×
จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 18 - ความเป็นมาของการละหมาดตะรอวีหฺ พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

 ความเป็นมาของละหมาดตะรอวีหฺ

 ﴿مشروعية صلاة التراويح﴾

]  ไทย – Thai – تايلاندي [

อาหมัด อัลฟารีตีย์

แปลโดย : ฮาเรส เจ๊ะโด

ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

ที่มา : หนังสือ 40 หะดีษเราะมะฎอน

2010 - 1431

 ﴿مشروعية صلاة التراويح﴾

« باللغة التايلاندية »

أحمد حسين الفاريتي

ترجمة: حارث جيء دو

مراجعة: صافي عثمان

المصدر: كتاب  40 حديث رمضان

2010 - 1431


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

หะดีษบทที่ 18

ความเป็นมาของละหมาดตะรอวีหฺ

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا  قَالَتْ : أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَرَجَ مِنْ جَوْفِ اللَّيْلِ فَصَلَّى فِي الْمَسْجِدِ، فَصَلَّى رِجَالٌ بِصَلاَتِهِ، فَأَصْبَحَ النَّاسُ يَتَحَدَّثُونَ بِذَلِكَ فَاجْتَمَعَ أَكْثَرُ مِنْهُمْ، فَخَرَجَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي اللَّيْلَةِ الثَّانِيَةِ فَصَلَّوْا بِصَلاَتِهِ، فَأَصْبَحَ النَّاسُ يَذْكُرُونَ ذَلِكَ، فَكَثُرَ أَهْلُ الْمَسْجِدِ مِنَ اللَّيْلَةِ الثَّالِثَةِ، فَخَرَجَ فَصَلَّوْا بِصَلاَتِهِ، فَلَمَّا كَانَتِ اللَّيْلَةُ الرَّابِعَةُ عَجَزَ الْمَسْجِدُ عَنْ أَهْلِهِ، فَلَمْ يَخْرُجْ إِلَيْهِمْ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَطَفِقَ رِجَالٌ مِنْهُمْ يَقُولُونَ : الصَّلاةَ، فَلَمْ يَخْرُجْ إِلَيْهِمْ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، حَتَّى خَرَجَ لِصَلاَةِ الْفَجْرِ، فَلَمَّا قَضَى الْفَجْرَ أَقْبَلَ عَلَى النَّاسِ ثُمَّ تَشَهَّدَ، فَقَالَ : «أَمَّا بَعْدُ، فَإِنَّهُ لَمْ يَخْفَ عَلَيَّ شَأْنُكُمْ اللَّيْلَةَ، وَلَكِنِّيْ خَشِيْتُ أَنْ تُفْرَضَ عَلَيْكُمْ صَلاَةُ اللَّيْلِ فَتَعْجِزُوا عَنْهَا»(مسلم رقم 1271)

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกไปยังมัสญิดในเวลาดึก(ของเดือนเราะมะฎอน)แล้วทำการละหมาด และได้มีผู้ชายบางคนละหมาดพร้อมท่าน เรื่องที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นที่โจษขานกันในหมู่ผู้คน จนกระทั่งมีคนมาละหมาดกับท่านรอซูลมากขึ้น คืนที่สองท่านรอซูลได้ออกไปละหมาดอีก ได้มีผู้คนมาละหมาดกับท่านมากขึ้นอีก และพวกเขาก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ในเวลารุ่งขึ้น เมื่อถึงคืนที่สามท่านรอซูลได้ออกไปละหมาดอีกและมีผู้คนมาละหมาดกับท่านเหมือนเดิม พอถึงคืนที่สี่มัสญิดก็เต็มจนไม่สามารถจุผู้คนที่มีจำนวนเยอะได้ ท่านรอซูลไม่ได้ออกมาในคืนนี้ ผู้ชายบางคนจึงได้กล่าวว่า “อัศ-ศอลาฮฺ(มาละหมาดกันเถิด)  ท่านรอซูลยังคงไม่ได้ออกไปจนกระทั่งถึงรุ่งเช้า ท่านจึงออกไปละหมาดฟัจรฺ(ละหมาดศุบหฺ) เมื่อท่านละหมาดเสร็จ ท่านได้หันหน้าเข้าหาบรรดาผู้ที่ร่วมละหมาด ท่านกล่าวคำเริ่มต้นเพื่อให้โอวาท และได้ให้เทศนาว่า “เอาล่ะ แท้จริงแล้ว เรื่องราวของพวกท่าน(การรวมตัวกันเพื่อละหมาด)เมื่อคืนนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ปกปิดสำหรับฉันแต่อย่างใด(คือท่านรอซูลรู้เห็นการรวมตัวของเศาะหาบะฮฺ) หากแต่ฉันกลัวว่า(ถ้าฉันออกมาละหมาดกับพวกท่านอีก)การละหมาดในยามค่ำคืนจะถูกบัญญัติให้เป็นภารกิจบังคับแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็จะอ่อนแรงที่จะปฏิบัติมัน”  (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 1271)

  

 บทเรียนจากหะดีษ

1.      ส่งเสริมให้มีการละหมาดกิยามุลลัยลฺหรือละหมาดตะรอวีหฺในเดือนเราะมะฎอน เพราะในการละหมาดตะรอวีหฺมีความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่มาก

2.      ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในฐานะเป็นผู้นำของประชาชาติมุสลิม ท่านเองได้ประกอบการละหมาดตะรอวีหฺในเดือนเราะมะฎอน

3.      ชี้ให้เห็นถึงความจริงจังของบรรดาเศาะหาบะฮฺ และความตั้งใจในการปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺตามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

4.      ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความโอบอ้อมอารีต่อประชาชาติของท่าน