×
ถาม เมื่อท่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องของหะดีษอบู มูซา ที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะสอดส่องดูปวงบ่าวในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน และจะทรงอภัยโทษให้กับบ่าวทั้งหมด นอกจากมุชริกผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ และผู้ที่ตั้งตนเป็นศัตรูกัน” ท่านได้ตอบคำถามนั้น –ขออัลลอฮฺประทานบะเราะกะฮฺแก่ท่าน- แต่ท่านไม่ได้ระบุว่าหะดีษนี้ อัล-อัลบานีย์ ได้ตัดสินว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ –เช่นที่ฉันได้อ่านมันในเว็บบางแห่ง- และฉันก็มีความเชื่อมั่นอย่างสูงต่อท่านมากกว่าเว็บอื่นๆ ด้วยมาตรฐานและความรับผิดชอบทางด้านวิชาการของท่าน คำถามของฉันก็คือ จริงหรือไม่ที่เชค อัล-อัลบานีย์ได้ตัดสินว่าหะดีษนี้เศาะฮีหฺ? เพราะท่านได้กล่าวถึงความเห็นของอัล-อัลบานีย์ในฟัตวาของท่านหลายครั้ง แล้วเหตุใดท่านจึงไม่กล่าวถึงความเห็นเช่นเดียวกันนั้นตรงนี้บ้าง? หรือว่าอัล-อัลบานีย์ไม่ได้กล่าวถึงมันไว้แต่แรก? หรือว่าสิ่งที่อยู่ในเว็บเหล่านั้นไม่เป็นความจริง? หรือเพราะเหตุใดกันแน่? และขอเรียนว่า การตัดสินว่าหะดีษนี้เศาะฮีหฺปรากฏอยู่ใน “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ หมายเลข 1819” ขออัลลอฮฺประทานบุญคุณความดีแก่ท่าน

    ทำไมเราไม่กล่าวถึงการตัดสินของอัล-อัลบานีย์ว่าหะดีษ นิศฟูชะอฺบาน เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ?

    ﴿لماذا لم نذكر تصحيح الشيخ الألباني لحديث فضل النصف من شعبان﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    เว็บอิสลามถามตอบ

    แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ผู้ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทย เว็บอิสลามเฮ้าส์

    ที่มา : เว็บอิสลามถามตอบ www.islamqa.com

    2010 - 1431

    ﴿لماذا لم نذكر تصحيح الشيخ الألباني لحديث فضل النصف من شعبان﴾

    « باللغة التايلاندية »

    موقع الإسلام سؤال وجواب

    ترجمة: صافي عثمان

    مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام

    المصدر: موقع الإسلام سؤال وجواب

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ทำไมเราไม่กล่าวถึงการตัดสินของอัล-อัลบานีย์ว่าหะดีษ นิศฟูชะอฺบาน เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ?

    ถาม

    เมื่อท่านได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องของหะดีษอบู มูซา ที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะสอดส่องดูปวงบ่าวในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน และจะทรงอภัยโทษให้กับบ่าวทั้งหมด นอกจากมุชริกผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ และผู้ที่ตั้งตนเป็นศัตรูกัน" ท่านได้ตอบคำถามนั้น –ขออัลลอฮฺประทานบะเราะกะฮฺแก่ท่าน- แต่ท่านไม่ได้ระบุว่าหะดีษนี้ อัล-อัลบานีย์ ได้ตัดสินว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ –เช่นที่ฉันได้อ่านมันในเว็บบางแห่ง- และฉันก็มีความเชื่อมั่นอย่างสูงต่อท่านมากกว่าเว็บอื่นๆ ด้วยมาตรฐานและความรับผิดชอบทางด้านวิชาการของท่าน คำถามของฉันก็คือ จริงหรือไม่ที่เชค อัล-อัลบานีย์ได้ตัดสินว่าหะดีษนี้เศาะฮีหฺ? เพราะท่านได้กล่าวถึงความเห็นของอัล-อัลบานีย์ในฟัตวาของท่านหลายครั้ง แล้วเหตุใดท่านจึงไม่กล่าวถึงความเห็นเช่นเดียวกันนั้นตรงนี้บ้าง? หรือว่าอัล-อัลบานีย์ไม่ได้กล่าวถึงมันไว้แต่แรก? หรือว่าสิ่งที่อยู่ในเว็บเหล่านั้นไม่เป็นความจริง? หรือเพราะเหตุใดกันแน่? และขอเรียนว่า การตัดสินว่าหะดีษนี้เศาะฮีหฺปรากฏอยู่ใน “เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ หมายเลข 1819" ขออัลลอฮฺประทานบุญคุณความดีแก่ท่าน

    คำตอบ อัลหัมดุลิลลาฮฺ

    เราขอบคุณท่านที่ได้ใว้วางใจในเว็บของเรา และเราขอต่ออัลลอฮฺเพื่อให้เราอยู่ในความรู้สึกดีของท่านที่มีต่อเราเสมอ เช่นเดียวกับที่เราขอต่อพระองค์เพื่อให้ทรงประทานคุณประโยชน์จากเว็บแห่งนี้ และทรงประทานผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน

    ไม่เป็นที่ปกปิดแก่ผู้ใดเลยว่า โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะยึดเอาการตัดสินของเชค อัล-อัลบานีย์ ในการตัดสินว่าหะดีษเศาะฮีหฺหรือเฎาะอีฟ แต่ในบางครั้งก็ปรากฏว่าเมื่อเราได้ค้นคว้าหะดีษบางบท เราก็พบการตัดสินของอุละมาอ์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชคอัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางทีเราอาจจะให้น้ำหนักต่อการตัดสินของอุละมาอ์คนดังกล่าวต่อหะดีษนั้นโดยเฉพาะ หรืออาจจะปรากฏว่าหลักเกณฑ์การค้นคว้าวิจัยได้ให้น้ำหนักแก่เราว่าไม่ควรตามเชคอัล-อัลบานีย์ในหะดีษบางหะดีษก็เป็นได้

    บางทีเราอาจจะเห็นว่าการตัดสินของเชคอัล-อัลบานีย์เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวาง และมีคนที่เห็นแย้งกับท่านน้อยมาก เราก็ระบุการตัดสินของท่านและเราก็เพิ่มความเห็นของเราลงไปด้วย

    และในบางครั้ง เราก็พบว่ามีคนเห็นแย้งกับการตัดสินของเชคอัล-อัลบานีย์หลายคน เราจึงไม่ระบุการตัดสินของเชคอัล-อัลบานีย์ในกรณีนี้ รวมถึงไม่เพิ่มความเห็นของเราไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเราคิดว่าเพียงพอแล้วกับการที่เราได้ระบุความเห็นต่างๆ ของบรรดาอุละมาอ์ซึ่งเห็นแย้งกับการตัดสินของอัล-อัลบานีย์

    ปัจจัยประการที่สองนี่เอง ที่เป็นสาเหตุทำให้เราไม่ได้ระบุถึงการตัดสินของเชค อัล-อัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ต่อหะดีษที่ท่านอ้างถึงในคำถาม และเราได้ยกคำพูดของอิบนุ เราะญับ อัล-หันบะลีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ไว้แล้วว่า อุละมาอ์ส่วนใหญ่ได้ตัดสินว่าหะดีษเกี่ยวกับความประเสริฐของนิศฟูชะอฺบานนี้เป็นหะดีษเฎาะอีฟ

    พร้อมกันนั้นเราก็ขอให้ข้อสังเกตถึงเคล็ดประการหนึ่งตรงนี้ว่า เชค อัล-อัลบานีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ เอง ก็มีความเห็นว่าหะดีษอบู มูซา อัล-อัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่เราอ้างถึงนี้ก็เป็นหะดีษเฎาะอีฟ ซึ่งมันสอดคล้องกับที่เราได้นำเสนอไปว่าสายสืบของหะดีษนั้นเฎาะอีฟ แต่เราไม่ได้ยกอ้างความเห็นของอัล-อัลบานีย์ไว้ เพราะสุดท้ายท่านตัดสินว่ามันเศาะฮีหฺเนื่องจากมีสายสืบหลายๆ ทางมารวมกัน

