×
Image

วิธีการละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อมวิธีการอาบน้ำละหมาด - (ไทย)

นี่คือคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับการละหมาดตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ฉันขอนำเสนอแด่พี่น้องมุสลิมและมุสลิมะฮฺ เพื่อให้ทุกคนที่อ่านมันจะได้พยายามใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติตาม ดังที่ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า”ท่านทั้งหลายจงละหมาดเหมือนที่ท่านเห็นฉันละหมาด”.

Image

เคล็ดลับดีๆ ให้ชีวิตมีความสุข - (ไทย)

หนังสือที่รวบรวมข้อคิดและเกร็ดชีวิตที่น่าสนใจ เพื่อการสร้างความสุขให้กับชีวิต ตามคำสอนของอัลกุรอาน และแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมทั้งคำแนะนำอื่นๆ ที่กลั่นกรองมาจากหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

Image

การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง(ระบอบอัลคิลาฟะฮฺ) และการปกครองรัฐ (อัลอิมาเราะฮฺ) - (ไทย)

ข้อมูลว่าด้วยอัล-คิลาฟะฮฺและอัล-อิมาเราะฮฺตามบทบัญญัติอิสลาม อาทิ บทบัญญัติว่าด้วยการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง (อัลคิลาฟะฮฺ) รูปแบบในการสรรหาผู้นำ ตำแหน่งตัวแทนของอัลลอฮฺ (อัลคิลาฟะฮฺ) เป็นของชาวกุเรชและมวลมนุษยชาติจะเป็นผู้ปฏิบัติตามชาวกุเรช ห้ามการร้องขอหรือแสวงหาตำแหน่งผู้นำ ให้พยายามออกห่างจากการเป็นผู้นำโดยเฉพาะผู้ที่มีความอ่อนแอในการจะปฏิบัติตามหน้าที่ เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตมุสลิม - (ไทย)

คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตมุสลิม รวบรวมคำถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับหลักศรัทธา และความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมุสลิม อาทิ คำถามเกี่ยวกับหลักการศรัทธาทั้งหกประการ ชิริกหรือการตั้งภาีคี สิ่งต่างๆ ที่มุสลิมต้องหลีกเลี่ยง และอื่นๆ คัดจากหนังสือตัฟซีร อัลอุชริล อะีคีร ของเว็บไซต์ www.tafseer.info

Image

แนะนำบทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยเฉพาะ - (ไทย)

หนังสือที่ประมวลบทบัญญัติต่างๆ ในอิสลามที่เกี่ยวข้องกับสตรีเป็นการเฉพาะ รวบรวมประเด็นต่างๆ โดยสังเขป ประกอบด้วยบทบัญญัติทั่วไป บัญญัติเกี่ยวกับการตกแต่งเรือนร่างของสตรี บัญญัติเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน เลือดเสีย และเลือดหลังคลอด เสื้อผ้าและหิญาบ การละหมาด การจัดการศพ การถือศีลอด การประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺ การเป็นสามีภรรยาและการสิ้นสุดระหว่างกัน บัญญัติต่างๆ ที่จะปกป้องรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความบริสุทธิ์ของสตรี

Image

ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ - (ไทย)

ถาม : การงานที่ทำไปเพื่อการโอ้อวด แล้วในระหว่างที่ทำอยู่นั้น เกิดเปลี่ยนเจตนากลายเป็นทำเพื่ออัลลอฮฺนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฉันอ่านกุรอานเสร็จแล้วเกิดความรู้สึกริยาอ์ขึ้น ถ้าหากฉันต่อสู้กับความรู้สึกดังกล่าวด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ฉันจะได้รับผลบุญจากการอ่านอัลกุรอานในกรณีเช่นนี้หรือไม่ หรือมันจะสูญเปล่าไปเพราะริยาอ์? แม้ว่าริยาอ์นั้นจะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการงานก็ตาม?

Image

คำสั่งให้รีบเร่งจัดการศพ - (ไทย)

อธิบายหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้สั่งให้รีบจัดการศพ “พวกท่านจงรีบเร่งจัดการและนำศพไปฝังเถิด เพราะถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เขาจะได้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้ามิได้เป็นเช่นนั้น พวกท่านก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกท่านเสียที” เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

ผู้ป่วยจะทำความสะอาดจากหะดัษและจะละหมาดอย่างไร - (ไทย)

บทความว่าด้วยวิธีการทำความสะอาดจากหะดัษ ไม่ว่าจะเป็นหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่ และวิธีการละหมาดของผู้ป่วย ผู้เขียนได้อธิบายวิธีการปฏิบัติของผู้ป่วยเมื่อต้องการอาบน้ำละหมาด อาบน้ำยกหะดัษ และการละหมาดไว้อย่างละเอียด เป็นบทความที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อผู้ป่วยจะได้ประกอบศาสนกิจอย่างถูกต้องและตามแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

Image

ความหมายของการถือศีลอดทางภาษาและวิชาการ - (ไทย)

ท่านชัยคฺครับ อยากทราบว่าอะไรคือความหมายของศิยาม (การถือศีลอด) ในเชิงภาษาและตามหลักวิชาการ ? ฟัตวาตอบโดยชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน จากหนังสือ ‎‎“ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต”

Image

การเยี่ยมเยียนกุบูรฺหรือสุสาน - (ไทย)

ข้อมูลว่าด้วย การเยี่ยมเยียนกุบูรฺหรือสุสาน ประกอบด้วย หุก่มการเยี่ยมเยียนสุสาน การขอดุอาอ์ต่อผู้เสียชีวิต สิ่งที่ควรกล่าวเมื่อเข้าสู่บริเวณกุบูรฺและเยี่ยมเยียนกุบูรฺ หุก่มการเยี่ยมเยียนกุบูรฺสำหรับมุสลิมะฮฺ ลักษณะต่างๆ ของผู้ที่ไปเยี่ยมเยียนกุบูรฺ หุก่มการเยียมเยียนสุสานของผู้ไม่ใช่มุสลิม สิ่งที่จะติดตามผู้ตายหลังจากที่เขาตายไป หุก่มการทำ กุร็อบ หรืออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

สิ่งแรกที่มนุษย์ถูกสั่งใช้ - (ไทย)

อะไรคือสิ่งแรกที่มนุษย์ถูกสั่งใช้ให้ทำ? ฟัตวาตอบโดยชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน จากหนังสือ ‎‎“ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต”

Image

คำสั่งปรับหลุมศพให้เท่ากัน - (ไทย)

ภัยของหลุมศพถือเป็นภัยร้ายแรงที่ชัยฏอนมารร้ายใช้เป็นอุบายหลอกล่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้คนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีในการยกย่องหลุมศพ ก่อสร้างบนมัน และละหมาดหันไปทางมันจนกระทั้งไปถึงให้สักการะหลุมศพ ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงห้ามยกหลุมศพให้สูง หรือให้มีสิ่งก่อสร้าง หรือละหมาดไปทางหลุมศพ ขณะเดียวกันท่านก็ได้ใช้ให้มีการให้เกียรติ และไม่ให้ทำร้ายผู้อยู่ในหลุมศพด้วย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก