×
บทความที่ยกตัวอย่างวิธีการสอนของท่านนบี ศ็อลลัลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ในการปลูกฝังและอบรมเศาะหาบะฮฺของท่าน อันได้แก่ 1. การสอนด้วยการเล่าเรื่องราวต่างๆ 2. การสอนด้วยการให้ข้อตักเตือน 3. ผสมผสานระหว่างการให้ขวัญกำลังใจและการขู่สำทับ 4. การโน้มน้าวจิตใจ 5. ใช้การสนทนาและการโต้ตอบ 6. ใช้ความเกรี้ยวกราดและการลงโทษ 7. ใช้การตัดความสัมพันธ์(บอยคอต) 8. การให้คำแนะนำโดยทางอ้อม 9. ใช้เหตุการณ์และโอกาสต่างๆให้เกิดประโยชน์ 10. การให้กำลังใจและการกล่าวชมเชย

    ท่านนบีสอนเศาะหาบะฮฺอย่างไร?

    ﴿من أساليب النبي صلى الله عليه وسلم التربوية﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ อัด-ดุวัยชฺ

    แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซอบรี แวยะโก๊ะ

    ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดีย์

    ที่มา : เว็บไซต์ www.almurabbi.com

    2010 - 1431

    ﴿من أساليب النبي صلى الله عليه وسلم التربوية﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن عبد الله الدويش

    ترجمة: محمد صبري يعقوب

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    المصدر: موقع المربي www.almurabbi.com

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    ท่านนบี...สอนเศาะหาบะฮฺอย่างไร ?

    มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺพระผู้ทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก การสรรเสริญและความศานติพึงมีแด่ผู้นำของเรา “ท่านนบีมุหัมมัด” ผู้เป็นศาสนทูตท่านสุดท้าย และแด่บรรดาเครือญาติของท่าน ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย

    1. การสอนด้วยการเล่าเรื่องราวต่างๆ

    โดยแน่นอน เรื่องราวต่างๆที่ถูกเล่ากันมานั้นมักจะเป็นสิ่งที่มนุษย์มีความชื่นชอบ จนทำให้เนื้อหาเหล่านั้นสามารถซึมซับในจิตใจของพวกเขาได้ ด้วยเหตุนี้เราจะพบว่าในอัลกุรฺอานได้มีการนำเสนอเรื่องราวต่างๆอย่างมากมาย ดังที่อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงคุณลักษณะของคัมภีร์ของพระองค์ไว้ว่า

    ﴿نَحْنُ نَقُصُّ عَلَيْكَ أَحْسَنَ الْقَصَصِ بِمَا أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ هَـذَا الْقُرْآنَ وَإِن كُنتَ مِن قَبْلِهِ لَمِنَ الْغَافِلِينَ﴾

    ความว่า “เราจะเล่าเรื่องราวที่ดียิ่งแก่เจ้า ตามที่เราได้วะหีย์อัลกุรอานนี้แก่เจ้า และหากว่าก่อนหน้านี้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ไม่รู้เรื่องราว” (สูเราะฮฺ ยูสุฟ : 3)

    ﴿لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِّأُوْلِي الأَلْبَابِ مَا كَانَ حَدِيثًا يُفْتَرَى وَلَـكِن تَصْدِيقَ الَّذِي بَيْنَ يَدَيْهِ وَتَفْصِيلَ كُلَّ شَيْءٍ وَهُدًى وَرَحْمَةً لِّقَوْمٍ يُؤْمِنُونَ﴾

    ความว่า “โดยแน่นอนยิ่ง ในเรื่องราวของพวกเขาเป็นบทเรียนสำหรับบรรดาผู้มีสติปัญญา มิใช่เป็นเรื่องราวที่ถูกปั้นแต่งขึ้น แต่เป็นการยืนยันความจริงที่อยู่ต่อหน้าเขา และเป็นการแจกแจงทุกสิ่งทุกอย่าง และเป็นการชี้ทางที่ถูกต้อง และเป็นการเมตตาแก่หมู่ชนผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺ ยูสุฟ : 111)

    ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเอง ก็ได้รับคำสั่งให้ใช้วิธีการดังกล่าว(ในการอบรมขัดเกลา)เช่นเดียวกัน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿فَاقْصُصِ الْقَصَصَ لَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ﴾

    ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงเล่าเรื่องราวเหล่านั้นเถิด เพื่อว่าพวกเขาจะไดใคร่ครวญ” (สูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ : 176)

    ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงมักดำเนินตามวิถีทางนี้และมักจะใช้วิธีการนี้ในการอบรมสั่งสอนบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ของท่าน

