×
อธิบายหลักการต่างๆ ขั้นพื้นฐานในศาสนาอิสลาม อันเป็นหัีวใจหลักที่อิสลามได้ให้ความสำคัญและกำหนดบทบัญญัติต่างๆ เพื่อรักษาเป้าประสงค์ของหลักการต่างๆ เหล่านั้น อาทิ การปกป้องชีิวิต ทรัพย์สิน เกียรติ เชื้อสาย สติปัญญา และผู้อ่อนแอ เป็นต้น คัดจากหนังสือสาส์นอิสลาม โดยอับดุรเราะห์มาน อัชชีหะฮฺ

    หลักการต่างๆ ขั้นพื้นฐานในศาสนาอิสลาม

    ﴿المبادئ الأساسية في الدين الإسلامي﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺ

    แปลโดย : อิบนุรอมลี ยูนุส

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือสาส์นแห่งอิสลาม

    2010 - 1431

    ﴿المبادئ الأساسية في الدين الإسلامي﴾

    « باللغة التايلاندية »

    عبدالرحمن بن عبدالكريم الشيحة

    ترجمة: ابن رملي يونس

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب رسالة الإسلام

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    หลักการต่างๆ ขั้นพื้นฐานในศาสนาอิสลาม

    ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด – ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม – ได้กล่าวไว้ในครั้งที่ท่านประกอบพิธีหัจญ์อําลาว่า

    «أتدرون أي يوم هذا؟ قالوا : الله ورسوله أعلم. قال : فإن هذا يوم حرام، أفتدرون أي بلد هذا؟ قالوا : الله ورسوله أعلم. قال : بلد حرام، أتدرون أي شهر هذا؟ قالوا : الله ورسوله أعلم. قال : شهر حرام. قال : فإن الله حرم عليكم دماءكم وأموالكم وأعراضكم كحرمة يومكم هذا، في شهركم هذا، في بلدكم هذا»

    ความว่า : “พวกท่านรู้ไหมว่าวันนี้เป็นวันอะไร?” บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์เท่านั้นที่รู้ยิ่งกว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวต่อไปว่า ”แท้จริงแล้ววันนี้เป็นวันต้องห้าม แล้วพวกท่านรู้ไหมว่าเมืองนี้เป็นเมืองอะไร?” พวกเขาตอบว่า อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์เท่านั้นที่รู้ยิ่ง ท่านกล่าวว่า “เมืองนี้คือเมืองต้องห้าม แล้วพวกท่านรู้ไหมว่าเดือนนี้เป็นเดือนอะไร?” พวกเขาตอบว่า อัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า ท่านกล่าวว่า “เดือนนี้คือเดือนต้องห้าม” ท่านกล่าวต่ออีกว่า “แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงห้ามพวกเจ้าซึ่งเลือดของพวกเจ้า ทรัพย์สินของพวกเจ้า เกียรติศักดิ์ศรีของพวกเจ้า ประดุจดังการต้องห้ามของวันนี้ เดือนนี้ ณ เมืองแห่งนี้” (เศาะฮีฮฺ อัล-บุคอรีย์ เล่ม 2 หน้า 2247 หมายเลข 5687)

    ฉะนั้นแล้ว ในจำนวนหลักขั้นพื้นฐานในอิสลามก็คือ การรักษาชีวิต เกียรติ ทรัพย์สิน สติปัญญา เชื้อสายเผ่าพันธุ์ ผู้อ่อนแอและผู้ด้อยโอกาส

    อัลลอฮฺได้ตรัสถึงการห้ามข่มเหงรังเเกชีวิตมนุษย์ด้วยกันว่า

    ﴿وَلاَ تَقْتُلُواْ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللهُ إِلاَّ بِالحَقِّ﴾ (الإسراء : 33)

    ความว่า : “และพวกเจ้าอย่าฆ่าชีวิตที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่ด้วยความเที่ยงธรรม” (อัล-อิสรออ์ 33)

    (وَلاَ تَقْتُلُواْ أَنفُسَكُمْ إِنَّ اللهَ كَانَ بِكُمْ رَحِيماً) (النساء : 29 )

    ความว่า : “และอย่าได้คร่าชีวิตของสูเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงมีเมตตายิ่งกับสูเจ้า” (อัน-นิสาอ์ 29)

    อัลลอฮฺทรงห้ามการกระทำล่วงเกินศักดิ์ศรีของคนอื่น ในโองการของพระองค์ว่า

    ﴿وَلاَ تَقْرَبُواْ الزِّنَى إِنَّهُ كَانَ فَاحِشَةً وَسَاء سَبِيلاً﴾ (الإسراء : 32 )

    ความว่า : “และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้การผิดประเวณี แท้จริงมันเป็นการลามกและทางอันชั่วช้า” (อัล-อิสรออ์ 32)

    อัลลอฮฺทรงห้ามการกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินเงินทอง ในโองการของพระองค์ที่ว่า

    ﴿وَلاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُم بَيْنَكُم بِالْبَاطِلِ﴾ (البقرة : 188 )

    ความว่า : “และพวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์สมบัติของพวกเจ้าระหว่างพวกเจ้ากันเองโดยมิชอบ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 188)

    อัลลอฮฺทรงห้ามทุกการกระทำที่สร้างความเสื่อมเสียเเก่สติปัญญา ในโองการที่ว่า

    ﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ﴾(المائدة : 90 )

    ความว่า :“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! ที่จริงสุราและการพนัน และแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้น เป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้น พวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสีย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ”(อัล-มาอิดะฮฺ 90)

    และอัลลอฮฺได้ทรงห้ามทำลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในโองการอัลลอฮฺ

    ﴿وَإِذَا تَوَلَّى سَعَى فِي الأَرْضِ لِيُفْسِدَ فِيِهَا وَيُهْلِكَ الْحَرْثَ وَالنَّسْلَ وَاللهُ لاَ يُحِبُّ الفَسَادَ﴾ (البقرة : 205 )

    ความว่า : “และเมื่อเขาให้หลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายามในแผ่นดิน เพื่อก่อความเสียหายในนั้น และทำลายพืชผลและเผ่าพันธุ์ และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 205)

    ส่วนเรื่องสิทธิผู้อ่อนแอที่ควรได้รับในทัศนะอิสลามนั้น อัลลอฮฺได้ประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหลายๆ โองการดังต่อไปนี้

    1. สิทธิของพ่อเเม่ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿وَقَضَى رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُواْ إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَاناً إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاَهُمَا فَلاَ تَقُل لَّهُمَا أُفٍّ وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلاً كَرِيماً﴾ (الإسراء : 23 )

    ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้น และจงทำดีต่อบิดามารดา เมื่อผู้ใดในระหว่างทั้งสอง หรือว่าทั้งสองคนนั้นได้บรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้าแล้ว ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุ๊ฟ! (กล่าวว่า หึ หรือคำแสดงความไม่พอใจ) และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน”(อัล-อิสรออ์ 23-24)

    2. สิทธิของเด็กกำพร้า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿فَأَمَّا الْيَتِيمَ فَلَا تَقْهَرْ﴾ (الضحى : 9 )

    ความว่า : “ดังนั้น ส่วนเด็กกำพร้าเจ้าอย่าข่มขี่ข่มเหง” (อัฎ-ฎุหา 9)

    พระองค์ได้ประกันความคงอยู่ของทรัพย์สินเด็กกำพร้าโดยตรัสว่า

    ﴿وَلاَ تَقْرَبُواْ مَالَ الْيَتِيمِ إِلاَّ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ﴾ (الأنعام : 152 )

    ความว่า : “และจงอย่าเข้าใกล้ทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า นอกจากด้วยวิถีทางที่ดียิ่ง” (อัล-อันอาม 152)

    3. สิทธิของลูกๆ ในครอบครัว อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿وَلاَ تَقْتُلُواْ أَوْلاَدَكُم مِّنْ إمْلاَقٍ نَّحْنُ نَرْزُقُكُمْ وَإِيَّاهُمْ﴾ (الأنعام : 151 )

    ความว่า : “และอย่าฆ่าลูกของพวกเจ้าเนื่องจากกลัวความจน เราจะเป็นผู้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าและแก่พวกเขา(ลูกๆ ของเจ้า)ด้วย” (อัล-อันอาม 151)

    4. สิทธิของคนป่วย ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «فُكُّوا العَانِي -يعني الأسير- وأَطْعِمُوا الجَاِئع، وعُوْدُوْا المَرِيْض»

    ความว่า : “จงปลดปล่อยเชลย จงให้อาหารแก่คนหิว และจงเยี่ยมเยียนคนป่วย” (เศาะฮีฮฺ อัล-บุคอรีย์ เล่ม 3 หน้า 1109 หมายเลข 2881)

    5. สิทธิคนที่อ่อนแอ ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُوَقِّرِ الكَبِيْرَ، وَيَرْحَمِ الصَّغِيْرَ، وَيَأْمُرْ بِالمَعْرُوْفِ وَيَنْهَ عَنِ المُنْكَر»

    ความว่า : “ไม่ใช่พวกเรา สำหรับคนที่ไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่ ไม่เมตตาเด็ก ไม่ชักชวนให้คนทำความดี และไม่ห้ามให้ละทิ้งความชั่ว” (เศาะฮีฮฺ อิบนิ หิบบาน เล่ม 3 หน้า 203 หมายเลข 458)

    6. สิทธิของคนที่ตกทุกข์และต้องการความช่วยเหลือ อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿وَأَمَّا السَّائِلَ فَلَا تَنْهَرْ﴾ (الضحى : 10 )

    ความว่า : “และส่วนผู้เอ่ยขอนั้น เจ้าอย่าตวาดขับไล่” (อัฎ-ฎุฮา 10)