونَ عَلَيۡكُم مَّيۡلَةٗ وَٰحِدَةٗۚ وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِن كَانَ بِكُمۡ أَذٗى مِّن مَّطَرٍ أَوۡ كُنتُم مَّرۡضَىٰٓ أَن تَضَعُوٓاْ أَسۡلِحَتَكُمۡۖ وَخُذُواْ حِذۡرَكُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ أَعَدَّ لِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٗا مُّهِينٗا﴾ النساء : 102

    ความว่า “และเมื่อเจ้าได้ทำการละหมาดขึ้นในหมู่พวกเขา เจ้าก็จัดให้กลุ่มหนึ่งยืนขึ้นละหมาดพร้อมกับเจ้าโดยที่พวกเขาถืออาวุธไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาสุญูดเสร็จแล้วให้พวกเขาถอยกลับไปอยู่เบื้องหลัง และอีกกลุ่มที่ยังไม่ได้ละหมาดก็จงมาละหมาดร่วมกับเจ้า และให้พวกเขาระมัดระวัง โดยจับอาวุธไว้ ซึ่งบรรดาผู้ปฎิเสธศรัทธาหาโอกาสจู่โจมพวกเจ้ารวดเดียวขณะที่พวกเจ้าละเลยจากอาวุธและสัมภาระ และไม่ถือเป็นความผิดแต่อย่างใดหากพวกเจ้าจะวางอาวุธเนื่องจากฝนตกหรือพวกเจ้าป่วย และพวกเจ้าพึงระมัดระวังเถิด แท้จริงอัลลอฮฺได้เตรียมการลงโทษอันน่าอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธทั้งหลาย” (อัน-นิสาอ์ : 102)

    และท่านเชค บิน บาซได้กล่าวไว้อีกว่า “อัลลอฮฺได้ใช้ให้ละหมาดญะมาอะฮฺในภาวะที่กำลังสงคราม แล้วนับประสาอะไรเล่าที่จะไม่กำชับในภาวะที่ไม่มีสงครามเกิดขึ้น หากมีใครสักคนที่ได้รับการอนุโลมที่จะไม่ต้องละหมาดญะมาอะฮฺแล้วล่ะก็ ผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับศัตรูย่อมได้รับผ่อนปรนก่อนผู้อื่นทั้งปวง แต่เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าการละหมาดญะมาอะฮฺเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ไม่สามารถอนุโลมกันได้เลยหากไม่มีความจำเป็นใดๆ” (เล่มที่ 12 หน้า 15-16)

    อนึ่ง...หลักฐานที่แสดงถึงความจำเป็นที่ต้องละหมาดญะมาอะฮฺมีปรากฏหลายหะดีษ เช่น

    1. ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّ أَثْقَلَ صَلاَةٍ عَلَى الْمُنَافِقِينَ صَلاَةُ الْعِشَاءِ وَصَلاَةُ الْفَجْرِ، وَلَوْ يَعْلَمُونَ مَا فِيهِمَا لأَتَوْهُمَا وَلَوْ حَبْوًا، وَلَقَدْ هَمَمْتُ أَنْ آمُرَ بِالصَّلاَةِ فَتُقَامَ ثُمَّ آمُرَ رَجُلاً فَيُصَلِّىَ بِالنَّاسِ ثُمَّ أَنْطَلِقَ مَعِى بِرِجَالٍ مَعَهُمْ حُزَمٌ مِنْ حَطَبٍ إِلَى قَوْمٍ لاَ يَشْهَدُونَ الصَّلاَةَ فَأُحَرِّقَ عَلَيْهِمْ بُيُوتَهُمْ بِالنَّارِ» [البخاري برقم 657، ومسلم برقم 651]

    ความว่า “แท้จริง ละหมาดที่บรรดามุนาฟิกีนมีความรู้สึกหนักมากๆ คือละหมาดอิชาอ์และศุบหฺ หากพวกเขาทราบเกี่ยวกับความประเสริฐ แน่นอนว่าเขาจะมาร่วมละหมาด ถึงแม้นว่าเขาจะคลานมาก็ตาม ฉันเองเคยคิดที่จะให้ใครสักคนทำหน้าที่ละหมาดนำแทนฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ออกไปหากลุ่มบุคคลที่ไม่มาร่วมละหมาดญะมาอะฮฺพร้อมกับคนสักกลุ่มหนึ่งที่มีฟืนไฟเพียบพร้อม แล้วจะได้เผาบ้านของเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 657 และมุสลิม : 651)

    นักวิชาการบางท่านได้ให้คำอธบายว่า “การที่ท่านนบีมีความตั้งใจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ไม่มาร่วมละหมาดญะมาอะฮฺได้กระทำในสิ่งที่เป็นบาบใหญ่ ขออัลลอฮฺได้โปรดคุ้มครองพวกเราด้วยเถิด”

    2. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า

    أَتَى النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- رَجُلٌ أَعْمَى فَقَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّهُ لَيْسَ لِى قَائِدٌ يَقُودُنِى إِلَى الْمَسْجِدِ. فَسَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- أَنْ يُرَخِّصَ لَهُ فَيُصَلِّىَ فِى بَيْتِهِ فَرَخَّصَ لَهُ فَلَمَّا وَلَّى دَعَاهُ فَقَالَ «هَلْ تَسْمَعُ النِّدَاءَ بِالصَّلاَةِ؟». فَقَالَ : نَعَمْ. قَالَ : «فَأَجِبْ» . [مسلم برقم 653]

    ความว่า มีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านนบี เพื่อขอผ่อนผันที่จะไม่เข้าร่วมละหมาดญะมาอะฮฺ ท่านนบีได้อนุญาตแก่เขาทันที ครั้นเมื่อเขาผินหลังให้ ท่านนบีจึงได้ถามขึ้นว่า “แล้วเจ้าได้ยินเสียงอะซานหรือเปล่า?” เขาตอบว่าฉันได้ยินครับ ท่านจึงกล่าวว่า “ฉะนั้นเจ้าจะต้องมาร่วมละหมาดญะมาอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม : 653)

    ในรายงานหนึ่งของอบู ดาวูดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    وفي رواية لأبي داود قال صلى الله عليه وسلم : «لَا أَجِدُ لَكَ رُخْصَةً» [أبو داود برقم 552]

    ความว่า “ฉันไม่เห็นว่าจะมีข้ออนุโลมให้กับท่าน” (อบู ดาวูด : 552)

    3. ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ سَمِعَ الْمُنَادِيَ فَلَمْ يَمْنَعْهُ مِنْ اتِّبَاعِهِ عُذْرٌ» قَالُوا وَمَا الْعُذْرُ، قَالَ : «خَوْفٌ أَوْ مَرَضٌ لَمْ تُقْبَلْ مِنْهُ الصَّلَاةُ الَّتِي صَلَّى» [رواه أبوداود برقم 551، قال الألباني صحيح دون جملة العذر، وبلفظ ولا صلاة له، صحيح سنن أبي داود 1/110]

    ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ไม่มาร่วมละหมาดญะมาอะฮฺเมื่อเขาได้ยินเสียงอะซาน โดยไม่มีอุปสรรคอันใด อัลลอฮฺจะไม่รับการละหมาดของเขา พวกเขาถามว่า อุปสรรคที่ว่าคืออะไร? ท่านนบีตอบว่า อุปสรรค คือ เกิดจากความหวาดกลัวหรือป่วยไข้” (บันทึกโดยอบู ดาวูด : 551)

    4. ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

    يقول ابن مسعود رضي الله عنه : «مَنْ سَرَّهُ أَنْ يَلْقَى اللَّهَ غَدًا مُسْلِمًا فَلْيُحَافِظْ عَلَى هَؤُلَاءِ الصَّلَوَاتِ حَيْثُ يُنَادَى بِهِنَّ، فَإِنَّ اللَّهَ شَرَعَ لِنَبِيِّكُمْ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سُنَنَ الْهُدَى وَإِنَّهُنَّ مِنْ سُنَنِ الْهُدَى، وَلَوْ أَنَّكُمْ صَلَّيْتُمْ فِي بُيُوتِكُمْ كَمَا يُصَلِّي هَذَا الْمُتَخَلِّفُ فِي بَيْتِهِ لَتَرَكْتُمْ سُنَّةَ نَبِيِّكُمْ، وَلَوْ تَرَكْتُمْ سُنَّةَ نَبِيِّكُمْ لَضَلَلْتُمْ، وَمَا مِنْ رَجُلٍ يَتَطَهَّرُ فَيُحْسِنُ الطُّهُورَ ثُمَّ يَعْمِدُ إِلَى مَسْجِدٍ مِنْ هَذِهِ الْمَسَاجِدِ إِلَّا كَتَبَ اللَّهُ لَهُ بِكُلِّ خَطْوَةٍ يَخْطُوهَا حَسَنَةً، وَيَرْفَعُهُ بِهَا دَرَجَةً، وَيَحُطُّ عَنْهُ بِهَا سَيِّئَةً، وَلَقَدْ رَأَيْتُنَا وَمَا يَتَخَلَّفُ عَنْهَا إِلَّا مُنَافِقٌ مَعْلُومُ النِّفَاقِ، وَلَقَدْ كَانَ الرَّجُلُ يُؤْتَى بِهِ يُهَادَى بَيْنَ الرَّجُلَيْنِ حَتَّى يُقَامَ فِي الصَّفِّ» [رواه مسلم برقم 654]

    ความว่า ”ผู้ใดที่ต้องการจะพบกับอัลลอฮฺในวันกิยามะฮฺในสภาพที่เป็นมุสลิม เขาต้องรักษาการละหมาดญะมาอะฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺได้บัญญัติแนวทางแก่นบีของพวกท่าน และการละหมาดร่วมกันก็เป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งหากพวกท่านละหมาดกันในบ้านเรือนกันหมดเหมือนกับชายผู้นี้แล้ว ก็เท่ากับว่าพวกท่านได้ละทิ้งแนวทางของนบีไปแล้ว เมื่อใดที่พวกท่านละทิ้งแนวทางของนบีพวกท่านก็ย่อมหลงทาง ใครก็ตามที่เขาอาบน้ำละหมาดแล้วออกไปยังมัสยิดอัลลอฮฺจะให้ผลบุญแก่เขาในทุกย่างก้าวที่เขาย่ำไป และจะยกระดับเกียรติของเขา รวมถึงจะลบล้างความผิดแก่เขาอีกด้วย พวกเราจะเห็นว่าผู้ที่ไม่มาละหมาดญะมาอะฮฺคือผู้ที่กลับกลอก( มุนาฟิก) เท่านั้นแหล่ะ แท้จริง ในสมัยของเรา ผู้ชายคนหนึ่งถึงแม้ว่าเขาจะป่วย ก็ยังมีผู้ช่วยพยุงเขามาจนถึงแถวละหมาดเลยทีเดียว” (บันทึกโดยมุสลิม : 654)

    บรรดาอุละมาอ์ได้โต้แย้งหะดีษที่เกี่ยวกับความประเสริฐของการละหมาดญะมาอะฮฺว่าดีกว่าการละหมาดคนเดียวที่บ้านหรือในตลาดถึง 25 เท่าว่า หะดีษบทนี้ต้องการที่จะบอกถึงผลบุญอันยิ่งใหญ่ที่จะได้รับอันเนื่องจากการละหมาดญะมาอะฮฺ ซึ่งมิได้บอกเกี่ยวกับหุกุ่ม(บทบัญญัติ)ของการละหมาดญะมาอะฮฺแต่อย่างใด และภาคผลแห่งความประเสริฐก็มิได้บ่งชี้ว่าสิ่งนั้นไม่วาญิบ เพราะปรากฏว่ามีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความจำเป็น(วาญิบ)ของการละหมาดญะมาอะฮฺทั้งในอัลกุรอานและหะดีษของท่านนบี รวมถึงผลดีที่ได้รับจากการละหมาดญะมาอะฮฺอีกมากมาย ทั้งหมดนี้สื่อให้รู้ว่าการละหมาดญะมาอะฮฺนั้นเป็นสิ่งวาญิบ เชคอิบนุ อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้บอกถึงผลดีที่จะได้รับจากการละหมาดญะมาอะฮฺเป็นประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

    1. การละหมาดญะมาอะฮฺจะทำให้สัญลักษณ์แห่งอิสลามอันยิ่งใหญ่ปรากฏเด่นชัดขึ้น หากว่ามุสลิมต่างก็ละหมาดกันที่บ้าน แล้วจะไม่มีใครรู้ได้ว่าในศาสนาอิสลามก็มีบทบัญญัติว่าด้วยการละหมาด

    2. ทำให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นระหว่างหมู่คณะ อันเนื่องจากการได้พบเจอกัน และการสัมผัสมือกันเป็นบ่อเกิดแห่งความรัก ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «لاَ تَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلاَ تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا. أَوَلاَ أَدُلُّكُمْ عَلَى شَىْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ أَفْشُوا السَّلاَمَ بَيْنَكُمْ» [مسلم برقم 54]

    ความว่า ”พวกท่านทั้งหลายจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์จนกว่าจะพวกท่านจะศรัทธา และพวกท่านยังไม่เป็นผู้ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะมอบความรักให้แก่กัน ฉันจะแนะนำสิ่งหนึ่งให้กับพวกท่าน ซึ่งหากพวกท่านปฏิบัติแล้วจะทำให้เกิดความรักใคร่ระหว่างพวกท่าน นั่นคือ การกล่าวสลามให้แก่กัน” (บันทึกโดยมุสลิม : 54)

    3. จะทำให้มนุษย์มีความรู้สึกที่เท่าเทียมกัน เนื่องจากทั้งคนรวยและคนจน ผู้ใหญ่และเด็กๆ ผู้นำและผู้ตาม กษัตริย์และประชาราษฎร์ต่างมายืนในแถวเดียวกัน เท่าเทียมกัน เสมอกัน ซึ่งท่านนบีได้ใช้ให้ผู้ละหมาดจัดแถวให้ตรงๆ เท่าๆ กัน โดยไม่ได้แยกแถวของผู้ที่มีสถานะที่ต่างกัน

    «اسْتَوُوا وَلَا تَخْتَلِفُوا فَتَخْتَلِفَ قُلُوْبُكُمْ» [رواه مسلم برقم 432]

    ความว่า “พวกท่านทั้งหลายจงจัดแถวให้ตรง และอย่าได้ขัดแย้งกัน ซึ่งจะทำให้หัวใจของพวกเจ้าจะไม่ตรงกัน” (บันทึกโดยมุสลิม : 432)

    4. การมาร่วมละหมาดญะมาอะฮฺจะทำให้ได้รับรู้ข่าวคราวและสภาพความเคลื่อนไหวของสมาชิกในชุมชน เช่น คนป่วยไข้ คนยากจน และผู้ที่เฉยเมยต่อการละหมาด และเมื่อมีผู้ที่ขอความช่วยเหลือ ญะมาอะฮฺในมัสยิดจะได้ให้การช่วยเหลือต่อเขา เมื่อใดที่มีผู้ป่วยไข้ ผู้คนก็จะได้เยี่ยมเยียนเขา และผู้ใดที่เฉยเมยต่อการละหมาดก็จะได้กล่าวตักเตือนแนะนำต่อเขา

    والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.