    ดังมีตัวอย่างจากเรื่องราวของท่านค็อบบาบ อิบนุลอะรอตฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งท่านเป็นชายหนุ่มท่านหนึ่งในบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ถูกทรมานอย่างหนักหนาสาหัส ทุกๆครั้งที่ท่านถูกทรมานท่านก็จะไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อร้องทุกข์ต่อท่านนบีในสิ่งที่ท่านได้ประสบ ท่านค็อบบาบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าเรื่องนี้ว่า

    شَكَوْنَا إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ مُتَوَسِّدٌ بُرْدَةً لَهُ فِي ظِلِّ الْكَعْبَةِ قُلْنَا لَهُ أَلَا تَسْتَنْصِرُ لَنَا أَلَا تَدْعُو اللهَ لَنَا قَالَ كَانَ الرَّجُلُ فِيمَنْ قَبْلَكُمْ يُحْفَرُ لَهُ فِي الْأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهِ فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُشَقُّ بِاثْنَتَيْنِ وَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ وَيُمْشَطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ مِنْ عَظْمٍ أَوْ عَصَبٍ وَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ وَاللَّهِ لَيُتِمَّنَّ هَذَا الْأَمْرَ حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ لَا يَخَافُ إِلَّا اللهَ

    ความว่า “พวกเราได้มาร้องทุกข์ต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ในสิ่งที่พวกเราได้ประสบกับการทรมานจากกลุ่มชนผู้ตั้งภาคีอย่างหนักหนาสาหัส) โดยที่ท่านกำลังตะแคงบนผ้าคลุมของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเราจึงได้กล่าวว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้แก่เราหรือ ? ท่านจะไม่ขอดุอาอฺให้แก่เราหรือ ?” ท่านเราะสูลุลลอฮฺ จึงกล่าวตอบว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกนำตัวไป แล้วได้มีการขุดหลุมในดินเพื่อวางตัวเขาลงไปในนั้น แล้วเลื่อยก็ถูกนำมาวางไว้บนหัวของเขา แล้วก็เลื่อยหัวของเขาจนแยกออกเป็นสองส่วน แต่สิ่งนั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาแต่อย่างใด ส่วนอีกบางคนก็ถูกหวีผมด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก แต่สิ่งนั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาแต่อย่างใด และแน่แท้อัลลอฮฺ จะทรงให้อิสลามนี้ต้องลุล่วงสมบูรณ์จนกระทั่งคนขี่พาหนะสามารถจะเดินทางจาก เมืองศ็อนอาอฺจนถึงเมืองหัฏเราะเมาตฺ(ทั้งสองเมืองอยู่ในประเทศเยเมน)ได้(อย่างปลอดภัย) โดยที่เขาไม่กลัวผู้ใดเลยนอกจากอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 3612)

    สำหรับเราแล้ว คงได้จดจำเรื่องราวต่างๆที่เป็นแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อย่างมากมาย ที่ท่านเคยใช้ในการเล่าเพื่อเป็นการตัรบียะฮฺบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ดังปรากฏในอัสสุนนะฮฺของท่าน ซึ่งส่วนหนึ่งจากบรรดาเรื่องเล่าต่างๆนั้น ได้แก่ เรื่องราวของชายสามคนที่ติดอยู่ในถ้ำ, เรื่องราวของชายท่านหนึ่งที่ได้ฆ่าคนมาแล้ว 1 ร้อยชีวิต, เรื่องราวของชายที่อัลลอฮฺทรงทดสอบให้เขาเป็นคนตาบอด อีกคนเป็นโรคเรื้อน และคนที่สามเป็นคนที่หัวล้าน, เรื่องราวของชาวหลุมไฟ(อัศหาบุลอุคดูด) และเรื่องราวอื่นๆอีกมากมาย

    2. การสอนด้วยการให้ข้อตักเตือน

    ด้วยกับการให้ข้อตักเตือนนั้น มักจะมีอิทธิผลต่อสภาพจิตใจของคนๆหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ไม่ปรากฏว่าบรมครูท่านแรกผู้เป็นเจ้าของแห่งสาสน์นี้นั่นคือท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ละเลยหรือเพิกเฉยต่อการทำหน้าที่เป็นผู้ที่ให้ข้อตักเตือนเลย ดังที่ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้พรรณาถึงคุณลักษณะของท่านนบีไว้ว่า

    كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَخَوَّلُنَا بِالْمَوْعِظَةِ فِي الْأَيَّامِ كَرَاهَةَ السَّآمَةِ عَلَيْنَا

    ความว่า “ปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้จัดการอบรมให้ข้อตักเตือนแก่พวกเราในบางวันเพียงเท่านั้น เพราะเกรงว่าพวกเราจะเบื่อหน่าย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 68)

    เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งชื่อ ท่านอิรบาฎ อิบนุสาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าถึงข้อตักเตือนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า

    وَعَظَنَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمًا بَعْدَ صَلَاةِ الْغَدَاةِ مَوْعِظَةً بَلِيغَةً ذَرَفَتْ مِنْهَا الْعُيُونُ وَوَجِلَتْ مِنْهَا الْقُلُوبُ فَقَالَ رَجُلٌ إِنَّ هَذِهِ مَوْعِظَةُ مُوَدِّعٍ فَمَاذَا تَعْهَدُ إِلَيْنَا يَا رَسُولَ اللهِ قَالَ «أُوصِيكُمْ بِتَقْوَى اللهِ وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ وَإِنْ عَبْدٌ حَبَشِيٌّ ، فَإِنَّهُ مَنْ يَعِشْ مِنْكُمْ يَرَى اخْتِلَافًا كَثِيرًا، وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الْأُمُورِ فَإِنَّهَا ضَلَالَةٌ، فَمَنْ أَدْرَكَ ذَلِكَ مِنْكُمْ فَعَلَيْهِ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ، عَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ»

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้ข้อตักเตือนแก่พวกเราในวันหนึ่งหลังจากละหมาดยามสาย (ละหมาดดุฮา) ด้วยข้อตักเตือนที่กินใจจนทำให้น้ำตาคลอ และทำให้หัวใจสะท้าน ชายคนหนึ่งจึงได้กล่าวว่า นี่คือข้อตักเตือนอำลา ฉะนั้นได้โปรดสั่งเสียแก่พวกเราเถิดโอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า ฉันขอสั่งเสียพวกท่านให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ พร้อมทั้งเชื่อฟังและภักดี แม้ว่าผู้สั่งใช้พวกท่านจะเป็นบ่าวแห่งเอธิโอเปียก็ตาม เพราะผู้ใดในหมู่พวกท่านที่มีชีวิตอยู่ต่อจากนี้ เขาจะได้เห็นการขัดแย้งอย่างมากมาย และพวกท่านพึงระวังสิ่งใหม่ในศาสนา เพระมันคือความหลงผิด ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกท่านที่พบเหตุดังกล่าว ก็จำเป็นแก่เขาจะต้องยึดสุนนะฮฺของฉัน และสุนนะฮฺของบรรดาเคาะลีฟะฮฺที่ปราดเปรื่องและได้รับทางนำ พวกท่านจงยึดมันด้วยฟันกราม” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขหะดีษ : 2676 และอิบนุมาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ : 42)

    ส่วนการจัดการอบรมให้ข้อตักเตือนที่จะส่งให้เกิดผลนั้น ย่อมจะต้องมีการจัดสรรในเรื่องของเวลาให้มีความเหมาะสม และอย่าให้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างเป็นประจำทุกวัน(กระทั่งทำให้มีความรู้สึกเบื่อหน่าย)

    จากท่านอบีวาอิล ชะกีก อิบนุสะละมะฮ ได้เล่าว่า

    كَانَ عَبْدُ اللهِ يُذَكِّرُ النَّاسَ فِي كُلِّ خَمِيسٍ فَقَالَ لَهُ رَجُلٌ يَا أَبَا عَبْدِ الرَّحْمَنِ لَوَدِدْتُ أَنَّكَ ذَكَّرْتَنَا كُلَّ يَوْمٍ قَالَ أَمَا إِنَّهُ يَمْنَعُنِي مِنْ ذَلِكَ أَنِّي أَكْرَهُ أَنْ أُمِلَّكُمْ وَإِنِّي أَتَخَوَّلُكُمْ بِالْمَوْعِظَةِ كَمَا كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَخَوَّلُنَا بِهَا مَخَافَةَ السَّآمَةِ عَلَيْنَا

    ความว่า “ปรากฏว่าท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุนั้น จะอบรมให้ข้อตักเตือนพวกเราในทุกวันพฤหัสบดี มีชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านว่า โอ้ อบูอับดุรเราะหฺมาน(อิบนุมัสอูด) ฉันปรารถนาที่จะให้ท่านอบรมให้ข้อตักเตือนพวกเราทุกวัน ท่านจึงกล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ฉันไม่อยากทำเช่นนั้นก็คือ ฉันไม่ต้องการทำให้พวกท่านรู้สึกเบื่อหน่าย และฉันต้องการจัดเตรียมเวลาการอบรมต่อพวกท่าน เหมือนที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้จัดการอบรมสั่งสอนพวกเรา(อย่างเหมาะสม) เพราะกลัวพวกเราจะเบื่อหน่าย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 70 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 2821)

