×
Image

หะดีษที่ 26 - การขวนขวายลัยละตุลก็อดรฺ - (ไทย)

จากหนังสือ 40 หะดีษเดือนเราะมะฎอน หะดีษที่ 26 - การขวนขวายลัยละตุลก็อดรฺ พร้อมคำอธิบายโดยสรุป และบทเรียนที่ได้รับจากหะดีษ

Image

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากโรงเรียนเราะมะฎอน? - (ไทย)

ผู้ศรัทธาที่ชาญฉลาดนั้น ความมุ่งมั่นของเขาจะไม่หยุดอยู่เฉพาะในเดือนเราะมะฎอน แต่เขาจะใช้โอกาสของเดือนเราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่คุณความดีในเดือนอื่นๆ และเป็นเสมือนโรงเรียนที่ให้ผู้ศรัทธาได้ปรับปรุงทบทวนเจตนาและความตั้งใจของตน พร้อมมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดในการเคารพภักดีอัลลอฮฺ บทความนี้จะนำคุณไปสู่การทำความเข้าใจบทเรียนจากเดือนเราะมะฎอนในด้านต่างๆ อาทิ บทเรียนด้านจิตวิญญาณ บทเรียนด้านการอบรมขัดเกลา บทเรียนด้านจรรยามารยาท บทเรียนด้านสังคม เพื่อสานต่อบรรยากาศแห่งความดีที่ยั่งยืนตลอดทั้งปี

Image

ตาชั่งในวันปรโลก - (ไทย)

อธิบายความหมายของตาชั่งที่อัลลอฮฺจะใช้ในการชำระสอบสวนมนุษย์ในวันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องศรัทธา รวมทั้งกล่าวถึงผลดีต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการศรัทธาดังกล่าว เช่น การมุ่งมั่นทำความดี การรักษาความดีงามต่างๆ จากสาเหตุที่จะทำให้มันสูญเสียและบกพร่อง เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน - (ไทย)

มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน กล่าวถึงมารยาทต่างๆ ที่จะต้องคำนึงถึงสำหรับผู้ที่ต้องการอ่านอัลกุรอาน อาทิ ความบริสุทธิ์ใจ ร่างกายต้องสะอาด อ่านด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ อ่านชัดถ้อยชัดคำ การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฎอน การใคร่ครวญความหมาย การสุญูดติลาวะฮฺ เป็นต้น เป็นหนึ่งในบทเรียนสำหรับเดือนเราะมะฎอนของท่านเชคอัล-อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ

Image

ความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอน - (ไทย)

กล่าวถึงคุณค่าบางประการของเดือนเราะมะฎอนอันยิ่งใหญ่ อาทิ เป็นเดือนแห่งการประทานอัลกุรอาน เดือนที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำความดีละทิ้งความชั่ว เดือนแห่งการเพิ่มผลบุญเป็นทวีคูณ คุณค่าของการถือศีลอด ณ อัลลอฮฺ การทำอุมเราะฮฺในเราะมะฎอน การปลดปล่อยมนุษย์จากนรก เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์.

Image

หนึ่งบทใคร่ครวญกับอายะฮฺ : จงอย่ากล่าวว่า รออินา แต่จงกล่าวว่า อุนซุรนา - (ไทย)

หนึ่งบทใคร่ครวญกับอายะฮฺ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากล่าวว่า “รออินา” แต่จงกล่าวว่า “อุนซุรนา” เป็นโองการที่กล่าวถึงมารยาทต่อท่านนบี และห้ามเลียนแบบชาวยิวที่เล่นลิ้นด่าทอท่าน

Image

ความประเสริฐของวันศุกร์ - (ไทย)

รวมหลักฐานว่าด้วยความประเสริฐของวันศุกร์.

Image

ตัฟซีร อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ - (ไทย)

อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุมตะหะนะฮฺ และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 6 ตอน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นอัล-วะลาอ์ วัล-บะรออ์ หรือความรักและความเกลียด การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับศัตรูที่คอยทำร้ายอิสลาม รวมถึงขอบเขตที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ปฏิสัมพันธ์ ตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้เป็นบทบัญญัติซึ่งสามารถรักษาแก่นรากอันแข็งแกร่งแต่ก็มีความยืดหยุ่นผ่อนปรนอย่างสมดุล

Image

ตัฟซีร อรรถาธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล - (ไทย)

อธิบายสูเราะฮฺ อัล-มุซซัมมิล และบทเรียนต่างๆ ที่ถอดได้จากสูเราะฮฺ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมดสี่ตอน เนื้อหาเป็นการพูดถึงคำสั่งของอัลลอฮฺให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ประกอบอิบาดะฮฺกิยามุลลัยล์ หรือการละหมาดกลางคืน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างตัวตนและจิตวิญญาณให้พร้อมแบกรับภารกิจในการทำงานอิสลามอันหนักหน่วง และมีความอดทนต่อการเผชิญหน้าความกดดันจากแรงต่อต้านของบรรดามุชริกีนมักกะฮฺ เป็นอีกหนึ่งสูเราะฮฺที่สะท้อนให้เห็นการทุ่มเทที่ท่านนบีได้ทำตัวอย่างเอาไว้แก่เราประชาชาติของท่านอย่างสวยงาม

Image

คุฏบะฮฺ ตัวอย่างบทบาทของท่านอบู บักรฺ ในการพิทักษ์ปกป้องอิสลาม - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ ยกตัวอย่างสี่ประการในอัตชีวประวัติของท่านอบู บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ในการเสียสละอันยิ่งใหญ่เพื่อพิทักษ์ปกป้องอิสลาม ซึ่งครอบคลุมการทุ่มเททั้งสี่ด้านคือ การเชื่อมั่นอย่างซื่อสัตย์และดุษฎีต่อท่านนบี การยอมเสียสละกายของตัวเองเพื่อท่านนบี การเสียสละทรัพย์สินของตัวเองเพื่ออิสลาม และการสานต่อภารกิจในการดูแลอิสลามหลังการเสียชีวิตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

Image

มารยาทในการหาว - (ไทย)

การหาวนั้นส่งผลให้เกิดความมึนงงและเกียจคร้าน มาจากชัยฏอน มุสลิมจึงต้องพยายามกลั้นเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหากทำอย่างนี้แล้วชัยฏอนจะโมโหเจ็บใจ แต่หากมุสลิมปล่อยให้หาวออกมาเสียงดัง ชัยฏอนก็จะหัวเราะใส่เขา เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม