ว่าด้วยเรื่องขำขัน
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
ว่าด้วยเรื่องขำขัน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
2011 – 1432
﴿ النكت ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: صافي عثمان
2011 – 1432
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ว่าด้วยเรื่องขำขัน
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...
ส่วนหนึ่งจากเรื่องไม่ดีเป็นสิ่งที่น่าตำหนิซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลายในสังคมทุกวันนี้ คือ เรื่องขำขัน ลักษณะของเรื่องขำขันที่ว่านี้เป็นเรื่องเล่าที่โกหกขึ้นเพื่อให้คนอื่นได้หัวเราะ และเกิดความสนุกบันเทิงขึ้นในหัวใจ
ในหนังสือสุนันของอิมามอบู ดาวูด จากหะดีษ บะฮฺซุ บิน หะกีม รายงานจากบิดาของเขา รายงานจากปู่ของเขาว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«وَيْلٌ لِلَّذِي يُحَدِّثُ فَيَكْذِبُ لِيُضْحِكَ بِهِ الْقَوْمَ وَيْلٌ لَهُ وَيْلٌ لَهُ» (رواه أبو داود رقم 4990)
ความหมาย “ความหายนะจงประสบแด่ผู้ที่พูดโกหกเพื่อให้คนอื่นหัวเราะ ความหายนะจงประสบแด่เขา ความหายนะจงประสบแด่เขา” (สุนันอบูดาวูด 4/2197 หมายเลขหะดีษ 4990)
ส่วนหนึ่งของความเสื่อมเสียที่เกิดจากเรื่องขำขันมีดังนี้
ประการที่หนึ่ง เป็นการโกหก ถือว่าเป็นความเสื่อมเสียที่ยิ่งใหญ่สุด โดยที่พระองค์อัลลอฮฺทรงห้ามเรื่องนี้ด้วยกับโองการต่างๆ มากมาย พระองค์ตรัสว่า
﴿فَٱجۡتَنِبُواْ ٱلرِّجۡسَ مِنَ ٱلۡأَوۡثَٰنِ وَٱجۡتَنِبُواْ قَوۡلَ ٱلزُّورِ﴾ (الحج : 30)
ความหมาย “ดังนั้นพวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากความโสมม ซึ่งหมายถึงเจว็ดทั้งหลาย และจงออกห่างจากการกล่าวคำเท็จ” (อัล-หัจญ์ 22:30)
ในบันทึกของอิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«عَلَيْكُمْ بِالصِّدْقِ، فَإِنَّ الصِّدْقَ يَهْدِى إِلَى الْبِرِّ، وَإِنَّ الْبِرَّ يَهْدِى إِلَى الْجَنَّةِ، وَمَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَصْدُقُ وَيَتَحَرَّى الصِّدْقَ حَتَّى يُكْتَبَ عِنْدَ اللَّهِ صِدِّيقًا، وَإِيَّاكُمْ وَالْكَذِبَ، فَإِنَّ الْكَذِبَ يَهْدِى إِلَى الْفُجُورِ، وَإِنَّ الْفُجُورَ يَهْدِى إِلَى النَّارِ، وَمَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَكْذِبُ وَيَتَحَرَّى الْكَذِبَ حَتَّى يُكْتَبَ عِنْدَ اللَّهِ كَذَّابًا» (رواه البخاري رقم 6094، ومسلم رقم 2607)
ความหมาย “จำเป็นต่อพวกท่านต้องเป็นผู้สัจจริง แน่แท้ ความสัจจริงจะนำไปสู่ความดีงาม และความดีงามจะนำไปสู่สวนสวรรค์ คนผู้หนึ่งถ้ายังคงรักษาความสัจจริงและเพียรพยายามที่จะสัจจริงอยู่เสมอ เขาก็จะได้รับการบันทึก ณ พระองค์อัลลอฮฺว่าเป็นผู้ที่มีความสัจจริง และพวกท่านทั้งหลายพึงระวังการโกหก แน่แท้การโกหกจะนำไปสู่ความชั่วร้าย และความชั่วร้ายจะนำไปสู่ไฟนรก แท้จริงผู้ที่โกหกเป็นอาจิณและเพียรพยายามที่จะโกหกอยู่เสมอ เขาก็จะถูกบันทึกไว้ ณ พระองค์อัลลอฮ์ว่าเป็นจอมโกหก” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/409 หมายเลขหะดีษ 6094 และเศาะฮีหฺ มุสลิม 4/2013 หมายเลขหะดีษ 2607)
และในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ –ซึ่งเป็นหะดีษยาว- ส่วนหนึ่งจากหะดีษเกี่ยวกับการฝันเห็นของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
«أَتَانِي اللَّيْلَةَ آتِيَانِ وَإِنَّهُمَا ابْتَعَثَانِي، وَإِنَّهُمَا قَالَا لِي انْطَلِقْ، وَإِنِّي انْطَلَقْتُ مَعَهُمَا ... وإِنَّا أَتَيْنَا عَلَى رَجُلٍ مُسْتَلْقٍ لِقَفَاهُ وَإِذَا آخَرُ قَائِمٌ عَلَيْهِ بِكَلُّوبٍ مِنْ حَدِيدٍ، وَإِذَا هُوَ يَأْتِي أَحَدَ شِقَّيْ وَجْهِهِ فَيُشَرْشِرُ شِدْقَهُ إِلَى قَفَاهُ، وَمَنْخِرَهُ إِلَى قَفَاهُ، وَعَيْنَاهُ إِلَى قَفَاهُ، قَالَ: ثُمَّ يَتَحَوَّلُ إِلَى الْجَانِبِ الْآخَرِ فَيَفْعَلُ بِهِ مِثْلَ مَا فَعَلَ بِالْجَانِبِ الْأَوَّلِ، فَمَا يَفْرُغُ مِنْ ذَلِكَ الْجَانِبِ حَتَّى يَصِحَّ ذٰلِكَ الجَانِبُ كَمَا كَانَ، ثُمَّ يَعُودُ فَيَفْعَلُ بِهِ مِثْلَ مَا فَعَلَ بِهِ الْمَرَّةَ الْأُولَىٰ، قَالَ: قُلْتُ: سُبْحَانَ اللَّهِ مَا هَذَانِ ... قال: قالا: أَمَّا الرَّجُلُ الَّذِي أَتَيْتَ عَلَيْهِ يُشَرْشَرُ شِدْقُهُ إِلَى قَفَاهُ وَعَيْنَاهُ إِلَى قَفَاهُ وَمَنْخِرَهُ إِلَى قَفَاهُ فَإِنَّهُ الرَّجُلُ يَغْدُو مِنْ بَيْتِهِ فَيَكْذِبُ الْكَذِبَةَ تَبْلُغُ الْآفَاقَ» (رواه البخاري رقم 7047)
ความหมาย “เมื่อคืนได้มีผู้มาหาฉันสองคน และทั้งสองก็ได้ปลุกฉัน แล้วได้กล่าวกับฉันว่า จงไป และฉันก็ได้ไปพร้อมกับเขาทั้งสอง ... ต่อมาพวกเราได้มายังผู้ชายคนหนึ่งซึ่งกำลังนอนหงายอยู่ ในขณะที่หนึ่งจากสองคนนั้นมีคีมทำจากเหล็ก ดังนั้นเขาได้ตัดใบหน้าซีกหนึ่งของผู้ชายคนที่กำลังนอน และเขาได้ตัดแก้มจนถึงต้นคอ จากรูจมูกจนถึงต้นคอ และจากตาจนถึงต้นคอ จากนั้นก็เปลี่ยนไปยังใบหน้าอีกซีกหนึ่งซึ่งได้ทำเช่นเดียวกับที่ได้ทำซีกแรก ต่อมาก็กลับไปอยู่สภาพเดิม และเขาก็ได้ทำเหมือนกับที่ทำในครั้งแรก ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันได้กล่าวว่า มหาบริสุทธิ์ยิ่งจงมีแด่พระองค์อัลลอฮฺ ทั้งสองนี้เป็นใคร? ...ท่านนบีกล่าวว่า เขาทั้งสองได้ตอบว่า สำหรับคนที่ฉันได้ไปหาซึ่งเขาถูกตัดแก้มจนกระทั่งถึงต้นคอ จากรูจมูกจนถึงต้นคอ และจากตาจนถึงต้นคอนั้น แท้จริงเขาคือผู้ที่ออกจากบ้านแล้วโกหก จนเรื่องที่เขาโกหกนั้นได้กระจายไปทั่วแคว้น” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 4/310-311 หมายเลขหะดีษ 7047)
ในการพูดเรื่องขำขันนี้ หากมีเป้าหมายเพื่อเป็นการหยอกล้อ ปรากฏว่ามีหะดีษจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งบันทึกโดยอบู ดาวูด จากหะดีษอบู อุมามะฮฺ แท้จริงท่านนบีกล่าวว่า
«أَنَا زَعِيمٌ بِبَيْتٍ فِي رَبَضِ الْجَنَّةِ لِمَنْ تَرَكَ الْمِرَاءَ وَإِنْ كَانَ مُحِقًّا، وَبِبَيْتٍ فِي وَسَطِ الْجَنَّةِ لِمَنْ تَرَكَ الْكَذِبَ وَإِنْ كَانَ مَازِحًا، وَبِبَيْتٍ فِي أَعْلَى الْجَنَّةِ لِمَنْ حَسَّنَ خُلُقَهُ» (رواه أبو داود رقم 4800)
ความหมาย “ฉันจะเป็นผู้รับรองบ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่ขอบสุดของสวนสวรรค์สำหรับบุคคลที่ละทิ้งการหยอกล้อ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม และเป็นผู้รับรองบ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกลางสวนสวรรค์สำหรับบุคคลที่ละทิ้งการโกหก ถึงแม้ว่าจะเป็นการหยอกล้อก็ตาม และเป็นผู้รับรองบ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่สูงสุดของสวนสวรรค์สำหรับบุคคลที่ปรับปรุงนิสัยของเขาให้ดีงาม” (สุนันอบู ดาวูด 4/253 หมายเลขหะดีษ 4800)
ในหะดีษนี้ – วัลลอฮุ อะลัม (พระองค์อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่รู้ยิ่ง) – กรณีนี้เป็นกรณีของการหยอกล้อที่ไม่มีคำพูดที่หยาบคาย เปิดเผยความชั่ว ตีแผ่ความไม่ดี หรือไปทำลายเกียรติศักดิ์ศรีของมุสลิม แต่หากการหยอกล้อดังกล่าวมีสิ่งที่เป็นความชั่วหรือในทำนองเดียวกันนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นสิ่งต้องห้ามแน่นอน ดั่งหะดีษที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว
อิมามอะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
الكَذِبُ لَا يَصْلُحُ مِنْهُ جِدٌّ وَلَا هَزْلٌ
ความหมาย “การโกหกไม่เป็นการสมควรแต่อย่างใดไม่ว่าจะเป็นการตั้งใจจริงหรือเป็นการล้อเล่นก็ตาม”
อัซ-ซะฮะบีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
يُطْبَعُ الْمُسْلِمُ عَلَى الْخِصَالِ كُلِّهَا إِلَّا الْخِيَانَةِ وَالْكَذِبِ
ความหมาย “มุสลิมจะถูกประทับไว้ซึ่งคุณลักษณะต่างๆ ทั้งหมดยกเว้นการคดโกงและการโกหก”
ประการที่สอง บางส่วนของเรื่องขำขันนั้นปะปนคละเคล้าไปด้วยการล้อเล่นต่อศาสนาของอัลลอฮฺ หรือล้อเล่นต่อบรรดาผู้ศรัทธา ลักษณะเช่นนี้จะนำพาผู้ที่กระทำไปสู่การปฏิเสธ (กุฟรฺ) และหลุดออกนอกกรอบของศาสนาอิสลาม อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَلَئِن سَأَلۡتَهُمۡ لَيَقُولُنَّ إِنَّمَا كُنَّا نَخُوضُ وَنَلۡعَبُۚ قُلۡ أَبِٱللَّهِ وَءَايَٰتِهِۦ وَرَسُولِهِۦ كُنتُمۡ تَسۡتَهۡزِءُونَ 65 لَا تَعۡتَذِرُواْ قَدۡ كَفَرۡتُم بَعۡدَ إِيمَٰنِكُمۡۚ﴾ (التوبة : 65-66)
ความหมาย “และถ้าหากเจ้าได้ถามพวกเขา แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงพวกเราเป็นแต่พูดสนุกและพูดเล่นเท่านั้น จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮฺและโองการของพระองค์และเราะสูลของพระองค์กระนั้นหรือที่พวกท่านจะเย้ยหยัน พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธา หลังจากที่พวกท่านได้ศรัทธาแล้ว...” (อัต-เตาบะฮฺ 9:65-66)
และการล้อเล่นต่อศาสนาของอัลลอฮฺเป็นหนึ่งในสิบประการที่ทำให้คนผู้หนึ่งสูญเสียอิสลาม (นะวากิฎุลอิสลาม)
ชัยค์ สุลัยมาน บิน อับดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ กล่าวว่า “เป็นมติเอกฉันท์จากบรรดาปวงปราชญ์ (อุละมาอ์) เห็นว่าเป็นการปฏิเสธศรัทธาแล้ว สำหรับผู้ที่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากเรื่องดังต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งคือ การล้อเล่นต่ออัลลอฮฺ การล้อเล่นต่อคัมภีร์ของพระองค์ หรือการล้อเล่นต่อเราะสูลของพระองค์ ถือว่าเขาได้ปฏิเสธถึงแม้ว่าเป็นการล้อเล่นโดยไม่ได้มีเป้าหมายว่าเป็นการล้อเล่นอย่างจริงจังก็ตามที” (ตัยสีร อัล-อะซีซ อัล-หะมีด หน้าที่ 617)
