×
Image

ฟิตนะฮฺ ดัจญาล - (ไทย)

กล่าวถึงสัญญาณใหญ่ประการหนึ่งก่อนวันสิ้นโลก นั่นคือ การปรากฏตัวของดัจญาล อธิบายคุณลักษณะและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และระบุการเตรียมตัวเพื่อปกป้องตัวเองให้พ้นจากมัน พร้อมหลักฐานจากหะดีษ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ว่าด้วยความสุข - (ไทย)

บทความเกี่ยวกับการนิยามความสุข และมุมมองอิสลามต่อข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เป็นการหยิบยกตัวอย่างความสุขในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานและหะดีษ จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ความประเสริฐของอัลกุรอานและการอ่านมัน - (ไทย)

บทความเกี่ยวกับความประเสริฐของอัลกุรอาน และการอ่านอัลกุรอาน อธิบายบทบาทและความสำัคัญของอัลกุรอานต่อมวลมนุษย์ พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จากพระัดำรัสของอัลลอฮฺและหะีดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดย ดร. อะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

คุณลักษณะนิสัยที่ดี - (ไทย)

อธิบายความหมายของการมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี ความสำคัญและความประเสริฐของมัน โดยยกหลักฐานจากอัลกุรอาน หะดีษ และตัวอย่างจากกัลยาณชนรุ่นแรก อาศัยการอธิบายที่เรียบง่าย กระชับ แต่แฝงด้วยเนื้อหาที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เหมาะแก่การใช้สำหรับตักเตือนในโอกาสต่างๆ ได้

Image

การรีบเร่งทำความดี - (ไทย)

สมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธาที่จะต้องมีความตื่นตัวและรีบเร่งทำความดี เพราะชีวิตของคนเราช่างสั้นนัก และความตายนั้นก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลยว่าความตายจะมาเยือนเขาเมื่อใด บทความนี้ยกตัวอย่างเรื่องราวจากอดีต หลักฐานสนับสนุนจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมถึงระบุตัวอย่างผลดีต่างๆ ในการเร่งทำความดีก่อนจะหมดโอกาส

Image

อันตรายของการทำชั่วอย่างเปิดเผย - (ไทย)

โทษของการฝ่าฝืนและการทำชั่วนั้นรุนแรงและน่ากลัวทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺและบาปความชั่วที่เลวร้ายที่สุด ก็คือการทำชั่วอย่างเปิดเผย ซึ่งหมายถึงการที่คนคนหนึ่งประพฤติชั่วต่อหน้าสาธารณชน หรืออาจกระทำในที่ลับซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงช่วยปกปิดการกระทำของเขาไว้ แต่ทว่าเขาเองกลับบอกเล่าการกระทำต่าง ๆ ของเขาให้ผู้อื่นได้รับรู้ จึงถือเป็นการเพิกเฉยไม่เห็นค่าการปกปิดของพระองค์ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ผู้ศรัทธาต้องน้อมรับคำสั่งอัลลอฮฺและเราะสูล - (ไทย)

อธิบายและสรุปบทเรียนจากสูเราะฮฺ อัล-อะห์ซาบ อายะฮฺที่ 36 เป็นการตอกย้ำคำสั่งให้เชื่อฟัง เมื่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ได้บัญญัติหรือกำหนดสิ่งใดแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดสามารถขัดขืนหรือแสวงหาทางเลือกอื่นได้ และจะไม่มีความคิดเห็นหรือคำพูดใด ๆ มาตีเสมอเทียบเคียงได้เป็นอันขาด พร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่องราวของท่าน ญุลัยบีบ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮฺ ในเรื่องดังกล่าวนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

การชดใช้หนี้สิน - (ไทย)

อธิบายหะดีษต่างๆ ว่าด้วยการเตือนให้ชดใช้หนี้สิน และภัยจากการไม่ยอมใช้หนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องรับโทษในสุสานและถูกกักกันไม่ให้เข้าสวรรค์ในวันกิยามะฮฺ รวมทั้งแนะนำข้อปฏิบัติต่างๆ สำหรับเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

อัน-นะศีหะฮฺ การตักเตือน - (ไทย)

อธิบายหะดีษ “อิสลามคือนะศีหะฮฺ” ผู้เขียนได้อธิบายและจำแนกประเภทต่างๆ ของการตักเตือน รวมทั้งประโยชน์อันมากมาย และสิ่งที่เงื่อนไขหรือมารยาทในการตักเตือน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

เตือนไม่ให้เกียจคร้าน - (ไทย)

กล่าวถึงมุมมองและคำสอนของอิสลามว่าด้วยความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นนิสัยที่อิสลามห้าม โดยมีหลักฐานระบุในเรื่องดังกล่าวจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมทั้งคำพูดจากบรรดาอุละมาอ์ ในบทความยังกล่าวถึงประเภทของความเกียจคร้านและวิธีการขจัดนิสัยที่ไม่น่าพึงประสงค์นี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ตาชั่งในวันปรโลก - (ไทย)

อธิบายความหมายของตาชั่งที่อัลลอฮฺจะใช้ในการชำระสอบสวนมนุษย์ในวันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องศรัทธา รวมทั้งกล่าวถึงผลดีต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการศรัทธาดังกล่าว เช่น การมุ่งมั่นทำความดี การรักษาความดีงามต่างๆ จากสาเหตุที่จะทำให้มันสูญเสียและบกพร่อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ข้อผิดพลาดบางประการของผู้ทำหัจญ์ - (ไทย)

กล่าวถึงข้อผิดพลาดบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบพิธีหัจญ์ อาทิ การละหมาดนอกเวลา การขอดุอาอ์หันหน้าไปทางกุโบร์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การถ่ายรูปที่ระลึกจนเกินเลย การอิห์รอมเลยมีกอต การขอดุอาอ์เฉพาะบทอย่างเจาะจงในเฏาะวาฟ การอยู่นอกเขตอะเราะฟะฮฺ การมอบหมายให้คนอื่นขว้างหินแทน การตัดผมไม่ทั่ว การโกนเคราเมื่อตะหัลลุล จากหนังสือ “อัด-ดุร็อร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ” โดยเชค ดร.อะมีน อัช-ชะกอวีย์