    3. ผสมผสานระหว่างการให้ขวัญกำลังใจและการขู่สำทับ

    สภาพจิตใจของมนุษย์นั้นบางครั้งก็อยู่ในสภาพที่สูงส่งแต่ในบางครั้งก็มีสภาพที่ตกต่ำ มีทั้งจิตใจที่เลวทรามและที่อ่อนแอ ด้วยเหตุนี้วิถีทางที่อิสลามได้ใช้ในการอบรมขัดเกลานั้น ก็มักจะเกี่ยวโยงกับทุกสภาพจิตใจเหล่านั้น จึงมีการผสมผสานระหว่างการให้ขวัญกำลังใจและการขู่สำทับ บางครั้งก็มีการให้ความหวังและบางครั้งก็อาจทำให้เกิดความหวาดกลัว

    ดังที่ท่านอนัส อิบนุมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    خَطَبَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خُطْبَةً مَا سَمِعْتُ مِثْلَهَا قَطُّ قَالَ لَوْ تَعْلَمُونَ مَا أَعْلَمُ لَضَحِكْتُمْ قَلِيلًا وَلَبَكَيْتُمْ كَثِيرًا قَالَ فَغَطَّى أَصْحَابُ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وُجُوهَهُمْ لَهُمْ خَنِينٌ

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเทศนา(คุตบะฮฺ) ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินการกล่าวเทศนาเหมือนครั้งนั้นเลย ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “หากพวกท่านรู้ในสิ่งที่ฉันรู้ แน่นอนพวกท่านจะหัวเราะให้น้อยและร้องไห้ให้มาก ท่านอนัสได้เล่าอีกว่า (เมื่อได้ยินเช่นนั้น) บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงก้มหน้าลงด้วยสภาพของความทุกข์ระทมใจ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 4621)

    และยังมีหะดีษอื่นๆที่ได้กล่าวถึงการให้ความหวังและเป็นขวัญกำลังใจอีก ดังที่ท่านอบูซัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَتَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَعَلَيْهِ ثَوْبٌ أَبْيَضُ وَهُوَ نَائِمٌ ثُمَّ أَتَيْتُهُ وَقَدْ اسْتَيْقَظَ فَقَالَ: «مَا مِنْ عَبْدٍ قَالَ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ ثُمَّ مَاتَ عَلَى ذَلِكَ إِلَّا دَخَلَ الْجَنَّةَ» قُلْتُ: وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ؟، قَالَ: «وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ»، قُلْتُ: وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ؟، قَالَ: «وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ»، قُلْتُ: وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ؟، قَالَ: «وَإِنْ زَنَى وَإِنْ سَرَقَ، عَلَى رَغْمِ أَنْفِ أَبِي ذَرٍّ» وَكَانَ أَبُو ذَرٍّ إِذَا حَدَّثَ بِهَذَا قَالَ وَإِنْ رَغِمَ أَنْفُ أَبِي ذَرٍّ

    ความว่า “ฉันได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้สวมเสื้อสีขาวและกำลังนอนอยู่ หลังจากที่ฉันได้มาถึง ท่านก็ได้ตื่นขึ้นมา ท่านจึงกล่าวว่า ไม่มีบ่าวคนใดที่ได้กล่าว –ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ- ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ แล้วเขาได้ตายไปด้วยสภาพนั้น นอกจากสำหรับเขาแล้วย่อมได้เข้าสู่สวนสวรรค์อย่างแน่นอน ฉัน(อบูซัร)จึงได้กล่าวว่า แม้นว่าเขาจะทำซินา(ผิดประเวณี) หรือขโมยกระนั้นหรือ ? ท่านนบีจึงตอบว่า แม้นว่าเขาจะทำซินาหรือขโมยก็ตาม ฉันก็ได้กล่าวอีกว่า แม้นว่าเขาจะทำซินาหรือขโมยกระนั้นหรือ ? ท่านนบี ก็ตอบอีกว่า แม้นว่าเขาจะทำซินาหรือขโมย และแม้นว่าเป็นสิ่งที่อบูซัรไม่พอใจก็ตาม และปรากฏว่าเมื่อท่านอบูซัรได้รายงานหะดีษนี้ ท่านก็ได้กล่าวว่า และแม้นว่าเป็นสิ่งที่อบูซัรไม่พอใจก็ตาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 5827 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 283)

    และจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    كُنَّا قُعُودًا حَوْلَ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- مَعَنَا أَبُو بَكْرٍ وَعُمَرُ فِى نَفَرٍ فَقَامَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- مِنْ بَيْنِ أَظْهُرِنَا فَأَبْطَأَ عَلَيْنَا وَخَشِينَا أَنْ يُقْتَطَعَ دُونَنَا وَفَزِعْنَا فَقُمْنَا فَكُنْتُ أَوَّلَ مَنْ فَزِعَ فَخَرَجْتُ أَبْتَغِى رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- حَتَّى أَتَيْتُ حَائِطًا لِلأَنْصَارِ لِبَنِى النَّجَّارِ فَدُرْتُ بِهِ هَلْ أَجِدُ لَهُ بَابًا فَلَمْ أَجِدْ فَإِذَا رَبِيعٌ يَدْخُلُ فِى جَوْفِ حَائِطٍ مِنْ بِئْرٍ خَارِجَةٍ - وَالرَّبِيعُ الْجَدْوَلُ - فَاحْتَفَزْتُ كَمَا يَحْتَفِزُ الثَّعْلَبُ فَدَخَلْتُ عَلَى رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- فَقَالَ « أَبُو هُرَيْرَةَ ». فَقُلْتُ نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ « مَا شَأْنُكَ ». قُلْتُ كُنْتَ بَيْنَ أَظْهُرِنَا فَقُمْتَ فَأَبْطَأْتَ عَلَيْنَا فَخَشِينَا أَنْ تُقْتَطَعَ دُونَنَا فَفَزِعْنَا فَكُنْتُ أَوَّلَ مَنْ فَزِعَ فَأَتَيْتُ هَذَا الْحَائِطَ فَاحْتَفَزْتُ كَمَا يَحْتَفِزُ الثَّعْلَبُ وَهَؤُلاَءِ النَّاسُ وَرَائِى فَقَالَ « يَا أَبَا هُرَيْرَةَ ». وَأَعْطَانِى نَعْلَيْهِ قَالَ « اذْهَبْ بِنَعْلَىَّ هَاتَيْنِ فَمَنْ لَقِيتَ مِنْ وَرَاءِ هَذَا الْحَائِطِ يَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ مُسْتَيْقِنًا بِهَا قَلْبُهُ فَبَشِّرْهُ بِالْجَنَّةِ »

    ความว่า “พวกเราได้นั่งล้อมท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งมีท่านอบูบักรฺ ท่านอุมัร และท่านอื่นๆอยู่ร่วมด้วย และแล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้ลุกขึ้นยืนในระหว่างที่พวกเราได้นั่งกันอยู่ โดยที่พวกเราได้ล่าช้ามาก(ที่จะลุกขึ้นยืนตามท่าน) และพวกเราเองก็กลัวว่าท่านจะได้รับอันตรายจากเหล่าศัตรู (เมื่อเป็นเช่นนั้น) พวกเราจึงได้เร่งรีบในการลุกขึ้น(เพื่อที่จะตามท่านเราะสูลุลลอฮฺ) และฉันเป็นคนแรกที่มีความรวดเร็ว(ในการลุกขึ้น) ดังนั้นฉันจึงออกไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กระทั่งได้พบกับเรือกสวนแห่งหนึ่งของชาวอันศอรฺซึ่งเป็นของชนเผ่าอันนัจญารฺ ดังนั้นฉันก็ได้เดินเวียนไปมาเพื่อหาว่ามีทางเข้าหรือไม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีทางเข้าเลย ครั้นเมื่อ(ฉันได้เห็น)ลำธารเล็กๆได้ไหลเข้าสู่เรือกสวนแห่งนั้น ฉันจึงได้ตั้งท่าเตรียมพร้อม(ที่จะเข้าไป) ดั่งการตั่งท่าของสุนัขจิ้งจอกที่เตรียมจะตะคุบเหยื่อ และแล้วฉันก็ได้เข้าไปพบท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงถามฉันว่า “นั่น..อบูฮุร็อยเราะฮฺใช่มั้ย ?” ฉันจึงตอบว่า “ใช่แล้วครับ...โอ้ท่านเราะสูลุลอลฮฺ” ท่านจึงถามอีกว่า “ท่านมีเรื่องอะไรรึ ?” ฉันจึงตอบว่า “ในระหว่างที่ท่านได้นั่งอยู่ร่วมกับเรานั้น ท่านก็ได้ลุกขึ้นยืนแล้วเดินออกไป โดยที่พวกเราได้ล่าช้ามาก(ที่จะลุกขึ้นตามท่าน) และพวกเราเองก็กลัวว่าท่านจะได้รับอันตรายจากเหล่าศัตรู (เมื่อเป็นเช่นนั้น) พวกเราจึงได้เร่งรีบที่จะลุกขึ้น(เพื่อที่จะตามท่าน) และฉันเป็นคนแรกที่รวดเร็ว(ในการลุกขึ้น) ดังนั้นฉันจึงมายังเรือกสวนแห่งนี้ แล้วฉันก็ได้ตั้งท่าเตรียมพร้อม(ที่จะเข้าไป) ดั่งการตั่งท่าของสุนัขจิ้งจอกที่เตรียมจะตะคุบเหยื่อ ส่วนคนอื่นๆนั้นก็อยู่หลังฉันอีก ท่านจึงกล่าวว่า โอ้อบูฮุร็อยเราะฮฺเอ่ย –แล้วท่านก็ยื่นรองเท้าของท่านแก่ฉัน- เจ้าจงเดินไปด้วยกับรองเท้าของฉันคู่นี้เถิด ดังนั้นหากว่าเจ้าได้พบเจอผู้ใดหลังเรือกสวนแห่งนี้ โดยที่เขาได้ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และเป็นผู้ที่ความเชื่อมั่นในความศรัทธานั้นมีอยู่ในหัวใจของเขา ดังนั้นก็จงแจ้งข่าวดีแก่เขาด้วยกับสวนสวรรค์ที่เขาจะได้รับเถิด ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 156)