ชัยคุล อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “การล้อเล่นต่อพระองค์อัลลอฮฺ ต่อโองการต่างๆ ของพระองค์ และต่อเราะสูลของพระองค์ เป็นการปฏิเสธ (กุฟรฺ) ผู้ที่กระทำถือว่าได้ปฏิเสธหลังจากที่เขาได้ศรัทธา” (อัล-ฟะตาวา 7/273)
ประการที่สาม เรื่องขำขันจะนำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا يَسۡخَرۡ قَوۡمٞ مِّن قَوۡمٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُونُواْ خَيۡرٗا مِّنۡهُمۡ وَلَا نِسَآءٞ مِّن نِّسَآءٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُنَّ خَيۡرٗا مِّنۡهُنَّۖ وَلَا تَلۡمِزُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَلَا تَنَابَزُواْ بِٱلۡأَلۡقَٰبِۖ بِئۡسَ ٱلِٱسۡمُ ٱلۡفُسُوقُ بَعۡدَ ٱلۡإِيمَٰنِۚ وَمَن لَّمۡ يَتُبۡ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلظَّٰلِمُونَ﴾ (الحجرات : 11)
ความหมาย “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยอะเย้ยนั้นอาจจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีสตรีที่ถูกเยาะเย้ยอาจจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ ช่างเลวทรามจริงๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาเรียกว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิด ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้อธรรม” (อัล-หุญุรอต 49:11)
มีบันทึกของมุสลิม จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«الْمُسْلِمُ أَخُو الْمُسْلِمِ، لاَ يَظْلِمُهُ وَلاَ يَخْذُلُهُ وَلاَ يَحْقِرُهُ. التَّقْوَى هَا هُنَا - وَيُشِيرُ إِلَى صَدْرِهِ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ - بِحَسْبِ امْرِئٍ مِنَ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاهُ الْمُسْلِمَ، كُلُّ الْمُسْلِمِ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ» (رواه مسلم رقم 2564)
ความหมาย “มุสลิมคือพี่น้องของมุสลิม เขาจะไม่อธรรม ไม่ทอดทิ้ง และไม่ดูถูกพี่น้องของเขา การยำเกรง (ตักวา) อยู่ตรงนี้ – และท่านก็ชี้ไปที่อกของท่านสามครั้ง- เป็นที่เพียงพอแล้วสำหรับความชั่วแก่คนๆ หนึ่ง สำหรับการที่เขาดูถูกพี่น้องของเขา มุสลิมทุกคนเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) แก่มุสลิมด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเลือดเนื้อ ทรัพย์สมบัติ และเกียรติศักดิ์ศรีของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม 4/1986 หมายเลขหะดีษ 2564)
