ลักษณะของพวกมุนาฟิกนั้นมามากมายอัลกุรอานได้เตือนไว้ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงบางลักษณะเอาไว้เพื่อเตือนประชาชาติของท่านจะได้ไม่พลาดพลั้งไปทำแล้วจะกลายเป็นคนที่คล้ายคลึงกับพวกเขา และส่วนหนึ่งก็คือ ลักษณะทั้งสี่ประการเหล่านี้ การคดโกง การทรยศ การโกหก และการทำเลว ทั้งสี่ข้อนี้แทบจะไม่เกิดกับผู้ใดเลยนอกจากคนที่เป็นมุนาฟิกเท่านั้น และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกกล่าวเช่นกันถึงเครื่องหมายของการเป็นมุนาฟิกคือ มีความหนักอึ้งในการละหมาดอิชาอ์และฟัจญ์รฺ และมันเป็นสิ่งที่เกิดกับมุสลิมบางคนในทุกวันนี้ มุสลิมจึงควรรู้จักลักษณะต่างๆเหล่านี้ และระวังไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ลักษณะของพวกมุนาฟิก - (ไทย)
ความบริสุทธิ์ใจและการตั้งเจตนา - (ไทย)
อธิบายความสำคัญของการตั้งใจและบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ อ้างจากอายะฮฺอัลกุรอานและหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมบทเรียนที่ได้รับ อธิบายสั้นๆ เหมาะสำหรับใช้อ่านและตักเตือนในโอกาสต่างๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
จุดยืนของมุสลิมต่อความวุ่นวาย - (ไทย)
ความวุ่นวายต่าง ๆ นั้น เป็นเครื่องทดสอบที่อัลลอฮฺใช้มันทดสอบประชาชาตินี้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกถึงการจะเกิดขึ้นของมัน และชี้แนะถึงสิ่งที่มุสลิมควรกระทำยามที่มันเกิดขึ้น เพื่อให้เขาได้รอดพ้นจากความเลวร้ายของมันด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก
การเลียนแบบพวกกาฟิร - (ไทย)
มุสลิมนั้นควรมีอัตลักษณ์โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ อัลลอฮฺทรงต้องการให้เขานั้นโดดเด่นกว่าคนอื่นๆที่เป็นพวกมุชริก และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนไม่ให้ไปเลียนแบบพวกมุชริกและได้ห้ามปรามอย่างหนักแน่นที่สุดเพราะการเลียนแบบภายนอกนั้นจะชักนำไปสู่การเลียนแบบภายในได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ในยุคสุดท้าย ความวุ่นวายจะมีมากมากและหลากหลายรูปแบบ และจะมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียหายล้มตายเพราะมัน และไม่มีผู้ใดจะรอดพ้นจากความเลวร้ายของมันได้นอกจากผู้ที่ยึดมั่นในแบบฉบับของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม และหลีกเลี่ยงสุดกำลังที่จะเข้าไปข้องแวะใดๆในความวุ่นวายนี้ และยืนหยัดอยู่กับคนมุสลิมส่วนใหญ่ และช่วยกันพยายามแก้ไขเท่าที่สามารถพร้อมกับมีความอดทน และวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ยืนหยัดบนหลักการศาสนา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทั้งชายและหญิงมีธรรมชาติอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว ทรงกำหนดภารกิจที่เหมาะสมกับแต่ละฝ่าย และทรงเตรียมความพร้อมให้แต่ละฝ่ายสามารถปฏิบัติภารกิจของตนให้ลุล่วงได้ แต่การทำตัวหลุดไปจากธรรมชาติที่พระผู้ทรงรอบรู้ทรงชำนาญสร้างขึ้นมานั้นเป็นเหตุสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางบนหน้าแผ่นดิน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
บั้นปลายของการอธรรม - (ไทย)
การอธรรมนั้น ภัยอันตรายของมันใหญ่หลวง ปั้นปลายของมันเลวร้าย นั่นคือความมืดมนนานาประการแก่ของเจ้าของมันในวันอาคิเราะฮฺ และเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺจัดการและเอาคืนเขาอย่างสาสมรุนแรง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ห้ามการอธรรม และเตือนให้ระวัง - (ไทย)
การอธรรมเป็นหนึ่งในลักษณะที่น่ารังเกียจที่สุดที่เกิดจากคนที่เหย่อหยิ่งจองหองหลงลืมความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ และลืมการลงโทษที่รุนแรงของพระองค์ อัลลอฮฺทรงทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามกับพระองค์เองด้วยเพราะความยุติธรรมอันสมบูรณ์ของพระองค์ และทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามในระหว่างบ่าวของพระองค์ และทรงขู่ด้วยการลงโทษที่รุนแรงเอาไว้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
การยุยงให้คนอื่นทะเลาะกันหรือการยุแยงตะแคงรั่วเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ มีความหมายคือ การนำเอาคำพูดไปบอกต่อคนอื่นๆโดยมีเจตนาร้าย การเที่ยวเดินโพนทะนานั้นถือเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้เกิดการตัดขาดกันระหว่างผู้คน ด้วยเหตุนี้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนให้ระวัง และบอกกล่าวถึงบทลงโทษที่รุนแรงกับผู้ที่กระทำการนี้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
เตือนให้ระวังการสาปแช่ง - (ไทย)
การสาปแช่ง คือ การขับไล่และการทำให้อยู่ห่างไกลจากเมตตาของอัลลอฮฺ และการสาปแช่งคนใดเป็นการเฉพาะเป็นเรื่องอันตราย เพราะการสาปแช่งหากผู้ที่ถูกกล่าวถึงไม่สมควรได้รับมัน มันก็จะกลับไปหาคนที่แช่งมันแทน หลายคนมักจะเลินเล่อในการสาปแช่ง และเป็นเรื่องที่ต้องแสดงการรังเกียจ และเตือนให้ระวัง และไม่มักง่ายกับมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
การนินทาเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ และเป็นหนึ่งในบาปที่แพร่หลายในระหว่างผู้คนมากที่สุด อีกทั้งพวกเขาก็มักง่าย และพากันละเลยไม่แสดงการรังเกียจ ทั้งที่มันเป็นสาเหตุก่อความเป็นศัตรูต่อกัน และทำลายความเป็นปึกแผ่นของพวกเขา และเพราะความน่ารังเกียจของการนินทา อัลลอฮฺทรงเปรียบคนนินทาว่าเหมือนกับคนที่กินศพพี่น้องของเขา และบทลงโทษของคนนินทาในโลกหลุมศพคือเขาจะฉีกหน้าฉีกอกของเขาด้วยกรงเล็บที่ทำจากทองแดง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม
ห้ามการเป็นพยานเท็จ - (ไทย)
การเป็นพยานเท็จ หรือเป็นพยานโกหก ถือเป็นบาปที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เตือนประชาชาติของท่าน เพราะมันรวมเอาทั้งการโกหกที่ถือเป็นลักษณะที่น่ารังเกียจที่สุด และทั้งสิ่งที่เป็นเหตุให้มุสลิมต้องสูญเสียสิทธิไป ด้วยเหตุนี้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงนับเรื่องนี้เป็นหนึ่งในบาปใหญ่ที่ใหญ่ที่สุด และท่านเองทำให้ท่านสะเทือนอารมณ์มากขณะที่ท่านกล่าวเตือนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน จนกระทั้งพวกเขาพากันเป็นห่วงท่าน –ขอความพึงพอพระทัยจงมีแด่พวกท่านทั้งหลายด้วยเถิด เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม