×
การแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนา อธิบายความสำคัญและคุณค่าต่างๆ ของการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนา ซึ่งถือเป็นหนทางที่จะนำไปสู่สวรรค์และความเจริญของประชาชาติในโลกนี้ ประกอบด้วยหลักฐานต่างๆ จากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

    การแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนา

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อัฟนาน เพ็ชรทองคำ

    ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

    2011 – 1432


    ﴿طلب العلم الشرعي

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: أفنان بيتونكام

    مراجعة: يوسف أبوبكر

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2011 – 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    บทที่ 145

    การแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนา

    มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก การประสาทพร และสันติทั้งหลายจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา วงศ์วาน และมิตรสหายทั้งหลายของท่าน และฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีสิ่งใดที่เป็นภาคีกับพระองค์ และมุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺที่ประเสริฐที่สุด และการเชื่อฟังปฏิบัติตามที่สูงส่งที่สุด ซึ่งบทบัญญัติได้ส่งเสริม คือ การแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนา และเป้าหมายของการแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนา คือ การแสวงหาความรู้จากอัล-กุรอาน และซุนนะฮ์ (แบบฉบับของท่านศาสนทูต) อัลลอฮฺ ตรัสว่า

    ﴿قُلۡ هَلۡ يَسۡتَوِي ٱلَّذِينَ يَعۡلَمُونَ وَٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَۗ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٩﴾ (الزمر : 9)

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ? แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ” [อัซ-ซุมัร : 9]

    อัลลอฮฺ ตรัสว่า

    ﴿شَهِدَ ٱللَّهُ أَنَّهُۥ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ وَأُوْلُواْ ٱلۡعِلۡمِ قَآئِمَۢا بِٱلۡقِسۡطِۚ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ ١٨﴾ (آل عمران : 18)

    ความว่า “อัลลอฮฺทรงยืนยันว่าแท้จริงไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น มะลาอิกะฮฺและผู้มีความรู้ในฐานะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้น ก็ยืนยันตามนั้นด้วยเช่นกัน ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น” [อาล อิมรอน : 18]

    ﴿يَرۡفَعِ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مِنكُمۡ وَٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَ دَرَجَٰتٖۚ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ ١١﴾ (المجادلة : 11)

    ความว่า “อัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทิดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายระดับขั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” [อัล-มุญาดะละฮฺ : 11]

    มีรายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ يُرِدْ اللَّهُ بِهِ خَيْرًا يُفَقِّهْهُ فِي الدِّينِ» (البخاري برقم 81، ومسلم برقم 1037)

    ความว่า “ผู้ใดที่อัลลอฮฺต้องการให้เขาได้รับความดีงาม พระองค์จะให้เขามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องศาสนา” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 81 และ มุสลิม หะดีษเลขที่ 1037)

    นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “ผู้ใดที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องศาสนาเขาจะไม่ได้รับความดีงาม” และมีรายงานจาก อบู ดาวูด ในหนังสือสุนันของท่าน จากหะดีษของ อบู อัด-ดัรดาอ์ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَطْلُبُ فِيهِ عِلْمًا سَلَكَ اللَّهُ بِهِ طَرِيقًا مِنْ طُرُقِ الْجَنَّةِ، وَإِنَّ الْمَلَائِكَةَ لَتَضَعُ أَجْنِحَتَهَا رِضًا لِطَالِبِ الْعِلْمِ وَإِنَّ الْعَالِمَ لَيَسْتَغْفِرُ لَهُ مَنْ فِي السَّمَوَاتِ وَمَنْ فِي الْأَرْضِ وَالْحِيتَانُ فِي جَوْفِ الْمَاءِ وَإِنَّ فَضْلَ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ لَيْلَةَ الْبَدْرِ عَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ وَإِنَّ الْعُلَمَاءَ وَرَثَةُ الْأَنْبِيَاءِ وَإِنَّ الْأَنْبِيَاءَ لَمْ يُوَرِّثُوا دِينَارًا وَلَا دِرْهَمًا وَرَّثُوا الْعِلْمَ فَمَنْ أَخَذَهُ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ» (أبو داود برقم 3641، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن أبي داود بالرقم نفسه)

    ความว่า “ผู้ใดที่แสวงหาหนทางเพื่อให้ได้รับความรู้ อัลลอฮฺก็จะนำเขาไปสู่หนทางของสวนสวรรค์ และมลาอิกะฮฺจะกางปีกเพื่อแสดงความความยินดีต่อผู้แสวงหาวิชาความรู้ และสำหรับผู้รู้นั้นจะมีผู้ขออภัยโทษให้แก่เขาทั้งสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้า และที่อยู่ในแผ่นดิน แม้กระทั่งบรรดาฝูงปลาในท้องทะเล แท้จริง ความประเสริฐของผู้ที่มีความรู้(อาลิม)เหนือผู้ที่เคารพภักดีเพียงอย่างเดียว(อาบิด) เปรียบเสมือนดวงจันทร์เต็มดวงที่เหนือกว่าบรรดาหมู่ดวงดาว แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความรู้(อุละมาอ์)พวกเขาเป็นทายาทของบรรดานบี(อันบิยาอ์) บรรดานบีไม่ได้ทิ้งมรดกไว้เป็นเงินดีนารฺหรือดิรฮัม แต่ทว่าได้ทิ้งวิชาความรู้ไว้เป็นมรดก ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ครอบครองมันไว้ถือว่าเขาได้ครอบครองส่วนที่ดีเลิศมากมายแล้ว” (อบู ดาวูด หะดีษเลขที่ 3641)

    ท่านอัล-เอาซาอีย์ กล่าวว่า “มนุษย์ในความหมายของเราคือ ผู้ที่มีความรู้ ส่วนผู้อื่นนอกเหนือจากพวกเขาถือว่าไม่มีอะไรเลย”

    ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “มนุษยชาติมีความจำเป็นต่อวิชาความรู้ทางด้านศาสนามากยิ่งกว่าที่พวกเขามีความจำเป็นในด้านอาหารและเครื่องดื่มเสียอีก”

    และส่วนหนึ่งจากความประเสริฐของวิชาความรู้มีดังนี้ …

    ภาคผลบุญของวิชาความรู้จะยังคงอยู่หลังจากที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้เสียชีวิตลงไปแล้ว มีรายงานจากมุสลิมในเศาะฮีหฺของท่าน จากหะดีษของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا مَاتَ ابنُ آدَمَ انْقَطَعَ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثَ: صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ» (مسلم برقم 1631)

    ความว่า “เมื่อลูกหลานของอาดัมได้เสียชีวิต การงานของเขาจะถูกตัดขาดลงยกเว้นเพียงสามประการ คือ การบริจาคทานที่ถาวร ความรู้ที่ยังประโยชน์ หรือบุตรที่ดีขอดุอาอฺให้กับเขา” (เศาะฮีหฺมุสลิม หะดีษเลขที่ 1631)

    อีกบางส่วนจากความประเสริฐของวิชาความรู้ ก็คือ

    บรรดาผู้รู้นั้นคือผู้ที่ดำรงตนอยู่บนคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺจนตราบถึงวันกิยามะฮฺ รายงานจาก อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษมุอาวิยะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى قَائِمَةً بِأَمْرِ اللَّهِ، لاَ يَضُرُّهُمْ مَنْ خَذَلَهُمْ أَوْ خَالَفَهُمْ، حَتَّى يَأْتِىَ أَمْرُ اللَّهِ وَهُمْ ظَاهِرُونَ عَلَى النَّاسِ» (مسلم برقم 1037 واللفظ له، والبخاري برقم 3641)

    ความว่า “กลุ่มหนึ่งจากบรรดาประชาชาติของฉันยังคงดำรงอยู่บนคำสั่งของอัลลอฮฺ ผู้ที่ทำให้พวกเขาตกต่ำหรือขัดแย้งกับพวกเขาจะไม่สามารถก่อให้เกิดผลอันใดที่เสียหายกับพวกเขาได้เลย จนกระทั่งกำหนดของอัลลอฮฺได้มาถึง ในขณะที่พวกเขาจะยังคงเป็นผู้ที่ปรากฏเด่นชัดเหนือผู้คนทั้งหลาย” (เศาะฮีหฺมุสลิม หะดีษเลขที่ 1037 สำนวนหะดีษเป็น ของท่าน และเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3641)

    มีรายงานจากอิมามอะหฺมัด บิน หันบัล ท่านกล่าวเกี่ยวกับบุคคลกลุ่มนี้ว่า “กลุ่มพวกที่ว่านี้ ถ้าหากไม่ได้หมายถึงผู้รู้ในหะดีษ(อะฮฺลุลหะดีษ)แล้วละก็ ฉันก็ไม่รู้จะพูดอีกว่าพวกเขาหมายถึงผู้ใด”

    อีกบางส่วนจากความประเสริฐของวิชาความรู้ ก็คือ

    ความรู้เป็นหนทางที่สำคัญที่จะนำไปสู่สวนสวรรค์ รายงานจากมุสลิมในเศาะฮีหฺของท่าน จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

    «مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَلْتَمِسُ فِيهِ عِلْمًا سَهَّلَ اللَّهُ لَهُ طَرِيقًا إِلَى الْجَنَّةِ» (مسلم برقم 2699)

    ความว่า “ผู้ใดที่แสวงหาหนทางเพื่อที่จะแสวงหาความรู้หนึ่ง อัลลอฮฺจะทรงทำให้หนทางไปสู่สวนสวรรค์นั้นง่ายดายแก่เขา” (มุสลิม หะดีษเลขที่ 2699)

    อีกบางส่วนจากความประเสริฐของวิชาความรู้ ก็คือ

    ผู้รู้จะเป็นดั่งแสงสว่างที่จะนำทางผู้คนในเรื่องราวต่างๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า มีรายงานจาก อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษ อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ ท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «كَانَ فِيمَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ رَجُلٌ قَتَلَ تِسْعَةً وَتِسْعِينَ نَفْسًا، فَسَأَلَ عَنْ أَعْلَمِ أَهْلِ الأَرْضِ فَدُلَّ عَلَى رَاهِبٍ فَأَتَاهُ، فَقَالَ: إِنَّهُ قَتَلَ تِسْعَةً وَتِسْعِينَ نَفْسًا فَهَلْ لَهُ مِنَ تَوْبَةٍ؟، فَقَالَ : لاَ. فَقَتَلَهُ فَكَمَّلَ بِهِ مِائَةً. ثُمَّ سَأَلَ عَنْ أَعْلَمِ أَهْلِ الأَرْضِ، فَدُلَّ عَلَى رَجُلٍ عَالِمٍ، فَقَالَ: إِنَّهُ قَتَلَ مِائَةَ نَفْسٍ فَهَلْ لَهُ مِنْ تَوْبَةٍ؟، فَقَالَ: نَعَمْ، وَمَنْ يَحُولُ بَيْنَهُ وَبَيْنَ التَّوْبَةِ» (مسلم برقم 2766 واللفظ له، والبخاري برقم 3470)

    ความว่า “เคยมีชายผู้หนึ่งก่อนหน้าพวกเจ้าเขาเคยฆ่าคน 99 ศพ เขาได้ถามหาผู้ที่มีความรู้มากที่สุดในแผ่นดิน จึงมีคนชี้ทางให้ไปหาบาทหลวง แล้วเขาก็ได้ไปหาบาทหลวง และกล่าวว่า “เขาฆ่า 99 ศพ เขามีทางกลับเนื้อกลับตัวไหม?” บาทหลวงกล่าวว่า “ไม่” เขาจึงฆ่าบาทหลวง ซึ่งทำให้เขาได้ฆ่าคนครบ 100 ชีวิต จากนั้นเขาจึงถามหาผู้ที่มีความรู้มากที่สุดในแผ่นดินอีกครั้ง และมีผู้ชี้ทางไปยังผู้รู้ท่านหนึ่ง เขากล่าวกับผู้รู้ว่า “เขาฆ่า 99 ชีวิต เขามีทางกลับเนื้อกลับตัวไหม?” ผู้รู้ตอบว่า “มีสิ และใครล่ะที่ขัดขวางในการกลับตัวของท่าน?” (เศาะฮีหฺมุสลิม หะดีษเลขที่ 2766 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 3470)

    อีกบางส่วนจากความประเสริฐของวิชาความรู้ ก็คือ

    สำหรับผู้รู้นั้น อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงใส่ความน่าเกรงขาม ความรัก และการให้เกียรติต่อเขา ลงในหัวใจของบรรดาผู้คนทั้งหลาย ดังนั้นท่านจะพบว่าลิ้นทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญยกย่อง ชมเชยต่อพวกเขา และหัวใจทั้งหลายนั้นจะเห็นพ้องกันในการให้เกียรติและนับถือต่อพวกเขา

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ سَيَجۡعَلُ لَهُمُ ٱلرَّحۡمَٰنُ وُدّٗا ٩٦﴾ (مريم : 96)

    ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบคุณงามความดีทั้งหลายนั้น พระผู้ทรงกรุณาปรานีจะทรงโปรดปรานความรักใคร่แก่พวกเขา” (มัรยัม:96)

    บางส่วนจากความประเสริฐของวิชาความรู้ ก็คือ

    การแสวงหาความรู้นั้นเป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับของแต่ละบุคคลมากกว่าความสวยงามเพลิดเพลินของโลกดุนยานี้ มีรายงานจากมุสลิม ในเศาะฮีหฺของท่าน จากหะดีษ อุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

    «أَيُّكُمْ يُحِبُّ أَنْ يَغْدُوَ كُلَّ يَوْمٍ إِلَى بُطْحَانَ أَوْ إِلَى الْعَقِيقِ، فَيَأْتِىَ مِنْهُ بِنَاقَتَيْنِ كَوْمَاوَيْنِ فِى غَيْرِ إِثْمٍ وَلاَ قَطْعِ رَحِمٍ ؟». فَقُلْنَا : يَا رَسُولَ اللَّهِ نُحِبُّ ذَلِكَ. قَالَ: «أَفَلاَ يَغْدُو أَحَدُكُمْ إِلَى الْمَسْجِدِ، فَيَعْلَمَ أَوْ يَقْرَأَ آيَتَيْنِ مِنْ كِتَابِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ خَيْرٌ لَهُ مِنْ نَاقَتَيْنِ، وَثَلاَثٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ ثَلاَثٍ، وَأَرْبَعٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ أَرْبَعٍ، وَمِنْ أَعْدَادِهِنَّ مِنَ الإِبِلِ» (مسلم برقم 803)

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ออกมา(หาพวกเรา)ขณะที่เรากำลังอยู่ที่อัศ-ศุฟฟะฮฺ(ด้านหลังของมัสยิดที่คนยากจนขัดสนมุสลิมในสมัยนั้นพักอาศัยและละหมาดที่นั่น-ผู้แปล) และท่านกล่าวว่า พวกท่านชอบที่จะออกไปที่ บุฏหาน หรือ อัล-อะกีก (สถานที่แถบชานเมืองมะดีนะฮฺ) ในทุกๆ วัน และกลับมาพร้อมกับบรรดาอูฐที่มีโหนกโดยที่ไม่ต้องทำผิดหรือต้องตัดขาดกับเครือญาติไหม? พวกเรากล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลของอัลลอฮฺ พวกเราต้องการเช่นนั้นครับ ท่านกล่าวว่า “พวกท่านไม่ได้ออกไปยังมัสยิดหรือ เพราะการเรียนรู้หรือการอ่านกุรอานสองอายะฮฺจากคำภีร์ของอัลลอฮฺนั้น ดีกว่าอูฐสองตัวเสียอีก และสามอายะฮฺนั้นดีกว่าอูฐสามตัว และสี่อายะฮฺดีกว่าอูฐสี่ตัว และอื่นจากจำนวนอายะฮฺนั้นดีกว่าอูฐตามจำนวนนั้น” (มุสลิม หะดีษเลขที่ 803)

