×
Image

ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮฺให้อยู่ใต้ร่มเงาของอัรช์ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี หนึ่งในจำนวนชุดคุฏบะฮฺญุมอัต ณ มัสยิดวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดย อัสมัน แตอาลี อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วอศ. มอ.ปัตตานี

Image

คุฏบะฮฺ หัจญ์ บทเรียนสำหรับประชาชาติตัวอย่าง - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับจากหัจญ์ เป็นปรัชญาอันทรงคุณค่าที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างฐานประชาชาติตัวอย่าง หรือ ค็อยเราะ อุมมะฮฺ อันเป็นความประเสริฐเฉพาะที่ถูกกำหนดไว้สำหรับประชาชาติของท่านนบี มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กระบวนการสร้างประชาชาติตัวอย่างจำเป็นต้องได้รับการหล่อหลอมผ่านวิธีการต่างๆ ซึ่งหัจญ์ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะสอนบทเรียนเหล่านั้นให้กับมุสลิมทุกคน

Image

ส่งเสริมให้ทำข้างขวาก่อน - (ไทย)

อัต-ตะยามุน คือ การเริ่มด้วยข้างขวาก่อน การให้ข้างขวาก่อนนั้นเป็นเรื่องการให้เกียรติ เป็นสุนนะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และเป็นเครื่องหมายประจำตัวของคนมุสลิม และอีกทั้งยังเป็นการทำสวนทางกับชัยฏอนที่มันทำเรื่องต่างๆ ด้วยข้างซ้ายของมัน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

คุฏบะฮฺ ความเป็นพี่น้องในอิสลาม จากความเข้าใจสู่การปฏิบัติ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ อธิบายประเด็นความเป็นพี่น้องในอิสลาม หรืออุคูวะฮฺอิสลามียะฮฺ อันเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชาติมุสลิม เพื่อนำอิสลามกลับมาสู่ชีวิตจริงของมนุษยชาติ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการทบทวนและสร้างขึ้นมาให้เป็นจริง เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นในยุคของบรรดาเศาะหาบะฮฺ

Image

อะมัลต่างๆ ที่ได้ผลบุญเหมือนการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ - (ไทย)

ไฟล์เสียงบรรยายที่กล่าวถึงการปฏิบัติความดีบางประการที่มีผลบุญยิ่งใหญ่ประหนึ่งการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ไม่มีความสามารถได้ไปหัจญ์ได้ทุ่มเททำอะมัลต่างๆ อย่างเต็มที่ ทั้งหมดนี้นับเป็นความเมตตาจากอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ อันเป็นความเมตตาที่กว้างขวางและครอบคลุมเพื่อให้บ่าวได้กระทำความดีอย่างถ้วนหน้า เป็นไฟล์เสียงจากเว็บไซต์มุสลิมออนแอร์

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 03 - (ไทย)

มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้ และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการนั่งชุมนุมด้วยดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

หนึ่งวันกับกิจวัตรในเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

จุลสารเล็กๆ อันทรงคุณค่าที่กล่าวถึงภารกิจหนิ่งวันของผู้ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ซึ่งควรแก่การเอาใจใส่และมุ่งมั่นปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งความดีงามอันมากมายในเดือนนี้ เริ่มตั้งแต่เช้าที่เจตนาถือศีลอด เรื่อยมาถึงตอนกลางวันช่วงที่ทำงาน จนถึงช่วงเวลาการละศีลอด การทำศาสนกิจยามค่ำคืน การพักผ่อน และตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายของคืน พร้อมระบุเป้าประสงค์บางประการที่จะได้รับในการต้อนรับเราะมะฎอนอันทรงเกียรตินี้

Image

คุฏบะฮฺ เราะมะฎอน เดือนแห่งการฝึกตัวเองเป็นคนดี - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ที่เรียกร้องเชิญชวนให้มุสลิมเอาใจใส่การปฏิบัติความดีงามต่างๆ ในเดือนเราะมะฎอน เพราะมนุษย์ทุกคนมิอาจจะใช้ชีวิตอย่างจีรังในโลกนี้ ทุกคนจะต้องกลับไปยังพระผู้เป็นเจ้าในวันอาคิเราะฮฺ และไม่มีเสบียงใดๆ จะเป็นต้นทุนในการมีชีวิตในโลกหน้าได้นอกจากด้วยการปฏิบัติความดีตามที่อัลลอฮฺได้สั่งใช้เท่านั้น และเราะมะฎอนก็คือเทศกาลที่ดีที่สุดที่จะใช้โอกาสแห่งการฝึกฝนตัวเองเพื่อปฏิบัติความดีซึ่งมีอยู่มากมายในอิสลาม

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 02 - (ไทย)

มารยาทในการชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะให้รวมกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกแบ่งกลุ่มกัน และไม่ให้คนใดใช้ให้อีกคนลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เข้าไปนั่งแทน และให้ผู้ชุมนุมช่วยกันขยายวงให้กว้างขึ้น และเช่นกันผู้ใดที่ได้ลุกออกไปแล้วกลับเข้ามายังที่เดิมของเขา เขาก็ย่อมมีความชอบธรรมที่สุดที่จะนั่งตรงที่เดิมนั้น และผู้ที่มาใหม่นั้นตามสุนนะฮฺคือให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในตลาด - (ไทย)

สิทธิของท้องถนน หรือ หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อท้องถนน - การขจัดสิ่งที่เป็นภัยอันตรายออกจากท้องถนน - ไม่ถ่มน้ำลายไปทางกิบลัต ไม่ว่าจะลงสู่ถนนหรืออื่นๆ - คำนึงถึงความเหมาะสมของสัตว์พาหนะในยามเดินทาง และไม่หยุดพักบนท้องถนนในเวลากลางคืน. การมีน้ำใจในการซื้อขาย - การชำระหนี้ตามกำหนดสัญญา - การให้โอกาสแก่ลูกค้าที่ยากจนและไม่เข้มงวดต่อพวกเขา - ไม่ซื้อขายในเวลาละหมาด - การซื่อสัตย์ในทุกสภาวะ - หลีกเลี่ยงจากการชอบสาบาน. หลีกเลี่ยงการค้าขายหรือธุระกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต้องห้ามและน่ารังเกียจทุกประเภท - ไม่ฉ้อโกงและโกหก - ไม่กักตุนสินค้า.

Image

เราะมะฎอนกับวิถีแห่งการสร้างคนคุณภาพ - (ไทย)

บรรยายต้อนรับเดือนเราะมะฎอนให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ เยาวชนกับการสร้างบุคลิกภาพในเดือนเราะมะฎอน พูดถึงความสำคัญของเดือนเราะมะฎอนและบทบาทในการพัฒนาคนในยุคปัจจุบัน ที่สังคมเต็มไปด้วยความตกต่ำทางศีลธรรมและจริยธรรม ความมุ่งหมายของเราะมะฎอนในการสร้างคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพตามทัศนะของอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า หรือที่เป็นคนที่มีความตักวานั่นเอง เป็นวิถีแห่งการสร้างคนที่ครอบคลุมทั้งด้านจิตวิญญาณ ร่างกาย สติปัญญา และด้านสังคม

Image

มารยาทในที่ชุมนุมและการนั่งร่วมกัน 01 - (ไทย)

ที่ชุมนุมและการนั่งชุมนุมกันในอิสลามนั้นมีมารยาทและสุนนะฮฺต่างๆ ที่มุสลิมทั้งหลายควรพยายามรักษาเอาไว้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้คำชี้แนะถึงมัน เพื่อที่การชุมนุมของเรานั้นจะได้การเป็นชุมนุมที่ดีมีความจำเริญ และอัลลอฮฺทรงพอพระทัย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม