บทลงโทษของการเสพสุรา
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
บทลงโทษของการเสพสุรา
﴿حد الخمر﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿حد الخمر﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبو بكر
مراجعة: عصران إبراهيم
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทลงโทษของการเสพสุรา
สุรา หมายถึง ทุกสิ่งที่ทำให้สติปัญญามึนเมาและหลงลืม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มชนิดใด
ทุกสิ่งที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมาไม่ว่าปริมาณมากหรือน้อย ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)
عن عائشة رضي الله عنها قالت: سئل رسول الله ﷺ عن البِتْعِ -وهو شـراب العسـل- فقال رسول الله ﷺ: «كُلُّ شَرَابٍ أَسْكَرَ فَهُوَ حَرَامٌ». متفق عليه
ความหมาย จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามถึงเรื่องอัลบิตอิ – เครื่องดื่มจากน้ำผึ้ง - ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ทุกสิ่งที่ดื่มแล้วมึนเมา สิ่งนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม)" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 5586 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2001)
วิทยปัญญาในการห้ามเสพสุรา
สุราเป็นปฐมบทของความชั่วร้าย เป็นที่ต้องห้ามในการที่จะไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะด้วยกับกรณีอันใด การดื่ม การขาย การซื้อ การผลิต การให้บริการที่นำไปสู่การดื่ม ผู้ที่ดื่มมันจะทำให้ลืมสติดังนั้นมันจะส่งผลอันตรายต่อร่างกาย จิตวิญญาณ ทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน เกียรติภูมิ ปัจเจกบุคคล และรวมถึงสังคม และมันจะเพิ่มให้เกิดโรคความดันโลหิต เป็นสาเหตุให้ตัวเขาและลูกมีปัญหาทางสมอง สติฟั่นเฟือน อัมพาต และเป็นเหตุนำไปสู่การก่ออาชญากรรม
สิ่งมึนเมาทำให้เกิดความเอร็ดอร่อยและมีพลังเพิ่มขึ้น พร้อมกันนั้นทำให้สติปัญญาไม่สามารถแยกแยะได้ ผู้ที่ดื่มไม่รับรู้ในสิ่งที่พูด ด้วยเหตุผลดังกล่าวอิสลามจึงห้ามและมีบทลงโทษเพื่อสกัดกั้นผู้ที่จะไปเกี่ยวข้องพัวพัน
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ) [المائدة/90-91]
ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงสุรา การพนัน แท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดมาจากชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ แท้จริงชัยฏอนต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนันเท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺและการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติไหม" (อัลมาอิดะฮฺ / 90-91)
عن أبي هريرة رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ الله ﷺ قَالَ: «لا يَزْنِي الزَّانِي حِينَ يَزْنِي وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلا يَشْرَبُ الخَـمْرَ حِينَ يَشْرَبُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلا يَسْرِقُ حِينَ يَسْرِقُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلا يَنْتَـهِبُ نُـهْبَةً يَرْفَعُ النَّاسُ إلَيْـهِ فِيهَا أَبْصَارَهُـمْ وَهُوَ مُؤْمِنٌ». متفق عليه
2. ความหมาย จากอบีอุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ทำซินา (ผิดประเวณี) จะไม่ทำซินาขณะที่ทำซินาเขาอยู่ในสภาพที่เป็นมุมิน เขาจะไม่ดื่มสุราขณะที่ดื่มสุราเขาอยู่ในสภาพที่เป็นมุมิน เขาจะไม่ขโมยขณะที่ขโมยเขาอยู่ในสภาพที่เป็นมุมิน และเขาจะไม่ปล้นชิงทรัพย์สินผู้อื่นโดยที่ผู้คนยืนมองเขาในสภาพที่เขาเป็นมุมิน" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6772 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 57)
หลักฐานยืนยันกำหนดโทษการเสพสุรา
ยืนยันการกำหนดบทลงโทษในการเสพสุราด้วยกับ2 ประการ ต่อไปนี้
1. ผู้ดื่มยอมรับว่าเขาเป็นผู้ดื่มสุรา
2. มีพยานผู้ชายที่มีความเที่ยงธรรมมายืนยัน 2 คน
บทลงโทษของผู้ที่ดื่มสุรา
1. เมื่อมุสลิมได้ดื่มสุราด้วยความสมัครใจ และรู้ว่าหากดื่มมันในปริมาณมากจะทำให้มึนเมา เขาจะถูกลงโทษโดยการโบยจำนวน 40 ครั้ง และสำหรับความเห็นของผู้นำ (อิมาม) สามารถเพิ่มให้หนักยิ่งขึ้นโดยการเฆี่ยนตีจำนวน 80 ครั้งเป็นการตักเตือน หากเขาเห็นว่าบุคคลนั้นจมปลักอยู่กับการดื่ม
2. ผู้ที่ดื่มสุราครั้งแรกให้โบยตามบทลงโทษของการดื่มสุรา หากดื่มครั้งที่สองก็ให้โบย หากดื่มครั้งที่สามก็ให้โบย และหากดื่มครั้งที่สี่ให้ผู้นำลงโทษโดยการกักขังหรือประหารชีวิตเป็นการตักเตือน เพื่อเป็นการปกป้องปวงบ่าวที่เหลือและสกัดความเสื่อมเสียที่จะติดตามมา
3. ผู้ที่ได้ดื่มสุราแล้วในโลกดุนยาแล้วเขาไม่ได้เตาบะฮฺต่ออัลลอฮฺ(สารภาพผิดและกลับตัว) ในโลกอาคิเราะฮฺเขาจะไม่ได้ดื่มอีกถึงแม้ว่าเขาจะได้เข้าสวนสวรรค์ก็ตาม ผู้ที่เสพติดสุราจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ ผู้ที่ดื่มสุราแล้วมึนเมาการละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นระยะเวลา 40 วัน หากเขาเสียชีวิตลงจะได้เข้านรก หากเขาเตาบะฮฺ (สารภาพผิด) อัลลอฮฺก็จะทรงรับการเตาบะฮฺของเขา และผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะให้เขาดื่มน้ำผลไม้คั้นของชาวนรก
عَنْ جابر رضي الله عنه: أَنَّ رَجُلًا قَدِمَ مِنْ جَيْشَانَ وَجَيْشَانُ مِنْ الْيَمَنِ فَسَأَلَ النَّبِيَّ ﷺ عَنْ شَرَابٍ يَشْرَبُونَهُ بِأَرْضِهِمْ مِنْ الذُّرَةِ يُقَالُ لَهُ الْمِزْرُ، فَقَالَ النَّبِيُّ ﷺ: «أَوَمُسْكِرٌ هُوَ؟» قَالَ: نَعَمْ. قَالَ رَسُولُ الله ﷺ: «كُلُّ مُسْكِرٍ حَرَامٌ، إِنَّ عَلَـى الله عَزَّ وَجَلَّ عَهْدًا لِـمَنْ يَشْرَبُ الْـمُسْكِرَ أَنْ يَسْقِيَهُ مِنْ طِينَةِ الْـخَبَالِ» قَالُوا: يَا رَسُولَ الله! وَمَا طِينَةُ الْخَبَالِ؟ قَالَ: «عَرَقُ أَهْلِ النَّارِ، أَوْ عُصَارَةُ أَهْلِ النَّارِ». رواه مسلم
1. ความหมาย จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงมีชายคนหนึ่งได้เดินทางมาจากญัยชานเป็นสถานที่หนึ่งซึ่งอยู่ในประเทศเยเมน แล้วเขาได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงเครื่องดื่มที่ชาวเมืองของพวกเขาดื่มกันทำมาจากข้าวโพดมีชื่อเรียกว่าอัลมิซรู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถามว่า “มันทำให้มึนเมาหรือไม่?" เขาตอบว่า ใช่ มันทำให้เมาได้ ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ตอบว่า “ทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมาถือว่าหะรอม แท้จริงอัลลอฮฺอัซซาวะญัลลาได้สัญญากับผู้ที่ดื่มสิ่งมึนเมาจะให้เขาดื่มฏีนะฮฺ อัลเคาะบาล พวกเขาถามว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺดื่มฏีนะฮฺ อัลเคาะบาลคืออะไร? ท่านตอบว่า เป็นเหงื่อของชาวนรกหรือน้ำผลไม้คั้นของชาวนรก" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2002)
عن ابن عمر رضي الله عنهما أَنَّ رَسُولَ الله ﷺقَالَ: «مَنْ شَرِبَ الْـخَمْرَ فِي الدُّنْيَا ثُمَّ لَمْ يَتُبْ مِنْهَا، حُرِمَهَا فِي الآخِرَةِ». متفق عليه
2. ความหมาย จากอิบนิอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ดื่มสุราในโลกดุนยาแล้วเขาไม่ได้เตาบะฮฺ (สารภาพผิด) เขาจะถูกห้ามไม่ให้ดื่มในโลกอาคิเราะฮฺ" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 5575 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2003)
เป็นที่อนุญาตให้แก่ผู้นำตักเตือนโดยการทำลายข้าวของหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุรา เผาแหล่งมั่วสุมของผู้ที่ดื่มสุรา โดยพิจารณาขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่เขาเห็นว่าเหมาะสมเป็นการสกัดกั้นและเป็นการเตือนผู้ที่ดื่มมัน
บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องยาเสพติด
ยาเสพติด คือ มวลสารที่เป็นตัวมาทำลายร่างกาย เสพติด และทำให้ร่างกายและสมองอ่อนเพลีย
ยาเสพติด เป็นโรคร้าย เป็นแหล่งที่มาของโรค เป็นสาเหตุของความชั่วร้ายและโรคภัยนานาชนิด
เป็นที่ต้องห้ามมิให้มีการยุ่งเกี่ยวไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามเข้าแหล่งมั่วสุม เกี่ยวข้อง หรือทำธุรกิจการค้า สำหรับผู้นำหากมีการกระทำตามที่กล่าวมาข้างต้นมีบทลงโทษตามที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ อาทิ การประหารชีวิต โบยตี กักขัง หรือปรับเป็นเงิน เพื่อเป็นการสกัดกั้นความชั่วร้ายเสื่อมเสียที่จะตามมาและเป็นการปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน เกียรติยศ และสติปัญญา
บทลงโทษของผู้เกี่ยวข้องยาเสพติด
เนื่องจากยาเสพติดมีอันตรายอย่างใหญ่หลวงและโทษของมันมหันต์ บรรดาอุละมาอฺอาวุโสบางท่านได้ให้คำชี้ขาด (ฟัตวา) ดังต่อไปนี้
1. ผู้ให้สถานที่สำหรับหลบหนียาเสพติดโทษคือประหารชีวิต เนื่องจากโทษและอันตรายของมันมีอย่างมหันต์
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าจะด้วยการขาย การซื้อ การผลิต การส่งออก หรือการมอบให้เป็นของกำนัล หากเป็นการกระทำครั้งแรกให้ตักเตือนสถานหนักโดยการกักขัง โบยตี ปรับเงิน หรือด้วยกับวิธีหนึ่งวิธีใดที่ผู้ปกครอง (ฮากิม) เห็นว่าเหมาะสม
หากเขากระทำอยู่เป็นประจำให้ตักเตือนเพื่อเป็นการสกัดกั้นความชั่วร้ายของมันที่จะเกิดขึ้นกับประชาชาตินี้ถึงแม้ว่าจะต้องประหารชีวิตก็ตาม เพราะว่าการที่เขากระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งจากการสร้างความเสื่อมเสียบนผืนพิภพ
บทบัญญัติว่าด้วยสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย (อัลมุฟัตติรอต)
อัลมุฟัตติรอต (สิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย) คือ ทุกสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลียขึ้นในร่างกายและเป็นสิ่งที่เสพติด
อัลมุฟัตติรอต เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนล้าและเป็นสิ่งเสพติดต่อร่างกาย เช่น บุหรี่บาระกู่ อัลคอต (ใบไม้ชนิดหนึ่งประเภทเดียวกับใบกระท่อมซึ่งมีอย่างแพร่หลายในประเทศเยเมน – ผู้แปล) และอื่นๆ ที่โทษของมันไม่ถึงขั้นมึนเมา ไม่ทำให้ลืมสติ ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามและไม่อนุญาตให้ไปยุ่งเกี่ยวเนื่องจากมันส่งผลอันตรายต่อด้านศาสนา สุขภาพ ร่างกาย ทรัพย์สิน และสติปัญญา
บทลงโทษของผู้ที่ยุ่งเกี่ยวอัลมุฟัตติรอต ลงโทษโดยการกล่าวตักเตือนขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง (ฮากิม) เห็นว่าจะบรรลุถึงความดีงามตามความเหมาะสม