×
มีคนมุสลิมจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนของเราทั้งชายและหญิง ที่กล้าละทิ้งการทำละหมาดโดยไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ ถึงแม้ว่าการละหมาดนั้นเป็นบทบัญญัติที่จะละเลยไม่ได้ ทั้งในยามสุขสบายหรือยามยากลำบาก แม้กระทั่งในยามศึกสงครามก็จำเป็นต้องทำการละหมาด บางคนเพียงแค่อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ หรือรถทัวร์เขาก็ไม่ยอมละหมาดด้วยเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ว่า กางเกงในสกปรก หรือไม่มีผ้าละหมาด บางคนไม่ละหมาดเพราะไม่รู้เรื่องการละหมาดเลย บางคนทิ้งละหมาดโดยไม่กลัวที่จะต้องติดบาปใหญ่ และจะต้องถูกลงโทษหนักในนรก ด้วยเหตุนี้เราถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้จักความสำคัญของการละหมาดโดยการตั้งคำถามว่า “เราละหมาดทำไม?"

    คุณละหมาดแล้วหรือยัง ?

    [ ไทย ]

    هل صليت ؟

    [ باللغة التايلاندية ]

    ชมรมส่งเสริมกิจการอิสลามปัตตานี

    الجميعة الخيرية للشؤون الإسلامية ـ فطاني

    ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน

    مراجعة: صافي عثمان

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    คุณละหมาดแล้วหรือยัง ?

    "จงละหมาดเถิด ก่อนที่ท่านจะถูกละหมาด"

    มีคนมุสลิมจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนของเราทั้งชายและหญิงที่กล้าละทิ้งการทำละหมาดโดยไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ ถึงแม้ว่าการละหมาดนั้นเป็นบทบัญญัติที่จะละเลยไม่ได้ ทั้งในยามสุขสบายหรือยามยากลำบาก แม้กระทั่งในยามศึกสงครามก็จำเป็นต้องทำการละหมาด บางคนเพียงแค่อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟ หรือรถทัวร์เขาก็ไม่ยอมละหมาดด้วยเหตุผลที่ยอมรับไม่ได้ว่า กางเกงในสกปรก หรือไม่มีผ้าละหมาด บางคนไม่ละหมาดเพราะไม่รู้เรื่องการละหมาดเลย บางคนทิ้งละหมาดโดยไม่กลัวที่จะต้องติดบาปใหญ่และจะต้องถูกลงโทษหนักในนรก ด้วยเหตุนี้เราถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักความสำคัญของการละหมาดโดยการตั้งคำถามว่า “เราละหมาดทำไม?" และคำตอบคือ

    1. เราละหมาดเพราะการละหมาดเป็นหลักปฏิบัติของอิสลามที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก หลังจากกล่าวคำปฏิญาณตน ซึ่งถือว่าเป็นเสาหลักของศาสนาอิสลาม เมื่อใดเสาหลักล้มอิสลามที่เรากำลังนับถือนั้นก็จะล้มตามไปด้วย แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นการสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้เป็นเจ้าในฐานะเป็นผู้ทรงอภิบาล เป็นผู้สร้างเรา ให้ริสกีและความสะดวกต่าง ๆ นานาให้แก่เรา

    2. เราดำรงการละหมาดเพราะเราเชื่อว่า อัลลอฮฺทรงบัญชาให้เราละหมาด ซึ่งเราจำเป็นต้องเชื่อฟัง พร้อมกับปฏิบัติตามให้ดีที่สุด และเพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮฺที่เราได้รับความโปรดปรานและความเมตตาอย่างล้นพ้นและอย่างไม่ขาดสาย ทุก ๆ วินาทีเราได้รับริซกี ได้รับเราะฮฺมัตและความสะดวกต่าง ๆจากอัลลอฮฺ ที่นับไม่ถ้วน

    3. อะมัลอันดับแรกที่จะถูกพิจารณาในวันอะคีเราะฮฺคือการละหมาด ผู้ใดที่การละหมาดของเขานั้นดี ( ตรงต่อเวลาและมีสมาธิที่ดี ) เขาก็จะได้รับความสำเร็จ ส่วนผู้ที่การละหมาดของเขาบกพร่องและไม่ดี ( เช่นไม่ตรงต่อเวลา ไม่บริสุทธิ์ใจ ไม่มีสมาธิ เป็นต้น) เขาก็จะขาดทุน และจะเสียดายในภายหลัง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เปรียบเทียบคนละหมาดห้าเวลาว่า "ผู้ใดหากมีคลองอยู่บริเวณหน้าบ้านของเขา แล้วเขาได้อาบน้ำในคลองนั้นห้าเวลาต่อวันร่างกายของเขาจะยังติดสิ่งสกปรกอีกหรือ? พวกเศาะหาบะฮฺตอบว่า ไม่มีอะไรจะเหลือเลย ท่านนบีกล่าวว่า "แท้จริงการการละหมาดห้าเวลานั้นสามารถที่จะลบล้างบาปต่างๆ ดังน้ำที่สามารถจะลบล้างสกปรกได้" แน่นอนร่างกายของเขาก็สะอาดเนื่องจากเขาจำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด หรือ มีน้ำละหมาดทุกครั้งที่เขาจะทำการละหมาด ไม่ว่าการละหมาดห้าเวลา หรือ การละหมาดสุนัตต่างๆ และจิตใจของเขาก็บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งสกปรกต่างๆ ทางจิตใจโดยเฉพาะความสกปรกของบาปที่อิสลามถือว่าเป็นสิ่งสกปรกที่นำมาซึ่งอันตรายและความหายนะต่อมนุษย์ในโลกหน้า ซึ่งสอดกล้องกับการตรัสของอัลลอฮฺความว่า "แท้จริงการละหมาด (ที่ถูกต้อง) นั้นจะยับยั้งการทำลามกและความชั่ว" (อัลอันกะบูต :45 )

    การละหมาดที่สมบูรณ์และมีความประเสริฐที่สุด คือ การละหมาดที่ถูกต้องทุกประการ ทั้งรูปแบบ ตรงต่อเวลาและการถ่อมตน มีสมาธิที่ดี ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้ความสำคัญของการละหมาดที่มีคุณค่ามากที่สุด ท่านกล่าวว่า "อะมัลที่ดีที่สุด หรือที่อัลลอฮฺทรงชอบที่สุด (ส่วนหนึ่ง) คือ การละหมาดตรงต่อเวลา"

    ตรงกันข้ามคนที่ทำการละหมาดที่ไม่ตรงต่อเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละหมาดนอกเวลาด้วยเจตนาโดยไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ยอมรับได้ในทางศาสนา หรือการละหมาดที่ไม่มีการสมาธิ ก็ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ไม่พึ่งประสงค์ในอิสลาม ยิ่งกว่านั้นเขาจะอยู่ในกลุ่มซาฮูน (พวกที่ละเลยต่อการละหมาด) ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาไว้จะลงโทษด้วยความหายนะและความวิบัติ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสในอัลกุรอานความว่า "ดังนั้นความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำการละหมาดคือผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา" (อัลมาอูน : 4-5)

    5. เราละหมาด เนื่องจากการละหมาดมีประโยชน์อันมากมายทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เช่น

    5.1 การละหมาดเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นมุสลิมของเรา เราสามารถที่จะแยกแยะระหว่างคนมุสลิมกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมได้

    5.2 การละหมาดเป็นคุณลักษณะของมุสลิมที่มีอามัลศอลิห์และมีอัคลาก/มารยาทที่ดีงาม

    5.3 คนที่ดำรงการละหมาดเป็นผู้เดินทางแสวงหาความบริสุทธิ์ จากความเลวร้ายต่างๆ และแสวงหาสวรรค์ ดังนั้นคนที่ดำรงการละหมาดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ เขาก็จะได้รับผลบุญและจะได้เข้าสวรรค์ ซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาปรานีต่อบ่าวที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์และรอซูล

    6. เราไม่ทิ้งละหมาดเพราะการทิ้งละหมาดถือว่าเป็นการทรยศและฝ่าฝืนคำบัญชาของอัลลอฮฺและท่านรอซูล ยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นกาฟิรหากเขาปฏิเสธหุกุ่มวาญิบของการละหมาด

    7. การละหมาดนั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิม ซึ่งต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ละหมาดถือว่าเราเป็นคนหนึ่งที่ทำลายศาสนาของเราเอง ซึ่งทุกวันนี้ศาสนาของเราถูกบิดเบือนมากพอสมควรแล้ว

    8. เราละหมาดเพราะว่าเราต้องการจะตายในขณะที่เราอยู่ในสภาพเป็นมุสลิมที่ปฏิบัติหน้าที่ภักดีต่ออัลลอฮฺอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะการละหมาด "พวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาดนอกจากพวกเจ้าเป็นมุสลิมเท่านั้น" (อาล อิมรอน :102)

    9. เราละหมาดเพราะเราไม่อยากเข้านรก ดังที่อัลลอฮฺได้ทรงถามถึงสาเหตุที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่เข้านรก “สะก็อร” พวกเขาตอบว่าเรามิได้อยู่ในหมู่ผู้ทำละหมาด เรามิได้ให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัดสน และพวกเขาเคยมั่วสุมอยู่กับพวกที่มั่วสุม

    ดังนั้นเรามาดำรงละหมาดเถอะ มาปฏิบัติอย่างถูกต้องตามที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สอนเราไว้ ละหมาดให้ตรงเวลาด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ที่เต็มเปี่ยมด้วยสมาธิ

    จงชักชวนเพื่อน ๆ ของเราให้มาทำละหมาดเพื่อจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺและพ้นจากไฟนรกในวันอะคีเราะฮฺ

    จงละหมาดเถิด ก่อนที่ท่านจะถูกละหมาด และจงเตาบัต กลับใจไปสู่อัลลอฮฺเถิด ก่อนที่ประตูเตาบัตจะถูกปิด

    ด้วยความปรารถนาดีจาก

    ชมรมส่งเสริมกิจการอิสลามปัตตานี