มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน
บทความนี้ถูกแปลเป็นภาษา
หมวดหมู่
Full Description
มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน
] ไทย – Thai – تايلاندي [
เชคมุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : www.ibnothaimeen.com
2013 - 1434
آداب قراءة القرآن
« باللغة التايلاندية »
فضيلة الشيخ محمد بن صالح العثيمين
رحمه الله
ترجمة: صافي عثمان
المصدر: www.ibnothaimeen.com
2013 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
มารยาทในการอ่านอัลกุรอาน
พี่น้องทั้งหลายของฉัน ...
แท้จริง อัลกุรอานที่อยู่ต่อหน้าพวกท่าน ซึ่งพวกท่านได้อ่าน ได้ฟัง ได้ท่อง ได้จดบันทึกกันนั้น เป็นพระดำรัสของพระผู้อภิบาลพวกท่าน ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลจักรวาล เป็นพระเจ้าของผู้คนทั้งปวง มันคือสายเชือกที่มั่นคงของพระองค์ เป็นเส้นทางอันเที่ยงตรง เป็นถ้อยคำที่ประเสริฐยิ่ง และเป็นแสงสว่างที่เจิดจ้าแจ่มแจ้ง อัลลอฮฺได้ทรงมีดำรัสด้วยอัลกุรอานอย่างสัจจริง ในรูปแบบที่เหมาะกับความยิ่งใหญ่และความเกรียงไกรแห่งพระองค์ ทรงโปรดให้ญิบรีลผู้ซื่อสัตย์ หนึ่งในหมู่มะลาอิกะฮฺผู้มีเกียรติและใกล้ชิดพระองค์ รับมันเพื่อนำลงมายังหัวใจของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อให้ท่านได้เผยแผ่ป่าวประกาศด้วยภาษาอาหรับที่ชัดเจน อัลลอฮฺทรงให้คุณลักษณะอัลกุรอานไว้มากมาย ซึ่งล้วนเป็นคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น เพื่อให้เราได้เชิดชูและให้เกียรติ อาทิ
﴿ شَهۡرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡفُرۡقَانِۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ وَمَن كَانَ مَرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۗ يُرِيدُ ٱللَّهُ بِكُمُ ٱلۡيُسۡرَ وَلَا يُرِيدُ بِكُمُ ٱلۡعُسۡرَ وَلِتُكۡمِلُواْ ٱلۡعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُواْ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا هَدَىٰكُمۡ وَلَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ١٨٥﴾ (البقرة : 185)
ความว่า “เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วนซึ่งจำนวนวัน (ของเดือนเราะมะฎอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 185)
﴿ ذَٰلِكَ نَتۡلُوهُ عَلَيۡكَ مِنَ ٱلۡأٓيَٰتِ وَٱلذِّكۡرِ ٱلۡحَكِيمِ ٥٨﴾ (آل عمران : 58)
ความว่า “ดังกล่าวนั้นแหละ เราอ่านมันให้เจ้าฟัง อันได้แก่โองการต่างๆ และคำเตือนรำลึกที่รัดกุมชัดเจน” (อาล อิมรอน 58)
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ قَدۡ جَآءَكُم بُرۡهَٰنٞ مِّن رَّبِّكُمۡ وَأَنزَلۡنَآ إِلَيۡكُمۡ نُورٗا مُّبِينٗا ١٧٤ ﴾ (النساء: 174)
ความว่า “มนุษยชาติทั้งหลาย! แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระเจ้าของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันแจ่มแจ้งลงมาแก่พวกเจ้าด้วย” (อัน-นิสาอ์ 174)
﴿قَدۡ جَآءَكُم مِّنَ ٱللَّهِ نُورٞ وَكِتَٰبٞ مُّبِينٞ ١٥ يَهۡدِي بِهِ ٱللَّهُ مَنِ ٱتَّبَعَ رِضۡوَٰنَهُۥ سُبُلَ ٱلسَّلَٰمِ وَيُخۡرِجُهُم مِّنَ ٱلظُّلُمَٰتِ إِلَى ٱلنُّورِ بِإِذۡنِهِۦ وَيَهۡدِيهِمۡ إِلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ ١٦﴾ (المائدة: 15- 16)
ความว่า “แท้จริง แสงสว่างจากอัลลอฮฺและคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว ด้วยคัมภีร์นั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงแนะนำผู้ที่ปฏิบัติตามความพึงพระทัยของพระองค์ซึ่งบรรดาทางแห่งความปลอดภัย และจะทรงให้พวกเขาออกจากความมืดไปสู่แสงสว่างด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ และจะทรงแนะนำพวกเขาสู่ทางอันเที่ยงตรง” (อัล-มาอิดะฮฺ 15-16)
﴿ وَمَا كَانَ هَٰذَا ٱلۡقُرۡءَانُ أَن يُفۡتَرَىٰ مِن دُونِ ٱللَّهِ وَلَٰكِن تَصۡدِيقَ ٱلَّذِي بَيۡنَ يَدَيۡهِ وَتَفۡصِيلَ ٱلۡكِتَٰبِ لَا رَيۡبَ فِيهِ مِن رَّبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٣٧﴾ (يونس: 37)
ความว่า “และอัลกุรอานนั้นมิใช่จะถูกปั้นแต่งขึ้นโดยผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ แต่มันเป็นการยืนยันคัมภีร์ที่มีมาก่อน และเป็นการจำแนกข้อบัญญัติต่างๆ ในนั้น ไม่มีข้อสงสัยในคัมภีร์นั้นซึ่งมาจากพระเจ้าแห่งสากลโลก” (ยูนุส 37)
﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ قَدۡ جَآءَتۡكُم مَّوۡعِظَةٞ مِّن رَّبِّكُمۡ وَشِفَآءٞ لِّمَا فِي ٱلصُّدُورِ وَهُدٗى وَرَحۡمَةٞ لِّلۡمُؤۡمِنِينَ ٥٧﴾ (يونس: 57)
ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) จากพระเจ้าของพวกท่านได้มายังพวกท่านแล้ว และ(มัน) เป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก และเป็นการชี้แนะทาง และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา” (ยูนุส 57)
﴿ كِتَٰبٌ أُحۡكِمَتۡ ءَايَٰتُهُۥ ثُمَّ فُصِّلَتۡ مِن لَّدُنۡ حَكِيمٍ خَبِيرٍ ١ ﴾ (هود: 1)
ความว่า “คัมภีร์ที่โองการทั้งหลายของมันถูกทำให้รัดกุมมีระเบียบ แล้วถูกจำแนกเรื่องต่างๆ อย่างชัดแจ้ง จากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ” (ฮูด 1)
﴿ إِنَّا نَحۡنُ نَزَّلۡنَا ٱلذِّكۡرَ وَإِنَّا لَهُۥ لَحَٰفِظُونَ ٩﴾ (الحجر: 9)
ความว่า “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน” (อัล-หิจญ์รฺ 9)
﴿ وَلَقَدۡ ءَاتَيۡنَٰكَ سَبۡعٗا مِّنَ ٱلۡمَثَانِي وَٱلۡقُرۡءَانَ ٱلۡعَظِيمَ ٨٧ لَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ وَلَا تَحۡزَنۡ عَلَيۡهِمۡ وَٱخۡفِضۡ جَنَاحَكَ لِلۡمُؤۡمِنِينَ ٨٨ ﴾ (الحجر: 87- 88)
ความว่า “และโดยแน่นอน เราได้ให้แก่เจ้าเจ็ดโองการที่ถูกอ่านซ้ำ(หมายถึง สูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ)และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ อย่าทอดสายตาทั้งสองของเจ้าไปยังชนชั้นต่างๆ ของพวกเขา และอย่าเสียใจแทนพวกเขาและจงลดปีกของเจ้าให้ต่ำ(หมายถึงให้มีความถ่อมตน)ต่อบรรดาผู้ศรัทธา” (อัล-หิจญ์รฺ 87-88)
﴿ وَنَزَّلۡنَا عَلَيۡكَ ٱلۡكِتَٰبَ تِبۡيَٰنٗا لِّكُلِّ شَيۡءٖ وَهُدٗى وَرَحۡمَةٗ وَبُشۡرَىٰ لِلۡمُسۡلِمِينَ ٨٩ ﴾ (النحل: 89)
ความว่า “และเราได้ให้คัมภีร์แก่เจ้าเพื่อชี้แจงทุกสิ่งและเพื่อเป็นทางนำและเป็นความเมตตา และเป็นข่าวดีแก่บรรดามุสลิม” (อัน-นะห์ลฺ 89)
﴿ إِنَّ هَٰذَا ٱلۡقُرۡءَانَ يَهۡدِي لِلَّتِي هِيَ أَقۡوَمُ وَيُبَشِّرُ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ ٱلَّذِينَ يَعۡمَلُونَ ٱلصَّٰلِحَٰتِ أَنَّ لَهُمۡ أَجۡرٗا كَبِيرٗا ٩ وَأَنَّ ٱلَّذِينَ لَا يُؤۡمِنُونَ بِٱلۡأٓخِرَةِ أَعۡتَدۡنَا لَهُمۡ عَذَابًا أَلِيمٗا ١٠ ﴾ (الإِسراء: 9-10)
ความว่า “แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่ และแท้จริงบรรดาผู้ไม่ศรัทธาต่อโลกหน้านั้น เราได้เตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้วซึ่งการลงโทษอันเจ็บแสบ” (อัล-อิสรออ์ 9-10)
