×
Image

ตำหนิของคู่บ่าวสาวในการแต่งงาน - (ไทย)

อธิบายประเภทตำหนิของคู่บ่าวสาวในการแต่งงาน ซึ่งมีสองประเภทคือ 1. ตำหนิที่เป็นเหตุกีดขวางการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา 2. ตำหนิที่ไม่เป็นเหตุกีดขวางการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา แต่ตำหนินั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรังเกียจหรืออาจจะติดต่อกันระหว่างสามีภรรยาได้ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Image

บุคคลที่มีหนี้สินจำเป็นต้องทำหัจญ์หรือไม่ ? - (ไทย)

คำถามที่ 451: บุคคลที่มีหนี้สินจำเป็นต้องทำหัจญ์หรือไม่ ? จากหนังสือ "ฟะตาวา อัรกานิล อิสลาม" ของเชค อิบนุ อุษัยมีน

Image

คุฏบะฮฺ การดูแลลูกหลานและเยาวชนช่วงปิดภาคเรียน - (ไทย)

วันศุกร์ พูดถึงความสำคัญของการดูแลลูกหลานและเยาวชนในช่วงปิดภาคฤดูร้อน ด้วยกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตัวพวกเขา เช่นการอบรมเรื่องอิบาดะฮฺ อัลกุรอาน การเข้าสังคม การดูแลสุขภาพ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ใช้เวลาว่างไปกับสิ่งที่ไร้สาระและตกเป็นเหยื่อกระแสแห่งความการทำลายศีลธรรมและจริยธรรมของเยาวชนในสังคมยุคปัจจุบัน

Image

ความประเสริฐของเดือนซุลหิจญะฮฺ - (ไทย)

บทความที่อธิบายถึงความประเสริฐของเดือนซุลหิจญะฮฺ อาทิ สิบวันแรก วันอะเราะฟะฮฺ วันนะหัร และวันตัชรีก พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ พร้อมคำอธิบายของอุละมาอ์

Image

คุฏบะฮฺ ส่งเสริมให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺ ในวันศุกร์ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงความสำคัญของวันศุกร์ และหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ส่งเสริมให้มุสลิมอ่านสูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺในวันศุกร์ โดยพยายามค้นหาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับหะดีษที่ท่านนบีได้บอกว่าใครก็ตามที่ท่องสูเราะฮฺ อัล-กะฮ์ฟฺแล้วเขาจะปลอดภัยจากดัจญาล เป็นการวิเคราะห์ส่วนหนึ่งที่สามารถปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมทุกๆ วันศุกร์

Image

ระหว่างชีวิตที่ผาสุกและชีวิตที่มืดบอด - (ไทย)

อธิบายโองการ 123-126 จากสูเราะฮฺ ฏอฮา ซึ่งกล่าวถึงสภาพของชีวิตอันผาสุกที่ได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติตามโองการต่างๆ ของพระองค์ กับอีกชีวิตหนึ่งที่ผลักไสทางนำของพระองค์จึงทำให้ต้องตกอยู่ในความมืดบอดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

คุฏบะฮฺอีดิลฟิฏรฺ 1433 : นาวาแห่งความรอดพ้น - (ไทย)

คุฏบะฮฺอีดิลฟิฏรฺ ฮ.ศ.1433 โดยอาจารย์มัสลัน มาหะมะ เผยแพร่โดยเครือข่ายวิทยุชุมชน สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ในหัวข้อ “นาวาแห่งความรอดพ้น” กล่าวถึงความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องยึดมั่นกับอิสลาม อันเป็นสัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า ผ่านโองการอัลกุรอานที่นำมาเผยแพร่โดยศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อความรอดพ้นท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งโลกดุนยาที่ถาโถมอย่างหนักหน่วง ทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์ปลอดภัยก็คือการขึ้นไปอยู่บนเรือของอิสลาม ที่สามารถล่องฝ่ากระแสต่างๆ ไปสู่ฝั่งแห่งความสำเร็จในอาคิเราะฮฺได้

Image

มาตรวจสอบตนเองกันเถิด - (ไทย)

การทบทวนพิจารณาตนเองนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก จำเป็นจะต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากขาดการทบทวนแล้ว คนเราจะจมดิ่งอยู่ใต้ท้องทะเลแห่งความชั่วร้าย ความลุ่มหลง ที่จะสิ้นสุดยังไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันนั้นคือ มนุษย์ และก้อนหิน.. ความเสื่อมโทรมในโลกดุนยานี้ ก็ล้วนแต่เกิดจากการที่บุคคลหรือสังคมไม่คิดถึงผลของการกระทำ ไม่คิดถึงการตอบแทนของเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา หรือจากผู้นำ หรือแม้แต่สังคมรอบข้าง.. และเมื่อใดที่บุคคลหรือสังคมไม่คำนึงถึงผลของการกระทำของตน พวกเขาเหล่านั้นก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างตามแต่ใจต้องการ และใช้ชีวิตดั่งม้าที่ไร้บังเหียน ไร้คนควบคุม และทำตัวคล้ายชาวนรกโดยที่รู้ตัว หรือไม่รู้ตัว

Image

ความงดงามของการอดทนสำหรับผู้ศรัทธา - (ไทย)

บทบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคำถอดเนื้อความเป็นภาษาไทย ในหัวข้อเกี่ยวกับความอดทนสำหรับผู้ศรัทธา

Image

คุฏบะฮฺ ชัยฏอนคือศัตรูของพวกเจ้า - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อมนุษย์ นับตั้งแต่อดีตกาลมา รวมทั้งอธิบายวิธีการของชัยฏอนในการล่อลวงมนุษย์ เพื่อให้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ หรือเพื่อกระทำบาป หรือเพื่อให้เบี่ยงเบนออกจากความถูกต้องและสิ่งที่ควรทำ ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องตระหนักในข้อเท็จจริงดังกล่าว และพยายามต่อสู้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของชัยฏอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดความบาดหมางและการทะเลาะกันเองระหว่างพี่น้อง

Image

การรีบเร่งทำความดี - (ไทย)

สมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธาที่จะต้องมีความตื่นตัวและรีบเร่งทำความดี เพราะชีวิตของคนเราช่างสั้นนัก และความตายนั้นก็อยู่ใกล้แค่เอื้อม ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะล่วงรู้ได้เลยว่าความตายจะมาเยือนเขาเมื่อใด บทความนี้ยกตัวอย่างเรื่องราวจากอดีต หลักฐานสนับสนุนจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ รวมถึงระบุตัวอย่างผลดีต่างๆ ในการเร่งทำความดีก่อนจะหมดโอกาส

Image

การกล่าวนินทาว่าร้ายต่ออุละมาอ์ และนักทำงานอิสลาม - (ไทย)

ถาม – ในช่วงหลังๆมานี้ ปรากฏว่ามีคนบางกลุ่มนิยมกล่าวนินทาว่าร้ายต่อบรรดาผู้รู้ และนักเผยแผ่อิสลาม และมีการจำแนกแจกแจง จัดท่านเหล่านั้นว่าอยู่กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ แนวทางนั้นแนวทางนี้..ท่านมีความเห็นอย่างไรกับปรากฏการณ์นี้?