×
Image

คำสั่งปรับหลุมศพให้เท่ากัน - (ไทย)

ภัยของหลุมศพถือเป็นภัยร้ายแรงที่ชัยฏอนมารร้ายใช้เป็นอุบายหลอกล่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้คนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีในการยกย่องหลุมศพ ก่อสร้างบนมัน และละหมาดหันไปทางมันจนกระทั้งไปถึงให้สักการะหลุมศพ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงห้ามยกหลุมศพให้สูง หรือให้มีสิ่งก่อสร้าง หรือละหมาดไปทางหลุมศพ ขณะเดียวกันท่านก็ได้ใช้ให้มีการให้เกียรติ และไม่ให้ทำร้ายผู้อยู่ในหลุมศพด้วย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

การเยี่ยมสุสาน - (ไทย)

การเยี่ยมสุสานนั้นเป็นสุนนะฮฺที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีแบบอย่างไว้ ท่านทำด้วยตัวท่านเองและได้มีคำสั่งให้ทำด้วย เพราะมันทำให้คิดถึงโลกอาคิเราะฮฺ คนที่มีปัญญาเมื่อได้เห็นที่พำนักสุดท้ายของเขาในโลกนี้แล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะมีความสมถะ และมุ่งเน้นกับการก่อร่างสร้างบ้านอันถาวรของเขาในโลกอาคิเราะฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ลักษณะของพวกมุนาฟิก - (ไทย)

ลักษณะของพวกมุนาฟิกนั้นมามากมายอัลกุรอานได้เตือนไว้ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงบางลักษณะเอาไว้เพื่อเตือนประชาชาติของท่านจะได้ไม่พลาดพลั้งไปทำแล้วจะกลายเป็นคนที่คล้ายคลึงกับพวกเขา และส่วนหนึ่งก็คือ ลักษณะทั้งสี่ประการเหล่านี้ การคดโกง การทรยศ การโกหก และการทำเลว ทั้งสี่ข้อนี้แทบจะไม่เกิดกับผู้ใดเลยนอกจากคนที่เป็นมุนาฟิกเท่านั้น และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวเช่นกันถึงเครื่องหมายของการเป็นมุนาฟิกคือ มีความหนักอึ้งในการละหมาดอิชาอ์และฟัจญ์รฺ และมันเป็นสิ่งที่เกิดกับมุสลิมบางคนในทุกวันนี้ มุสลิมจึงควรรู้จักลักษณะต่างๆเหล่านี้ และระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ความประเสริฐของการดะอฺวะฮฺ - (ไทย)

การเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ เป็นภารกิจของบรรดาเราะสูล และมันก็เป็นวิถีทางของผู้ศรัทธา อัลลอฮฺทรงบัญญัติใช้ในคัมภีร์ของพระองค์ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้สนับสนุนให้ทำ และบอกถึงรางวัลอันยิ่งใหญ่ในการดังกล่าวนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ให้รวมกันและห้ามแตกแยก - (ไทย)

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสอนให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และอยู่อย่างรอมชอมกัน และอยู่ร่วมกันบนสัจธรรม และเพราะอย่างนั้นอัลลอฮฺและเราะซูลถึงได้เตือนมิให้แตกแยกและขัดแย้งกัน เพราะเป็นสิ่งที่จะทำลายความเป็นปึกแผ่น และทำให้แถวทัพ(ความเข้มแข็ง)ด้อยลง และเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ นานา และถูกศัตรูเข้ามายึดครอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ความบริสุทธิ์ใจและการตั้งเจตนา - (ไทย)

อธิบายความสำคัญของการตั้งใจและบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ อ้างจากอายะฮฺอัลกุรอานและหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมบทเรียนที่ได้รับ อธิบายสั้นๆ เหมาะสำหรับใช้อ่านและตักเตือนในโอกาสต่างๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

การทำดีต่อบิดามารดา - (ไทย)

บิดามารดานั้นมีสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ต่อคนเรา อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้คู่กันกับสิทธิของอัลลอฮฺอันเป็นมูลเหตุให้อัลลอฮฺทรงสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และทรงสั่งใช้ให้ประพฤติดีและทำดีต่อท่านทั้งสอง นั่นก็เพราะบิดามารดา ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่ง –โดยเฉพาะมารดา- ในการอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูกๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะหกาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

ความประเสริฐของมัสยิดอัล-หะรอม และมัสยิดอัล-มะดีนะฮฺ - (ไทย)

อัลลอฮฺทรงเจาะจงให้มัสยิดอัล-หะรอมที่มักกะฮฺ และมัสยิดนบีที่มะดีนะฮฺ เป็นการเฉพาะไม่เหมือนกับที่อื่นๆ และให้ความโปรดปรานทั้งสองมากกว่ามัสยิดที่อื่นๆ และทำให้ผลบุญของการละหมาดในมัสยิดทั้งสองนี้มากกว่าผลบุญของละหมาดที่อื่นหลายเท่า และทรงห้ามการเดินทางที่ไปเพื่อใกล้ชิดกับอัลลอฮฺนอกจากมัสยิดทั้งสองและมัสยิดอัล-อักศอ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก http://IslamHouse.com/78415

Image

มารยาทดี - (ไทย)

การมีมารยาทดี ทั้งพูดจาดี ปฏิบัติดีกับผู้อื่น อดทนและคอยช่วยเหลือผู้อื่น หรืออื่นๆที่ถือเป็นมารยาทอันน่ายกย่องนั้น มีสถานะยิ่งใหญ่ในศาสนาอิสลาม ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้กระทำมัน และบอกว่ามันเป็นการงานที่ประเสริฐที่สุดที่จะใช้ในการใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นได้บรรลุขั้นสูงสุดของการมีมารยาทดี โดยที่อัลลอฮฺได้ทรงยืนยันรับรองเรื่องนี้ไว้ แม้กระทั้งกับคนที่เกลียดท่านเมื่อมาพบเจอท่าน ไม่ทันไร ก็จะเปลี่ยนเป็นรักท่านมากที่สุด ก็ด้วยเพราะมารยาทอันดีงามของท่านนั่นเอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

จุดยืนของมุสลิมต่อความวุ่นวาย - (ไทย)

ความวุ่นวายต่าง ๆ นั้น เป็นเครื่องทดสอบที่อัลลอฮฺใช้มันทดสอบประชาชาตินี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกถึงการจะเกิดขึ้นของมัน และชี้แนะถึงสิ่งที่มุสลิมควรกระทำยามที่มันเกิดขึ้น เพื่อให้เขาได้รอดพ้นจากความเลวร้ายของมันด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

การเลียนแบบพวกกาฟิร - (ไทย)

มุสลิมนั้นควรมีอัตลักษณ์โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ อัลลอฮฺทรงต้องการให้เขานั้นโดดเด่นกว่าคนอื่นๆที่เป็นพวกมุชริก และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนไม่ให้ไปเลียนแบบพวกมุชริกและได้ห้ามปรามอย่างหนักแน่นที่สุดเพราะการเลียนแบบภายนอกนั้นจะชักนำไปสู่การเลียนแบบภายในได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

เตือนให้ระวังและอยู่ห่างจากฟิตนะฮฺ - (ไทย)

ในยุคสุดท้าย ความวุ่นวายจะมีมากมากและหลากหลายรูปแบบ และจะมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียหายล้มตายเพราะมัน และไม่มีผู้ใดจะรอดพ้นจากความเลวร้ายของมันได้นอกจากผู้ที่ยึดมั่นในแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม และหลีกเลี่ยงสุดกำลังที่จะเข้าไปข้องแวะใดๆในความวุ่นวายนี้ และยืนหยัดอยู่กับคนมุสลิมส่วนใหญ่ และช่วยกันพยายามแก้ไขเท่าที่สามารถพร้อมกับมีความอดทน และวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ยืนหยัดบนหลักการศาสนา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม