ส่วนหนึ่งจากชีวประวัติของอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
ส่วนหนึ่งจากชีวประวัติของอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2011 – 1432
﴿مقتطفات من سيرة أبي بكر الصديق﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: نجوى بونماليرت
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2011 – 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทที่ 137
ส่วนหนึ่งจากชีวประวัติของอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ขอความจำเริญความสันติจงประสบแด่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่าน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และมุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
นี่คือส่วนหนึ่งจากชีวประวัติของของบุคคลสำคัญท่านหนึ่งจากบรรดาบุคคลสำคัญแห่งประชาชาตินี้ เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของประชาชาติอิสลาม เป็นมิตรสหายของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเราจะได้รับบทเรียนและข้อคิดเตือนใจที่ดีมากมายจากชีวประวัติของท่าน
เศาะหาบะฮฺท่านนี้ คือ ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เข้าร่วมรบในทุกสงครามกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งในสงครามบะดัรฺ สงครามอุฮุด สงครามค็อนดัก หรือสงครามอื่นๆ ท่านไม่เคยห่างหายจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเลย แม้ยามที่อยู่ในมาตุภูมิหรือในยามเดินทาง ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ถือกำเนิดหลังจากปีช้าง 2 ปี 6 เดือน ท่านเคยเป็นอิหม่ามนำละหมาดในช่วงเวลาที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ป่วยก่อนที่ท่านจะสิ้นใจ ท่านอบู บักรฺยังเป็นบุคคลที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รักเป็นอย่างมาก และได้แต่งงานกับลูกสาวของท่าน (นั่นคือท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา) ท่านเป็นชายคนแรกที่เข้ารับอิสลาม เป็นหนึ่งในสิบของผู้ที่ได้รับข่าวดีว่าจะได้เข้าสวรรค์ เป็นบุคคลที่ประเสริฐและสูงส่งยิ่งในประชาชาตินี้ ถัดจากท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านเป็นเพื่อนร่วมทางกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่หลบซ่อนตัวในถ้ำ เพื่อให้พ้นจากการทำร้ายของพวกกุฟฟารฺผู้ปฏิเสธศรัทธา ในกุรอานได้บอกถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
﴿إِلَّا تَنصُرُوهُ فَقَدۡ نَصَرَهُ ٱللَّهُ إِذۡ أَخۡرَجَهُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ ثَانِيَ ٱثۡنَيۡنِ إِذۡ هُمَا فِي ٱلۡغَارِ﴾ (التوبة : 40)
ความว่า “ถ้าหากพวกเจ้าไม่ช่วยเขา (หมายถึงช่วยท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) แท้จริงอัลลอฮฺ ก็ได้ทรงช่วยเขามาแล้ว ขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ขับไล่เขาออกไป โดยที่เขาเป็นคนที่สองในสองคน ขณะที่ทั้งสอง(คือท่านนบีและอบู บักรฺ) อยู่ในถ้ำ” (อัต-เตาบะฮฺ 40)
ท่านอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ ได้กล่าวถึงท่านอบู บักรฺว่า “หากว่านำอีหม่าน(ความศรัทธา)ของท่านอบู บักรฺ มาเทียบกับอีหม่านของผู้คนทั้งประชาชาตินี้ แน่นอนว่า อีหม่านของอบู บักรฺนั้นย่อมหนักกว่า”
ท่านอบู บักรฺ ได้รับการขนานนามว่า อัศ-ศิดดีก คือ ผู้สัจจริง ชื่อเต็มของท่านคือ อับดุลลอฮฺ บิน อบู กุหาฟะฮฺ อุษมาน บิน อามิรฺ บิน อัมรฺ อัล-กุเราะชียฺ มุสลิมทุกคนต่างพร้อมใจกันเรียกขานท่านว่า อัศ-ศิดดีก เนื่องจากท่านเป็นบุคคลแรกที่เชื่อในท่านนบีมุหัมมัดว่าเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺโดยทันทีอย่างไม่มีข้อสงสัย
อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้บรรยายลักษณะของท่านอบู บักรฺไว้ว่า “ท่านพ่อของฉันเป็นคนผิวขาว รูปร่างผอม มีไรจอนขึ้นบางๆ หลังโค้งเล็กน้อย และมีขอบตาลึก”
มีรายงานหะดีษที่ยืนยันถึงความความประเสริฐและความมีเกียรติของท่านอบู บักรฺว่า ท่านนั้นเป็นผู้ที่มีความประเสริฐที่สุดในประชาชาตินี้ถัดจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวกับนางอาอิชะฮฺในขณะที่ท่านป่วยใกล้จะสิ้นชีวิต ว่า
«ادْعِى لِى أَبَا بَكْرٍ، أبَاكِ وَأَخَاكِ حَتَّى أَكْتُبَ كِتَابًا، فَإِنِّي أَخَافُ أَنْ يَتَمَنَّى مُتَمَنٍّ وَيَقُولَ قَائِلٌ أَنَا أَوْلَى، وَيَأْبَى اللَّهُ وَالْمُؤْمِنُونَ إِلاَّ أَبَا بَكْرٍ» (رواه مسلم رقم 2387)
“จงเรียกอบู บักรฺ พ่อของเจ้า และเรียกพี่ชายของเจ้าให้มาหาฉัน ฉันจะเขียนข้อความสั่งเสียบางอย่าง เพราะแท้จริง ฉันกลัวว่าจะมีผู้ที่ปรารถนาจะเป็นผู้นำและกล่าวว่า ฉันนี่แหละที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำที่สุด แท้จริงอัลลอฮฺและผู้ศรัทธาจะไม่ยอมรับ(ว่าคู่ควรที่จะเป็นผู้นำ) นอกจากท่านอบู บักรฺ (ที่อัลลอฮฺและผู้ศรัทธาเห็นด้วย)” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2387)
บรรดานักวิชาการได้กล่าวถึงหะดีษนี้ว่า หะดีษนี้ยืนยันถึงความประเสริฐของอบู บักรฺ ท่านเป็นสหายที่ดีที่สุด เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดกับตำแหน่งผู้ปกครอง(เคาะลีฟะฮฺ) และเป็นบุคคลแรกสุดที่ควรได้รับตำแหน่งผู้นำของบรรดาผู้ศรัทธา
และอีกตัวบท คือหะดีษจากอบู สะอีด อัล-คุดรียฺ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَمَنَّ النَّاسِ عَلَىَّ فِى مَالِهِ وَصُحْبَتِهِ أَبُو بَكْرٍ، وَلَوْ كُنْتُ مُتَّخِذًا خَلِيلاً لاَتَّخَذْتُ أَبَا بَكْرٍ خَلِيلاً، وَلَكِنْ أُخُوَّةُ الإِسْلاَمِ، لاَ تُبْقَيَنَّ فِى الْمَسْجِدِ خَوْخَةٌ إِلاَّ خَوْخَةَ أَبِى بَكْرٍ» (رواه البخاري برقم : 3904، ومسلم برقم : 2382)
“แท้จริงบุคคลที่ดีเลิศสำหรับฉัน ทุ่มเททรัพย์สินทั้งหมดเพื่อแนวทางของฉัน และคอยอยู่เคียงข้างช่วยเหลือฉันเสมอก็คือ อบู บักรฺ และหากว่าฉันจะเลือกใครเป็นมิตรแท้ที่ฉันผูกขาดกับเขา ฉันก็จะขอเลือกอบู บักรฺ แต่ทว่า ความเป็นพี่น้องร่วมศาสนานั่นแน่นแฟ้นประเสริฐกว่า อย่าปล่อยให้มีประตูจากบ้านใดเชื่อมถึงมัสยิด ยกเว้นประตูจากบ้านของอบู บักรฺเท่านั้น” (รายงานโดยอัล-บุคอรียฺ หมายเลข 3904 และ มุสลิม 2382)
อีกหะดีษหนึ่ง จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا لِأَحَدٍ عِنْدَنَا يَدٌ إِلَّا وَقَدْ كَافَيْنَاهُ، مَا خَلَا أَبَا بَكْرٍ، فَإِنَّ لَهُ عِنْدَنَا يَدًا يُكَافِيهِ اللَّهُ بِهَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ، وَمَا نَفَعَنِي مَالُ أَحَدٍ قَطُّ مَا نَفَعَنِي مَالُ أَبِي بَكْرٍ، وَلَوْ كُنْتُ مُتَّخِذًا خَلِيلًا لَاتَّخَذْتُ أَبَا بَكْرٍ خَلِيلًا، أَلَا وَإِنَّ صَاحِبَكُمْ خَلِيلُ اللَّهِ» (رواه الترمذي برقم 3661، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن الترمذي برقم 3661)
“ไม่มีใครในหมู่พวกเราที่มีบุญคุณแก่เรา นอกเสียจากว่าเราได้ทดแทนบุญคุณนั้นแล้ว ยกเว้นอบู บักรฺ เท่านั้น แท้จริงแล้ว เขาคือผู้ที่มีบุญคุณแก่เรา ซึ่งอัลลอฮฺจะตอบแทนรางวัลแห่งความดีให้เขาในวันกิยามะฮฺ และไม่มีทรัพย์สินของผู้ใดที่เป็นประโยชน์กับฉันมากเท่ากับทรัพย์สินของอบู บักรฺ หากว่าจะให้ฉันเลือกใครเป็นมิตรแท้ฉันก็จะขอเลือกอบู บักรฺ เป็นมิตรแท้ผูกขาดสำหรับฉัน พึงทราบเถิดว่า สหายของพวกท่านคนนี้(คือตัวท่านนบีเอง)คือมิตรแท้ของอัลลอฮฺ(เคาะลีลุลลอฮฺ)” (รายงานโดย อัต-อัต-ติรมิซียฺ หมายเลข 3661)
ท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้บริจาคทรัพย์สินหลังจากรับอิสลามเป็นจำนวนถึง 40,000 ดิรฮัม และได้ไถ่ตัวทาสที่เป็นมุสลิมให้เป็นอิสระจำนวนมาก
หะดีษ จากอุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ نَتَصَدَّقَ، فَوَافَقَ ذَلِكَ عِنْدِي مَالًا، فَقُلْتُ : الْيَوْمَ أَسْبِقُ أَبَا بَكْرٍ إِنْ سَبَقْتُهُ يَوْمًا، قَالَ : فَجِئْتُ بِنِصْفِ مَالِي، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ «مَا أَبْقَيْتَ لِأَهْلِكَ؟» قُلْتُ : مِثْلَهُ. وَأَتَى أَبُو بَكْرٍ بِكُلِّ مَا عِنْدَهُ، فَقَالَ : «يَا أَبَا بَكْرٍ مَا أَبْقَيْتَ لِأَهْلِكَ؟»، قَالَ: أَبْقَيْتُ لَهُمْ اللَّهَ وَرَسُولَهُ. قُلْتُ : وَاللَّهِ لَا أَسْبِقُهُ إِلَى شَيْءٍ أَبَدًا. (رواه الترمذي برقم 3675، وقال هذا حديث حسن صحيح، وحسنه الألباني في صحيح وضعيف سنن الترمذي برقم 3675)
ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้ให้พวกเราบริจาคทรัพย์สิน และเผอิญว่าช่วงนั้นฉันมีทรัพย์สินอยู่พอดี ฉันได้กล่าวกับตัวเองว่า วันนี้แหละที่ฉันจะชนะอบู บักรฺ และฉันก็ได้บริจาคครึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่มีอยู่ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามว่า “เจ้ามีอะไรเหลือให้ครอบครัวหรือเปล่า?” ฉันตอบว่า “มีเหลือเท่ากับจำนวนที่บริจาคไป (เหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง)” และแล้วอบู บักรฺก็มาพร้อมกับทรัพย์สินทั้งหมดที่เขามีอยู่ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถามอบู บักรฺว่า “โอ้อบู บักรฺ เจ้ามีอะไรเหลือให้ครอบครัวบ้าง?” ท่านอบู บักรฺตอบว่า “ฉันเหลืออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ไว้ให้ครอบครัว” อุมัรจึงกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ฉันจะไม่แข่งขันเอาชนะกับอบู บักรฺไม่ว่าในเรื่องใดอีกต่อไป” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ หมายเลข 3675)
อีกหะดีษหนึ่งจากอบู สะอีด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«إِنَّ أَهْلَ الدَّرَجَاتِ الْعُلَى لَيَرَاهُمْ مَنْ تَحْتَهُمْ كَمَا تَرَوْنَ النَّجْمَ الطَّالِعَ فِي أُفُقِ السَّمَاءِ، وَإِنَّ أَبَا بَكْرٍ وَعُمَرَ مِنْهُمْ وَأَنْعَمَا» (رواه الترمذي برقم 3658، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن الترمذي برقم 3658)
“แท้จริงบรรดาผู้ที่มีเกียรติสูงส่งในสวรรค์นั้น ผู้คนระดับล่างจะมองเห็นพวกเขาเสมือนกับสภาพที่พวกท่านมองดูดวงดาวบนท้องฟ้า และแท้จริงอบู บักรฺและอุมัร ก็อยู่ในจำนวนคนที่สูงส่งเหล่านั้น เขาทั้งสองเป็นผู้ที่เหนือกว่าพิเศษกว่าคนเหล่านั้นอีกด้วย” (บันทึกโดยอัต-ติรมิซียฺ)
อีกหะดีษหนึ่ง จากอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงอบู บักรฺและอุมัรว่า
«هَذَانِ سَيِّدَا كُهُولِ أَهْلِ الْجَنَّةِ مِنْ الْأَوَّلِينَ وَالْآخِرِينَ، إِلَّا النَّبِيِّينَ وَالْمُرْسَلِينَ» (رواه الترمذي برقم 3664، وصححه الألباني في صحيح وضعيف سنن الترمذي برقم 3665)
“สองคนนี้คือ ผู้นำบรรดาชายฉกรรจ์แห่งชาวสวรรค์จากประชาชาติยุคแรกและยุคสุดท้าย ยกเว้นบรรดานบีและเราะสูล(ที่อยู่สูงกว่าระดับของทั้งสอง)” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซียฺ หมายเลข 3664)
ท่านอบู บักรฺ ได้รับหน้าที่เป็นผู้นำหลังจากการเสียชีวิตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยปกครองเป็นระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ชาวอาหรับหันเหออกจากศาสนาอิสลาม และเกิดสภาวะการกลับกลอกระส่ำระสาย ชาวอันศอรฺบางส่วนก็เอนเอียงไม่เข้าข้าง ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้อธิบายว่า “หากแม้ว่าภาระที่พ่อของฉันแบกรับอยู่นั้นถูกนำไปวางไว้บนเทือกเขาอันสูงตระหง่าน เเน่นอนมันต้องทำให้ภูเขาเหล่านั้นพังทลายลง” และท่านอบู บักรฺ เองก็ได้กล่าวคำประกาศที่เลื่องลือของท่านไว้ว่า
«واللهِ، لَأُقَاتِلَنَّ مَنْ فَرَّقَ بَيْنَ الصَّلَاةِ وَالزَّكَاةِ، فَإِنَّ الزَّكَاةَ حَقُّ الْمَالِ، وَاللَّهِ لَوْ مَنَعُونِي عِقَالًا كَانُوا يُؤَدُّونَهُ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، لَقَاتَلْتُهُمْ عَلَى مَنْعِهِ» (رواه البخاري برقم 7284، ومسلم برقم 133)
“ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ แน่นอนว่า ฉันจะต่อสู้กับกลุ่มชนที่แบ่งแยกระหว่างการละหมาดและการจ่ายซะกาต(ทานบังคับ) แท้จริงการจ่ายซะกาตนั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของทรัพย์สิน ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ หากพวกเขาปฏิเสธการจ่ายซะกาตกับฉัน ดังที่เคยจ่ายซะกาตตามคำสั่งของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาก่อนหน้า ถึงเเม้มันจะเป็นแค่ของที่เล็กน้อยเท่ากับเชือกผูกสัตว์ก็ตามที แน่นอน ฉันก็จะขอประกาศต่อกรกับพวกเขาด้วยเหตุที่พวกเขาปฏิเสธจะไม่จ่ายมัน”
บรรดานักวิชาการได้กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺทรงรักษาศาสนาอิสลามไว้ด้วยกับสองท่านนี้ คือ ท่านอบู บักรฺ ในสงครามกับผู้หันเหออกจากศาสนา(ริดดะฮฺ) และท่านอะหมัด บิน หันบัล ในการเผชิญหน้ากับความวุ่นวายที่ก่อขึ้นโดยพวกญะฮฺมียะฮฺ
ในสมัยท่านอบู บักรฺ ได้มีการรวบรวมอัลกุรอานขึ้น ท่านอะลี บิน อะบี ฏอลิบได้กล่าวว่า “บุคคลผู้ที่ได้รับผลบุญอันยิ่งใหญ่จากคัมภีร์อัลกุรอาน ก็คือ ท่านอบู บักรฺ”
อาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าถึงวาระสุดท้ายของชีวิตของท่านอบู บักรฺว่า “เริ่มแรกของการป่วยของท่านอบู บักรฺนั้น ท่านได้อาบน้ำได้วันจันทร์ ที่ 23 เดือนญุมาดัลอาคิเราะฮฺ และวันนั้นเป็นวันที่อากาศเย็น ต่อมาท่านได้ป่วย มีไข้อยู่ 15 วัน และไม่ได้ออกไปละหมาด บรรดามิตรสหายได้มาเยี่ยมท่าน และถามว่า “ให้พวกเราตามหมอมาดูอาการท่านไหม?” ท่านอบู บักรฺตอบว่า “เขาได้ดูอาการแล้ว” มิตรสหายของท่านถามกลับว่า “แล้วหมอว่าอย่างไรบ้าง?” ท่านอบู บักรฺตอบว่า “ฉันจะทำอย่างที่ฉันต้องการ”
อาอิชะฮฺ ได้กล่าวว่า เมื่อพ่อของฉันต้องทนทรมานจากอาการป่วยมากขึ้น ฉันก็ได้กล่าวบทกวีนี้
لعمرك ما يغني الثراء عن الفتى
إذا حشرجت يوما وضاق بها الصدر
ขอสาบานว่า ความร่ำรวยทรัพย์สินเงินทองหาได้ยังประโยชน์ไม่เมื่อวันที่ลมหายใจเฮือกสุดท้ายมาถึง และหน้าอกได้จุกแน่นจะสิ้นลม
ท่านอบู บักรฺได้ยินดังนั้นก็เปิดหน้าขึ้นมา และกล่าวแก่อาอิชะฮฺว่า หาใช่เช่นนั้น โอ้บุตรสาวของฉัน แต่จงกล่าวเถิดว่า
﴿وَجَآءَتۡ سَكۡرَةُ ٱلۡمَوۡتِ بِٱلۡحَقِّۖ ذَٰلِكَ مَا كُنتَ مِنۡهُ تَحِيدُ ١٩﴾ (ق : 19)
“และความทุกข์ยากแห่งความตายจะมาถึงด้วยความสัจจริงแน่นอน และนั่นคือสิ่งที่เจ้าเคยคิดหลีกหนีจากมัน” (กอฟ 19)
ท่านอบู บักรฺได้กล่าวต่อว่า “จงมองที่ผ้าสองชิ้นที่ฉันใส่อยู่นี่เถิด พวกเจ้าจงทำความสะอาดมัน และห่อศพของฉันด้วยผ้าสองผืนนี้ แท้จริงแล้วผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องการผ้าผืนใหม่มากกว่าผู้ที่เสียชีวิต” ท่านยังได้สั่งเสียให้ฝังศพของท่านใกล้กับหลุมศพของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเมื่อท่านอบู บักรฺได้เสียชีวิตลง ศพของท่านก็ถูกฝังโดยศีรษะของท่านอบู บักรฺวางอยู่บริเวณไหล่ของท่านเราะสูล และกำแพงหลุมศพของท่านก็อยู่ติดกันกับหลุมศพของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงโปรดปรานท่านอบู บักรฺ ขอให้ท่านได้กับการตอบแทนที่ดีจากสิ่งที่ท่านได้ทำเพื่ออิสลามและมุสลิมทั้งหลาย ขอให้พวกเขาได้ร่วมอยู่กับท่านอบู บักรฺในสถานที่อันทรงเกียรติ พร้อมกับบรรดานบี บรรดาผู้ดำรงซึ่งความสัจ บรรดาผู้เสียสละพลีชีพ และบรรดาคนดีทั้งหลาย
والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.