ประการที่สี่ สูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ โดยเรื่องของเวลาบ่าวจะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺ มีหะดีษปรากฏในหนังสือสุนัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ จากอบู บัรซะฮฺ อัล-อัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«لَا تَزُولُ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ عُمُرِهِ فِيمَا أَفْنَاهُ، وَعَنْ عِلْمِهِ فِيمَ فَعَلَ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيمَ أَنْفَقَهُ» (رواه الترمذي رقم 2417)
ความหมาย “ในวันกิยามะฮฺเท้าของบ่าวจะยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย จนกว่าเขาจะถูกสอบถามถึงว่า อายุขัยของเขาถูกใช้ให้หมดไปอย่างไร? ความรู้ของเขาได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร? ทรัพย์สินของเขาหามาจากที่ใด? และได้ใช้จ่ายไปในหนทางใด?” (อัต-ติรมิซีย์ 4/612 หมายเลขหะดีษ 2417)
และมีบันทึกในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِيهِمَا كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ الصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ» (رواه البخاري رقم 6412)
ความว่า “ความโปรดปราน (นิอฺมะฮฺ) สองประการที่มนุษย์ส่วนมากมักจะขาดทุน(เพราะเผลอเรอ ปล่อยปละละเลย และใช้ไม่คุ้มค่า) กล่าวคือ การมีสุขภาพดีและการมีเวลาว่าง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 4/175 หมายเลขหะดีษ 6412)
ประการที่ห้า บางส่วนของเรื่องขำขันจะประกอบไปด้วยคำพูดที่ไร้สาระ ใช้วาจาหยาบโลน เรื่องเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ศรัทธา ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะเป็นผู้พูดหรือเป็นผู้ฟังก็ตาม อัลลอฮฺ ตะอะลา ตรัสว่า
﴿وَإِذَا مَرُّواْ بِٱللَّغۡوِ مَرُّواْ كِرَامٗا﴾ (الفرقان : 72)
ความหมาย “และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ” (อัล-ฟุรกอน 25:72)
มีนักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้ให้ความหมายของคำว่า สิ่งไร้สาระ หมายถึง การโกหก
และอัลลอฮ ตะอะลา ตรัสอีกว่า
﴿وَٱلَّذِينَ هُمۡ عَنِ ٱللَّغۡوِ مُعۡرِضُونَ﴾ (المؤمنون : 3)
ความหมาย “และบรรดาผู้ซึ่งพวกเขาผินหลังให้จากบรรดาเรื่องไร้สาระ” (อัล-มุอ์มินูน 23:3)
มีบันทึกในเศาะฮีหฺของอิมามอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากหะดีษอับดุลลอฮฺ บิน อัมรู บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา กล่าวว่า
لَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَاحِشًا وَلاَ مُتَفَحِّشًا، وَقَالَ: «إِنَّ مِنْ خْيَارِكُمْ أَحْسَنَكُمْ أخلاقا» (رواه البخاري رقم 3559، ومسلم رقم 2321)
ความหมาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยเป็นคนหยาบกระด้างและไม่เคยเป็นคนที่พูดจาหยาบคาย และท่านกล่าวได้ว่า “แท้จริงผู้ที่ดีที่สุดในกลุ่มพวกท่าน คือ ผู้ที่มีจรรยามารยาทดีที่สุด” (อัล-บุคอรีย์ 2/518 หมายเลขหะดีษ 3559 และมุสลิม 4/181 หมายเลขหะดีษ 2321)
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล การเศาะละวาตและความศานติจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงบรรดาวงศาคณาญาติ และบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมดด้วยเทอญ