    วิธีการและสื่อต่างๆ ในการแสวงหาวิชาความรู้มีมากมาย เช่น การไปฟังบทเรียนจากบรรดาผู้รู้และเชค และการฟังบรรยายธรรมทั่วไป, การฟังบรรยายที่มัสยิด, การอ่านหนังสือ หรือฟังเทปที่มีประโยชน์, การถามผู้รู้ในสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสงสัย และการท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของวิชาความรู้ทั้งหมด

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกไว้ว่าสัญญาณส่วนหนึ่งของวันสิ้นโลก คือ การที่ความรู้จะถูกเก็บไป และความโง่เขลาจะมีอย่างแพร่หลาย ในหนังสืออัศ-เศาะฮีหฺทั้งสอง จากหะดีษของอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّ اللَّهَ لاَ يَقْبِضُ الْعِلْمَ انْتِزَاعًا يَنْتَزِعُهُ مِنَ العِبَادِ، وَلَكِنْ يَقْبِضُ الْعِلْمَ بِقَبْضِ الْعُلَمَاءِ، حَتَّى إِذَا لَمْ يُبْقِ عَالِمًا اتَّخَذَ النَّاسُ رُءُوسًا جُهَّالًا فَسُئِلُوا فَأَفْتَوْا بِغَيْرِ عِلْمٍ فَضَلُّوا وَأَضَلُّوا» (البخاري برقم 100، ومسلم برقم 2673)

    ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เก็บความรู้ด้วยการถอดถอนออกจากมนุษย์ แต่ทว่าจะเก็บความรู้ด้วยการให้บรรดาผู้รู้เสียชีวิต จนกระทั่งไม่มีผู้รู้หลงเหลืออยู่ ผู้คนก็จะยึดเอาคนโง่เขลาเป็นผู้นำ แล้วพวกเขาถูกถามปัญหา พวกเขาเหล่านั้นก็ออกคำวินิจฉัยโดยไม่มีความรู้ ตัวพวกเขาเองก็ผิดพลาด และทำให้ผู้อื่นผิดพลาดไปด้วย” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 100 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2673)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจากความรู้ที่ไม่ยังประโยชน์ มีรายงานจากอัน-นะสาอีย์ จากหะดีษ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบีเคยขอพรว่า

    «اللهم إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ الْأَرْبَعِ، مِنْ عِلْمٍ لَا يَنْفَعُ، وَمِنْ قَلْبٍ لَا يَخْشَعُ، وَمِنْ نَفْسٍ لَا تَشْبَعُ، وَمِنْ دُعَاءٍ لَا يُسْمَعُ» (النسائي برقم 5467، وصححه الألباني في صيحيح وضعيف سنن النسائي بنفس الرقم)

    ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากสี่ประการ จากความรู้ที่ไม่ยังประโยชน์ จากหัวใจที่ไม่นอบน้อมยำเกรง จากจิตใจที่ไม่รู้จักเพียงพอ และจากดุอาอ์ที่ไม่ถูกรับฟัง (ไม่ถูกตอบรับ) (หะดีษเลขที่ 5467)

    มีรายงานจาก อิบนุ มาญะฮฺ จากหะดีษ ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «سَلُوا اللَّهَ عِلْمًا نَافِعًا، وَتَعَوَّذُوا بِاللَّهِ مِنْ عِلْمٍ لَا يَنْفَعُ» (ابن ماجه برقم 3843، وحسنه الألباني في صحيح وضعيف سنن ابن ماجه بنفس الرقم)

    ความหมาย “พวกท่านจงขอจากอัลลอฮฺให้ได้รับความรู้ที่ยังประโยชน์ และจงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจากความรู้ที่ไม่ยังประโยชน์เถิด” (หะดีษเลขที่ 3843)

    นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมจะต้องแสวงหาวิชาความรู้ทางด้านศาสนาด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ มิใช่แสวงหาเพื่อตำปหน่ง ทรัพย์สิน หรือเพื่อมายาวัตถุในโลกนี้ มีรายงานจาก อบู ดาวูดในหนังสือสุนันของท่าน จากหะดีษ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ تَعَلَّمَ عِلْمًا مِمَّا يُبْتَغَى بِهِ وَجْهُ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، لَا يَتَعَلَّمُهُ إِلَّا لِيُصِيبَ بِهِ عَرَضًا مِنْ الدُّنْيَا، لَمْ يَجِدْ عَرْفَ الْجَنَّةِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، يَعْنِي رِيحَهَا» (أبو داود برقم 3664، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن أبي داود بنفس الرقم)

    ความว่า “ผู้ใดที่ศึกษาหาวิชาความรู้ซึ่งเป็นความรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ แต่เขาไม่ได้ศึกาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อจะได้รับค่าตอบแทนในโลกดุนยา แน่นอนเขาจะไม่ได้รับกลิ่นไอของสวนสวรรค์ในวันกิยามะฮฺ” (หะดีษเลขที่ 3664)

    มีรายงานจาก อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษ อบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَثَلُ مَا بَعَثَنِي اللَّهُ بِهِ مِنْ الْهُدَى وَالْعِلْمِ كَمَثَلِ الْغَيْثِ الْكَثِيرِ أَصَابَ أَرْضًا، فَكَانَ مِنْهَا نَقِيَّةٌ قَبِلَتْ الْمَاءَ فَأَنْبَتَتْ الْكَلَأَ وَالْعُشْبَ الْكَثِيرَ، وَكَانَتْ مِنْهَا أَجَادِبُ أَمْسَكَتْ الْمَاءَ فَنَفَعَ اللَّهُ بِهَا النَّاسَ فَشَرِبُوا وَسَقَوْا وَزَرَعُوا، وَأَصَابَتْ مِنْهَا طَائِفَةً أُخْرَى إِنَّمَا هِيَ قِيعَانٌ لَا تُمْسِكُ مَاءً وَلَا تُنْبِتُ كَلَأً، فَذَلِكَ مَثَلُ مَنْ فَقُهَ فِي دِينِ اللَّهِ وَنَفَعَهُ مَا بَعَثَنِي اللَّهُ بِهِ فَعَلِمَ وَعَلَّمَ، وَمَثَلُ مَنْ لَمْ يَرْفَعْ بِذَلِكَ رَأْسًا وَلَمْ يَقْبَلْ هُدَى اللَّهِ الَّذِي أُرْسِلْتُ بِهِ» (البخاري برقم 79، ومسلم برقم 2282)

    ความว่า “อุปมาของทางนำและความรู้ที่อัลลอฮฺทรงส่งฉันมา อุปมัยดั่งน้ำฝนที่ตกชุกลงสู่พื้นดิน บางแห่งเป็นดินดี ดูดซึมน้ำฝนนั้น ทำให้ทุ่งหญ้าและพืชพันธุ์งอกเงยมากมาย และบางแห่งเป็นดินแห้งแล้ง เก็บขังน้ำฝนไว้ และอัลลอฮฺให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำ โดยพวกเขาได้นำไปดื่ม นำไปเลี้ยงปศุสัตว์ และได้เพาะปลูก และบางแห่งเป็นดินราบเรียบไม่สามารถกักเก็บน้ำ ไม่ยังประโยชน์ให้แก่พืชผล ดังกล่าวนี้ (พวกแรก)เปรียบเสมือนผู้ที่มีความเข้าใจ ในศาสนาของอัลลอฮฺอย่างถ่องแท้ และได้รับประโยชน์จากทางนำและความรู้ดังนั้นเขาได้รู้และได้สอน และ(พวกที่สองนั้น)เป็นอุปมาผู้ที่ไม่น้อมรับ และไม่ยอมรับทางนำของอัลลอฮฺตามที่ฉันได้ถูกส่งมา” (อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 79 และมุสลิม หะดีษเลขที่ )

    มวลการสรรเสริญทั้งหลายเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงประทานพรและความสันติสุขแด่ ท่านนบีมุหัมมัดของเรา แด่วงศ์วานของท่าน และสหายของท่านทั้งหมดด้วยเทอญ

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.