×
Image

มารยาทการดื่มกิน - (ไทย)

อธิบายมารยาทในการรับประทานอาหารในอิสลาม เช่น ปริมาณอาหารที่รับ ประทาน ไม่ตำหนิอาหาร ไม่ทานมากจนเกินไป ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารและให้ความช่วยเหลือแก่คนอื่น การกล่าวชื่นชมอาหารของผู้ทาน ไม่เป่าลมรดเครื่องดื่ม ผู้ให้บริการน้ำแก่คนอื่นต้องดื่มหลังสุด การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น

Image

วิถีชีวิตอิสลามกับมัสยิด - (ไทย)

การแนะนำให้มุสลิมเน้นเรื่องการปฏิบัติตามวิถีชีวิตอิสลามทั้งในบ้านและนอกบ้าน การให้ความสำคัญกับมัสยิด มารยาทต่างๆ เกี่ยวกับการใช้มัสยิด การอิมาเราะฮฺหรือบูรณะมัสยิดทั้งด้านวัตถุและด้านนามธรรม การละหมาดที่มัสยิดสำหรับผู้ชาย สิ่งต่างๆ ที่พึงระวังในมัสยิด เช่น รูปและลวดลายต่างๆ ในมัสยิด เสียงมือถือในมัสยิด ฯลฯ การให้ความสำคัญกับการละหมาดญะมาอะฮฺโดยเฉพาะกับละหมาดอิชาอ์และศุบหฺ ความสำคัญของการละหมาดญะมาอะฮฺสำหรับผู้ชาย และภารกิจอื่นๆ ที่เป็นบทบาทของมัสยิดตามที่เคยรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์อิสลาม เป็นไฟล์เสียงจากเว็บไซต์มุสลิมออนแอร์

Image

มารยาทการให้สลาม - (ไทย)

รวมบทความเกี่ยวกับ "มารยาทการให้สลาม" จากหนังสือ “มุคตะศ็อรฺ อัล-ฟิกฮิล อิสลามีย์” โดย เชค มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์ แปลโดย สุกรี นูร จงรักสัตย์

Image

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากโรงเรียนเราะมะฎอน? - (ไทย)

ผู้ศรัทธาที่ชาญฉลาดนั้น ความมุ่งมั่นของเขาจะไม่หยุดอยู่เฉพาะในเดือนเราะมะฎอน แต่เขาจะใช้โอกาสของเดือนเราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่คุณความดีในเดือนอื่นๆ และเป็นเสมือนโรงเรียนที่ให้ผู้ศรัทธาได้ปรับปรุงทบทวนเจตนาและความตั้งใจของตน พร้อมมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดในการเคารพภักดีอัลลอฮฺ บทความนี้จะนำคุณไปสู่การทำความเข้าใจบทเรียนจากเดือนเราะมะฎอนในด้านต่างๆ อาทิ บทเรียนด้านจิตวิญญาณ บทเรียนด้านการอบรมขัดเกลา บทเรียนด้านจรรยามารยาท บทเรียนด้านสังคม เพื่อสานต่อบรรยากาศแห่งความดีที่ยั่งยืนตลอดทั้งปี

Image

มารยาทในการหาว - (ไทย)

การหาวนั้นส่งผลให้เกิดความมึนงงและเกียจคร้าน มาจากชัยฏอน มุสลิมจึงต้องพยายามกลั้นเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหากทำอย่างนี้แล้วชัยฏอนจะโมโหเจ็บใจ แต่หากมุสลิมปล่อยให้หาวออกมาเสียงดัง ชัยฏอนก็จะหัวเราะใส่เขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในการจาม - (ไทย)

สำหรับการจามนั้นมีมารยาทและสุนนะฮฺที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กำหนดเอาไว้ จึงสมควรที่มุสลิมจะมีมารยาทเหล่านี้ติดตัวเพราะจะได้รับความดีอย่างมากมาย เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

คุฏบะฮฺ ผู้ศรัทธาย่อมปรารถนาดีต่อพี่น้องด้วยกัน - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงคุณลักษณะประการหนึ่งของความศรัทธาอันสมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อพี่น้องร่วมศรัทธา อันเป็นคุณลักษณะพื้นฐานของประชาชาติที่ดีที่สุด “ค็อยเราะ อุมมะฮฺ” ซึ่งได้รับการสรรเสริญจากอัลลอฮฺ ในคุฏบะฮฺยังได้ยกตัวอย่างของวิถีแห่งกัลยาณชนรุ่นแรกแห่งอิสลามในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย

Image

หะดีษที่ 21 - การอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 21 - การอ่านอัลกุรอานในเดือนเราะมะฎอน พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

คำมักง่ายที่เป็นการโกหก - (ไทย)

ในบรรดาเรื่องต่างๆที่ผู้คนมักจะมักง่ายกับมันทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งต้องห้าม และถึงขึ้นเป็นบาปใหญ่เลย คือ การโกหกเพื่อให้คนอื่นๆหัวเราะ และอีกประการหนึ่งที่พาให้โกหกเช่นกันคือ การที่คนๆหนึ่งพูดทุกอย่างที่เขาได้ยินมาโดยไม่ได้ตรวจสอบให้มั่นใจก่อน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินมามีทั้งเรื่องจริงทั้งเรื่องโกหก เมื่อเขาพูดทุกอย่างที่ได้ยินมา เขาก็จะได้พูดในสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นจริงไปด้วย ก็เท่ากับว่าเขาได้โกหกแล้ว เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม ต้นฉบับเดิมจาก

Image

บทบัญญัติเกี่ยวกับฝน - (ไทย)

ฝนเป็นเนียะมัตและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงมอบมันแก่บ่าวที่พระองค์ทรงประสงค์ และการพาดพึงเนียะมัตเหล่านี้กับการ(โคจร)เข้ามาของดวงดาว หรือฤดูกาล ถือเป็นการปฏิเสธเนียะมัตของอัลลอฮฺ ตะอาลา ทว่าเป็นหน้าที่(ของเรา)ที่จะต้องพาดพิงให้กับความโปรดปรานของอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น และดวงดาว และฤดูกาลเหล่านี้ไม่ใช่อื่นใดนอกจากเป็นสภาพการณ์ที่อัลลอฮฺทรงทำให้เกิดมีริซกีแก่บ่าวของพระองค์ตามประสงค์ และไม่มีผู้ใดล่วงรู้ถึงการตกลงมาของฝนนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Image

มารยาทในการขอดุอาอ์และดุอาอ์ที่ถูกตอบรับ - (ไทย)

กล่าวถึงดุอาอ์ที่สำคัญๆ ที่ควรรู้และมารยาทในการขอดุอาอ์.