﴿ وَنُنَزِّلُ مِنَ ٱلۡقُرۡءَانِ مَا هُوَ شِفَآءٞ وَرَحۡمَةٞ لِّلۡمُؤۡمِنِينَ وَلَا يَزِيدُ ٱلظَّٰلِمِينَ إِلَّا خَسَارٗا ٨٢ ﴾ (الإِسراء: 82)
ความว่า “และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา และมันมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรมนอกจากการขาดทุนเท่านั้น” (อัล-อิสรออ์ 82)
﴿ قُل لَّئِنِ ٱجۡتَمَعَتِ ٱلۡإِنسُ وَٱلۡجِنُّ عَلَىٰٓ أَن يَأۡتُواْ بِمِثۡلِ هَٰذَا ٱلۡقُرۡءَانِ لَا يَأۡتُونَ بِمِثۡلِهِۦ وَلَوۡ كَانَ بَعۡضُهُمۡ لِبَعۡضٖ ظَهِيرٗا ٨٨﴾ (الإِسراء: 88)
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตามที” (อัล-อิสรออ์ 88)
﴿ مَآ أَنزَلۡنَا عَلَيۡكَ ٱلۡقُرۡءَانَ لِتَشۡقَىٰٓ ٢ إِلَّا تَذۡكِرَةٗ لِّمَن يَخۡشَىٰ ٣ تَنزِيلٗا مِّمَّنۡ خَلَقَ ٱلۡأَرۡضَ وَٱلسَّمَٰوَٰتِ ٱلۡعُلَى ٤﴾ (طه: 2-4)
ความว่า “เรามิได้ให้อัลกุรอานลงมาแก่เจ้าเพื่อให้เจ้าลำบาก ทว่ามันเป็นการตักเตือนแก่ผู้ที่ยำเกรง เป็นการประทานลงจากพระผู้สร้างแผ่นดินและชั้นฟ้าทั้งหลายอันสูงส่ง” (ฏอฮา 2-4)
﴿ تَبَارَكَ ٱلَّذِي نَزَّلَ ٱلۡفُرۡقَانَ عَلَىٰ عَبۡدِهِۦ لِيَكُونَ لِلۡعَٰلَمِينَ نَذِيرًا ١﴾ (الفرقان: 1)
ความว่า “ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงประทานอัลฟุรกอน(อัลกุรอานที่จำแนกแยกแยะ) แก่บ่าวของพระองค์ (มุหัมมัด) เพื่อเขาจะได้เป็นผู้ตักเตือนแก่ปวงบ่าวทั้งมวล” (อัล-ฟุรกอน 1)
﴿ وَإِنَّهُۥ لَتَنزِيلُ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ١٩٢ نَزَلَ بِهِ ٱلرُّوحُ ٱلۡأَمِينُ ١٩٣ عَلَىٰ قَلۡبِكَ لِتَكُونَ مِنَ ٱلۡمُنذِرِينَ ١٩٤ بِلِسَانٍ عَرَبِيّٖ مُّبِينٖ ١٩٥ وَإِنَّهُۥ لَفِي زُبُرِ ٱلۡأَوَّلِينَ ١٩٦ أَوَ لَمۡ يَكُن لَّهُمۡ ءَايَةً أَن يَعۡلَمَهُۥ عُلَمَٰٓؤُاْ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ١٩٧﴾ (الشعراء: 192-197)
ความว่า “และแท้จริงมัน เป็นการประทานลงมาของพระเจ้าแห่งสากลโลก อัร-รูหฺ(มะลาอิกะฮฺญิบรีล)ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง และแท้จริงมันมีอยู่ในคัมภีร์สมัยก่อนๆ และมันมิได้เป็นหลักฐานแก่พวกเขาดอกหรือว่า บรรดาผู้มีความรู้ของวงศ์วานอิสรออีลก็รู้ดีในเรื่องนี้” (อัช-ชุอะรออ์ 192-197)
﴿ وَمَا تَنَزَّلَتۡ بِهِ ٱلشَّيَٰطِينُ ٢١٠ وَمَا يَنۢبَغِي لَهُمۡ وَمَا يَسۡتَطِيعُونَ ٢١١﴾ (الشعراء: 210- 211)
ความว่า “และพวกมารชัยฏอรมิได้นำมัน(อัลกุรอาน)ลงมา และไม่เป็นการเหมาะสมแก่พวกมันและพวกมันก็ไม่สามารถด้วย” (อัช-ชุอะรออ์ 210-211)
﴿ بَلۡ هُوَ ءَايَٰتُۢ بَيِّنَٰتٞ فِي صُدُورِ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡعِلۡمَۚ وَمَا يَجۡحَدُ بَِٔايَٰتِنَآ إِلَّا ٱلظَّٰلِمُونَ ٤٩﴾ (العنكبوت: 49)
ความว่า “มิใช่เช่นนั้นดอก มันคือโองการทั้งหลายอันแจ้งชัดอยู่ในหัวอกของบรรดาผู้ได้รับความรู้ และไม่มีผู้ใดปฏิเสธโองการทั้งหลายของเรานอกจากพวกอธรรม” (อัล-อันกะบูต 49)
﴿ وَمَا عَلَّمۡنَٰهُ ٱلشِّعۡرَ وَمَا يَنۢبَغِي لَهُۥٓۚ إِنۡ هُوَ إِلَّا ذِكۡرٞ وَقُرۡءَانٞ مُّبِينٞ ٦٩ لِّيُنذِرَ مَن كَانَ حَيّٗا وَيَحِقَّ ٱلۡقَوۡلُ عَلَى ٱلۡكَٰفِرِينَ ٧٠﴾ (يس: 69-70)
ความว่า “เรามิได้สอนกวีนิพนธ์แก่เขา (มุหัมมัด) และไม่เหมาะสมแก่เขาที่จะเป็นกวี คัมภีร์นี้มิใช่อื่นใดเลย นอกจากเป็นข้อตักเตือนและเป็นคัมภีร์อันชัดแจ้ง เพื่อตักเตือนผู้ที่มีชีวิต และเพื่อข้อตักเตือนนั้นเป็นหลักฐานยืนยันเหนือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา” (ยาสีน 69-70)
﴿كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩﴾ (ص: 29)
ความว่า “คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่างๆ ของอัลกุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (ศอด 29)
﴿ قُلۡ هُوَ نَبَؤٌاْ عَظِيمٌ ٦٧﴾ (ص: 67)
ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด นี่คือข่าวสำคัญอันยิ่งใหญ่” (ศอด 67)
﴿ ٱللَّهُ نَزَّلَ أَحۡسَنَ ٱلۡحَدِيثِ كِتَٰبٗا مُّتَشَٰبِهٗا مَّثَانِيَ تَقۡشَعِرُّ مِنۡهُ جُلُودُ ٱلَّذِينَ يَخۡشَوۡنَ رَبَّهُمۡ ثُمَّ تَلِينُ جُلُودُهُمۡ وَقُلُوبُهُمۡ إِلَىٰ ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ ذَٰلِكَ هُدَى ٱللَّهِ يَهۡدِي بِهِۦ مَن يَشَآءُۚ وَمَن يُضۡلِلِ ٱللَّهُ فَمَا لَهُۥ مِنۡ هَادٍ ٢٣﴾ (الزمر: 23)
ความว่า “อัลลอฮฺได้ทรงประทานคำกล่าวที่ดียิ่งลงมา เป็นคัมภีร์คล้องจองกันกล่าวซ้ำกัน ผิวหนังของบรรดาผู้ที่เกรงกลัวพระเจ้าของพวกเขาจะลุกชันขึ้นเนื่องด้วย(ซาบซึ้งกับความหมายของ)คัมภีร์นั้น แล้วผิวหนังของพวกเขาและหัวใจของพวกเขาจะสงบลงเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ นั่นคือการชี้นำทางของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงชี้นำทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง ดังนั้นสำหรับเขาก็จะไม่มีผู้ชี้นำทาง” (อัซ-ซุมัรฺ 23)
﴿ إِنَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ بِٱلذِّكۡرِ لَمَّا جَآءَهُمۡۖ وَإِنَّهُۥ لَكِتَٰبٌ عَزِيزٞ ٤١ لَّا يَأۡتِيهِ ٱلۡبَٰطِلُ مِنۢ بَيۡنِ يَدَيۡهِ وَلَا مِنۡ خَلۡفِهِۦۖ تَنزِيلٞ مِّنۡ حَكِيمٍ حَمِيدٖ ٤٢﴾ (فصلت: 41-42)
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) เมื่อได้มีมายังพวกเขา(แน่นอนพวกเขาย่อมต้องหายนะ) และแท้จริงอัลกุรอานนั้นเป็นคัมภีร์ที่มีอำนาจยิ่ง ความเท็จจากข้างหน้าและจากข้างหลังจะไม่คืบคลานเข้าไปสู่อัลกุรอานได้ (เพราะ) เป็นการประทานจากพระผู้ทรงปรีชาญาณผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ” (ฟุศศิลัต 41-42)
﴿ وَكَذَٰلِكَ أَوۡحَيۡنَآ إِلَيۡكَ رُوحٗا مِّنۡ أَمۡرِنَاۚ مَا كُنتَ تَدۡرِي مَا ٱلۡكِتَٰبُ وَلَا ٱلۡإِيمَٰنُ وَلَٰكِن جَعَلۡنَٰهُ نُورٗا نَّهۡدِي بِهِۦ مَن نَّشَآءُ مِنۡ عِبَادِنَاۚ وَإِنَّكَ لَتَهۡدِيٓ إِلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ ٥٢﴾ (الشورى: 52)
ความว่า “และเช่นนั้นแหละเราได้ประทานอัลกุรอานเป็นวิวรณ์แก่เจ้าตามบัญชาของเรา เจ้าไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าอะไรคือคัมภีร์ และอะไรคือการศรัทธา แต่ว่าเราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นแสงสว่างเพื่อชี้แนะทางโดยนัยนั้นแก่ผู้ที่เราประสงค์จากปวงบ่าวของเรา และแท้จริงเจ้านั้นคือผู้ที่ชี้แนะสู่ทางอันเที่ยงธรรม” (อัช-ชูรอ 52)
﴿ وَإِنَّهُۥ فِيٓ أُمِّ ٱلۡكِتَٰبِ لَدَيۡنَا لَعَلِيٌّ حَكِيمٌ ٤﴾ (الزخرف: 4)
ความว่า “และแท้จริงอัลกุรอานนั้นอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ (อัล-เลาหฺ อัล-มะหฺฟูซ) ณ ที่เรา ซึ่งสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยปรัชญา” (อัซ-ซุครุฟ 4)
﴿ هَٰذَا بَصَٰٓئِرُ لِلنَّاسِ وَهُدٗى وَرَحۡمَةٞ لِّقَوۡمٖ يُوقِنُونَ ٢٠﴾ (الجاثية: 20)
ความว่า “อัลกุรอานนี้เป็นแสงสว่างแก่มวลมนุษย์ และเป็นแนวทางที่ถูกต้องและความเมตตาแก่หมู่ชนที่มีความเชื่อมั่น” (อัล-ญาษียะฮฺ 20)
﴿وَٱلۡقُرۡءَانِ ٱلۡمَجِيدِ ١﴾ (ق: 1)
ความว่า “ขอสาบานด้วยอัลกุรอานอันทรงเกียรติ” (กอฟ 1)
﴿۞فَلَآ أُقۡسِمُ بِمَوَٰقِعِ ٱلنُّجُومِ ٧٥ وَإِنَّهُۥ لَقَسَمٞ لَّوۡ تَعۡلَمُونَ عَظِيمٌ ٧٦ إِنَّهُۥ لَقُرۡءَانٞ كَرِيمٞ ٧٧ فِي كِتَٰبٖ مَّكۡنُونٖ ٧٨ لَّا يَمَسُّهُۥٓ إِلَّا ٱلۡمُطَهَّرُونَ ٧٩ تَنزِيلٞ مِّن رَّبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ٨٠﴾ (الواقعة: 75-80)
ความว่า “ข้า (อัลลอฮฺ) ขอสาบานด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ของดวงดาว และแท้จริงมันเป็นการสาบานอันยิ่งใหญ่ หากพวกเจ้ารู้ แท้จริง (คัมภีร์นั้น)มันคือ กุรอานอันทรงเกียรติ ซึ่งอยู่ในบันทึกที่ถูกพิทักษ์รักษาไว้ ไม่มีผู้ใดที่อาจจะแตะต้องอัลกุรอานนอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น มันถูกประทานลงมาจากพระเจ้าแห่งสากลโลก” (อัล-วากิอะฮฺ 75-80)
﴿ لَوۡ أَنزَلۡنَا هَٰذَا ٱلۡقُرۡءَانَ عَلَىٰ جَبَلٖ لَّرَأَيۡتَهُۥ خَٰشِعٗا مُّتَصَدِّعٗا مِّنۡ خَشۡيَةِ ٱللَّهِۚ وَتِلۡكَ ٱلۡأَمۡثَٰلُ نَضۡرِبُهَا لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمۡ يَتَفَكَّرُونَ ٢١﴾ (الحشر: 21)
ความว่า “หากเราประทานอัลกุรอานนี้ลงมาบนภูเขาลูกหนึ่ง แน่นอนเจ้าจะเห็นมันนอบน้อมแตกแยกออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องเพราะความกลัวต่ออัลลอฮฺ อุปมาเหล่านี้เราได้ยกมันมาเปรียบเทียบสำหรับมนุษย์เพื่อพวกเขาจะได้พิจารณาใคร่ครวญ” (อัล-หัชรฺ 21)
﴿ إِنَّا سَمِعۡنَا قُرۡءَانًا عَجَبٗا ١ يَهۡدِيٓ إِلَى ٱلرُّشۡدِ فََٔامَنَّا بِهِۦۖ وَلَن نُّشۡرِكَ بِرَبِّنَآ أَحَدٗا ٢﴾ (الجن: 1-2)
ความว่า “(พวกญินกล่าวว่า) แท้จริงเราได้ยินอัลกุรอานที่แปลกประหลาด นำไปสู่ทางที่ถูกต้อง ดังนั้นพวกเราจึงศรัทธาต่ออัลกุรอานนั้น และเราจะไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระเจ้าของเรา” (อัล-ญิน 1-2)
﴿ بَلۡ هُوَ قُرۡءَانٞ مَّجِيدٞ ٢١ فِي لَوۡحٖ مَّحۡفُوظِۢ ٢٢﴾ (البروج: 21-22)
ความว่า “ทว่ามันคืออัลกุรอานอันรุ่งโรจน์ อยู่ในแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้” (อัล-บุรูจญ์ 21-22)
ทั้งหมดนั้น คือคุณลักษณะอันยิ่งใหญ่มากมายของอัลกุรอาน ทั้งที่เราอ้างไว้ที่นี่และไม่ได้อ้างไว้ ล้วนแต่บ่งชี้ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอานเล่มนี้ และสื่อถึงความจำเป็นที่เราต้องเชิดชูให้เกียรติและมีมารยาทในการอ่านมัน และต้องหลีกเลี่ยงจากการล้อหรือเล่นกันในเวลาที่เราอ่านอัลกุรอาน
ในจำนวนมารยาทของการอ่านอัลกุรอานก็คือ การ
อิคลาศ(บริสุทธิ์ใจ)ต่ออัลลอฮฺ เพราะการอ่านอัลกุรอานเป็นอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง และอัลลอฮฺก็ได้สั่งให้เราบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺ พระองค์ตรัสว่า
﴿ فَٱدۡعُواْ ٱللَّهَ مُخۡلِصِينَ لَهُ ٱلدِّينَ وَلَوۡ كَرِهَ ٱلۡكَٰفِرُونَ ١٤﴾ (غافر: 14)
ความว่า “ดังนั้นจงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาต่อพระองค์ แม้ว่าพวกปฏิเสธศรัทธาจะเกลียดชังก็ตาม” (ฆอฟิรฺ 14)
﴿ فَٱعۡبُدِ ٱللَّهَ مُخۡلِصٗا لَّهُ ٱلدِّينَ ٢﴾ (الزمر: 2)
ความว่า “ดังนั้นเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาต่อพระองค์” (อัซ-ซุมัรฺ 2)
﴿ وَمَآ أُمِرُوٓاْ إِلَّا لِيَعۡبُدُواْ ٱللَّهَ مُخۡلِصِينَ لَهُ ٱلدِّينَ حُنَفَآءَ وَيُقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَيُؤۡتُواْ ٱلزَّكَوٰةَۚ وَذَٰلِكَ دِينُ ٱلۡقَيِّمَةِ ٥﴾ (البينة: 5)
