×
อธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์

    ความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

    [ ไทย ]

    فضل الذكر

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: อันวา สะอุ

    ترجمة: أنور إسماعيل

    ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    ความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกรฺ)

    ความประเสริฐของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

    1. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลาได้ตรัสว่า

    ﭽ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﭼ

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของตัวเองสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงทราบเถิด ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้น ทำให้จิตใจสงบ” (อัรฺรออฺดุ : 28)

    2. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

    «يَـقُولُ الله تَعَالَى: أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي، وَأَنَا مَعَهُ إذَا ذَكَرَنِي، فَإنْ ذَكَرَنِي فِي نَفْسِهِ ذَكَرْتُـهُ فِي نَفْسِي، وَإنْ ذَكَرَنِي فِي مَلأٍ ذَكَرْتُـه فِي مَلأٍ خَيْرٍ مِنْـهُـمْ، وَإنْ تَقَرَّبَ إلَيَّ بِشِبْرٍ تَقَرَّبْتُ إلَيهِ ذِرَاعاً، وَإنْ تَقَرَّبَ إلَيَّ ذِرَاعاً تَقَرَّبْتُ إلَيهِ بَاعاً، وَإنْ أَتَانِي يَـمْشِي أَتَيْتُـهُ هَرْوَلَةً».

    ความว่า : อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า “ข้าอยู่กับความนึกคิดคะเนของบ่าวที่มีต่อข้า และข้าอยู่กับเขาเมื่อเขารำลึกถึงฉัน เมื่อใดที่เขารำลึกถึงฉันในจิตใจของเขา ข้าก็จะรำลึกถึงเขาในตัวข้า และเมื่อเขากล่าวถึงข้าแก่ผู้ที่มีตำแหน่งที่สูงส่ง ข้าก็จะกล่าวเอ่ยถึงเขาแก่ผู้ที่มีตำแหน่งสูงส่งยิ่งกว่า และหากแม้นว่า เขาเข้าใกล้ข้ามาคืบหนึ่ง แน่นอนข้าจะเข้าใกล้เขาศอกหนึ่ง และหากเขาเข้าใกล้ข้ามาศอกหนึ่ง ข้าก็จะเข้าใกล้เขาวาหนึ่งและถ้าเขาเข้ามาหาข้าด้วยการเดิน ข้าก็จะเข้าใกล้เขาด้วยการวิ่ง” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 7405 และมุสลิม หะดีษที่ 2675 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)

    3. จากอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า

    «مَثَلُ الَّذِي يَذْكُرُ رَبَّهُ وَالَّذِي لا يَذْكُرُ رَبَّهُ مَثَلُ الحَيِّ وَالمَيِّتِ».

    ความว่า “ผู้รำลึกถึงพระเจ้าของเขากับผู้ที่ไม่รำลึกถึงพระเจ้าเปรียบเสมือนหนึ่งคนที่มีชีวิตกับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 6407)

    ความประเสริฐในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ คิดใคร่ครวญในเรื่องอาคิเราะฮฺอยู่อย่างสม่ำเสมอ และอนุญาตละทิ้งในสิ่งนั้นในบางครั้งบางคราว

    จากอัลหันซอละฮฺ อัลอุสัยดีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า

    فانطلقت أنا وأبو بكر حتى دخلنا على رسول الله ﷺ‬، قلت: نافق حنظلة يا رسول الله، فقال رسول الله ﷺ‬: «وَمَا ذَاكَ؟»، قلت يا رسول الله نكون عندك تُذَكِّرنا بالنار والجنة حتى كأنَّا رأي عين، فإذا خرجنا من عندك عَافَسْنا الأزواج والأولاد والضَّيْـعات فنسينا كثيراً.

    فقال رسول الله ﷺ‬: «وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، إِنْ لَوْ تَدُومُونَ عَلَى مَا تَـكُونُونَ عِنْدِي وَفِي الذِّكْرِ، لَصَافَحَتْكُمُ الملائِكَةُ عَلَى فُرُشِكُمْ، وَفِي طُرُقِكُمْ، وَلَكِنْ يَا حَنْظَلَةُ سَاعَةً وَسَاعَةً» ثلاث مرات.

    ความว่า “ฉันและอะบูบักรฺได้เดินออกไปจนเข้าไปหาท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม พลางฉันกล่าวขึ้นว่า : โอ้ท่ารอซูล หันเซาะละฮฺได้กลับไปอยู่ในสภาพมุนาฟิกฺ(ผู้กลับกลอก)แล้ว ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมจึงกล่าวขึ้นว่า “ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นละ” ฉันจึงตอบว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ในขณะที่พวกเราอยู่ร่วมกับท่านนั้นท่านก็ได้ให้พวกเราตระหนักถึงถึงนรกและสวรรค์จนรู้สึกประหนึ่งเห็นกับตา แต่เมื่อเราออกไปจากท่านแล้วมาอยู่ร่วมกับภรรยา ลูกๆ และการงานต่างๆ ทำให้เราลืมสิ่งเหล่านั้นไปมากมาย

    ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมจึงได้กล่าวขึ้นว่า “ฉันสาบานด้วยชีวิตของฉันที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากท่านดำรงตนอยู่เช่นภาวะที่ฉันตักเตือนอย่างต่อเนื่องและในยามรำลึกถึงอัลลอฮฺแล้วไซร้ แน่นอนมลาอิกะฮฺจะจับมือท่านไม่ว่าเป็นเวลานอน หรือเมื่อท่านเดินทางอยู่ในท้องถนน แต่หันซอละฮฺเอ๋ย ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว (คือเป็นเรื่องปกติที่จะรำลึกตนได้บ้าง และเผลอลืมไปบ้างในบางเวลา-บรรณาธิการ)" ท่านนบีกล่าวเช่นนี้ถึงสามครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 2750 )