×
การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีถือว่าเป็นความหวังของพ่อแม่เกือบทุกคน เชื่อเหลือเกินว่าไม่มีพ่อแม่คนใดที่อยากเห็นลูกเป็นคนชั่ว โดยเฉพาะถ้าเป็นมุสลิมผู้ศรัทธาด้วยแล้ว ย่อมต้องหวังอยากเห็นบุตรหลานเป็นคนดีกันทั้งสิ้น แล้วจะเลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นผู้ศรัทธา? ในบทความมีคำตอบบางประการสำหรับคำถามนี้

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นมุอ์มิน?

    ]ภาษาไทย[

    كيف نربي أولادنا على الإيمان؟

    [اللغة التايلاندية ]

    ซุฟอัม อุษมาน

    صافي عثمان

    ตรวจทาน: อุษมาน อิดรีส

    مراجعة: عثمان إدريس

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1430 – 2009

    بسم الله الرحمن الرحيم

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นมุอ์มิน?

    การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีถือว่าเป็นความหวังของพ่อแม่เกือบทุกคน เชื่อเหลือเกินว่าไม่มีพ่อแม่คนใดที่อยากเห็นลูกเป็นคนชั่ว เว้นแต่คนจิตทรามหรือไร้คุณธรรมความเป็นมนุษย์ปกติแล้วเท่านั้น หากเป็นปุถุชนทั่วไปและโดยเฉพาะถ้าเป็นมุสลิมผู้ศรัทธาด้วยแล้ว ย่อมต้องหวังอยากเห็นบุตรหลานเป็นคนดีกันทั้งสิ้น

    นิยามคำว่าคนดีในมุมมองอิสลามนั้น มีเงื่อนไขแรกว่า ต้องมีคุณสมบัติเป็น "มุอ์มิน" หรือผู้ศรัทธา เพราะมิเช่นนั้นแล้วยังมิอาจถือว่าเป็นคนดีได้ ... มีเหตุผลใดที่กล่าวเช่นนี้ ? คำตอบคือ เพราะความศรัทธา หรือ "อีมาน" คือใบเบิกทางสิ่งดีๆ ทั้งหลายในชีวิตของมนุษย์

    ความสำคัญของอีมาน

    อีมาน เป็นปัจจัยหลักในชีวิตที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสิ่งดีงามแก่ตัวมนุษย์ และปกป้องความชั่วร้ายจากตัวเขา ดังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้

    หนึ่ง ในด้านการสร้างสิ่งที่ดีให้ชีวิต อัลลอฮฺได้ตรัสถึงอิทธิพลของอีมานในด้านนี้ว่า

    ﮋ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮊ النحل: ٩٧

    ความว่า "ผู้ใดที่ปฏิบัติความดีงาม ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา แน่นอนเราจะให้เขาได้มีชีวิตที่ดี และเราจะตอบแทนผลบุญแก่พวกเขา ด้วยสิ่งที่ดีที่สุดต่อสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้" (อัน-นะห์ลฺ : 97)

    เห็นได้ว่าการศรัทธาหรืออีมาน คือเงื่อนไขพื้นฐาน เพราะแม้จะทำความดีมากแค่ไหนหากไม่ได้ควบคู่ด้วยการศรัทธาก็จะไม่มีผลใดๆ ในตาชั่งของอัลลอฮฺ เช่นที่พระองค์ตรัสถึงการงานของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาว่า

    ﮋ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﮊ الفرقان: ٢٣

    ความว่า "และเราได้มุ่งไปยังการงานของพวกเขาที่พวกเขาได้ทำไว้ และแล้วเราก็ได้ทำให้มันสลายไปเช่นผงที่ปลิวว่อน " (อัล-ฟุรกอน : 23)

    คือการงานที่พวกเขาเชื่อมั่นว่าเป็นการงานที่ดีนั้น เช่น การให้อาหารแก่คนยากจนขัดสน และการทำดีต่อญาติ ฯลฯ อัลลอฮฺจะไม่ทรงรับมันเลย เพราะการงานเหล่านั้นมิได้ตั้งอยู่บนมูลฐานของการศรัทธา

    สอง ในด้านการป้องปกมนุษย์จากสิ่งชั่วช้า มีหลักฐานจากหะดีษที่ระบุถึงอิทธิพลของอีมานในเรื่องนี้ว่า

    «لَا يَزْنِي الزَّانِي حِينَ يَزْنِي وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلَا يَشْرَبُ الْخَمْرَ حِينَ يَشْرَبُهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلَا يَسْرِقُ السَّارِقُ حِينَ يَسْرِقُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ»

    ความว่า “คนที่ผิดประเวณีจะไม่ทำเช่นนั้นในขณะที่เขาเป็นผู้อีมาน คนที่ดื่มเหล้าจะไม่ดื่มมันในขณะที่เขาเป็นผู้มีอีมาน คนที่ขโมยจะไม่ขโมยในขณะที่เขาเป็นผู้มีอีมาน” (อัล-บุคอรีย์ 5150, มุสลิม 86)

    หมายความว่า ในภาวะที่อีมานยังอยู่กับเนื้อกับตัวมนุษย์ก็จะสามารถระงับตัวเองไม่ให้ทำผิดได้ การประพฤติผิดบาปนั้นเกิดขึ้นในช่วงภาวะที่ไม่มีอีมานนั่นเอง

    ความจำเป็นที่ต้องเลี้ยงลูกให้เป็นมุอ์มิน

    เพราะฉะนั้นการเลี้ยงลูกให้เป็นคนที่มีอีมาน จึงควรต้องเป็น "วาระแห่งครอบครัว" ในบ้านของมุสลิมทุกคน อัลลอฮฺได้ตรัสสั่งบรรดาผู้ศรัทธาทุกคนว่า

    ﮋ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﮊ التحريم: ٦

    ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก..." (อัต-ตะห์รีม : 6)

    ความหมายของการป้องกันตัวและครอบครัวให้พ้นจากนรกนั้น ได้รับการอธิบายจากเหล่า
    อุละมาอ์ด้วยความเห็นต่างๆ เช่น

    อะลี บิน อะบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า "จงสอนพวกเขา และจงขัดเกลามารยาทของพวกเขา" (ตัฟซีร อัต-เฏาะบะรีย์ 23:491)

    อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า "คือให้เขากล่าวสอนพวกเขาว่า จงปฏิบัติอะมัลด้วยการภักดีอัลลอฮฺ และจงป้องกันการทำผิดบาปต่ออัลลอฮฺ จงสั่งครอบครัวของพวกท่านด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้พวกท่านได้รอดพ้นจากนรก" (อัต-เฏาะบะรีย์ เล่มเดิม)

    มุญาฮิด กล่าวว่า "ให้สั่งเสียพวกเขาเพื่อให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ" (อัต-เฏาะบะรีย์ เล่มเดิม หน้า 492)

    เกาะตาดะฮฺ กล่าวว่า "สั่งพวกเขาให้ภักดีต่ออัลลอฮฺ และห้ามพวกเขาจากการทำมะอฺศิยะฮฺต่อพระองค์" (อัต-เฏาะบะรีย์ เล่มเดิม หน้า 492)

    อัฎ-เฎาะห๊าก และ มุกอติล กล่าวว่า "เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จักต้องสอนครอบครัวของเขา ทั้งในหมู่ญาติและบ่าวไพร่ทั้งชายหญิง ในสิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดเป็นฟัรฎูเหนือพวกเขาและสิ่งที่พระองค์ห้ามไม่ให้ทำ" (ตัฟซีร อิบนุ กะษีร 8:167)

    เนื้อหาการเลี้ยงลูกให้เป็นมุอ์มิน

    ถ้าถามว่าเราจะสอนและขัดเกลา (ตามความหมายหนึ่งของอายะฮฺข้างต้น) บุตรหลานของเราในเรื่องใดบ้าง ?

    คำตอบสำหรับประเด็นนี้ได้รับการระบุไว้เป็นบทเรียนตัวอย่างพร้อมแล้วในอัลกุรอาน นั่นคือเรื่องราวของลุกมานุลหะกีมที่ได้สั่งสอนลูกของท่านไว้ ตามที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงว่า

    ﮋ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕﮊ لقمان: ١٢ - ١٩

    ความว่า "12. และโดยแน่นอน เราได้ให้ฮิกมะฮฺ แก่ลุกมานว่า จงขอบพระคุณต่ออัลลอฮฺ และผู้ใดขอบคุณแท้จริงเขาก็ขอบคุณตัวของเขาเอง และผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงร่ำรวยและทรงได้รับการสรรเสริญ 13. และจงรำลึกเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่า “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใดๆต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์โดยแน่นอน 14. และเราได้สั่งการมนุษย์เกี่ยวกับบิดามารดาของเขา โดยมีมารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาอ่อนเพลียลงครั้งแล้วครั้งเล่า และการหย่านมของเขาในระยะเวลาสองปี เจ้าจงขอบคุณข้า และบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้นคือการกลับไปสู่ 15. และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขาทั้งสอง และจงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดีและจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า และยังเรานั้นคือทางกลับของพวกเจ้า ดังนั้น ข้าจะบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ 16.โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง (หากว่าความผิดนั้น) มันจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง มันจะซ่อนอยู่ในหิน หรืออยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายหรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮฺก็จะทรงนำมันออกมาแท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง 17. โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่นมั่นคง 18. และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มารยาท แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด 19.และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณและจงลดเสียงของเจ้าลง แท้จริง เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง (ร้อง) ของลา" (ลุกมาน 12:19)

    ข้อสรุปจากการสั่งสอนของลุกมานสามารถประมวลเป็นฐานสำคัญในการอบรมลูกได้ดังนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ใน ลุกมานสอนลูก : บทเรียนและแนวปฏิบัติ โดย มัสลัน มาหะมะ จากเว็บไซต์ iqraforum.com)

    หนึ่ง ฐานแห่งอะกีดะฮฺ

    สอง ฐานแห่งอิบาดะฮฺ

    สาม ฐานแห่งคุณธรรมจริยธรรม

    จากรากฐานทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้น ลุกมานได้สั่งเสียแก่ลูกให้ยึดมั่นคำสอน 10ประการดังนี้

    (1) จงอย่าตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ (يَابُنَيَّ لا تُشْرِكْ بِالله)

    (2) จงทำดีต่อพ่อแม่ (ووَصَّيْنَا الإنسَانَ بِوَالِدَيْهِ ...)

    (3) จงเจริญรอยตามกลุ่มผู้ศรัทธาและบรรดาผู้ได้รับทางนำ (وَاتَّبِعْ سَبِيْلَ مَنْ أَنَابَ إِلَيَّ)

    (4) การซึมซับและปลูกฝังความรอบรู้ของอัลลอฮฺและการตรวจสอบของพระองค์ (يابُنَيَّ إِنْ تَكُ مِثْقَالَ حَبَّةٍ مِنْ خَرْدَلٍ فَتَكُنْ في صَخْرَةٍ أَو في السَّمواتِ أَو في الأَرْضِ يَأْتِ بِهَا الله)

    (5) จงดำรงละหมาด (يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ)

    (6) จงใช้กันให้กระทำความดีและจงห้ามปรามกันให้ละเว้น การทำความชั่ว (وَأْمُرْ بِالمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ المُنْكَرِ)

    (7) จงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า (وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ)

    (8) อย่าหยิ่งยะโส โอ้อวด และดูถูกคนอื่น (وَلا تُصَعِّرْخَدَّكَ لِلناَّسِ وَلا تَمْشِ في الأرضِ مَرَحاً)

    (9) จงก้าวเท้าพอประมาณ (وَاقْصِدْ في مَشْيِكَ)

    (10) จงลดเสียงของเจ้า (وَاغْضُضْ مِنْ صَوْتِكَ)

    ปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้

    การอบรมสั่งสอนที่กล่าวมานี้ มีปัจจัยหลักที่ขาดไม่ได้เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จอยู่สามประการหลักๆ คือ

    หนึ่ง พ่อแม่หรือผู้ปกครอง หมายถึง พ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่างของผู้ศรัทธาที่ดีแก่ลูก ไม่ใช่พร่ำสอนลูกแต่ตนเองห่างไกลจากศรัทธาเหลือเกิน พ่อแม่ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงลูก และไม่สอนลูกในทางที่ผิด เพราะในที่สุดแล้ว พ่อกับแม่คือตัวแปรสำคัญที่สุดที่จะบอกได้ว่าลูกจะออกมาเป็นเช่นใด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวถึงข้อเท็จจริงนี้ว่า

    «كُلُّ مَوْلُودٍ يُولَدُ عَلَى الْفِطْرَةِ، فَأَبَوَاهُ يُهَوِّدَانِهِ أَوْ يُنَصِّرَانِهِ أَوْ يُمَجِّسَانِهِ»

    ความว่า "เด็กทุกคนเกิดมาบนกมลสันดานอันบริสุทธิ์ แต่แล้วผู้เป็นพ่อแม่นั่นเองที่ทำให้เขาเป็นยิว หรือเป็นคริสต์ หรือเป็นมะญูซีย์" (อัล-บุคอรีย์ 1270)

    สอง สภาพแวดล้อม หมายถึง สภาพแวดล้อมในครอบครัวเป็นอันดับแรก ซึ่งควรต้องไม่เป็นสภาพแวดล้อมที่บั่นทอนอีมาน เต็มไปด้วยพิษของชัยฏอน ต้องระมัดระวังเรื่องสื่อต่างๆ ให้จงหนัก นอกจากนี้สภาพแวดล้อมอาจจะรวมถึงคนรอบข้างเช่น ญาติมิตร เพื่อนฝูงของลูก ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลทั้งในทางบวกและลบแก่ลูกได้ทั้งสิ้น

    ในหะดีษกุดสีย์บทหนึ่ง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวถึงพระดำรัสของอัลลอฮฺว่า

    «وَإِنِّي خَلَقْتُ عِبَادِي حُنَفَاءَ كُلَّهُمْ، وَإِنَّهُمْ أَتَتْهُمْ الشَّيَاطِينُ فَاجْتَالَتْهُمْ عَنْ دِينِهِمْ، وَحَرَّمَتْ عَلَيْهِمْ مَا أَحْلَلْتُ لَهُمْ، وَأَمَرَتْهُمْ أَنْ يُشْرِكُوا بِي مَا لَمْ أُنْزِلْ بِهِ سُلْطَانًا»

    ความว่า "แท้จริงข้า(อัลลอฮฺ)ได้สร้างบ่าวทุกคนในสภาพบริสุทธิ์ และแท้จริง พวกเขาถูกชัยฏอนมาล่อลวงให้หันเหจากศาสนาของพวกเขา มันทำให้สิ่งที่ข้ากำหนดว่าหะลาลเป็นสิ่งหะรอมแก่พวกเขา และมันได้สั่งให้พวกเขาตั้งภาคีต่อข้าในสิ่งที่ข้าไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ลงมาเลย" (มุสลิม 5109)

    สาม การพึ่งอัลลอฮฺ พ่อแม่ที่มีอีมานจะไม่เผลอเรอและละเลยการพึ่งพาอัลลอฮฺ หลังจากที่ได้ทุ่มเทอุตสาหะอย่างเต็มที่ในการดูแลบุตรแล้ว สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือการตะวักกัลต่ออัลลอฮฺ สองประการข้างต้นเป็นมูลเหตุเชิงรูปธรรมในการเลี้ยงดูลูก ส่วนการพึ่งพาอัลลอฮฺอาจจะรวมอยู่ในหมวดของอุตสาหะเชิงนามธรรม ซึ่งสำคัญไม่แพ้กันและอาจจะสำคัญกว่าปัจจัยสองประการข้างต้นด้วยซ้ำ พ่อแม่ต้องหมั่นขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺเพื่อให้บุตรหลานเป็นคนดี ขอให้พระองค์ประทานความสำราญใจเกี่ยวกับบุตรหลาน เรื่องเช่นนี้ได้มีระบุเป็นตัวอย่างมากมายในอัลกุรอาน เช่น ท่านนบี อิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ที่ได้ขอดุอาอ์ว่า

    ﮋ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬﮊ إبراهيم: ٤٠

    ความว่า "โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์และจากลูกหลานของข้าพระองค์เป็นผู้ดำรงการละหมาด โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์ทรงตอบรับการวิงวอนของข้าพระองค์ด้วยเทอญ" (อิบรอฮีม : 40)

    นบี ซะกะรียา อะลัยฮิสลาม ก็เคยขอดุอาอ์ว่า

    ﮋ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢﮊ آل عمران: ٣٨

    ความว่า "ข้าแต่พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าจากพระองค์ซึ่งบุตรผู้สืบทอดวงศ์ตระกูลที่ดี แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน" (อาล อิมรอน : 38)

    เพราะฉะนั้นอย่างน้อยๆ พ่อแม่ทุกคนไม่ควรลืมอ่านดุอาอ์ที่อัลลอฮฺตรัสถึงบรรดาบ่าวผู้เป็น "อิบาดุรเราะห์มาน" ของพระองค์ ซึ่งพวกเขาจะขอดุอาอ์อยู่เสมอว่า

    ﮋ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰﮊ الفرقان: ٧٤

    ความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง" (อัล-ฟุรกอน : 74)

    พ่อแม่จะต้องระมัดระวังไม่ขอดุอาอ์ให้ลูกในเชิงเสียๆ หายๆ เช่นเผลอตัวสาปแช่งลูกของตัวเองด้วยคำพูดที่อัลลอฮฺไม่ทรงชอบ ทั้งนี้ เพราะดุอาอ์ของพ่อแม่ต่อลูกนั้นเป็นดุอาอ์มุสตะญาบ หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงตอบรับ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «ثَلَاثُ دَعَوَاتٍ مُسْتَجَابَاتٌ لَا شَكَّ فِيهِنَّ : دَعْوَةُ الْوَالِدِ، وَدَعْوَةُ الْمُسَافِرِ، وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ»

    ความว่า "ดุอาอ์สามประเภทที่จะถูกตอบรับโดยไม่เป็นที่สงสัยอีก นั่นคือ ดุอาอ์ของผู้ให้กำเนิด ดุอาอ์ของคนเดินทาง และดุอาอ์ของผู้ถูกอธรรม" (หะดีษ หะสัน : อบู ดาวูด 1313, ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด 1536)

    สรุป

    ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกให้เป็นมุอ์มินจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการดูแลเอาใจใส่และการให้ความสำคัญจากผู้ปกครองอย่างจริงจัง ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์นั้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าสิ่งใดๆ

    การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีมีศรัทธาและเป็นลูกที่ศอลิห์ถึงแม้จะเป็นภาระที่หนักหน่วงและเหน็ดเหนื่อย แต่ก็จะส่งผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่ผู้เป็นบิดามารดา ไม่เพียงเฉพาะในโลกนี้ แต่ทว่าในโลกแห่งหลุมฝังศพอันเดียวดายนั่นอีกเล่า ที่มนุษย์ทุกคนต่างเฝ้าเรียกหาความเมตตาจากอัลลอฮฺ ณ สถานที่ที่ไม่มีใครอยู่เป็นเพื่อน หากมีลูกที่ศอลิห์ที่ช่วยพร่ำวอนขอดุอาอ์ให้ ยังจะมีสิ่งใดที่เราต้องการมากไปกว่านั้นอีก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «إِذَا مَاتَ الْإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلَّا مِنْ ثَلَاثَةٍ: إِلَّا مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ»

    ความว่า "เมื่อมนุษย์เสียชีวิตลง การงานของเขาก็ตัดขาดเว้นแต่สามอย่างเท่านั้น คือ เศาะดะเกาะฮฺญาริยะฮฺ (การจ่ายทานที่มีประโยชน์ต่อเนื่อง) หรือความรู้ที่ให้ประโยชน์ หรือลูกที่ศอลิห์ที่ขอดุอาอ์ให้แก่เขา" (มุสลิม 3084)

    ครอบครัวผู้ศรัทธาไม่เพียงจะมีความสุขในโลกนี้เท่านั้น หากแต่ในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาได้มีความสุขร่วมกันอีกในสวนสวรรค์อันนิรันดร

    ﮋ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮊ الطور: ٢١

    ความว่า "และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ที่ลูกหลานของพวกเขาได้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขา(ในสวนสวรรค์) และเราจะไม่ให้การงานของพวกเขาลดหย่อนลงจากพวกเขาแต่อย่างใดแต่ละคนย่อมได้รับการค้ำประกันในสิ่งที่เขาขวนขวายไว้" (อัต-ฏูร : 21)

    มาร่วมกันสร้างครอบครัวแห่งอีมาน และขอให้ทุกท่านได้ศึกษาและเอาจริงเอาจังในการเลี้ยงลูกให้เป็นมุอ์มิน เพื่อความอบอุ่นในครอบครัวและความสำเร็จของทุกท่านในวันอาคิเราะฮฺ อามีน

    ****