ความว่า “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจาก เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง และดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม” (อัล-บัยยินะฮฺ 5)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«اقْرَءُوا الْقُرْآنَ وَابْتَغُوا بِهِ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ، مِنْ قَبْلِ أَنْ يَأْتِيَ قَوْمٌ يُقِيمُونَهُ إِقَامَةَ الْقِدْحِ، يَتَعَجَّلُونَهُ وَلَا يَتَأَجَّلُونَهُ» (رواه أحمد، وحسنه الألباني في صحيح الجامع برقم 1167)
ความว่า “จงอ่านอัลกุรอาน และแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺด้วยการอ่านนั้น ก่อนที่จะมีคนกลุ่มหนึ่งมาทำกับอัลกุรอานเหมือนกับการยกลูกธนู พวกเขาเพียงต้องการผลตอบแทนอันรวดเร็วในโลกนี้ และไม่ได้หวังผลบุญในโลกหน้า” (บันทึกโดย อะหฺมัด และอัล-อัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 1167)
ในจำนวนมารยาทก็คือ อ่านอัลกุรอานด้วยใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว พินิจใคร่ครวญสิ่งที่อ่าน พยายามทำความเข้าใจความหมายของมัน ให้หัวใจสงบเสงี่ยมนอบน้อม และคำนึงอยู่เสมอว่าอัลลอฮฺกำลังมีพระดำรัสอยู่กับเขา เพราะแท้จริงแล้วอัลกุรอานก็คือพระดำรัสของอัลลอฮฺ
ในจำนวนมารยาทก็คือ อ่านอัลกุรอานในสภาพที่ร่างกายสะอาด เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการให้เกียรติคัมภีร์ของอัลลอฮฺ จะต้องไม่อ่านอัลกุรอานในขณะที่มีญุนุบ (เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีประจำเดือน เป็นต้น) จนกว่าจะได้ชำระร่างกายด้วยการอาบน้ำเสียก่อน หรือถ้าอาบน้ำไม่ได้เพราะมีเหตุจำเป็นก็ต้องตะยัมมุมเสียก่อน และสำหรับผู้ที่มีญุนุบนั้นอนุญาตให้ขอดุอาอ์ด้วยสำนวนที่ตรงกับอายะฮฺอัลกุรอานได้ ถ้าหากเขาไม่เจตนาว่ากำลังอ่านอัลกุรอานอยู่ เช่นการขอดุอาอ์ด้วยสำนวนว่า
لَا إِلٰهَ إِلاَّ أَنْتَ سُبْحَانَكَ إِنِّيْ كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِيْنَ
หรือ
رَبَّنَا لَا تُزِغْ قُلُوْبَنَا بَعْدَ إِذْ هَدَيتْنَا وَهَبْ لَنَا مِنْ لَدُنْكَ رَحْمَةً إِنَّك أَنْتَ الوَهَّاب
(ซึ่งทั้งสองดุอาอ์ดังกล่าวนั้นมีอยู่ในอัลกุรอานด้วย)
ในจำนวนมารยาทก็คือ ต้องไม่อ่านอัลกุรอานในสถานที่สกปรก หรือที่ชุมนุมซึ่งไม่มีใครสนใจฟังอัลกุรอาน เพราะการอ่านในลักษณะนี้เป็นการไม่ให้เกียรติอัลกุรอาน ไม่อนุญาตให้อ่านอัลกุรอานในห้องน้ำห้องส้วมหรือที่ที่จัดไว้สำหรับการถ่ายปัสสาวะอุจจาระ เพราะมันไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับอัลกุรอาน
ในจำนวนมารยาทก็คือ ต้องกล่าวขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนเมื่อเริ่มอ่านอัลกุรอาน เพราะอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ فَإِذَا قَرَأۡتَ ٱلۡقُرۡءَانَ فَٱسۡتَعِذۡ بِٱللَّهِ مِنَ ٱلشَّيۡطَٰنِ ٱلرَّجِيمِ ٩٨﴾ (النحل: 98)
ความว่า “ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกุรอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง” (อัน-นะห์ลฺ 98)
เพื่อไม่ให้ชัยฏอนมาขัดขวางการอ่าน หรือทำให้การอ่านบกพร่องไม่สมบูรณ์ ส่วนการอ่านบิสมิลลาฮฺนั้น ถ้าหากเริ่มอ่านตั้งแต่ตอนกลางของสูเราะฮฺก็ไม่ต้องบิสมิลลาฮฺ ให้อ่านเฉพาะตอนต้นของสูเราะฮฺเท่านั้น นอกจากสูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ ที่ไม่ต้องบิสมิลลาฮฺแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้เกิดความไม่แน่ใจในหมู่พวกเขาว่า สูเราะฮฺนี้เป็นสูเราะฮฺเดียวกันกับสูเราะฮฺ อัล-อันฟาล หรือเป็นอีกสูเราะฮฺหนึ่งต่างหาก พวกเขาจึงแยกสองสูเราะฮฺนี้โดยไม่ได้คั่นด้วยบิสมิลลาฮฺ ซึ่งการวินิจฉัยและตัดสินใจเช่นนี้ตรงกับความเป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าหากบิสมิลลาฮฺได้ลงมาสำหรับใช้เริ่มสูเราะฮฺนี้ด้วยแน่นอนว่ามันต้องถูกสงวนไว้อย่างดีด้วยการพิทักษ์รักษาของอัลลอฮฺ เพราะพระองค์ตรัสว่า
﴿ إِنَّا نَحۡنُ نَزَّلۡنَا ٱلذِّكۡرَ وَإِنَّا لَهُۥ لَحَٰفِظُونَ ٩﴾ (الحجر: 9)
ความว่า “แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน” (อัล-หิจญ์รฺ 9)
ในจำนวนมารยาทก็คือ ต้องอ่านด้วยเสียงไพเราะและด้วยท่วงทำนองที่น่าฟัง เนื่องจากมีหะดีษจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَا أَذِنَ اللَّهُ لِشَىْءٍ مَا أَذِنَ لِنَبِىٍّ حَسَنِ الصَّوْتِ يَتَغَنَّى بِالْقُرْآنِ يَجْهَرُ بِهِ» (رواه مسلم برقم 1883)
ความว่า “อัลลอฮฺไม่ทรงสดับฟังต่อสิ่งใด เช่นที่พระองค์ทรงสดับฟังต่อนบีคนหนึ่งที่เสียงไพเราะ ซึ่งอ่านอัลกุรอานด้วยเสียงดัง” (บันทึกโดย มุสลิม 1883)
และเล่าจากญุบัยรฺ บิน มุฏอิม เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ฉันได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านสูเราะฮฺ อัฏ-ฏูรฺ ในละหมาดมัฆริบ ซึ่งฉันไม่เคยฟังเสียงและการอ่านของผู้ใดที่จะไพเราะไปกว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
แต่ถ้าหากว่าข้างๆ เรามีคนอื่นที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนจากการอ่านดังของเรา เช่นคนที่กำลังหลับ หรือกำลังละหมาดอยู่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ต้องไม่อ่านเสียงดังจนทำให้คนอื่นวุ่นวายหรือเดือดร้อน เพราะครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยออกมาหาผู้คนที่กำลังละหมาดอยู่และเห็นบางคนกำลังอ่านอัลกุรอานเสียงดัง ท่านจึงกล่าวว่า
«إِنَّ الْمُصَلِّي يُنَاجِي رَبَّهُ، فَلْيَنْظُرْ بِمَا يُنَاجِيهِ بِهِ، وَلَا يَجْهَرْ بَعْضُكُمْ عَلَى بَعْضٍ بِالْقُرْآن» (رواه مالك في الموطأ، وقال ابن عبدالبر : وهو حديث صحيح، وانظر صحيح الجامع برقم 1951)
ความว่า “แท้จริง ผู้ละหมาดนั้นกำลังเข้าเฝ้าพระผู้อภิบาลของเขา ดังนั้น พึงดูให้ดีว่าเขาได้เข้าเฝ้าพระองค์ด้วยสิ่งใด และพวกเจ้าอย่าได้อ่านอัลกุรอานดังทับเสียงกันเองในหมู่พวกท่าน (คือ กลายเป็นการรบกวนผู้อื่น)” (บันทึกโดย อิมาม มาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ ท่านอิบนุ อับดิลบัรรฺ กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ โปรดดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ 1951)
ในจำนวนมารยาทก็คือ การอ่านอัลกุรอานอย่างชัดถ้อยชัดคำ(ตัรตีล) เพราะอัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَرَتِّلِ ٱلۡقُرۡءَانَ تَرۡتِيلًا ٤﴾ (المزمل: 4)
ความว่า “และจงอ่านอัลกุรอานช้าๆ เป็นจังหวะ (ชัดถ้อยชัดคำ)” (อัล-มุซซัมมิล 4)
ดังนั้น จึงควรต้องอ่านอย่างช้าๆ ไม่รีบเร่ง เพราะนั่นจะช่วยให้สามารถใคร่ครวญความหมายได้ดีกว่า ช่วยให้ออกเสียงพยัญชนะและถ้อยคำต่างๆ ได้แม่นยำกว่า ในหะดีษที่บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านถูกถามว่า การอ่านของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นเป็นอย่างไร? ท่านตอบว่า ท่านจะอ่านลากเสียง เช่นอ่าน บิสมิลลาฮิรฺ เราะห์มานิรฺ เราะหีม ด้วยการลากเสียงตรงบิสมิลลาฮฺ และลากเสียงตรงอัร-เราะห์มาน และลากเสียงตรงอัร-เราะหีม
ในหะดีษที่บันทึกโดยอะหฺมัด, อบู ดาวูด และ อัต-ติรมิซียฺ ท่านหญิงอุมมุ สะละมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ก็ถูกถามเกี่ยวกับการอ่านของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านหญิงตอบว่า ท่านนบีนั้นจะอ่านด้วยการหยุดทีละอายะฮฺ คือ (บิสมิลลาฮิรฺ เราะห์มานิรฺ เราะหีม, อัลหัมดุลิลลาฮิ ร็อบบิล อาละมีน, อัรเราะห์มานิรฺ เราะหีม, มาลิกิ เยามิดดีน)
อิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า อย่าอ่านอัลกุรอานเหมือนกับที่ท่านโปรยทราย และอย่าอ่านเหมือนเวลาที่ท่านอ่านโคลงกลอนบทกวี จงหยุดพิจารณาความมหัศจรรย์ของมัน จงปลุกหัวใจให้เคลื่อนไหวตามมัน และอย่าให้เป้าหมายของเจ้ามีเพียงแค่ว่าเมื่อไรจะถึงท้ายสูเราะฮฺเสียที
ถือว่าไม่เป็นไรที่อ่านเร็วๆ ถ้าหากว่าไม่ทำให้บกพร่องในเรื่องการเปล่งถ้อยคำ เช่น การทำให้บางคำตกหล่น หรือควบรวมคำที่ไม่อนุญาตให้ควบ เป็นต้น ถ้าหากว่าการอ่านเร็วทำให้เกิดความบกพร่องในการเปล่งถ้อยคำก็ถือว่าหะรอม ไม่อนุญาตให้ทำ เพราะมันเป็นการทำให้อัลกุรอานเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
ในจำนวนมารยาทก็คือ การสุญูดเมื่ออ่านผ่านอายะฮฺที่มีสัจญ์ดะฮฺหรือเครื่องหมายให้สุญูด (ที่เรียกว่า สุญูด ติลาวะฮฺ) ซึ่งมีเงื่อนไขว่าต้องอยู่ในสภาพที่มีน้ำละหมาด ไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืน ให้กล่าวตักบีรฺก่อนแล้วจึงสุญูดและกล่าวในขณะสุญูดว่า “สุบหานะร็อบบิยัล อะอฺลา” พร้อมทั้งให้ขอดุอาอ์ต่างๆ ได้ จากนั้นก็เงยขึ้นจากสุญูดโดยไม่ต้องกล่าวตักบีรฺอีกและไม่ต้องให้สลามแต่อย่างใด เพราะไม่มีหลักฐานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้ทำเช่นนั้น ยกเว้นในกรณีที่สุญูดในละหมาดก็ให้เขากล่าวตักบีรฺทั้งก่อนสุญูดและหลังสุญูดเสร็จเมื่อจะลุกขึ้นมา เนื่องจากมีหะดีษที่บันทึกโดยมุสลิม เล่าโดย อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะตัรบีรฺทุกครั้งที่ลดตัวลงและลุกขึ้นในอิริยาบทของการละหมาด ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺบอกว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะทำเช่นนั้นเสมอ และมีหะดีษที่บันทึกโดยอะหฺมัด, อัน-นะสาอียฺ และอัต-ติรมิซีย์ ซึ่งท่านเห็นว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ เล่าจากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า “ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตักบีรฺทุกครั้งที่ลุกและย่อตัว ทุกครั้งที่ยืนขึ้นและนั่งลง” ซึ่งมันครอบคลุมทั้งสุญูดทั่วไปที่เป็นอิริยาบทหนึ่งในการละหมาด และการสุญูดติลาวะฮฺเนื่องจากอ่านอายะฮฺสัจญ์ดะฮฺในขณะที่กำลังละหมาดอยู่ด้วย
นี่คือมารยาทบางประการในการอ่านอัลกุรอาน ขอทุกท่านจงใช้มันและพยายามระวังรักษามารยาทเหล่านี้ และปฏิบัติมันด้วยดีเพื่อหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงทำให้เราเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่เชิดชูสิ่งที่พระองค์ยกย่องให้เกียรติ เป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะด้วยการประทานให้ของพระองค์ เป็นผู้ได้รับมรดกในสวนสวรรค์ของพระองค์ ขอทรงอภัยโทษให้แก่พวกเรา แก่บุพการีของเรา และแก่มวลมุสลิมทั้งหลาย ด้วยความเมตตาอันล้นพ้นของพระองค์ด้วยเถิด โอ้ ผู้ทรงยิ่งด้วยความเมตตาอันเป็นที่สุดในหมู่ผู้เมตตาทั้งปวง ขอพรและสันติแห่งพระองค์จงบังเกิดแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา รวมถึงวงศ์วานและสหายทั้งหลายของท่านด้วยเทอญ
ที่มา
http://www.ibnothaimeen.com/all/books/article_17694.shtml