การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง(ระบอบอัลคิลาฟะฮฺ) และการปกครองรัฐ (อัลอิมาเราะฮฺ)
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง
﴿الخلافة والإمارة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบู บักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿الخلافة والإمارة﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: عصران إبراهيم
مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง
(ระบอบอัลคิลาฟะฮฺ) และการปกครองรัฐ (อัลอิมาเราะฮฺ)
บทบัญญัติว่าด้วยการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง (อัลคิลาฟะฮฺ)
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำแก่บรรดามวลมุสลิมนับเป็นความจำเป็น เพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลาม บริหารจัดการกิจการของมุสลิม ดำรงบทลงโทษ รักษาสิทธิต่างๆ ปกครองด้วยกับสิ่งที่อัลลอฮฺประทานลงมา สั่งใช้เรื่องของความดีงาม ห้ามปรามเรื่องของความชั่วช้า และเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ) [ص/26]
ความหมาย “โอ้ดาวุดเอ๋ย เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรมและอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เจ้าหลงไหลจากทางของอัลลอฮฺ แท้จริงบรรดาผู้ที่หลงไปจากทางของอัลลอฮฺนั้น สำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสเนื่องด้วยพวกเขาลืมวันแห่งการชำระบัญชี” (ศอด : 26)
รูปแบบในการสรรหาผู้นำ
รูปแบบการสรรหาผู้นำให้ยึดปฏิบัติเอาประการหนึ่งประการใด ดังต่อไปนี้
1. โดยประชามติจากบรรดามวลมุสลิม การแต่งตั้งให้เป็นผู้นำจะเสร็จสมบูรณ์ด้วยการทำสัตยาบันของบรรดาผู้มีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการผู้มีความรู้ บรรดาผู้มีคุณธรรม บรรดาผู้ที่เป็นที่ยอมรับมีตำแหน่งสูง และบรรดาแกนนำกลุ่มต่างๆ
2. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำโดยมีการระบุ (เป็นลายลักษณ์อักษร) จากผู้นำที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ก่อนจากเขา
3. โดยการปรึกษาหารือ (ระบบชูรอ) ของบรรดาแกนนำผู้มีความยำเกรงที่ถูกกำหนดขึ้นเป็นจำนวนเฉพาะ แล้วจึงมีมติให้คนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเป็นผู้นำ
4. เข้าปกครองประชาชนโดยวิธีการใช้กำลังจนกระทั่งพวกเขายอมจำนน และยอมรับเขาว่าเป็นผู้นำ ดังนั้นนับว่าเป็นความจำเป็นที่ผู้อยู่ภายใต้การดูแลของเขาจะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามในสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ
การเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺในผืนดิน (อัลคิลาฟะฮฺ) จะเกิดขึ้นด้วยกับการศรัทธาและการประกอบคุณงามความดี
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ) [النور/55]
ความหมาย “อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน เสมือนดังที่พระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้ว และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่มั่นคงเป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยหลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้าไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้น ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้ฝ่าฝืน” (อันนูร : 55)
ตำแหน่งตัวแทนของอัลลอฮฺ (อัลคิลาฟะฮฺ) เป็นของชาวกุเรชและมวลมนุษยชาติจะเป็นผู้ปฏิบัติตามชาวกุเรช
عن معاوية رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «إنَّ هَذَا الأَمْرَ فِي قُرَيْشٍ، لا يُـعَادِيهِـمْ أَحَدٌ إلا كَبَّـهُ الله فِي النَّارِ عَلَى وَجْهِهِ مَا أَقَامُوا الدِّينَ». أخرجه البخاري
1. จากมุอาวียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงในกิจการนี้ (อัลคิลาฟะฮฺ) เป็นของชาวกุเรช ไม่มีผู้ใดเป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขานอกจากอัลลอฮฺจะให้ใบหน้าของเขาคว่ำลงในนรก ตราบใดที่พวกเขายังคงดำรงอยู่ในศาสนา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7139)
عن ابن عمر رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال: «لايَزَالُ هَذَا الأَمْرُ فِي قُرَيْشٍ مَا بَقِيَ مِنْـهُـمُ اثْنَانِ». متفق عليه
2. จากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “กิจการนี้ (คิลาฟะฮฺ) ยังคงเป็นของชาวกุเรช ตราบใดที่พวกเขายังคงเหลืออยู่ถึงแม้สองคนก็ตาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3501 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1820)
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «النَّاسُ تَـبَـعٌ لِقُرَيْشٍ فِي هَذَا الشَّأْنِ مُسْلِـمُهُـمْ تَـبَـعٌ لِـمُسْلِـمِهِـمْ، وَكَافِرُهُـمْ تَـبَـعٌ لِكَافِرِهِـمْ». متفق عليه
3. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “มนุษยชาติจะปฏิบัติตามพวกกุเรชในกิจการด้านนี้ (คิลาฟะฮฺ) บรรดาผู้ที่ศรัทธาจะปฏิบัติตามผู้ศรัทธาของพวกเขา และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธจะปฏิบัติตามผู้ปฏิเสธของพวกเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3495 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1818)
ห้ามการร้องขอหรือแสวงหาตำแหน่งผู้นำ
عن عبدالرحمن بن سمُرة رضي الله عنه قال: قال لي النبي ﷺ: «يَا عَبْدَالرَّحْـمَنِ بِن سَمُرَةَ لا تَسْأَلِ الإمَارَةَ، فَإنْ أُعْطِيتَـهَا عَنْ مَسْأَلَةٍ وُكِلتَ إلَيْـهَا، وَإنْ أُعْطِيتَـهَا عَنْ غَيْرِ مَسْأَلَةٍ أُعِنْتَ عَلَيْـهَا..». متفق عليه
1. จากอับดุรเราะฮฺมาน บิน สะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวกับฉันว่า “โอ้อับดุรเราะฮฺมาน บิน สะมุเราะฮฺท่านอย่าได้ร้องขอตำแหน่งผู้นำ หากท่านได้รับตำแหน่งโดยการร้องขอท่านก็จะถูกกิน (โดยไม่มีใครสนใจ) แต่หากท่านได้รับตำแหน่งโดยไม่ได้ร้องขอท่านก็จะได้รับการช่วยเหลือ...” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7147 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1652)
عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «إنَّكُمْ سَتَـحْرِصُونَ عَلَى الإمَارَةِ، وَسَتَـكُونُ نَدَامَةً يَوْمَ القِيَامَةِ، فَنِعْمَ المُرْضِعَةُ وَبِئْسَتِ الفَاطِمَةُ». أخرجه البخاري
2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงพวกท่านมีความพยายามที่จะแสวงหาตำแหน่งผู้นำกัน และตำแหน่งนั้นมันจะทำให้เสียใจในวันกิยามะฮฺ ดังนั้นความดีงามจะเป็นของผู้ที่ให้นม และความเลวร้ายจะได้กับผู้ที่หย่านม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7148)
عن أبي موسى رضي الله عنه قال: دخلت على النبي ﷺ أَنَا وَرَجُلانِ مِنْ قَومِي فَقَالَ أَحَدُ الرَّجُلَينِ: أمِّرْنَا يَا رَسُولَ الله، وَقَالَ الآخَرُ مِثْلَـهُ، فَقَالَ: «إنَّا لا نُوَلِّي هَذَا مَنْ سَأَلَـهُ وَلا مَنْ حَرَصَ عَلَيْـهِ». متفق عليه
3. จากอบีมูสา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้เข้าไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อมกับชายที่มาจากเผ่าของฉันอีกสองคน คนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺจงแต่งตั้งเราให้เป็นผู้นำ ส่วนอีกคนก็กล่าวเหมือนกับคนแรก ท่านรอสูลตอบว่า แท้จริงในกิจการนี้เราจะไม่แต่งตั้งแก่ผู้ที่ร้องขอและผู้ที่พยายามแสวงหามัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7149 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1733)
ให้พยายามออกห่างจากการเป็นผู้นำโดยเฉพาะผู้ที่มีความอ่อนแอในการจะปฏิบัติตามหน้าที่
عن أبي ذر رضي الله عنه قال: قلت: يا رسول الله ألا تستعملني؟ قال: فضرب بيده على منكبي ثم قال: «يَا أَبَا ذَرٍّ إنَّك ضَعِيفٌ، وَإنَّـهَا أَمَانَةٌ، وَإنَّـهَا يَــومَ القِيَامَــةِ خِزْيٌ وَنَدَامَةٌ إلا مَنْ أَخَذَهَا بِحَقِّهَا وَأَدَّى الَّذِي عَلَيهِ فِيهَا». أخرجه مسلم
จากอบีซัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันกล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺท่านไม่ให้ฉันเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือ? ดังนั้นท่านรอสูลได้เอามือมาวางไว้ที่บนไหล่ของฉัน แล้วกล่าวว่า โอ้อบูซัร แท้จริงท่านเป็นคนอ่อนแอ ตำแหน่งผู้นำเป็นภาระหน้าที่ที่หนัก และในวันกิยามะฮฺจะขาดทุนและเสียใจ นอกจากผู้ที่รับมันมาด้วยกับสิทธิหน้าที่และได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่อันนั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1825)
ความประเสริฐของผู้นำที่มีความยุติธรรมและโทษทัณฑ์ของผู้นำที่อธรรม
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ) [الحجرات/9]
ความหมาย “และพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรม (แก่ทั้งสองฝ่าย) เถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม” (อัลฮุญุรอต : 9)
عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «سَبْعَةٌ يُظِلُّـهُـمُ الله تَعَالَى فِي ظِلِّـهِ يَومَ لا ظِلَّ إلا ظِلُّـهُ إمَامٌ عَدْلٌ، وَشَابٌّ نَشَأَ فِي عِبَادَةِ الله .. » متفق عليه
2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ”มีบุคคล 7 ประเภทที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮฺตะอาลาในวันที่ไม่มีร่มเงาอันใด นอกจากร่มเงาของพระองค์ หนึ่ง..ผู้นำที่มีความยุติธรรม สอง..คนหนุ่มที่เติบโตขึ้นมาโดยการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ...” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 1423 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1031)
عن عبدالله بن عمرو رضي الله عنهما قال: قال رسول الله ﷺ: «إنَّ المُقْسِطِينَ عِنْدَ الله عَلَى مَنَابِرَ مِنْ نُورٍ عَنْ يَـمِينِ الرَّحْـمَنِ عَزَّ وَجَلَّ، وَكِلْتَا يَدَيْـهِ يَـمِينٌ، الَّذِينَ يَـعْدِلُونَ فِي حُكْمِهِـمْ وَأَهْلِيهِـمْ وَمَا وَلُوا». أخرجه مسلم
3. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้ความยุติธรรม ณ ที่อัลลอฮฺเขาจะได้อยู่บนมิมบัรแห่งรัศมีซึ่งอยู่ทางด้านขวาของอัรเราะฮฺมาน (ผู้ทรงปราณี) อัซซาวะญัลลา ในขณะที่มือทั้งสองของพระองค์ทรงมีความดีงาม ความศิริมงคล พวกเขาคือบรรดาผู้ซึ่งให้ความยุติธรรมในการปกครอง และผู้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบดูแลของพวกเขา และสิ่งที่พวกเขาได้ปกครอง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1827)
عن معقل بن يسار رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيهِ اللهُ رَعِيَّةً، يَـمُوتُ يَوْمَ يَـمُوتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتهِ إلا حَرَّمَ الله عَلَيهِ الجَنَّةَ». متفق عليه
4. จากมะอฺก็อล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺได้ให้เขาปกครองผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเขากลุ่มหนึ่ง และได้เสียชีวิตในสภาพที่เขาคดโคงต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ยกเว้นอัลลอฮฺจะหักห้ามเขาจากการเข้าสวนสวรรค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7150 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 142)
ตำแหน่งตัวแทนหรือตำแหน่งผู้นำต้องเป็นผู้ชายต้องไม่ใช่ผู้หญิง
عن أبي بكرة رضي الله عنه قال: لَقَدْ نَفَعَنِي الله بِكَلِـمَةٍ أَيَّامَ الجَـمَلِ لَـمَّا بَلَغَ النَّبِيَّ ﷺ أَنَّ فَارِساً مَلَّكُوا ابْنَةَ كِسْرَى قَالَ: «لَنْ يُفْلِـحَ قَومٌ وَلَّوْا أَمْرَهُـمُ امْرَأَةً». أخرجه البخاري
จากอบีบักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า อัลลอฮฺได้ทำให้ฉันได้รับประโยชน์ด้วยกับคำคำหนึ่งในช่วงสมรภูมิอัลญะมัล เมื่อมีข่าวไปถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า แท้จริงพวกเปอร์เซียได้มอบให้บุตรสาวของไกเซอร์ (กิสรอ) ขึ้นเป็นกษัตริย์ ท่านจึงกล่าวว่า “กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดจะไม่ได้รับความสำเร็จเป็นอันขาด การที่พวกเขาแต่งตั้งให้ผู้หญิงเป็นผู้ปกครองดูแลกิจการของพวกเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7099 )
บทบาทหน้าที่ของคอลีฟะฮฺ (ตัวแทนของอัลลอฮฺ)
1. อัลลอฮฺตรัสแก่นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า
(ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ) [المائدة/49]
ความหมาย “และเจ้าจงตัดสินระหว่างพวกเขาด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด จงอย่าปฏิบัติตามความอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขา แ ละจงระวังพวกเขาในการที่พวกเขาจะจูงใจเจ้าให้ไขว้เขวออกจากบางสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาให้แก่เจ้า แล้วถ้าหากพวกเจ้าผินหลังให้ก็พึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเพียงประสงค์จะให้ประสบแก่พวกเขาซึ่งบางส่วนแห่งโทษของพวกเขาเท่านั้น และแท้จริงจำนวนมากมายในบรรดามนุษย์นั้นเป็นผู้ละเมิด” (อัลมาอิดะฮฺ : 49)
2. อัลลอฮฺตรัสแก่นบีดาวุด อะลัยฮิสสลาม ว่า
(ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ) [ص/26]
ความหมาย “โอ้ดาวุดเอ๋ย เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้นเจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรมและอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เจ้าหลงไหลไปจากทางของอัลลอฮฺ แท้จริงบรรดาผู้ที่หลงไปจากทางของอัลลอฮฺนั้น สำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสเนื่องด้วยพวกเขาลืมวันแห่งการชำระบัญชี” (ศอด : 26)
วิธีการทำสัตยาบันต่อผู้นำ
عن عبادة بن الصامت رضي الله عنه قال: بَايَـعْنَا رَسُولَ الله ﷺ عَلَى السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ فِي العُسْرِ وَاليُسْرِ، وَالمَنْشَطِ وَالمَكْرَهِ، وَعَلَى أَثَرَةٍ عَلَيْنَا، وَعَلَى أَنْ لا نُنَازِعَ الأَمْرَ أَهْلَـهُ، وَعَلَى أَنْ نَقُولَ بِالحَقِّ أَيْنَمَا كُنَّا، لا نَخَافُ فِي الله لَومَةَ لائِمٍ -وفي رواية بعد أَنْ لا نُنَازِعَ الأَمْرَ أَهْلَـهُ- قَالَ: «إلَّا أَنْ تَرَوْا كُفْراً بَوَاحاً عِنْدَكُم مِنَ الله فِيهِ بُرْهَانٌ». متفق عليه
1. จากอุบาดะฮฺ บิน อัศศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า พวกเราได้ทำสัตยาบันต่อท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามทั้งในเรื่องที่ยากและเรื่องที่ง่าย ในสิ่งที่รักและสิ่งที่ไม่พอใจ ในเรื่องที่เราต้องเสียสละให้แก่ผู้อื่น เราไม่แข่งแย่งกิจการ (ตำแหน่ง) กับผู้ที่เป็นเจ้าของอยู่ เราจะพูดในเรื่องสัจธรรมไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ไหน เราจะไม่กลัวการตำหนิในกิจการของอัลลอฮฺ – อีกสายรายงานหลังจาก เราไม่แก่งแย่งกิจการ (ตำแหน่ง) กับผู้ที่เป็นเจ้าของอยู่ เขากล่าวว่า ยกเว้นในกรณีที่พวกท่านมีหลักฐานอย่างชัดแจ้งถึงการปฏิเสธต่ออัลลอฮฺของพวกเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7056 , มุสลิม ในบทอัลอิมาเราะฮฺ หมายเลขหะดีษ 1709 เป็นสำนวนของท่าน)