    กระนั้นก็ตาม หากว่าเราได้สังเกตหรือพิจารณาถึงสภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมทำให้เราได้เข้าใจอย่างดีเลยว่า การให้ความสำคัญและการมุ่งเน้นในเรื่องของการขู่สำทับนั้น ก็เป็นสิ่งที่จิตใจของผู้คนนั้นมีความปรารถนาและเรียกร้องมันอยู่ แต่ทั้งนี้ก็สมควรที่จะต้องมีการให้ขวัญกำลังใจประกอบด้วย เช่นการให้ขวัญกำลังใจโดยการเล่าถึงความสุขที่มีอยู่ในสวนสวรรค์และผลตอบแทนที่จะได้รับ ความสุขในการใช้ชีวิตในโลกใบนี้สำหรับผู้ที่มีความยึดมั่นอย่างหนักแน่นมั่นคงในการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ การเล่าถึงความดีงามที่มีอยู่ในอิสลามและผลของมันที่มีต่อมนุษย์ชาติ เป็นต้น ซึ่งในอัลกุรฺอานเองก็มีการนำเสนอในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاء وَالأَرْضِ وَلَـكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذْنَاهُم بِمَا كَانُواْ يَكْسِبُونَ﴾

    ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดินแต่ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้นเราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้” (สูเราะฮฺอัลอะรอฟ : 96)

    และอัลลอฮฺ ตรัสอีกว่า

    ﴿وَلَوْ أَنَّهُمْ أَقَامُواْ التَّوْرَاةَ وَالإِنجِيلَ وَمَا أُنزِلَ إِلَيهِم مِّن رَّبِّهِمْ لأكَلُواْ مِن فَوْقِهِمْ وَمِن تَحْتِ أَرْجُلِهِم مِّنْهُمْ أُمَّةٌ مُّقْتَصِدَةٌ وَكَثِيرٌ مِّنْهُمْ سَاء مَا يَعْمَلُونَ﴾

    ความว่า “และหากว่าเขาเหล่านั้นได้ดำรงไว้ซึ่งอัต-เตารอต และอัล-อินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลงมา แก่พวกเขาจากพระเจ้าของพวกเขาแล้ว แน่นอนพวกเขาก็ได้บริโภคไปแล้วที่มาจากเบื้องบนของพวกเขา และที่มาจาภายใต้เท้า ของพวกเขาในหมู่พวกเขานั้นมีกลุ่มหนึ่งที่มีความยุติธรรม และมากมายในหมู่พวกเขานั้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำกัน” (สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ : 66)

    4. การโน้มน้าวจิตใจ

    จากท่านอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    إِنَّ فَتًى شَابًّا أَتَى النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ يَا رَسُولَ اللهِ ائْذَنْ لِي بِالزِّنَا فَأَقْبَلَ الْقَوْمُ عَلَيْهِ فَزَجَرُوهُ، قَالُوا مَهْ مَهْ، فَقَالَ «ادْنُهْ» فَدَنَا مِنْهُ قَرِيبًا، قَالَ فَجَلَسَ، قَالَ: «أَتُحِبُّهُ لِأُمِّكَ؟» قَالَ: لَا وَاللهِ، جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُحِبُّونَهُ لِأُمَّهَاتِهِمْ»، قَالَ: «أَفَتُحِبُّهُ لِابْنَتِكَ؟» قَالَ: لَا وَاللهِ يَا رَسُولَ اللهِ، جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُحِبُّونَهُ لِبَنَاتِهِمْ»، قَالَ: «أَفَتُحِبُّهُ لِأُخْتِكَ قَالَ لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُحِبُّونَهُ لِأَخَوَاتِهِمْ»، قَالَ: «أَفَتُحِبُّهُ لِعَمَّتِكَ»، قَالَ: لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُحِبُّونَهُ لِعَمَّاتِهِمْ» قَالَ: «أَفَتُحِبُّهُ لِخَالَتِكَ»، قَالَ: لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ، قَالَ: «وَلَا النَّاسُ يُحِبُّونَهُ لِخَالَاتِهِمْ» قَالَ: فَوَضَعَ يَدَهُ عَلَيْهِ، وَقَالَ «اللَّهُمَّ اغْفِرْ ذَنْبَهُ وَطَهِّرْ قَلْبَهُ وَحَصِّنْ فَرْجَهُ»، فَلَمْ يَكُنْ بَعْدُ ذَلِكَ الْفَتَى يَلْتَفِتُ إِلَى شَيْءٍ

    ความว่า “เด็กหนุ่มคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วได้กล่าวว่า “โอ้เราะสูลุลลอฮฺ อนุญาตให้ฉันทำซินา(ผิดประเวณี)เถิด” บรรดาผู้คนจึงได้หันกลับมามองเขาแล้วได้ขับไล่เขาออกไป โดยได้ส่งเสียงว่า “มะฮฺ มะฮฺ”(แสดงความไม่พอใจ) แต่ท่านนบีกลับกล่าว(ต่อเด็กหนุ่มคนนั้น)ว่า “เข้ามาใกล้ๆซิ” เมื่อเขาเข้ามาใกล้ ท่านจึงบอกกับเขาว่า “นั่งลงซิ" เมื่อเขานั่งลง ท่านก็ได้ถามเด็กหนุ่มคนนั้นว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับมารดาของเจ้าหรือไม่ ?” เขาตอบว่า“ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่านเถิด” ท่านนบี จึงกล่าวว่า "ผู้คนทั้งหลายก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้กับมารดาของพวกเขาเช่นเดียวกัน" ท่านนบีได้ถามต่อว่า “เจ้ารักที่จะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของเจ้าหรือไม่?" เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ โอ้เราะสูลุลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่านเถิด”ท่านนบีจึงกล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะให้เกิดเรื่องนี้กับบุตรสาวของพวกเขาเช่นเดียวกัน" ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของเจ้าหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่านเถิด” ท่านนบีจึงกล่าวว่า "ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะให้เกิดเรื่องนี้กับพี่สาวหรือน้องสาวของพวกเขาเช่นเดียวกัน" ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อของเจ้าหรือไม่?”เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่านเถิด” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้พี่สาวหรือน้องสาวของพ่อของพวกเขาเช่นเดียวกัน” ท่านนบีได้ถามต่อไปว่า “เจ้าพอใจจะให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของแม่ของเจ้าหรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่ ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่านเถิด” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ผู้คนก็ย่อมไม่ชอบที่จะเกิดเรื่องนี้พี่สาวหรือน้องสาวของแม่ของพวกเขาเช่นเดียวกัน” จากนั้นท่านนบีได้วางมือของท่านบนตัวเขา แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยโทษให้กับความผิดของเด็กหนุ่มคนนี้ด้วยเถิด โปรดชำระหัวใจของเขาให้สะอาด และโปรดรักษาความบริสุทธิ์ของเขาด้วยเถิด” หลังจากนั้นเด็กหนุ่มคนนี้ก็ไม่ให้ความสนใจในเรื่องลักษณะอย่างนี้อีกเลย” (บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ : 22211)

    อันที่จริง ในช่วงเวลาที่เด็กหนุ่มคนนั้นได้มาหาท่านนบีด้วยกับสภาพของผู้ที่อารมณ์ใคร่ได้รุมเร้าจิตใจของเขาอยู่นั้น กลายเป็นเหตุผลหลักที่ผลักดันให้เขาได้ทำลายกำแพงแห่งความละอายไปจากตัวเขา โดยที่เขากล้าที่จะไปบอกแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อย่างโจ่งแจ้งต่อหน้าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน กระนั้นก็ตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเป็นผู้ให้การอบรมขัดเกลาและสั่งสอนนั้นก็ทราบดีว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนั้นไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ?

    และการมาของเด็กหนุ่มคนนั้นเพื่อมาขออนุญาตท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ให้เขาสามารถที่จะทำซินาได้นั้น แม้นตัวของเด็กหนุ่มคนนั้นจะไม่ค่อยมีความสำรวม และไม่ค่อยจะเข้าใจในศาสนามากนัก แต่เราก็ไม่เห็นว่าเด็กหนุ่มคนนั้นมีความปรารถนาที่จะได้รับการอนุญาตโดยแท้จริงแม้อย่างใดไม่ แต่เป็นเพียงการเปิดเผยความปรารถนาลึกๆที่มีอยู่ในตัวเขาต่างหาก และโดยแน่นอนท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ย่อมทราบดีในอีกแง่มุมหนึ่งของความดีงามที่มีอยู่ในตัวเด็กหนุ่มคนนั้น ดังนั้นสิ่งที่เป็นผลตามมานั้นคือ “หลังจากนั้นเด็กหนุ่มคนนี้ก็ไม่ให้ความสนใจในเรื่องลักษณะอย่างนี้อีกเลย”