    ท่านเชค อัล-อัลบานีย์ ได้กล่าวว่า “ส่วนหะดีษของอบู มูซานั้น เป็นหะดีษที่รายงานโดย อิบนุ ละฮีอะฮฺ เช่นเดียวกัน จาก อัซ-ซุเบรฺ บิน สุลัยม์ จาก อัฎ-เฎาะห๊าก บิน อับดุรเราะห์มาน จากบิดาของท่าน กล่าวว่า ฉันได้ฟังอบู มูซา เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ด้วยสำนวนเยี่ยงนั้น) บันทึกโดย อิบนุ มาญะฮฺ 1395 และอิบนุ อบี อาศิม อัล-ลาละกาอีย์. ฉันเห็นว่า สายสืบนี้เฎาะอีฟ เนื่องเพราะมีอิบนุ ละฮีอะฮฺ และอับดุรเราะห์มาน ซึ่งเขาก็คือ อิบนุ อัรซับ เป็นบิดาของอัฎ-เฎาะห๊าก เป็นสายสืบที่มัจญ์ฮูล(ไม่เป็นที่รู้จัก) และอิบนุ มาญะฮฺเองก็ได้ตัดเขาออกจากสายสืบหนึ่งที่ท่านได้รายงานจากอิบนุ ละฮีอะฮฺ" (ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 3/218)

    ท่านเชค อัล-อัลบานีย์ ยังได้ระบุสายสืบต่างๆ และรายงานอื่นๆ ที่มาเสริมในส่วนของหะดีษนี้ในหนังสือ “อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1144" ของท่าน และได้สรุปออกมาว่า ตัวบทของหะดีษอบู มูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ นั้นถูกต้อง(เศาะฮีหฺ)

    แต่ทว่า เราไม่เห็นด้วยกับทัศนะของเชคอัล-อัลบานีย์ในเรื่องนี้ เราไม่เห็นว่าสายสืบต่างๆ ที่กล่าวมานั้นสามารถยกระดับของหะดีษได้ ซึ่งเราได้อ้างในคำตอบสุดท้ายของเราไปยังความเห็นของท่านเชค อับดุลอะซีซ บิน บาซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ในหนังสือ “หุกมุล อิหฺติฟาล บิ ลัยละติน นิศฟฺ มิน ชะอฺบาน" ซึ่งระบุว่า “และความเห็นที่อุละมาอ์ส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องกันก็คือ การจัดฉลองในคืนนั้นเป็นบิดอะฮฺ และหะดีษต่างๆ ที่ระบุถึงความประเสริฐต่างๆ ของมันล้วนเป็นหะดีษเฎาะอีฟ บางส่วนก็เป็นหะดีษเมาฎูอฺ(หะดีษที่กุขึ้น) และในจำนวนอุละมาอ์ที่ให้ข้อสังเกตในเรื่องนี้ก็คือ อิบนุ เราะญับ อัล-หันบะลีย์ ในหนังสือ ละฏออิฟ อัล-มะอาริฟ" จบการอ้าง.

    ทัศนะนี้คือทัศนะที่มีน้ำหนักในความเห็นของเรา ส่วนเรื่องการตัดสินหะดีษว่าเศาะฮีหฺหรือเฎาะอีฟนั้น ประการต่างๆ เช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องของการวินิจฉัย(อิจญ์ติฮาด) ซึ่งผู้เป็นนักปราชญ์ย่อมจะยึดถือใช้ตามที่ตนเห็นว่ามันมีน้ำหนักสำหรับเขา และบรรดานักศึกษาที่หาความรู้ก็ต้องตามทัศนะที่มีน้ำหนักสำหรับเขาบนบรรทัดฐานของการประมวลความเห็นต่างๆ ของบรรดาอุละมาอ์เหล่านั้น ซึ่งมันไม่ใช่ที่ทางซึ่งจะมาปฏิเสธคัดค้านกันต่อผู้ที่เห็นแย้ง

    และขอจงดูคำตอบในคำถามที่ 113687 ซึ่งมีเคล็ดลับสำคัญที่ควรรู้มากมายเกี่ยวกับเชคอัล-อัลบานีย์

    วัลลอฮุ อะอฺลัม

    อิสลามถามตอบ

    www.islamqa.com ฟัตวาหมายเลข 140084