×
ว่าด้วยหุก่ม(บทบัญญัติ)ต่างๆ เกี่ยวกับเลือดประจำเดือน และเลือดหลังคลอดบุตร จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    เลือดประจำเดือนและ เลือดหลังคลอดบุตร

    [ ไทย ]

    الحيض والنفاس

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: ดานียา เจะสนิ

    ترجمة: دانيا جيء سنيك

    ตรวจทาน: อัสรัน นิยมเดชา

    مراجعة: عصران نيئيوم ديشا

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    เลือดอัลหัยฎฺ (ประจำเดือน) และอันนิฟาส (หลังคลอดบุตร)

    ความหมายของ อัลหัยฎฺ

    อัลหัยฎฺ คือ เลือดธรรมชาติหรือเลือดประจำเดือนที่ทำความสะอาดมดลูด ซึ่งหลั่งออกมาจากอวัยวะเพศของสตรีในเวลาที่แน่นอน โดยปรกติแล้วระยะเวลาของการมีเลือดประจำเดือนนั้น มีหกหรือเจ็ดวัน

    สภาพเดิมของเลือดอัลหัยฎฺ

    อัลลอฮฺได้สร้างเลือดอัลหัยฎฺขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารหรือประโยชน์ทางโภชนาการของทารกในท้องมารดา ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยพบว่าคนท้องมีประจำเดือน เมื่อคนท้องคลอดออกมาเลือดดังกล่าวก็จะกลายเป็นน้ำนมที่สะสมอยู่ในเต้านมทั้งสองของมารดาด้วยเหตุนี้อีกเช่นกัน ที่ไม่ค่อยพบว่าคนที่อยู่ในระยะให้นมบุตรมีประจำเดือน ดังนั้นหากผู้หญิงคนใดปลอดจากระยะการท้องหรือระยะการให้นมบุตรแล้ว จะต้องมีเลือดประเดือนคงอยู่ในมดลูกอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ หลังจากนั้นก็จะหลั่งออกมาในทุกๆ เดือนเป็นเวลาหกหรือเจ็ดวัน

    ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนสำหรับการหลั่งเลือดอัลหัยฎฺ ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาอย่างน้อยที่สุดหรือกำหนดระยะเวลาอย่างมากได้ และไม่สามารถกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาหมดประจำเดือนได้และไม่สามารถการกำหนดระยะเวลาที่ปลอดหรือสะอาดจากหัยฏฺสองครั้งเป็นระยะเวลาอย่างน้อยที่สุดหรือระยะเวลาอย่างมากได้

    ความหมายของอันนิฟาส

    อันนิฟาสคือ เลือดที่หลั่งออกมาจากอวัยวะเพศของสตรีหลังคลอดบุตรหรือหลั่งออกมาพร้อมๆ กับบุตร หรือก่อนคลอด

    โดยปรกติแล้วเลือดอันนิฟาสจะมีระยะเวลา 40 วัน เมื่อสตรีคนใดหมดเลือดนิฟาสก่อนถึง 40 วันก็จำเป็นจะต้องละหมาดและถือศีลอดหลังจากอาบน้ำเรียบร้อยแล้วและสำหรับสามีของเธอก็จะมีเพศสัมพันธ์กับเธอได้ และหากมีเลือดต่อไปจนถึง 60 วัน ก็ยังคงเป็นเลือดอันนิฟาสอยู่ แต่ถ้าเกิน 60 วันจะถือว่าเป็นเลือดเสีย

    หุกุ่มเลือดที่ออกมาจากมดลูกผู้หญิงที่ท้องอยู่

    ผู้หญิงที่ท้องอยู่เมื่อมีเลือดออกมาจากมดลูกมากๆ และไม่ได้แท้งลูกแสดงว่าเลือดนั้นเป็นเลือดเสีย เธอจะละทิ้งละหมาดเนื่องจากเลือดนั้นไม่ได้ แต่เธอต้องอาบน้ำละหมาดในทุกครั้งที่จะละหมาด แต่หากเธอเห็นว่าเลือดที่ออกมานั้นเป็นประจำเดือนที่มาตามปรกติสำหรับเธอก็แสดงว่าเป็นเลือดประจำเดือน เธอจะละทิ้งละหมาดหรือศีลอดหรืออื่นๆเนื่องจากเลือดนั้นได้

    · หะรอม(ห้าม)สำหรับผู้ที่มีเลือดอัลหัยฎฺและเลือดอันนิฟาสทำการเฏาะวาฟรอบๆ บัยตุลลอฮฺจนกว่าเลือดนั้นจะหยุดและอาบน้ำก่อน

    · ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีเลือดอัลหัยฎฺและเลือดอันนิฟาสจับต้องมุศหัฟฺ นอกจากว่ามีหน้าปกหรือสิ่งอื่นกันไว้ไม่สัมผัสโดยตรง

    · สตรีที่อยู่ในระยะที่มีเลือดอัลหัยฎฺนั้น เธอจะละหมาดไม่ได้ ไม่ว่าเลือดนั้นจะมาตามปรกติ หรือเกินจากปรกติแล้ว หรือน้อยกว่าเวลาปรกติก็ตาม ซึ่งเมื่อเลือดดังกล่าวหยุดแล้ว ให้เธออาบน้ำและละหมาด ส่วนการชดสิ่งที่ขาดไปนั้นให้เธอชดเฉพาะการถือศีลอดแต่ไม่ต้องชดการละหมาด

    · อนุญาตให้สตรีใช้ยาระงับประจำเดือนได้ หากมีความจำเป็นแต่ต้องมั่นใจว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าว และเธอก็จะอยู่ในสภาพที่สะอาดจากเลือดประจำเดือน และต้องถือศีลอดและละหมาด

    เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าหมดช่วงอัลหัยฎฺแล้ว

    เมื่อเธอพบว่ามีน้ำเหลวสีขาวไหลออกมาหลังเลือดอัลหัยฎฺหยุด แต่หากใครไม่มีน้ำดังกล่าวบ่งบอก เธอจะรู้ได้ด้วยการใส่สำลีสีขาวไว้ที่ปากมดลูก ถ้าสำลีนั้นไม่เปลียนสีก็แสดงว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเธอสะอาดจากเลือดอัลหัยฎฺแล้ว

    หากมีเลือดสีเหลืองและสีขุ่นออกมาในเวลาที่มีประจำเดือนตามปรกติก็ถือว่าเป็นเลือดประจำเดือน แต่หากออกมาก่อนหรือหลังเวลาที่มีประจำเดือนตามปรกติ จะถือว่าไม่ใช่เลือดประจำเดือน เธอจะต้องละหมาดและถือศีลอด และสำหรับสามีเธอนั้นจะร่วมหลับนอนกับเธอได้ตามปรกติ และหากเลือดสีเหลืองหรือสีขุ่นดังกล่าวออกมาเลยเวลาปรกติแล้ว เธอต้องอาบน้ำและละหมาดเหมือนคนปรกติทั่วไป

    สตรีเมื่อมีประจำเดือนหลังจากเข้าเวลาละหมาดแล้วหรือสะอาดจากประจำเดือนก่อนหมดเวลาละหมาดเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว เธอต้องละหมาดเวลานั้นๆ และสำหรับผู้ที่มีเลือดอันนิฟาส ก็ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน

    อนุญาตให้สามีหาความสุขจากภรรยาของเขาโดยการสัมผัสอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นอวัยวะระหว่างสะดือถึงหัวเข่าได้ ในขณะที่ภรรยามีประจำเดือนอยู่ ทั้งนี้มีรายงานจากท่านหญิงมัยมูนะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า

    كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُبَاشِرُ نِسَاءَهُ فَوْقَ الْإِزَارِ وَهُنَّ حُيَّضٌ

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้คลุกคลีเล้าโลมกับบรรดาภรรยาของท่านโดยการสัมผัสอวัยวะนอกเหนือจากอวัยวะระหว่างสะดือถึงหัวเข่าในขณะที่บรรดาภรรยามีประจำเดือน (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 303 ยฺและมุสลิม เลขที่: 294 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

    หุกุ่มการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงมีประจำเดือน

    หะรอม(ห้าม)มีสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศกับผู้มีประจำเดือน ดังที่อัลลอฮฺกล่าวว่า

    «وَيَسْأَلونَكَ عَنِ الْمَحِيضِ قُلْ هُوَ أَذىً فَاعْتَزِلُوا النِّسَاءَ فِي الْمَحِيضِ وَلا تَقْرَبُوهُنَّ حَتَّى يَطْهُرْنَ فَإِذَا تَطَهَّرْنَ فَأْتُوهُنَّ مِنْ حَيْثُ أَمَرَكُمُ اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ التَّوَّابِينَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِينَ»

    ความว่า “และพวกเขาจะถามเกี่ยวกับประจำเดือน จงกล่าวเถิดมุหัมหมัดว่าประจำเดือนเป็นสิ่งที่มีโทษ ดังนั้นพวกเจ้าจงปลีกตัวจากหญิงในขณะที่มีประจำเดือนและอย่าเข้าใกล้พวกนาง จนกว่าพวกนางจะสะอาด ครั้นเมื่อนางได้ชำระร่างกายสะอาดแล้ว ก็จงเข้าหานางตามที่อัลลอฮฺได้ใช้พวกท่าน แท้จริงอัลลอฮฺได้ชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด”(อัลบะเกาะเราะฮฺ:222)

    · ไม่อนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีประจำเดือนจนกว่าเธอจะสะอาดจากเลือดประจำเดือนและอาบน้ำชำระร่างกายก่อน หากผู้ใดมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีประจำเดือนก่อนการอาบน้ำถือว่าเขามีบาป

    · หากชายจงใจมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขาโดยไม่ได้ถูกบังคับทั้งที่รู้ว่าภรรยาของเขามีประจำเดือนถือว่าเขามีบาป เขาต้องเตาบะฮฺและจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ ส่วนฝ่ายหญิงก็ต้องเตาบะฮฺและจ่ายเช่นกัน ซึ่งค่ากัฟฟาเราะฮฺนั้นคือหนึ่งดีนารฺหากมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่มีประจำเดือน และครึ่งดีนารฺหากมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่เลือดประจำเดือนหยุดแล้วแต่ก่อนที่จะอาบน้ำยกหะดัษใหญ่ (หนึ่งดีนารฺเท่ากับทองคำหนัก 4.25 กรัม)

    ทั้งนี้มีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องชายคนหนึ่ง ซึ่งมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขาในขณะที่เธอมีประจำเดือนว่า

    يَتَصَدَّقُ بِدِينَارٍ أَوْ نِصْفِ دِينَارٍ

    ความว่า “เขาต้องจ่ายเศาะดะเกาะฮฺหนึ่งดีนารฺหรือครึ่งดีนารฺ ” (เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ รายงานโดยอะบูดาวุด เลขที่:264 โปรดดูในเศาะฮีหฺอะบูดาวุด เลขที่:238 และรายงานโดยนะสาอียฺ เลขที่:289โปรดดูในเศาฮีหฺนะสาอียฺ เลขที่:278)

    · สิ่งที่หะรอม(ห้าม)เนื่องจากการมีประจำเดือนคือ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การเฏาะลาก การละหมาด การถือศีลอด การสัมผัสมุศหัฟฺ(อัลกุรอาน) การเฏาะวาฟฺ การหยุดนิ่งในมัสยิด

    อัลมุสตะหาเฎาะฮฺ คือ ผู้ที่ออกเลือดเนื่องจากความผิดปรกติของร่างกาย

    ความแตกต่างระหว่างอัลหัยฎฺและอัลอิสติหาเฎาะฮฺ

    1- อัลหัยฎฺ คือเลือดที่ไหลออกมาจากส่วนลึกของช่องคลอดเรียกว่า “อาซิรฺ” มีสีดำ ละเอียดมีกลิ่นเหม็นและไม่เกาะตัวเป็นก้อนหลังจากออกมา

    2- อัลอิสติหาเฎาะฮฺ คือเลือดที่ไหลออกมาจากส่วนในของปากช่องคลอดเรียกว่า “อาซิลฺ” มีสีแดง หยาบ ไม่มีกลิ่นเหม็นและจะเกาะตัวเป็นก้อนหลังจากออกมา

    วิธีการชำระล้างของอัลมุสตะหาเฎาะฮฺ

    สำหรับอัลมุสตะหาเฎาะฮฺต้องอาบน้ำให้สะอาดหนึ่งครั้งหลังจากเลือดหยุดและให้อาบน้ำวุฎูอ์ทุกครั้งที่จะละหมาด แล้วให้เอาผ้าหรือสิ่งอื่นๆปิดช่องคลอดไว้

    สำหรับอัลมุสตะหาเฎาะฮฺนั้นมี 4 กรณี ด้วยกันคือ

    1- เป็นผู้ที่รู้กำหนดการมาประจำเดือนที่แน่นอน ซึ่งจะต้องค่อยให้ผ่านช่วงที่แน่นอนนั้นๆ หลังจากนั้นให้อาบน้ำและละหมาด

    2- เป็นผู้ที่ไม่รู้กำหนดการมาประจำเดือนที่แน่นอน ซึ่งจะต้องค่อยให้ผ่านไปหกหรือเจ็ดวัน เพราะว่าเป็นระยะเวลาการมาประจำเดือนโดยปรกติ หลังจากนั้นให้อาบน้ำและละหมาด

    3- เป็นผู้ที่มาประจำเดือนไม่แน่นอน แต่เธอสามารถแยกแยะเลือดอัลหัยฎฺซึ่งมีสีดำจากเลือดอื่นๆได้ ดังนั้นเมื่อเลือดอัลหัยฎฺหยุดเธอจึงอาบน้ำและละหมาด

    4- เป็นผู้ที่มาประจำเดือนไม่แน่นอนและเธอไม่สามารถแยกแยะเลือดอัลหัยฎฺซึ่งมีสีดำจากเลือดอื่นๆได้ ดังนั้นเธอจะต้องค่อยให้ผ่านไปหกหรือเจ็ดวันหลังจากนั้นให้อาบน้ำและละหมาด

    · หากหญิงใดตกเลือดหรือแท้งออกมาเป็นหยดเลือด ถือว่าไม่ใช่เลือดอัลหัยฎฺและอันนิฟาส แต่ถ้าแท้งออกมาเป็นทารกที่มีอายุ 4 เดือนแล้ว ถือว่าเป็นเลือดอันนิฟาส ถ้าแท้งออกมาเป็นก้อนเลือด หรือก้อนเนื้อที่มียังไม่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ไม่ถือว่าเป็นเลือดอันนิฟาส ถึงแม้ว่าจะเห็นเลือด ถ้าแท้งออกมาเป็นทารกที่เป็นรูปเป็นร่างแล้ว และมีอายุครบ ถือว่าเป็นเลือดอันนิฟาส

    · อนุญาตให้อัลมุสตะหาเฎาะฮฺ(ผู้ที่มีเลือกอิสติหาเฎาะฮฺ)ทำการละหมาด ถือศีลอด อิอฺติกาฟฺ และทำอิบาดะฮฺอื่นๆ

    ทั้งนี้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่าท่านฟาฎิมะฮฺ บินตุ หุบัยชฺ ได้ถามท่านนบีว่า

    إِنِّي أُسْتَحَاضُ فَلَا أَطْهُرُ أَفَأَدَعُ الصَّلَاةَ ؟ فَقَالَ : «لَا، إِنَّ ذَلِكِ عِرْقٌ وَلَكِنْ دَعِي الصَّلَاةَ قَدْرَ الْأَيَّامِ الَّتِي كُنْتِ تَحِيضِينَ فِيهَا ثُمَّ اغْتَسِلِي وَصَلِّي»

    ความว่า “ฉันมีเลือดอิสติหาเฎาะฮฺ ตัวฉันจึงไม่สะอาด ดังนั้นฉันจะขาดละหมาดได้หรือไม่? ท่านบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า "ไม่ได้เพราะเลือดดังกล่าวนั้นเป็นเลือดปรกติทั่วไป แต่ทว่าเธอจะขาดละหมาดได้เพียงช่วงวันที่เธอเคยมาประจำเดือนเท่านั้น หลังจากนั้นเธอต้องอาบน้ำและละหมาด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 325 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่: 333)

    · อนุญาตให้ทั้งชายและหญิงอ่านอัลกุรอาน(โดยไม่สัมผัสมุศหัฟ) แม้ในเวลาที่ชายผู้นั้นมีญุนุบ หรือหญิงผู้นั้นมีอัลหัยฎฺ อันนิฟาส หรือญุนุบ แต่ที่ดีที่สุดให้อ่านอัลกุรอานในขณะที่สะอาดปราศจากนะญิสและหะดัษทั้งปวง