×
Image

การสั่งใช้ในความดีและห้ามปรามความชั่ว - (ไทย)

นำเสนอข้อมูลว่าด้วยความสำคัญของการร่วมมือกันสร้างสรรค์ความดี สนับสนุนและส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมทั้งยับยั้งห้ามปรามความชั่วต่างๆ อันเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะทำให้สังคมมีความมั่นคงและสันติสุข อีกทั้งยังได้กล่าวถึงระดับของการห้ามความชั่วเอาไว้ด้วยทั้งหมดสี่ระดับ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

คุฏบะฮฺ สองเงื่อนไขหลักในการเปลี่ยนแปลงความชั่ว - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ว่าด้วย สองเงื่อนไขหลักในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความชั่วในสังคม นั่นคือ อิคลาศหรือความบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ และ มุตะบาอะฮฺ หรือการปฏิบัติตามแนววิธีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อให้บรรลุผลภายใต้แนวคิด “ค็อยเราะอุมมะฮฺ – ประชาชาติที่ดีที่สุด”

Image

คุฏบะฮฺ : สร้างจิตสำนึกสู่การเป็นค็อยเราะอุมมะฮฺ - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ เป็นการชี้ชวนให้มุสลิมทบทวนตัวเองและทำความรู้จักกับหน้าที่และบทบาทของมุสลิมในฐานะ ค็อยเราะ อุมมะฮฺ หรือ ประชาชาติที่ดีที่สุด ซึ่งจะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างจิตสำนึกในตัวเอง และปลูกฝังความมุ่งมาดที่จะบรรลุถึงสถานะอันยิ่งใหญ่นี้ ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองเดิมๆ สู่การคิดในเชิงบวกและร่วมกันสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน

Image

การสั่งใช้ให้ทำดีและสั่งห้ามมิให้ทำชั่ว - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ ว่าด้วยเรื่องหน้าที่ในการสั่งใช้ให้ทำดีและสั่งห้ามมิให้ทำชั่ว ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ที่เป็นมุสลิม กล่าวถึงความสำคัญของภาระหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และยกตัวอย่างเชิงปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่นี้

Image

ท่านนบีสอนเศาะหาบะฮฺอย่างไร? - (ไทย)

บทความที่ยกตัวอย่างวิธีการสอนของท่านนบี ศ็อลลัลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ในการปลูกฝังและอบรมเศาะหาบะฮฺของท่าน อันได้แก่ 1. การสอนด้วยการเล่าเรื่องราวต่างๆ 2. การสอนด้วยการให้ข้อตักเตือน 3. ผสมผสานระหว่างการให้ขวัญกำลังใจและการขู่สำทับ 4. การโน้มน้าวจิตใจ 5. ใช้การสนทนาและการโต้ตอบ 6. ใช้ความเกรี้ยวกราดและการลงโทษ 7. ใช้การตัดความสัมพันธ์(บอยคอต) 8. การให้คำแนะนำโดยทางอ้อม 9. ใช้เหตุการณ์และโอกาสต่างๆให้เกิดประโยชน์ 10. การให้กำลังใจและการกล่าวชมเชย

Image

อัน-นะศีหะฮฺ การตักเตือน - (ไทย)

อธิบายหะดีษ “อิสลามคือนะศีหะฮฺ” ผู้เขียนได้อธิบายและจำแนกประเภทต่างๆ ของการตักเตือน รวมทั้งประโยชน์อันมากมาย และสิ่งที่เงื่อนไขหรือมารยาทในการตักเตือน เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Image

สู่การเป็นประชาชาติที่ดีเลิศ - (ไทย)

สู่การเป็น ค็อยเราะอุมมะฮฺ หรือ ประชาชาติที่ดีเลิศ ด้านจริยธรรม วินัย และจิตบริการ อธิบายแนวทางจากอัลกุรอานสู่การสร้างปัจเจกบุคคล และกลุ่มชนที่ทำงานทำนุบำรุงความดีงามให้แก่สังคมและโลก วิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เดิมเป็นสาส์นจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามเนื่องในโอกาสค่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยปี 2011.

Image

มุสลิมะฮฺกับการสร้างสรรค์สังคม - (ไทย)

กล่าวถึงบทบาทของสตรีมุสลิมะฮฺในการทำหน้าที่สร้างสรรค์ ในกรอบของการสนับสนุนความดี ยับยั้งความชั่ว และการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสิ่งที่ถูกต้อง อธิบายและวิเคราะห์พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺ

Image

คุฏบะฮฺ ใช้ความนุ่มนวลในการเปลี่ยนแปลงความชั่ว - (ไทย)

คุฏบะฮฺวันศุกร์ว่าด้วยวิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการใช้ความนุ่มนวลอ่อนโยน โดยยกตัวอย่างบางชิ้นจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ทั้งจากโองการอัลกุรอานและหะดีษที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นบทเรียนและคำแนะนำแก่ผู้ที่อยู่ในกระบวนการดูแลและรับผิดชอบสังคมภายใต้แนวคิด “ค็อยเราะอุมมะฮฺ – ประชาชาติที่ดีที่สุด”