×
มารยาทในการชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะให้รวมกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกแบ่งกลุ่มกัน และไม่ให้คนใดใช้ให้อีกคนลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เข้าไปนั่งแทน และให้ผู้ชุมนุมช่วยกันขยายวงให้กว้างขึ้น และเช่นกันผู้ใดที่ได้ลุกออกไปแล้วกลับเข้ามายังที่เดิมของเขา เขาก็ย่อมมีความชอบธรรมที่สุดที่จะนั่งตรงที่เดิมนั้น และผู้ที่มาใหม่นั้นตามสุนนะฮฺคือให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

    มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน (2)

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    แปลโดย : สะอัด วารีย์

    ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com

    2014 - 1435

    من آداب المجلس والمجالسة (2)

    « باللغة التايلاندية »

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: كتاب الدروس اليومية من السنن والأحكام الشرعية

    موقع الإسلام www.al-islam.com

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน(2)

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا قِيلَ لَكُمۡ تَفَسَّحُواْ فِي ٱلۡمَجَٰلِسِ فَٱفۡسَحُواْ يَفۡسَحِ ٱللَّهُ لَكُمۡۖ ﴾ [المجادلة: ١١]

    “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงหลีกที่ให้ในที่ชุมนุม พวกเจ้าก็จงหลีกที่ให้เขาเพราะอัลลอฮฺจะทรงให้ที่กว้างขวางแก่พวกเจ้า (ในวันกิยามะฮฺ) อัล-มุญาดะละฮฺ:11

    ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « لَا يُقِيمُ الرَّجُلُ الرَّجُلَ مِنْ مَقْعَدِهِ، ثُمَّ يَجْلِسُ فِيهِ وَلَكِنْ تَفَسَّحُوا وَتَوَسَّعُوا » [متفق عليه]

    “ชายคนใดจงอย่างให้ชายอีกคนหนึ่งลุกขึ้นจากที่นั่งของเขา แล้วจากนั้นเขาก็นั่งลงไป(แทน) แต่(จงพูดว่า) พวกท่านจงเปิดทาง จงขยายเถิด” บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม

    ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « مَنْ قَامَ مِنْ مَجْلِسِهِ، ثُمَّ رَجَعَ إِلَيْهِ فَهُوَ أَحَقُّ بِهِ » [أخرجه مسلم]

    “ผู้ใดลุกออกไปจากที่นั่งของเขา หลังจากนั้นเขาได้กลับเข้ามายังมัน(ที่นั่งเดิม) ฉะนั้น เขาย่อมมีสิทธิ์ชอบธรรมกับมันมากที่สุด” บันทึกโดยมุสลิม

    ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    «كُنَّا إِذَا أَتَيْنَا النبيَّ صلى الله عليه وسلم جَلَسَ أَحَدُنَا حَيْثُ يَنْتَهِي » [أخرجه أبو داود والترمذي]

    “พวกเราเวลาที่มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม คนใดในหมู่พวกเราก็จะนั่งต่อท้ายไป” บันทึกโดยอบูดาวูด และอัตติรมิซียฺ

    ท่านญาบิร บินสะมุเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « دَخَلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْمَسْجِدَ وَهُمْ حِلَقٌ فَقَالَ: «مَالِي أَرَاكُمْ عِزِينَ» » [أخرجه مسلم]

    “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามาที่มัสยิด ในขณะที่พวกเขานั่งแยกกันหลายวง ท่านก็กล่าวว่า “อันใดกันเล่า ฉันเห็นพวกท่านอยู่อย่างกระจัดกระจายกัน”” บันทึกโดยมุสลิม

    คำอธิบาย

    มารยาทในการชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะให้รวมกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกแบ่งกลุ่มกัน และไม่ให้คนใดใช้ให้อีกคนลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะได้เข้าไปนั่งแทน และให้ผู้ชุมนุมช่วยกันขยายวงให้กว้างขึ้น และเช่นกันผู้ใดที่ได้ลุกออกไปแล้วกลับเข้ามายังที่เดิมของเขา เขาก็ย่อมมีความชอบธรรมที่สุดที่จะนั่งตรงที่เดิมนั้น และผู้ที่มาใหม่นั้นตามสุนนะฮฺคือให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · สมควรรวมกลุ่มกันในที่ชุมนุม ไม่แตกแยกเป็นหลายกลุ่ม

    · ห้ามให้ผู้ที่กำลังนั่งอยู่ลุกขึ้นเพื่อที่เขาจะเข้าไปนั่งแทนที่ และให้พวกนั่งชุมนุมอยู่ขยับขยายที่ให้เขา

    · กำหนดให้ผู้ที่มาที่หลังให้นั่งต่อท้ายที่ชุมนุม

    · เมื่อคนใดได้ลุกออกไปจากที่นั่งของเขา แล้วจากนั้นได้กลับเข้ามาอีก เขาก็มีความชอบธรรมกับที่นั่งเดิมมากที่สุด