×
ข้อมูลว่าด้วยประเภทของโรคภัยไข้เจ็บและการรักษา โรคทางใจ การป้องกัน ความชั่วร้ายของชัยฏอนมนุษย์และญิน การเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อลูกหลานอาดัม ลักษณะการเป็นศัตรูของชัยฏอน เส้นทางของชัยฏอน ประตูทางเข้าของชัยฏอน ก้าวย่างในการล่อลวงของชัยฏอน สิ่งที่ใช้ป้องกันตัวเองจากชัยฏอน จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    ดุอาอ์และซิกิรฺที่ใช้อ่านเพื่อป้องกันจากชัยฏอน

    ﴿ ما يعتصم به العبد من الشيطان من الأدعية والأذكار ﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2009 - 1430

    ﴿ ما يعتصم به العبد من الشيطان من الأدعية والأذكار ﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: صافي عثمان

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ดุอาอ์และซิกิรฺที่ใช้อ่านเพื่อป้องกันจากชัยฏอน

    ประเภทของโรคภัยไข้เจ็บและการรักษา

    โรคภัยไข้เจ็บมีสองประเภท คือ โรคทางใจ และโรคทางกาย

    โรคทางใจนั้นมีสองชนิด คือ

    1. โรคที่ว่าด้วย ชุบฮะฮฺ (ความเคลือบแคลงสงสัย) เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงพวกมุนาฟิกว่า:

    (ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ) [البقرة/10]

    ความว่า "ในหัวใจของพวกเขานั้นมีโรคอยู่ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงเพิ่มให้พวกเขาเป็นโรค และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันแสนเจ็บปวด เนื่องด้วยเหตุที่พวกเขาโป้ปดมดเท็จ"

    (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 10)

    2. โรคที่ว่าด้วย ชะฮฺวะฮฺ (อารมณ์ใฝ่ต่ำ) เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสต่อเหล่ามารดาแห่งศรัทธาชนว่า

    (ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ) [الأحزاب/32]

    วามว่า "ดังนั้น พวกเธอจงอย่าทำเสียงอ่อน เพราะมันจะเป็นเหตุให้คนที่มีโรคในใจเกิดความใคร่อยาก"

    (อัล-อะหฺซาบ: 32)

    ส่วนโรคทางกายนั้นก็คือ การเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วๆ ไป

    การเยียวยาจิตใจและการรักษาโรคทางใจนั้นจะรู้ได้ผ่านการสอนของศาสนทูตทั้งหลายเท่านั้น แท้จริงแล้วไม่มีความดีใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับจิตใจเว้นแต่เมื่อมันรู้จักพระเจ้าและผู้สร้างมัน ด้วยพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ ด้วยกิริยาและบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความโปรดปรานและความรักของพระองค์ และเป็นเหตุให้ห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามและความโกรธกริ้วของพระองค์

    ส่วนการรักษาโรคทางกายนั้นมีสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺได้สอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายรู้ได้ด้วยสันดานเดิม เช่น การรักษาความหิวกระหายและความเหนื่อยล้า ซึ่งสามารถที่จะทำให้หายด้วยสิ่งตรงข้าม (นั่นคือการกิน การดื่ม และพักผ่อน ฯลฯ เหล่านี้สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็รู้ได้เองโดยสันดาน) อีกชนิดหนึ่งนั้นต้องอาศัยการคิดและสังเกต การรักษานี้ต้องใช้ยาจากธรรมชาติหรือจากพระผู้เป็นเจ้า หรือใช้ทั้งสองอย่างพร้อมๆ กัน

    โรคทางใจ

    โรคทางใจ คือ อาการที่ผิดปกติจากความผ่องใสและความสมดุลของจิตใจ จิตใจที่ผ่องใสคือหัวใจที่รู้จักสัจธรรม รักความจริง และให้ความสำคัญกับมันเหนือสิ่งอื่นใด เพราะฉะนั้นโรคทางใจนั้นจึงอาจจะเกี่ยวข้องกับความสงสัยในสัจธรรม หรือให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นมากกว่ามัน เช่นโรคทางใจของพวกมุนาฟิกผู้กลับกลอก ซึ่งมีทั้ง ชุบฮะฮฺ และ ชะฮฺวะฮฺ ส่วนโรคทางใจของผู้ที่ทำบาปนั้นคือโรคแห่ง ชะฮฺวะฮฺ นอกจากนี้ยังมีโรคทางใจอื่นๆ อีกเช่น การโอ้อวด การหยิ่งยะโส การหลงตัวเอง การอิจฉาริษยา การทะนงตน การผยอง ชอบตำแหน่ง และทำตัวสูงส่งในแผ่นดิน โรคเหล่านี้ล้วนกำเนิดมาจากโรคหลักสองอย่าง คือ ชุบฮะฮฺ และ ชะฮฺวะฮฺ ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง – ขออัลลอฮฺประทานความปลอดภัยแก่เราด้วยเทอญ

    การป้องกันความชั่วร้ายของชัยฏอนมนุษย์และญิน

    1. อัลลอฮฺได้สั่งให้เราพยายามสนทนาปราศรัยและทำดีกับศัตรูที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน เพื่อปรับให้นิสัยอันดีงามดั้งเดิมของเขากลับสู่ความรักใคร่และมารยาทที่ดี พระองค์ตรัสว่า

    (ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ) [فصلت/34-35]

    ความว่า "และย่อมไม่เท่ากันระหว่างความดีและความชั่ว จงต้าน(ความชั่วร้ายของคู่กรณี)ด้วย(วิธีการและแนวทาง)ที่ดีที่สุด เมื่อนั้น คนที่มีความเป็นศัตรูกันะหว่างเจ้ากับเขาก็จะกลับมาเป็นดังมิตรสหายผู้ใกล้ชิด และไม่มีใครที่จะได้รับสิ่งนั้น เว้นแต่ผู้ที่อดทน และไม่มีใครที่ได้รับสิ่งนั้น เว้นแต่เขาย่อมเป็นผู้ที่มีโชคอันยิ่งใหญ่"

    (ฟุศศิลัต: 34-35)

    2. อัลลอฮฺสั่งให้เราขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้เราพ้นจากศัตรูที่เป็นชัยฏอน ซึ่งไม่ยอมรับกับเจรจาหรือทำดีด้วย ทว่านิสัยของมันนั้นคือการล่อลวงและเป็นศัตรูกับมนุษย์แต่เดิมอยู่แล้ว พระองค์ตรัสว่า

    (ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ) [فصلت/36]

    ความว่า "และหากว่ามีการยุแหย่เจ้าจากชัยฏอนด้วยการยั่วยุใดๆ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยินและผู้รอบรู้ยิ่ง" (ฟุศศิลัต: 36)

    มลาอิกะฮฺและชัยฏอนนั้นจะคอยวนเวียนเปลี่ยนเวรเข้ามายังหัวใจของมนุษย์ เหมือนการเปลี่ยนผันของกลางวันและกลางคืน มนุษย์บางคนอาจจะมีกลางคืนนานกว่ากลางวัน บางคนกลางวันอาจจะนานกว่ากลางคืน บางคนอาจจะมีเวลาเป็นกลางคืนตลอด และบางคนก็อาจจะมีช่วงเวลาที่เป็นกลางวันตลอด (เป็นการเปรียบเทียบสภาพของหัวใจมนุษย์กับมลาอิกะฮฺและชัยฏอน) มลาอิกะฮฺนั้นมีงานที่พวกเขาจะทำกับหัวใจมนุษย์ ชัยฏอนก็มีงานที่พวกมันจะทำกับหัวใจมนุษย์เช่นกัน และไม่มีสิ่งใดที่อัลลอฮฺได้สั่งใช้และมีบัญชา เว้นแต่ชัยฏอนจะต้องเข้ามาล่อลวงด้วยสองทางเสมอ คือ อาจจะเป็นด้วยการล่อลวงให้ทำอย่างเกินเลยและละเมิดขอบเขต หรือล่อลวงให้ทำอย่างหย่อนยานและบกพร่อง

    การเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อลูกหลานอาดัม

    มนุษย์และญินซึ่งเป็นมัคลูกที่ถูกใช้โดยอัลลอฮฺนั้น มีความพิเศษเหนือมัคลูกอื่นๆ อยู่สามประการคือ มีสติปัญญา มีศาสนา และมีสิทธิในการตัดสินใจเลือก อิบลีสเป็นผู้แรกที่ใช้นิอฺมัตทั้งสามประการนี้ในทางที่ผิดด้วยการทรยศต่อคำสั่งแห่งพระผู้อภิบาลของมัน ทว่ายังหัวแข็งและดื้อด้านที่จะอยู่ในสภาพนั้น ซ้ำยังได้ขอร้องให้พระองค์ไว้ชีวิตมันจนถึงวันกิยามะฮฺ เพื่อที่จะใช้นิอฺมัตนี้ในการล่อลวงลูกหลานอาดัม และตกแต่งความผิดบาปให้ดูสวยงาม เพื่อชวนให้พวกเขาได้เข้านรกตามพวกมันไป

    1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭽ) [فاطر/6]

    ความว่า "แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูกับพวกเจ้า ดังนั้น จงถือว่ามันเป็นศัตรู แท้จริงแล้วมันเรียกร้องพรรคพวกของมันเพื่อให้กลายเป็นชาวนรก"

    (ฟาฏิร: 6)

    2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [يوسف/5]

    ความว่า "แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูที่ชัดเจนสำหรับมนุษย์"

    (ยูซุฟ: 5)

    3. จาก ญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إنَّ عَرْشَ إبْلِيسَ عَلَى البَـحْرِ فَيَبْعَثُ سَرَايَاهُ فَيَفْتِنُونَ النَّاسَ، فَأَعْظَمُهُـمْ عِنْدَهُ أَعْظَمُهُـمْ فِتْنَةً».

    ความว่า "แท้จริง บัลลังก์ของอิบลีสนั้นอยู่เหนือมหาสมุทร แล้วมันก็จะส่งกองทัพของมันเพื่อล่อลวงมนุษย์ ตัวที่ร้ายกาจที่สุดในหมู่ลูกน้องที่อยู่กับมันคือตัวที่ร้ายกาจที่สุดในการล่อลวง"

    (บันทึกโดย มุสลิม: 2813)

    ลักษณะการเป็นศัตรูของชัยฏอน

    ลักษณะการแสดงออกถึงการเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อมนุษย์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ

    บางครั้ง ด้วยการหลอกมนุษย์ และตกแต่งความชั่วร้ายและบาปให้ดูสวยงามแก่พวกเขา แล้วมันก็ผละจากพวกเขาโดยไม่รับผิดชอบ

    บางครั้ง ด้วยการหลอกให้มนุษย์มีความสับสนลังเลในการปฏิบัติอะมัล

    บางครั้ง ด้วยการทำให้มนุษย์หลงผิด ให้สัญญาและความหวังอย่างโกหก และยุแหย่ระหว่างพวกเขา

    บางครั้ง ด้วยการชักชวนและนำพวกเขาสู่การทำบาปและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย

    บางครั้ง มันจะนั่งขวางทางการทำดีทั้งหมด เพื่อห้ามมนุษย์ไม่ให้ทำดี คอยทำให้ท้อ คอยขัดขวาง และทำให้กลัว

    บางครั้ง มันพยายามให้ทะเลาะกันระหว่างมนุษย์ ด้วยการโยนความเป็นศัตรูและความโกรธเข้าใส่ระหว่างพวกเขา

    บางครั้ง ด้วยการปลุกความอิจฉาริษยาและคิดไม่ซื่อในหัวใจพวกเขา

    บางครั้ง ด้วยการทำร้ายพวกเขาด้วยความชั่วร้ายและโรคต่างๆ และขัดขวางพวกเขาจากเส้นทางของอัลลอฮฺด้วยวิธีการเท่าที่พวกมันจะทำได้

    บางครั้ง ด้วยการปัสสาวะใส่หูของมนุษย์ เพื่อให้พวกเขานอนถึงเช้า และเป่ามนตร์บนหัวของพวกเขาเพื่อไม่ให้พวกเขาตื่น

    ดังนั้น ผู้ใดที่ฟังและเชื่อตามชัยฏอน และยอมรับตามมัน เขาก็จะเป็นพรรคพวกของมันและจะถูกเรียกชุมนุมในวันกิยามะฮฺพร้อมพวกมัน และผู้ใดที่เชื่อฟังพระผู้อภิบาลของเขาและต่อสู้กับชัยฏอน พระองค์ก็จะปกป้องเขาจากมัน และจะทรงให้เขาได้เข้าสู่สวรรค์

    1. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ) [المجادلة/19]

    ความว่า "ชัยฎอนได้เข้า ไปครอบงำพวกเขา มันทำให้พวกเขาลืมรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน พึงทราบเถิดว่า แท้จริงพรรคพวกของชัยฏอนนั้น พวกเขาเป็นผู้ขาดทุน"

    (อัล-มุญาดะละฮฺ: 19)

    2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ) [الإسراء/63-65]

    ความว่า "พระองค์ตรัส(แก่ชัยฏอน)ว่า “เจ้าจงไปให้พ้น! ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเขา(หมู่มนุษย์)ที่ปฏิบัติตามเจ้า แท้จริงนรกคือการตอบแทนของพวกเจ้า(และพรรคพวกที่ตามเจ้า) เป็นการตอบแทนที่สมบูรณ์ และเจ้าจงยั่วยวนผู้ที่เจ้าสามารถทำให้เขาหลงในหมู่พวกเขาด้วยเสียงของเจ้า และชักชวนพวกเขาให้เห็นพ้องด้วยด้วยม้าของเจ้าและด้วยเท้าของเจ้า และจงร่วมกับพวกเขาในทรัพย์สินและลูกหลาน(คือใช้มันในทางที่ผิด) และจงให้สัญญาแก่พวกเขา (คำสั่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺอนุมัติแก่ชัยฏอนเพื่อใช้ทดสอบมนุษย์) และชัยฏอนมิได้ให้สัญญาใดๆ แก่พวกเขา เว้นแต่เป็นการหลอกลวงเท่านั้น แท้จริงปวงบ่าวของข้านั้น เจ้าไม่มีอำนาจใดๆ เหนือพวกเขา และพอเพียงแล้วที่พระเจ้าของเจ้าเป็นผู้คุ้มครอง(บรรดาบ่าวผู้ศรัทธาและพึ่งพาพระองค์)".

    (อัล-อิสรออฺ: 63-65)

    3. จาก สับเราะฮฺ อิบนุ อบู ฟากิฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إنَّ الشَّيْطَانَ قَعَدَ لابْنِ آدَمَ بَأَطْرُقِهِ، فَقَعَدَ لَـهُ بِطَرِيقِ الإسلاِم، فَقَالَ: تُسْلِـمُ وَتَذَرُ دِينَكَ وَدِينَ آبَائِكَ وآبَاءِ أَبِيكَ فَعَصَاهُ فَأَسْلَـمَ.

    ثُمَّ قَعَدَ لَـهُ بِطَرِيقِ الهِجْرَةِ فَقَالَ: تُـهَاجِرُ وَتَدَعُ أَرْضَكَ وَسَمَاءَكَ، وَإنَّمَا مَثَلُ المُهَاجِرِ كَمَثَلِ الفَرَسِ فِي الطِّوَلِ فَعَصَاهُ فَهَاجَرَ.

    ثُمَّ قَعَدَ لَـهُ بِطَرِيقِ الجِهَادِ، فَقَالَ: تُـجَاهِدُ فَهُوَ جُهْدُ النَّفْسِ وَالماَلِ فَتُقَاتِلُ فَتُقْتَلُ فَتُنْكَحُ المَرْأَةُ، وَيُـقْسَمُ المَالُ، فَعَصَاهُ فَجَاهَدَ» فَقَالَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم : «فَمَنْ فَعَلَ ذَلِكَ كَانَ حَقّاً عَلَى الله عَزَّ وَجَلَّ أَنْ يُدْخِلَـهُ الجَنَّةَ..».

    ความว่า "แท้จริง ชัยฏอนจะนั่งอยู่บนทางทั้งหลายของมนุษย์ มันจะนั่งอยู่บนเส้นทางแห่งอิสลาม แล้วมันก็จะกล่าวว่าแก่มนุษย์ 'เจ้าจะรับอิสลาม จะละทิ้งศาสนาของเจ้าและศาสนาของปู่ย่าตายายและบรรพบุรุษของเจ้าอย่างนั้นหรือ?' แต่มนุษย์ก็ไม่เชื่อฟังมัน สุดท้ายเขาก็รับอิสลาม

    จากนั้น มันก็นั่งอยู่บนเส้นทางแห่งการฮิจญ์เราะฮฺ(การอพยพเพื่ออิสลาม) มันจะกล่าวแก่มนุษย์ว่า 'เจ้าจะอพยพ จะละทิ้งแผ่นดินและท้องฟ้าของบ้านเกิดอย่างนั้นหรือ ? แท้จริงคนอพยพนั้นเปรียบเหมือนม้าที่ถูกผูกไว้(คือไม่มีอิสระเหมือนตอนที่อยู่ ณ บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง)' แต่มนุษย์ก็ไม่เชื่อฟังมัน สุดท้ายเขาก็อพยพไป

    จากนั้น มันก็จะนั่งอยู่บนเส้นทางแห่งการญิฮาด มันจะกล่าวแก่มนุษย์ว่า 'เจ้าจะญิฮาดอย่างนั้นหรือ ? มันหนักหนามากทั้งในเรื่องทรัพย์สินและชีวิต เจ้าสู้กับศัตรูแล้วเจ้าก็จะถูกฆ่าตาย ภรรยาของเจ้าก็จะแต่งงานใหม่ ทรัพย์สมบัติก็จะถูกแบ่ง' แต่มนุษย์ก็ไม่ฟังมัน สุดท้ายเขาออกไปญิฮาด"

    ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดที่ปฏิบัติได้ดังกล่าว ย่อมเป็นสิทธิที่อัลลอฮฺจะนำเขาเข้าสวรรค์"

    (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะหฺมัด 16054 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 2979 และ อัน-นะสาอีย์ 3134 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    เส้นทางของชัยฏอน

    ทางที่มนุษย์ใช้ดำเนินชีวิตนั้นมีสี่ทางคือ ขวา ซ้าย หน้า และ หลัง ไม่ว่าเส้นทางใดที่มนุษย์ใช้เดินเขาย่อมต้องพบว่ามีชัยฏอนคอยที่จะล่อลวงเขาทั้งนั้น

    หากบ่าวได้ดำเนินชีวิตเพื่อทำการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่ามีชัยฏอนคอยทำให้ท้อใจ คอยฉุดดึงให้ช้า และคอยขัดขวางเขา

    หากบ่าวได้มุ่งสู่การทำบาป เขาก็จะพบว่ามีชัยฏอนคอยยุยงส่งเสริม คอยรับใช้ คอยช่วยเหลือ และคอยทำให้มันดูสวยงามน่าปฏิบัติ

    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ) [الأعراف/ 16-17]

    ความว่า "มันกล่าวว่า ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ทรงให้ข้าพระองค์ตกอยู่ในความหลงผิด แน่นอนข้าพระองค์จะนั่งขวางกั้นพวกเขาซึ่งทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ แล้วข้าพระองค์จะเข้ามายังพวกเขา จากเบื้องหน้าของพวกเขา และจากเบื้องหลังของพวกเขา และจากเบื้องขวาของพวกเขา และจากเบื้องซ้ายของพวกเขา และพระองค์จะไม่พบว่าส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ขอบคุณ"

    (อัล-อะอฺรอฟ: 16-17)

    ประตูทางเข้าของชัยฏอน

    ช่องทางที่ชัยฏอนใช้เข้ามาก่อกวนมนุษย์นั้นมีสามช่องทางคือ ชะฮฺวะฮฺ (ความใคร่อยาก) ความโกรธ และ ฮะวา (อารมณ์)

    ชะฮฺวะฮฺนั้นเป็นประเภทเดียวกันกับนิสัยของสรรพสัตว์ต่างๆ (บะฮีมียะฮฺ) ด้วยนิสัยนี้มนุษย์จะกลายเป็นผู้ที่ทำร้ายตัวเอง ตัวอย่างของผลลัพธ์ด้านชะฮฺวะฮฺก็คือ ความงกและความตระหนี่

    ความโกรธนั้นเป็นนิสัยของเดรัจฉาน (สะบะอียะฮฺ) ซึ่งหนักกว่าชะฮฺวะฮฺ ด้วยความโกรธทำให้มนุษย์ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ตัวอย่างผลลัพธ์ของความโกรธก็คือ การหลงตัวเองและความหยิ่งยะโสโอหัง

    ฮะวานั้นเป็นนิสัยของชัยฏอน (ชัยฏอนียะฮฺ) ซึ่งหนักหนากว่าความโกรธ ด้วยฮะวานี้มนุษย์ได้ละเมิดในการก่ออธรรมไปยังพระผู้อภิบาลของเขาด้วยการตั้งภาคีและปฏิเสธศรัทธา ตัวอย่างผลลัพธ์ของฮะวาก็คือ กุฟร์และบิดอะฮฺ

