ความประเสริฐของการดะอฺวะฮฺ
หมวดหมู่
Full Description
ความประเสริฐของการดะอฺวะฮฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
2014 - 1435
فضل الدعوة إلى الله
« باللغة التايلاندية »
د. راشد بن حسين العبد الكريم
ترجمة: سعد واري
مراجعة: فيصل عبدالهادي
المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية
موقع الإسلام www.al-islam.com
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความประเสริฐของการดะอฺวะฮฺ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَمَنۡ أَحۡسَنُ قَوۡلٗا مِّمَّن دَعَآ إِلَى ٱللَّهِ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا وَقَالَ إِنَّنِي مِنَ ٱلۡمُسۡلِمِينَ ٣٣ ﴾ [فصلت: ٣٣]
“และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ และเขาปฏิบัติงานที่ดี และกล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้นอบน้อม” (ซูเราะฮฺฟุศศิลัต:33)
และทรงตรัสอีกว่า
﴿ ٱدۡعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِٱلۡحِكۡمَةِ وَٱلۡمَوۡعِظَةِ ٱلۡحَسَنَةِۖ وَجَٰدِلۡهُم بِٱلَّتِي هِيَ أَحۡسَنُۚ ﴾ [النحل: ١٢٥]
“จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า” (ซูเราะฮฺอัน-นะห์ลิ:125)
และทรงตรัสอีกว่า
﴿ قُلۡ هَٰذِهِۦ سَبِيلِيٓ أَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱللَّهِۚ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ أَنَا۠ وَمَنِ ٱتَّبَعَنِيۖ ﴾ [يوسف: ١٠٧]
“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์อย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน” (ซูเราะฮฺยูสุฟ:107)
ท่านสะฮล์ บินสะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่ท่านอลี บินอบี ฏอลิบในวันค็อยบัรว่า
»اَنْفِذ عَلى رِسْلِك حَتّى تَنْزِل بِسَاحَتِهِم ثُمّ ادْعُهُم إِلى الإِسْلامِ وَأخْبِرْهُم بِمَا يَجِبُ عَلَيْهِم مِن حَقّ اللهِ تَعَالى فِيه، فَواللهِ لَأَن يَهْدِيَ اللهُ بِكَ رَجُلا وَاحِداً خَيْرٌ لَكَ مِنْ حُمُرِ النعم» [متفق عليه[
“จงเคลื่อนทัพไปตามที่เจ้าเห็นควร จนกระทั้งเมื่อไปถึงอาณาบริเวณของพวกเขาแล้ว จากนั้นก็ให้เชิญชวนพวกเขามาสู่อิสลาม และบอกพวกเขาถึงสิทธิที่เขาต้องทำให้กับอัลลอฮฺ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ การที่อัลลอฮฺทรงนำทางผู้ใดผู้หนึ่งโดยใช้เจ้า ย่อมเป็นการดีสำหรับเจ้ามากกว่าการได้มีอูฐแดง” (อูฐแดง คือ อูฐพันธุ์ดีที่สุด (คือเป็นพาหนะที่ดีที่สุดในยุคนั้น -ผู้แปล)) บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ دَعَا إِلى هُدى كَانَ لَهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلَ أُجُوْرِ مَن تَبِعَهُ لَا يَنْقُصُ ذلكَ مِنْ أُجْورِهِم شَيْئاً، وَمَن دَعَا إِلى ضَلَالَةٍ كَانَ عَلَيْهِ مِنْ الإِثْمِ مِثْلَ آثَامِ مَنْ تَبِعَهُ لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثامِهِمْ شَيْئاً» [أخرجه مسلم[
“ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้กระทำตามเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขา(คือ คนที่ทำตาม)นั้นจะไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนไปสู่การหลงผิด เขาจะได้รับบาปเท่ากับบาปของผู้ที่กระทำตามเขา โดยบาปของพวกเขา(คือ คนที่ทำตาม)นั้นจะไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด” บันทึกโดยมุสลิม
อธิบาย
การเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ เป็นภารกิจของบรรดาเราะสูล และมันก็เป็นวิถีทางของผู้ศรัทธา อัลลอฮฺทรงบัญญัติใช้ในคัมภีร์ของพระองค์ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้สนับสนุนให้ทำ และบอกถึงรางวัลอันยิ่งใหญ่ในการดังกล่าวนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
· ความประเสริฐของการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ
· รางวัลตอบแทนอันใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่อัลลอฮฺทรงใช้เขาเป็นสื่อในการให้ทางนำกับใครสักคน
· และผู้ใดที่เชิญชวนผู้คนให้มาทำความดี เขาก็จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้ปฏิบัติตามเขาด้วย