عن جرير بن عبدالله رضي الله عنه قال: بَايَـعْتُ النَّبِيَّ ﷺ عَلَى السَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، فَلَقَّنَنِي فِيمَا اسْتَطَعْتُ، وَالنُّصْحِ لِكُلِّ مُسْلِـمٍ. متفق عليه
2. จากญะรีร บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ทำสัตยาบันต่อท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ดังนั้นท่านได้สอนฉันในสิ่งที่ฉันมีความสามารถ และให้คำปรึกษาตักเตือนแก่มุสลิมทุกคน” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7204 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 56 เป็นสำนวนของท่าน)
จำเป็นต้องอดทนในกรณีที่ผู้ปกครองอธรรมหรือทำร้าย
عن أُسيد بن حُضير رضي الله عنه أَنَّ رَجُلاً مِنَ الأَنْصَارِ خَلا بِرَسُولِ الله ﷺ فَقَالَ: أَلا تَسْتَعْمِلُنِي كَمَا اسْتَعْمَلْتَ فُلاناً ؟ فَقَالَ: «إنَّكُمْ سَتَلْقَونَ بَـعْدِي أَثَرَةً فَاصْبِرُوا حَتَّى تَلْقَوْنِي عَلَى الحَوْضِ». متفق عليه
1. จากอุสัยดฺ บิน ฮุดัยรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ มีชาวอันศอรคนหนึ่งอยู่ตามลำพังกับท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เขากล่าวว่า “ท่านไม่มอบหน้าที่ให้ฉันปฏิบัติเหมือนกับที่ท่านได้มอบให้กับคนนั้นบ้างหรือ?” ท่านรอสูลตอบว่า “แท้จริงพวกท่านจะได้พบหลังจากฉันผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นพวกท่านจงอดทนจนกว่าพวกท่านจะได้พบกับฉันที่อัลเฮาฏฺ (อ่างน้ำของท่านนบีในสวนสวรรค์) (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3792, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1845 เป็นสำนวนของท่าน)
عن ابن عباس رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال: «مَنْ كَرِهَ مِنْ أَمِيرِهِ شَيْئاً فَلْيَصْبِـرْ، فَإنَّـهُ مَنْ خَرَجَ مِنَ السُّلْطَانِ شِبْراً مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً». متفق عليه
2. จากอิบนิอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “ผู้ที่ไม่พอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อผู้นำ ดังนั้นจงอดทน แท้จริงผู้ที่ออกจากการเชื่อฟังผู้ปกครองเพียงคืบเดียวเขาจะเสียชีวิตในสภาพญาฮิลียะฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7053 เป็นสำนวนของท่าน , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1849)
ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำถึงแม้จะถูกหักห้ามสิทธิ
سأل سلمة بن يزيد الجعفي رضي الله عنه رسول الله ﷺ فَقَالَ: يَا نَبِيَّ الله أَرَأَيْتَ إنْ قَامَتْ عَلَيْنَا أُمَـرَاءُ يَسْأَلُونَ حَقَّهُـمْ، وَيَـمْنَعُونَا حَقَّنَا فَمَا تَأْمُرُنَشا؟ فَأَعْرَضَ عَنْـهُ، ثَمَّ سَأَلَـهُ فَأَعْرَضَ عَنْـهُ، ثَمَّ سَأَلَـهُ فِي الثَّانِيَةِ أَوْ فِي الثَّالِثَةِ فَجَذَبَـهُ الأَشْعَثُ بْنُ قَيْسٍ، فَقَالَ رَسُولُ الله ﷺ: «اسْمَعُوا وَأَطِيعُوا، فَإنَّمَا عَلَيْـهِـمْ مَا حُـمِّلُوا، وَعَلَيكُمْ مَا حُـمِّلْتُـمْ». أخرجه مسلم
สะละมะฮฺ บิน ยะซีด อัลญะอฺฟียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ ท่านมีความเห็นอย่างไรในกรณีที่ผู้นำเรียกร้องสิทธิของพวกเขา แต่มาหักห้ามสิทธิของพวกเรา ดังนั้นท่านให้พวกเราทำอย่างไร? ท่านนบีผินหลังให้ แล้วเขาถามซ้ำ ท่านนบีผินหลังให้อีก ต่อจากนั้นนเขาได้ถามเป็นครั้งที่สองหรือครั้งที่สาม ดังนั้นอัลอัชอัษ บิน กัยสฺ ได้ดึงชายคนนั้น แล้วท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและปฏิบัติตาม แท้จริงพวกเขามีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสำหรับพวกท่านก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1846)
จำเป็นจะต้องอยู่ร่วมกับญะมาอะฮฺและผู้นำมุสลิมขณะที่เกิดความโกลาหลวุ่นวายและในทุกๆ สภาวการณ์
عن حذيفة بن اليمان رضي الله عنهما قال: كَانَ النَّاسُ يَسْأَلُونَ رَسُولَ الله ﷺ عَنِ الخَيْرِ، وَكُنْتُ أَسْأَلُـهُ عَنِ الشَّرِّ مَـخَافَةَ أَنْ يُدْرِكَنِي، فَقُلْتُ: يَا رَسُولَ الله إنَّا كُنَّا فِي جَاهِلِيَّةٍ وَشَرٍّ، فَجَاءَنَا الله بِـهَذَا الخَيْرِ، فَهَلْ بَـعْدَ هَذَا الخَيْرِ شَرٌّ؟ قَالَ: «نَعَمْ» فَقُلْتُ: هَلْ بَـعْدَ ذَلِكَ الشَّرِّ مِنْ خَيْرٍ؟. قَالَ: «نَعَمْ وَفِيهِ دَخَنٌ» قُلْتُ: وَمَا دَخَنُـهُ؟ قَالَ: «قَومٌ يَسْتَنُّونَ بِغَيرِ سُنَّتِي وَيَـهْدُونَ بِغَيْرِ هَدْيِي، تَعْرِفُ مِنْـهُـمْ وَتُنْكِرُ» فَقُلْتُ: هَلْ بَـعْدَ ذَلِكَ الخَيْرِ مِنْ شَرٍّ؟.
قَالَ: «نَعَمْ دُعَاةٌ على أَبْوَابِ جَهَنَّمَ، مَنْ أَجَابَـهُـمْ إلَيْـهَا قَذَفُوهُ فِيهَا»، فَقُلْتُ: يا رَسُولَ الله صِفْهُـمْ لَنَا، فَقَالَ: «نَعَمَ قَوْمٌ مِنْ جِلْدَتِنَا وَيَتَـكَلَّـمُونَ بِأَلْسِنَتِنَا» قُلْتُ: يَا رَسُولَ الله فَمَا تَرَى إنْ أَدْرَكَنِي ذَلِكَ؟. قَالَ: «تَلْزَمُ جَـمَاعَةَ المُسْلِـمِينَ وَإمَامَهُـمْ» فَقُلْتُ: فَإنْ لَـمْ تَـكُنْ لَـهُـمْ جَـمَاعَةٌ وَلا إمَامٌ؟ قَالَ: «فَاعْتَزِلْ تِلْكَ الفِرَقَ كُلَّـهَا، وَلَو أَنْ تَعَضَّ عَلَى أَصْلِ شَجَرَةٍ حَتَّى يُدْرِكَكَ المَوتُ وَأَنْتَ عَلَى ذَلِكَ» متفق عليه
1. จากฮุซัยฟะฮฺ บิน อันยะมาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ผู้คนต่างถามท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงเรื่องความดีงาม แต่ฉันกลับถามท่านถึงเรื่องความชั่วเกรงว่ามันจะมาประสบกับฉัน ฉันถามว่า โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺพวกเราเคยอยู่ในยุคญาฮิลียะฮฺและเคยอยู่ในวังวนของความชั่ว ดังนั้นอัลลอฮฺได้นำความดีงามอันนี้มาให้แก่เรา หลังจากความดีงามอันนี้จะมีความชั่วอีกหรือไม่? ท่านรอสูลตอบว่า มีอีก ฉันถามอีกว่า หลังจากความชั่วอันนี้จะมีความดีอีกหรือไม่? ท่านรอสูลตอบว่า มีอีกและจะเป็นยุคดะค็อน ฉันถามว่า ดะค็อนคืออะไร? ท่านรอสูลตอบว่า มีคนกลุ่มหนึ่งทำแบบอย่างที่ไม่ใช่แบบอย่างของฉัน เรียกร้องชี้นำผู้อื่นที่ไม่ใช่เป็นทางนำของฉัน พวกท่านยอมรับและปฏิเสธต่อพวกเขา ฉันถามอีกว่า หลังจากความดีงามอันนี้จะมีความชั่วอีกหรือไม่? ท่านรอสูลตอบว่า มีอีก จะมีบรรดาผู้เรียกร้องไปสู่ประตูนรกญะฮันนัม ผู้ที่ตอบรับการเชิญชวนของพวกเขา เขาจะถูกขว้างให้ลงไปในนรก ฉันถามว่า โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺจงบอกลักษณะของพวกเขาแก่เรา ท่านรอสูลตอบว่า เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่มาจากเนื้อหนังของพวกเรา พูดจาด้วยกับภาษาของพวกเรา ฉันถามว่า โอ้ท่านรอสูลุลอฮฺท่านมีความเห็นว่าอย่างไรหากเรื่องดังกล่าวมาประสบกับฉัน? ท่านรอสูลตอบว่า จงยืนหยัดอยู่กับญะมาอะฮฺมุสลิมและผู้นำของพวกเขา ฉันถามว่า แล้วหากว่าพวกเขาไม่มีญะมาอะฮฺและไม่มีผู้นำ? ท่านรอสูลตอบว่า จงออกห่างจากกลุ่มต่างๆ ทั้งหมดถึงแม้ว่าท่านต้องกัดรากไม้ จนกระทั่งความตายมาประสบกับท่านโดยที่ท่านอยู่ในสภาพดังกล่าว” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3606, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1847 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)
عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي ﷺ أنه قال: «مَنْ خَرَجَ مِنَ الطَّاعَةِ، وَفَارَقَ الجَـمَاعَةَ، فَمَاتَ، مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً، وَمَنْ قَاتَلَ تَـحْتَ رَايَةٍ عُمِّيَّةٍ يَـغضبُ لِعَصَبَةٍ، أَوْ يَدْعُو إلَى عَصَبَةٍ، أَوْ يَنْصُرُ عَصَبَةً، فَقُتِلَ، فَقِتْلَةٌ جَاهِلِيَّةٌ. وَمَنْ خَرَجَ عَلَى أُمَّتِي، يَضْرِبُ بَرَّهَا وَفَاجِرهَا، وَلا يَتَـحَاشَ مِنْ مُؤْمِنِـهَا، وَلا يَفِي لِذِي عَهْدٍ عَهْدَهُ فَلَيْسَ مِنِّي وَلَسْتُ مِنْـهُ». أخرجه مسلم
2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ออกจากการปฏิบัติตามเชื่อฟัง แยกตัวออกจากญะมาอะฮฺ (กลุ่ม) ดังนั้นเมื่อเขาเสียชีวิต เสียชีวิตในสภาพของญะฮิลียะฮฺ (ยุคอนารยชน) และผู้ที่ออกต่อสู้ภายใต้ร่มธงของความเป็นพวกพ้อง (อย่างมิลืมหูลืมตา) เรียกร้องไปสู่ความเป็นกลุ่มชนนิยม หรือให้การช่วยเหลือสู่ความเป็นกลุ่มชนนิยม แล้วเขาถูกฆ่า ดังนั้นการเสียชีวิตของเขาจะอยู่ในสภาพญาฮิลียะฮฺ และผู้ที่ออกต่อสู้ (กับผู้นำ) จากประชาชาติของฉัน เขาต่อสู้กับคนดีและคนชั่ว โดยไม่สนใจต่อความเป็นผู้ศรัทธาของเขาและไม่รักษาพันธะสัญญา ดังนั้นเขาไม่ใช่พวกของฉันและฉันก็มิได้เป็นพวกของเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1848)
عن ابن عباس رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال: «مَنْ رَأَى مِنْ أَمِيرِهِ شَيْئاً يَكْرَهُهُ فَلْيَصْبِرْ عَلَيْـهِ، فَإنَّـهُ مَنْ فَارَقَ الجَـمَاعَةَ شِبْراً فَمَاتَ إلَّا مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً». متفق عليه
3. จากอิบนิอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “ผู้ที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เขาไม่ชอบจากผู้นำ ดังนั้นจงอดทน แท้จริงผู้ที่แยกตัวออกจากญะมาอะฮฺ (กลุ่ม) เพียงคืบหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเขาเสียชีวิต นอกจากเขาเสียชีวิตในสภาพของญะฮิลียะฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7054, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1849 เป็นสำนวนของท่าน)
จำเป็นต้องปฏิเสธต่อผู้นำในกรณีที่เขาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติและงดจากการต่อสู้ตราบใดที่พวกเขายังคงละหมาด
عن أم سلمة رضي الله عنها عن النبي ﷺ أنـه قـال: «إنَّـهُ يُسْتَعْمَلُ عَلَيْكُمْ أُمَـرَاءُ، فَتَعْرِفُونَ وَتُنْكِرُونَ، فَمَنْ كَـرِهَ فَقَدْ بَـرِئَ، وَمَنْ أَنْكَرَ فَقَدْ سَلِـمَ، وَلَكِنْ مَنْ رَضِيَ وَتَابَـعَ» قَالُوا: يَا رَسُولَ الله أَلا نُقَاتِلُـهُـمْ؟ قَالَ: «لا. مَا صَلَّوا». أخرجه مسلم
จากอุมมุสะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “แท้จริงบรรดาผู้นำถูกแต่งตั้งให้แก่พวกท่าน ดังนั้นมีทั้งสิ่งที่ทำให้พวกท่านรักและสิ่งที่ทำให้พวกท่านเกลียดชัง ผู้ที่เกลียดชังเขาจะรอดพ้น ผู้ที่ห้ามปรามเขาจะปลอดภัย แต่ทว่าผู้ที่ยินดีพอใจ (ต่อความชั่ว) ก็เท่าปฏิบัติตาม พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺเราจะฆ่าพวกเขาได้หรืไม่? ท่านตอบว่า ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขายังคงละหมาด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1854)
บทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกิจการของมวลมุสลิมในสภาพที่อยู่รวมกันเป็นสังคม (กลุ่ม)
عن عرفجة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَنْ أَتَاكُمْ وَأَمْرُكُمْ جَـمِيعٌ عَلَى رَجُلٍ وَاحِدٍ، يُرِيْدُ أَنْ يَشُقَّ عَصَاكُمْ، أَوْ يُفَرِّقَ جَـمَاعَتَـكُمْ فَاقْتُلُوهُ». أخرجه مسلم
จากอัรฟะญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่มาหาพวกท่านในขณะที่กิจการทั้งหมดของพวกท่านรวมอยู่ที่คนๆเดียว (ผู้นำ) โดยที่เขาต้องการจะมาทำลายความเข้มแข็งของพวกท่าน หรือมาแยกความเป็นญะมาอะฮฺของพวกท่าน ดังนั้นจงฆ่าเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1852)
บทบัญญัติกรณีที่คอลีฟะฮฺถูกทำสัตยาบันในเวลาเดียวกันสองคน
عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «إذَا بُويِـعَ لِـخَلِيفَتَينِ، فَاقْتُلُوا الآخَرَ مِنْـهُـمَا». أخرجه مسلم
จากอบีสะอีด อัลกุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “เมื่อคอลีฟะฮฺถูกทำสัตยาบันสองคน ดังนั้นจงฆ่าอีกคนจากพวกเขาทั้งสอง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1853)
บรรดาผู้นำที่ดีและผู้นำที่เลว
عن عوف بن مالك رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «خِيَارُ أَئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُـحِبُّونَـهُـمْ وَيُـحِبُّونَكُمْ، وَيُصَلُّونَ عَلَيْكُمْ، وَتُصَلُّونَ عَلَيْـهِـمْ، وَشِرَارُ أَئِمَّتِكُمُ الَّذِينَ تُبْـغِضُونَـهُـمْ وَيُبْـغِضُونَكُمْ، وَتَلْعَنُونَـهُـمْ وَيَلْعَنُونَكُمْ» قِيلَ: يَا رَسُولَ الله أَفَلا نُنَابِذُهُـمْ بِالسَّيْفِ؟ فَقَالَ: «لا. مَا أَقَامُوا فِيكُمُ الصَّلاةَ، وَإذَا رَأَيْتُـمْ مِنْ وُلاتِكُمْ شَيْئاً تَـكْرَهُونَـهُ فَاكْرَهُوا عَمَلُـه، وَلا تَنْزِعُوا يَداً مِنْ طَاعَةٍ». أخرجه مسلم
จากเอาฟฺ บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “ผู้นำที่ดีของพวกท่าน คือ บรรดาผู้ที่พวกเขารักพวกท่านและพวกท่านก็รักต่อพวกเขา พวกเขาขอพรให้แก่พวกท่านและพวกท่านก็ขอพรให้แก่พวกเขา ส่วนผู้นำที่เลวของพวกท่าน คือ บรรดาผู้ที่พวกท่านเกลียดชังต่อพวกเขาและพวกเขาก็เกลียดชังต่อพวกท่าน พวกท่านสาปแช่งต่อพวกเขาและพวกเขาก็สาปแช่งพวกท่าน มีคนกล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺเราจะถอนตัวจากพวกเขาด้วยกับคมดาบได้หรือไม่? ท่านตอบว่า ไม่ได้ ตราบใดที่พวกเขายังคงดำรงการละหมาดแก่พวกท่าน และเมื่อพวกท่านเห็นสิ่งใดที่น่าตำหนิจากบรรดาผู้ปกครองจงตำหนิการกระทำของเขา พวกท่านอย่าได้ถอดมือออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1855)
คนใกล้ชิดและบรรดาที่ปรึกษาของผู้นำ
عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «مَا بَـعَثَ الله مِنْ نَبِيٍّ وَلا اسْتَـخْلَفَ مِنْ خَلِيْفَةٍ إلا كَانَتْ لَـهُ بِطَانَتَانِ: بِطَانَةٌ تَأْمُرُهُ بِالمَعْرُوفِ، وَتَـحُضُّهُ عَلَيْـهِ، وَبِطَانَةٌ تَأْمُرُهُ بِالشَّرِّ وَتَـحُضُّهُ عَلَيْـهِ، فَالمَعْصُومُ مَنْ عَصَمَ الله تَعَالَى». أخرجه البخاري
จากอบีสะอีด อัลกุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “อัลลอฮฺไม่ได้ส่งนบีและไม่ได้แต่งตั้งคอลีฟะฮฺ (ตัวแทน) นอกจากเขาจะมีที่ปรึกษาสองประเภท หนึ่ง..ปรึกษาใช้ให้กระทำคุณงามความดีและคอยกระตุ้นส่งเสริม สอง..ปรึกษาใช้ให้กระทำความชั่วและคอยกระตุ้นส่งเสริม ดังนั้นผู้ที่ได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากความผิดคือผู้ที่อัลลอฮฺตะอะลาทรงปกป้องเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 7198)
บทบาทหน้าที่ของคอลีฟะฮฺ
หน้าที่จำเป็นของคอลีฟะฮฺ (ผู้นำของบรรดามุสลิม) มีดังต่อไปนี้
1. การดำรงไว้ซึ่งศาสนา โดยการปกปักรักษา เรียกร้องเชิญชวน ป้องกันให้พ้นจาก
สิ่งที่สงสัยคลุมเครือ ดำเนินการปกครองตามหลักการและขอบเขตด้วยกับบทบัญญัติที่อัลลอฮฺทรงประทานลงมาให้แก่มวลมนุษยชาติ และทำการต่อสู้ ทุ่มเท เสียสละในหนทางของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺตรัสว่า
( ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ) [النساء/58]
ความหมาย “แท้จริงอัลลอฮฺทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮฺทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและได้เห็น” (อันนิสาอฺ : 58)
2. เลือกผู้ปกครองที่มีความเหมาะสม
อัลลอฮฺตรัสว่า
( ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔﯕ) [القصص/26]
ความหมาย “แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์” (อัลกอศ็อศ : 26)
3. ผู้นำคอยตรวจสอบเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
عن أبي حُـميدٍ الساعدي رضي الله عنه قال: اسْتَعْمَلَ النَّبِيُّ ﷺ رَجُلاً مِنَ الأزْدِ يُـقَالُ لَـهُ ابنُ اللتْبِيَّةِ عَلَى الصَّدَقَةِ، فَلَـمَّا قَدِمَ قَالَ: هَذَا لَكُمْ وَهَذَا أُهْدِيَ لِي قَالَ: «فَهَلَّا جَلَسَ فِي بَيْتِ أَبِيهِ، أَوْ بَيْتِ أُمِّهِ فَيَنْظُرَ أَيُـهْدَى لَـهُ أَمْ لا؟ وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لا يَأْخُذُ أَحَدٌ مِنْـهُ شَيْئاً إلَّا جَاءَ بِـهِ يَومَ القِيَامَةِ يَـحْـمِلُـهُ عَلَى رَقَبَتِـهِ إنْ كَانَ بَـعِيراً لَـهُ رُغَاءٌ، أَوْ بَقَرَةً لَـهَا خُوَارٌ، أَوْ شَاةً تَيْـعَرُ» ثُمَّ رَفَعَ بِيَدِهِ حَتَّى رَأَيْنَا عُفْرَةَ إبْطَيْـهِ: «اللَّـهُـمَّ هَلْ بَلَّغْتُ، اللَّـهُـمَّ هَلْ بَلَّغْتُ» ثَلاثاً. متفق عليه
จากอบีฮุมัยดฺ อัสสาอิดียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แต่งตั้งผู้ชายคนหนึ่งที่มาจากอัลอัซดิซึ่งถูกเรียกว่าอิบนุอัลลัตบียะฮฺให้เป็นผู้จัดเก็บศอดะเกาะฮฺ เมื่อเขาเดินทางกลับมาเขากล่าวว่า ส่วนนี้สำหรับพวกท่านและอันนี้พวกเขามอบให้เป็นของกำนัลแก่ฉัน ท่านนบีกล่าวว่า หากเขานั่งรออยู่ภายในบ้านของบิดาหรือบ้านมารดาเขาจะได้รับของกำนัลหรือไม่? ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ไม่มีสิ่งใดที่มีผู้เอาไปนอกจากในวันกิยามะฮฺเขาจะแบกมันไว้บนต้นคอถึงแม้จะเป็นอูฐที่มันร้องคราง หรือวัวที่ร้องครวญคราง หรือแพะที่เป็นโรคเรื้อน ต่อจากนั้นท่านนบีได้ยกมือขึ้นสูงจนกระทั่งพวกเราเห็นรักแร้ และกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺฉันได้บอกพวกท่านแล้วใช่หรือไม่ (สามครั้ง) (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2597 เป็นสำนวนของท่าน , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1832)
4. คอยสอดส่องดูแลผู้อยู่ภายใต้การปกครองและบริหารกิจการของพวกเขา
عن ابن عمر رضي الله عنهما عن النبي ﷺ أنه قال: «أَلا كُلُّكُمْ رَاعٍ، وَكُلُّكُمْ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ، فَالأَمِيرُ الَّذِي عَلَى النَّاسِ رَاعٍ، وَهُوَ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِـهِ...». متفق عليه
จากอิบนิอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า ”พึงรู้เถิด พวกท่านทั้งหลายมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและพวกท่านจะถูกสอบสวนในสิ่งที่รับผิดชอบ ดังนั้นผู้นำจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลและเขาจะถูกสอบสวนต่อผู้ที่เขารับผิดชอบดูแล...” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 893, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1829 เป็นสำนวนของท่าน)
5. เมตตาอ่อนโยนต่อผู้อยู่ภายใต้การปกครอง คอยตักเตือนและไม่เปิดเผยความลับของพวกเขา
عن معقل بن يسار رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَا مِنْ أَمِيْرٍ يَلِي أَمْرَ المُسْلِـمِين، ثُمَّ لا يَـجْهَدُ لَـهُـمْ وَيَنْصَحُ، إلَّا لَـمْ يَدْخُلْ مَعَهُـمُ الجَنَّةَ». أخرجه مسلم
จากมะอฺก็อล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีผู้นำคนใดที่ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบกิจการของมวลมุสลิม จากนั้นเขาไม่ได้ใช้ความพยายามหรืออบรมตักเตือนต่อพวกเขา นอกจากเขาจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์พร้อมกับพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 142)
6. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ) [الفرقان/74]
ความหมาย “และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง” (อัลฟุรกอน : 74)
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ) [السجدة/24]
ความหมาย “และเราได้จัดให้มีบรรดาผู้นำจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเรา ในเมื่อพวกเขามีความอดทนและพวกเขาเชื่อมั่นต่อสัญญาณทั้งหลายของเรา” (อัสสัจญดะฮฺ : 24)
สิทธิของคอลีฟะฮฺ
หน้าที่จำเป็นของผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองที่มีต่อผู้นำ มีดังต่อไปนี้
1. เชื่อฟังปฏิบัติตามในสิ่งที่ไม่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒﯗ) [النساء/59]
ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังอัลลอฮฺเชื่อฟังรอสูลเถิด และผู้ปกครองในกลุ่มของพวกเจ้าด้วย แต่หากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรอสูล หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง” (อันนิสาอฺ : 59)
عن ابن عمر رضي الله عنهما عن النبي ﷺ أنه قال: «عَلَى المَرْءِ المُسْلِـمِ السَّمْعُ وَالطَّاعَةُ فِيْـمَا أَحَبَّ وَكَرِهَ، إلا أَنْ يُؤْمَـرَ بِمَعْصِيَةٍ، فَإنْ أُمِرَ بِمَعْصِيَةٍ فَلا سَمْعَ وَلا طَاعَةَ». متفق عليه
จากอิบนิอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า ”นับเป็นความจำเป็นต่อมุสลิมที่จะต้องเชื่อฟังปฏิบัติตาม (ผู้นำ) ทั้งในสิ่งที่เขารักและชัง ยกเว้นกรณีที่เขาใช้ในเรื่องที่ฝ่าฝืน หากถูกใช้ให้ฝ่าฝืนไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7144, มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1839 เป็นสำนวนของท่าน)
2. ให้การแนะนำตักเตือน
عن تميم الداري رضي الله عنه أن النبي ﷺ قال: «الدِّيْنُ النَّصِيحَةُ» قلنا: لمن؟ قال: « لله وَلِكَتَابِـهِ وَلِرَسُولِـهِ وَلأَئِمَّةِ المُسْلِـمِينَ وَعَامَّتِـهِـمْ». أخرجه مسلم
จากตะมีม อัดดารียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ศาสนาคือการตักเตือน พวกเรากล่าวว่า เพื่อใคร? ท่านนบีตอบว่า เพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อรอสูลของพระองค์ เพื่อบรรดาผู้นำของมวลมุสลิม และเพื่อบรรดาคนทั่วไป” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 55)
3. ช่วยเหลือและสนับสนุนต่อผู้นำในเรื่องสัจธรรม
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ) [المائدة/2]
ความหมาย “และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาปและเป็นศัตรูกัน และพึงกลัวเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ” (อัลมาอิดะฮฺ : 2)