    บาปส่วนใหญ่ของมนุษย์นั้นจะมาจากนิสัย บะฮีมียะฮฺ หรือการตามชะฮฺวะฮฺ เพราะเขามักจะไม่มีความสามารถกับส่วนอื่นๆ อีกสองประเภทดังกล่าว และจากการชะฮฺวะฮฺนี่เองที่จะชักนำเขาไปสู่อีกสองชนิดที่เหลือ

    ก้าวย่างในการล่อลวงของชัยฏอน

    ความชั่วร้ายทั้งหมดในโลกเกิดมาจากชัยฏอนเป็นสาเหตุ แต่ความชั่วร้ายของมันจะจำกัดอยู่ในเจ็ดขั้นตอน มันจะคอยล่อลวงมนุษย์จนกระทั่งโดนเข้ากับหนึ่งในเจ็ดขั้นตอนนี้หรือมากกว่า

    ขั้นตอนแรกและที่ร้ายกาจที่สุด คือ ความพยายามที่จะให้บ่าวนั้นตั้งภาคี ปฏิเสธศรัทธา และเป็นศัตรูกับอัลลอฮฺและศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

    ขั้นตอนที่สอง ถ้ามันหมดหนทางที่จะทำได้ตามขั้นตอนแรก มันก็จะเปลี่ยนไปมุ่งให้เขาทำบิดอะฮฺแทน

    ขั้นตอนที่สาม ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สอง มันก็จะเปลี่ยนให้เขามุ่งไปทำบาปใหญ่แทน

    ขั้นตอนที่สี่ ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สาม มันก็จะเปลี่ยนให้เขามุ่งไปทำบาปเล็กแทน

    ขั้นตอนที่ห้า ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่สี่ มันก็จะทำให้เขาวุ่นอยู่กับสิ่งที่เป็นมุบาห์ (สิ่งที่อนุโลมให้ทำ) ซึ่งไม่มีทั้งบุญและบาปใด ให้เขาง่วนอยู่กับสิ่งนั้นจนลืมการทำความดีและหน้าที่อื่นๆ

    ขั้นตอนที่หก ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่ห้า มันก็จะทำให้เขาง่วนอยู่กับงานที่มีความประเสริฐน้อยกว่า แทนที่จะทำงานซึ่งประเสริฐมากกว่า เช่น ให้เขาทำสิ่งที่สุนัตแทนที่จะทำสิ่งที่วาญิบ เป็นต้น

    ขั้นตอนที่เจ็ด ถ้ามันหมดหนทางจากขั้นตอนที่หก มันก็จะส่งพรรคพวกของมันไม่ว่าจะเป็นญินหรือมนุษย์ให้มาทำร้ายและสร้างความเดือดร้อนต่างๆ นานา เพื่อก่อกวนเขา ดังนั้น ผู้ศรัทธาจะยังคงอยู่ในสภาพของการต่อสู้(ญิฮาด)อยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งเขาเสียชีวิตและได้พบกับอัลลอฮฺ เราขอให้พระองค์ประทานความช่วยเหลือและความมั่นคงด้วยเถิด

    สิ่งที่ใช้ป้องกันตัวเองจากชัยฏอน

    บ่าวสามารถป้องกันตัวเองจากชัยฏอนและจากความชั่วร้ายของมัน ด้วยดุอาอ์และบทซิกิรที่มีระบุในอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ในคำสอนของทั้งสองอย่างนั้นมีสิ่งที่ใช้ในการเยียวยา ความเมตตา ทางนำ และการปกป้องจากความชั่วร้ายต่างๆ ในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺตะอาลา ในจำนวนวิธีการป้องกันเหล่านั้นก็คือ

    หนึ่ง การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งรอซูลของพระองค์ให้ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากชัยฏอนในสภาวะทั่วๆ ไป และในสภาวะเฉพาะเช่น เมื่อต้องการอ่านอัลกุรอาน เมื่อมีความโกรธ เมื่อมีความลังเล เมื่อฝันร้าย เป็นต้น

    1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ) [فصلت/36]

    ความว่า "และหากว่ามีการยุแหย่เจ้าจากชัยฏอนด้วยการยั่วยุใดๆ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ได้ยินและผู้รอบรู้ยิ่ง"

    (ฟุศศิลัต: 36)

    2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ) [النحل/98-99]

    ความว่า "ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง แท้จริงมันไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้ศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย(การงาน)ต่อพระเจ้าของพวกเขา"

    (อัน-นะห์ลฺ: 98-99)

    สอง การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (กล่าว บิสมิลลาฮฺ) การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺเป็นการป้องกันจากชัยฏอน และปกป้องไม่ให้มันมายุ่งเกี่ยวปะปนกับมนุษย์เวลาดื่มกิน ยามหลับนอนกับภรรยา เมื่อเข้าบ้าน และทุกๆ อิริยาบทของมนุษย์

    1. จากญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่าได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَـهُ، فَذَكَرَ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ، وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: لا مَبِيتَ لَكُمْ وَلا عَشَاءَ، وَإذَا دَخَلَ فَلَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ، وَإذَا لَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ: أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ وَالعَشَاءَ».

    ความว่า "เมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้านและตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า ไม่มีที่หลับนอนและไม่มีอาหารให้เราอีกแล้ว และเมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านแต่ไม่ได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้าน ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนแล้ว และหากเขาไม่กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนและมีอาหารกินแล้ว" (บันทึกโดย มุสลิม: 2018)

    2. จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «لَو أَنَّ أَحَدَكُمْ إذَا أَرَادَ أَنْ يَأْتِيَ أَهْلَـهُ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، اللَّهُـمَّ جَنِّبْنَا الشَّيْطَانَ، وَجَنِّبِ الشَّيْطَانَ مَا رَزَقْتَنَا، فَإنَّهُ إنْ يُـقَدَّرْ بَيْنَـهُـمَا وَلَدٌ فِي ذَلِكَ لَـمْ يَضُرَّهُ شَيْطَانٌ أَبَدًا».

    ความว่า "หากพวกท่านคนใดคนหนึ่งต้องการหลับนอนมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขา แล้วเขากล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ, อัลลอฮุมมัจญ์นิบนัชชัยฏอน วะ ญันนิบิชชัยฏอน มา เราะซักตะนา (ควาหมาย ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้เราห่างไกลจากชัยฏอน และให้ชัยฏอนห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา) ดังนั้น แท้จริงแล้ว ถ้าหากว่าถูกกำหนดให้มีลูกระหว่างทั้งสองเนื่องด้วย(การมีเพศสัมพันธ์)ในครั้งนั้น ชัยฏอนก็จะไม่สามารถทำร้ายเขา(ลูกคนนั้น)ได้ตลอดไป" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 7396 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 1434)

    สาม การอ่านสองสูเราะฮฺ อัล-มุเอาวิซะตัยน์ คือ สูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก และ สูเราะฮฺ อัน-นาส เมื่อเข้านอน หลังละหมาด เมื่อเจ็บป่วย และกรณีคล้ายๆ กัน ดังที่มีรายงานจากอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า เมื่อครั้งที่เราได้เดินทางกับท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ระหว่าง ญุฮฺฟะฮฺ กับ อับวาอ์ อยู่นั้น ได้เกิดมีลมพัดแรงและฟ้ามืดทึบมาปกคลุม ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺด้วยการอ่านสูเราะฮฺ(الناس) และ (الفلك) และท่านได้กล่าวว่า

    «يَا عُقْبَةُ تَعَوَّذْ بِـهِـمَا فَمَا تَعَوَّذَ مُتَعَوِّذٌ بِمِثْلِـهِـمَا». قَالَ: وَسَمِعْتُـهُ يَؤُمُّنَا بِـهِـمَا فِي الصَّلاةِ.

    ความว่า "โอ้ อุกบะฮฺ จงขอความคุ้มครองด้วยมันทั้งสอง(สองสูเราะฮฺนี้) เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้ขอความคุ้มครอง(ได้ดีเท่า)เหมือนกับสองสูเราะฮฺนี้" อุกบะฮฺเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอ่านสูเราะฮฺนี้ในการเป็นอิมามละหมาดกับเรา (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 17483 และ อบู ดาวูด 1463 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    สี่ อ่านอายะฮฺ อัล-กุรสีย์

    จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันเฝ้าซะกาตของเดือนเราะมะฎอน และแล้วก็มีสิ่งหนึ่ง(คือญินตนหนึ่ง)มาหาฉัน มันได้ขุดคุ้ยหาอาหาร ฉันจึงจับมันไว้และบอกว่า "ขอสาบานว่าข้าจะนำเจ้าไปให้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" แล้วท่านก็เล่าหะดีษที่ยาวซึ่งในตอนท้ายของหะดีษมีว่า มัน(ญินที่มาขโมยอาหารนั้น)ได้กล่าวว่า "เมื่อท่านเอนกายลงบนที่นอนก็จงอ่านอายะฮฺ อัล-กุรสีย์ แล้วอัลลอฮฺจะให้มีสิ่งที่คอยเฝ้าพิทักษ์ท่าน และชัยฏอนตัวไหนก็มิอาจจะเข้าใกล้ท่านได้จนกระทั่งรุ่งเช้า แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กล่าวว่า

    «صَدَقَكَ وَهُوَ كَذُوبٌ، ذَاكَ شَيْطَانٌ»

    ความว่า "มันซื่อสัตย์กับเจ้า ทั้งๆ ที่มันเป็นจอมโกหก นั่นแหล่ะคือชัยฏอน" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ โดยไม่ระบุสายรายงาน 5010 อัน-นะสาอีย์ และคนอื่นๆ ได้ระบุสายรายงานหะดีษนี้ด้วยสายที่เศาะฮีหฺ ดู มุคตะศ็อร เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ ของ อัล-อัลบานีย์ 2:106)

    ห้า การอ่านสองอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ตั้งแต่ (ﮗ ﮘ ...) จนจบสูเราะฮฺ

    จาก อบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ قَرَأَ هَاتَينِ الآيَتَيْنِ مِنْ آخِرِ سُورَةِ البَقَرَةِ فِي لَيْلَةٍ كَفَتَاهُ».

    ความว่า "ผู้ใดที่อ่านสองอายะฮฺนี้ของท้ายสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ในเวลากลางคืน มันจะช่วยคุ้มครองเขา" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5009 และ มุสลิม 808 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    หก การอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

    จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «لا تَـجْعَلُوا بُيُوتَـكُمْ مَقَابِرَ إنَّ الشَّيْطَانَ يَنْفِرُ مِنَ البَيْتِ الَّذِي تُقْرَأُ فِيهِ سُورَةُ البَقَرَةِ».

    ความว่า "อย่าได้ทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเหมือนสุสาน(คือไม่มีการอ่านอัลกุรอานและทำอิบาดะฮฺในบ้าน) แท้จริงแล้วชัยฏอนจะหนีออกจากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ" (บันทึกโดย มุสลิม 780)

    เจ็ด กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกิร)ให้มาก ด้วยการอ่านอัลกุรอาน การตัสบีหฺ ตะหฺมีด ตักบีร ตะฮฺลีล เป็นต้น

    จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «مَنْ قَالَ: لا إلَـهَ إلا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ مِائَةَ مَرَّةٍ كَانَتْ لَـهُ عَدْلَ عَشْرِ رِقَابٍ، وَكُتِبَتْ لَـهُ مِائَةُ حَسَنَةٍ، وَمُـحِيَتْ عَنْـهُ مِائَةُ سَيِّئَةٍ، وَكَانَتْ لَـهُ حِرْزاً مِنَ الشَّيْطَانِ يَومَهُ ذَلِكَ حَتَّى يُـمْسِيَ، وَلَـمْ يَأْتِ أَحَدٌ بِأَفْضَلَ مِـمَّا جَاءَ إلَّا رَجُلٌ عَمِلَ أَكْثَرَ مِنْـهُ».

    ความว่า "ผู้ใดกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลก์ วะละฮุลหัมดุ วะฮูวา อะลา กุลลิ ชัยอิน เกาะดีรฺ (ความหมายดุอาอฺ : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดสำหรับพระองค์ อำนาจการปกครองและมวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล) จำนวนหนึ่งร้อยครั้ง ย่อมเท่ากับ(การปล่อยทาส)สิบคน และถูกบันทึกแก่เขาหนึ่งร้อยความดีงาม และถูกลบล้างแก่เขาหนึ่งร้อยความผิด และมันจะเป็นปกป้องเขาจากชัยฏอนในวันนั้นจนกระทั่งเย็น และไม่มีผู้ใดในวันกิยามะฮฺที่จะนำสิ่งใดๆ อันประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้นำมา(ด้วยการกล่าวบทซิกิรดังกล่าว) นอกจากผู้ที่อ่านมากกว่าเขา" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6403 สำนวนรายงานเป็นของท่าน และ มุสลิม หมายเลข 2691)

    แปด ดุอาอฺเมื่อออกจากบ้าน

    จากอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إذَا خَرَجَ الرَّجُلُ مِنْ بَيْتِـهِ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، تَوَكَّلْتُ عَلَى الله، لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِاللهِ٬» قَالَ: «يُـقَالُ حِينَئِذٍ هُدِيتَ وَكُفِيتَ وَوُقِيتَ فَتَتَنَحَّى لَـهُ الشَّيَاطِينُ، فَيَـقُولُ لَـهُ شَيْطَانٌ آخَرُ: كَيفَ لَكَ بِرَجُلٍ قَدْ هُدِيَ وَكُفِيَ وَوُقِيَ».

    ความว่า "เมื่อชายผู้หนึ่งออกจากบ้านของเขาและได้กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, ลาเหาละ วะลา กุว์วะตะ อิลลา บิลลาฮฺ (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่งยังอัลลอฮฺ ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ) เมื่อนั้นก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านได้รับการชี้นำแล้ว ท่านได้รับการคุ้มครองแล้ว ท่านได้รับการปกป้องแล้ว และชัยฏอนทั้งหลายก็จะพยายามเข้าใกล้เขา แต่จะมีชัยฏอนตัวอื่นกล่าว่า เจ้าจะทำอย่างไรได้เล่ากับชายซึ่งได้รับการชี้นำ ได้รับการคุ้มครองและปกป้องแล้ว?" (บันทึกโดย อบู ดาวูด 5095 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 3426)

    เก้า ดุอาอฺเมื่อแวะพักระหว่างทาง

    จาก เคาละฮฺ บินตุ หะกีม อัส-สุละมียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า:

    «إذَا نَزَلَ أَحَدُكُمْ مَنْزِلاً فَلْيَـقُلْ: أَعُوذُ بِكَلِـمَاتِ الله التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ، فَإنَّهُ لا يَضُرُّهُ شَيْءٌ حَتَّى يَرْتَـحِلَ مِنْـهُ».

    ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหยุดพัก(ระหว่างเดินทาง) ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเขาก็กล่าวว่า อะอูซุ บิกะลีมาติลลาฮิต ต๊ามมาต, มิน ชัรริ มา เคาะลัก (ความหมาย ฉันขอความคุ้มครองด้วยถ้อยคำอันสมบูรณ์แห่งอัลลอฮฺ จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้าง) ดังนั้น จะไม่มีสิ่งใดที่ทำร้ายเขาได้ จนกระทั่งเขาเดินทางออกไปจากที่นั้น" (บันทึกโดย มุสลิม 2708)

    สิบ พยายามระงับการหาวและใช้มือปิดปาก

    1. จาก อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إذَا تَثَاوَبَ أَحَدُكُمْ فَلْيُـمْسِكْ بِيَدِهِ عَلَى فِيهِ فَإنَّ الشَّيْطَانَ يَدْخُلُ».

    ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหาว ก็จงใช้มือของเขาปิดปากเสีย เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนจะเข้าไป" (บันทึกโดย มุสลิม 2995)

    2. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «التّثَاوُبُ مِنَ الشَّيْطَانِ، فَإذَا تَثَاءَبَ أَحَدُكُمْ فَلْيَكْظِمْ مَا اسْتَطَاعَ».

    ความว่า "การหาวนั้นมาจากชัยฏอน ดังนั้นเมื่อพวกท่านคนใดหาวก็จงพยายามระงับมันเท่าที่สามารถทำได้" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 3289 และ มุสลิม 2994 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

    สิบเอ็ด การอะซาน

    จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «إذَا نُودِيَ لِلصَّلاةِ أَدْبَرَ الشَّيْطَانُ لَـهُ ضُرَاطٌ حَتَّى لا يَسْمَعَ التَّأْذِينَ، فَإذَا قُضِيَ النِّدَاءُ أَقْبَلَ، حَتَّى إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ أَدْبَرَ، حَتَّى إذَا قُضِيَ التَّثْوِيبُ أَقْبَلَ، حَتَّى يَـخْطُرَ بَيْنَ المَرْءِ وَنَفْسِهِ، يَـقُولُ اذْكُرْ كَذَا، اذْكُرْ كَذَا لِـمَا لَـمْ يَكُنْ يَذْكُر حَتَّى َيظَلَّ الرَّجُلُ لا يَدْرِي كَمْ صَلَّى».

    ความว่า "เมื่อมีการอะซานเรียกสู่การละหมาด ชัยฏอนจะหนีไปไกลพร้อมกับตดไปด้วย (วิ่งหนีไปด้วยสภาพเช่นหางจุกตูด) เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงอะซาน เมื่อสิ้นเสียงอะซานมันก็จะกลับมาอีก จนกระทั่งเมื่อมีการอิกอมะฮฺเพื่อละหมาด มันก็จะหนีอีกครั้ง และเมื่ออิกอมะฮฺเสร็จมันก็จะกลับมา จนกระทั่งมันได้เข้าไปรบกวนคนคนหนึ่งกับใจของเขา ด้วยการล่อลวงว่า 'จงนึกถึงสิ่งนี้และสิ่งนั้น' ให้เขานึกถึงสิ่งที่เคยนึกไม่ได้ จนกระทั่งชายคนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกตัวว่าได้ละหมาดไปเท่าไรแล้ว" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 608 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 389)

    สิบสอง ดุอาอฺตอนเข้ามัสญิด

    จาก อุกบะฮฺ กล่าวว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้เล่าให้เราฟังจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า เมื่อท่านนบีเข้ามัสญิดท่านจะกล่าวว่า

    «أَعُوذُ بِالله العَظِيمِ، وَبِوَجْهِهِ الكَرِيمِ، وَسُلْطَانِـهِ القَدِيمِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ». قَالَ: أَقَطُّ؟ قُلْتُ: نَعَمْ، قَالَ: فَإذَا قَالَ ذَلِكَ قَالَ الشَّيْطَانُ: حُفِظَ مِنِّي سَائِرَ اليَومِ.

    (คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิลอะซีม, วะบิวัจญ์ฮิฮิล กะรีม, วะสุลฏอนิฮิล เกาะดีม, มินนัช ชัยฏอนิร เราะญีม)

    ความว่า "ข้าขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยพระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมของพระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง"

    อุกบะฮฺ ถามคนที่ฟังหะดีษ(นักรายงานที่ชื่อ หัยวะฮฺ)อยู่ว่า "ท่านฟังจากฉันเท่านี้เองหรือ?" เขา(หัยวะฮฺ)ตอบว่า "ใช่" อุกบะฮฺ จึงกล่าวต่อไปว่า "เมื่อเขากล่าวดุอาอ์นั้น ชัยฏอนก็จะพูดว่า เขาถูกปกป้องจากฉันวันนั้นทั้งวัน" (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 466)

    สิบสาม การทำวุฎูอฺ(อาบน้ำละหมาด)และเศาะลาฮฺ(ละหมาด) โดยเฉพาะมีความโกรธและมีอารมณ์ใคร่อยากในบาป เพราะไม่มีสิ่งใดที่บ่าวจะใช้ดับความร้อนรุ่มของความโกรธและอารมณ์ใคร่ได้ดีเท่าการอาบน้ำละหมาดและการละหมาด

    สิบสี่ การเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ หลีกเลี่ยงจากการดูและพูดเรื่อยเปื่อย การกินที่เกินเลย และการคลุกคลีปะปนที่เกินพอดี

    สิบห้า ทำให้บ้านปลอดจากรูปภาพ รูปปั้น สุนัข และกระดิ่ง(หรือระฆัง)

    1. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

    «لا تَدْخُلُ المَلائِكَةُ بَيْتاً فِيهِ تَـمَاثِيلُ أَوْ تَصَاوِيرُ».

    ความว่า "มลาอิกะฮฺจะไม่เข้าบ้านที่มีรูปปั้นและรูปภาพ" (บันทึกโดย มุสลิม 2112)

    2. จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า:

    «لا تَصْحَبُ المَلائِكَةُ رُفْقَةً فِيْـها كَلْبٌ وَلا جَرَسٌ».

    ความว่า "มลาอิกะฮฺจะไม่อยู่ร่วมกับผู้เดินทางที่มีสุนัขและกระดิ่ง" (บันทึกโดย มุสลิม 2113)

    สิบหก หลีกเลี่ยงสถานที่อาศัยของญินและชัยฏอน เช่น ที่ร้าง ที่โสโครกมีนะญิส อาทิ สุขา(หรือสถานที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ) ที่ทิ้งขยะ เป็นต้น หรือสถานที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัย เช่น ทะเลทราย ชายหาดที่เปลี่ยว เป็นต้น รวมทั้ง คอกอูฐ และ อื่นๆ ในทำนองเดียวกัน