    5. ใช้การสนทนาและการโต้ตอบ

    ตัวอย่างที่ดียิ่งในเรื่องนี้คือ เหตุการณ์ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สนทนาโต้ตอบกับชาวอันศอรฺในเรื่องการแบ่งทรัพย์สงครามหุนัยน์ โดยที่ท่านให้ส่วนแบ่งแก่หัวหน้าตระกูลอาหรับต่างๆอย่างมากมายเพื่อเอาใจพวกเขาในการเข้ารับอิสลามและให้ส่วนแบ่งแก่ชาวกุรอยช์มากมายเช่นกัน แต่ท่านนบีไม่แบ่งสิ่งใดให้แก่ชาวอันศอรฺเลย ทำให้ชาวอันศอรฺบางคนตัดพ้อด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ(ที่พวกเขาไม่ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สงครามครั้งนี้) เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เรียกชาวอันศอรฺมารวมตัว ทันใดนั้นการสนทนาและโต้ตอบระหว่างกันก็ได้เกิดขึ้น ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    لَمَّا أَفَاءَ اللهُ عَلَى رَسُولِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ حُنَيْنٍ قَسَمَ فِي النَّاسِ فِي الْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَلَمْ يُعْطِ الْأَنْصَارَ شَيْئًا فَكَأَنَّهُمْ وَجَدُوا إِذْ لَمْ يُصِبْهُمْ مَا أَصَابَ النَّاسَ فَخَطَبَهُمْ فَقَالَ: «يَا مَعْشَرَ الْأَنْصَارِ أَلَمْ أَجِدْكُمْ ضُلَّالًا فَهَدَاكُمْ اللهُ بِي، وَكُنْتُمْ مُتَفَرِّقِينَ فَأَلَّفَكُمْ اللهُ بِي، وَعَالَةً فَأَغْنَاكُمْ اللهُ بِي»، كُلَّمَا قَالَ شَيْئًا قَالُوا اللهُ وَرَسُولُهُ أَمَنُّ، قَالَ: «مَا يَمْنَعُكُمْ أَنْ تُجِيبُوا رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟» قَالَ: كُلَّمَا قَالَ شَيْئًا قَالُوا اللهُ وَرَسُولُهُ أَمَنُّ، قَالَ: «لَوْ شِئْتُمْ قُلْتُمْ جِئْتَنَا كَذَا وَكَذَا، أَتَرْضَوْنَ أَنْ يَذْهَبَ النَّاسُ بِالشَّاةِ وَالْبَعِيرِ وَتَذْهَبُونَ بِالنَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى رِحَالِكُمْ، لَوْلَا الْهِجْرَةُ لَكُنْتُ امْرَأً مِنْ الْأَنْصَارِ، وَلَوْ سَلَكَ النَّاسُ وَادِيًا وَشِعْبًا لَسَلَكْتُ وَادِيَ الْأَنْصَارِ وَشِعْبَهَا، الْأَنْصَارُ شِعَارٌ وَالنَّاسُ دِثَارٌ إِنَّكُمْ سَتَلْقَوْنَ بَعْدِي أُثْرَةً فَاصْبِرُوا حَتَّى تَلْقَوْنِي عَلَى الْحَوْضِ»

    ความว่า “เมื่ออัลลอฮฺทรงให้ท่านนเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แบ่งทรัพย์สงครามหุนัยน์ให้แก่ผู้คนอย่างมากมายเพื่อเอาใจพวกเขาในการเข้ารับอิสลาม แต่ท่านไม่ได้แบ่งสิ่งใดให้แก่ชาวอันศอรฺเลย ทำให้ชาวอันศอรฺบางคนตัดพ้อด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ เหตุที่พวกเขาไม่ได้รับในสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายได้รับกัน ด้วยเหตุนั้นท่านเราะสูลุลลอฮฺจึง(ลุกขึ้นเพื่อ)กล่าวเทศนาต่อพวกเขา (ดังนั้นท่านจึงกล่าวสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ) แล้วได้กล่าวแก่พวกเขาว่า “โอ้เหล่าชาวอันศอรฺเอ่ย (มีคำพูดของพวกท่านบางคำพูดมาถึงฉัน และการตำหนิต่อฉันในใจของพวกท่าน) พวกท่านเคยหลงผิด แล้วอัลลอฮฺก็ได้ชี้แนะพวกท่านมิใช่หรือ ? พวกท่านเคยเป็นศัตรูกัน แล้วอัลลอฮฺก็ได้ทำให้พวกท่านปรองดองกันมิใช่หรือ ?พวกท่านเคยยากจน แล้วอัลลอฮฺก็ได้ทำให้พวกท่านร่ำรวยมิใช่หรือ ?” ชาวอันศอรฺจึงตอบว่า “หามิได้เลย บุญคุณและความโปรดปรานต่างๆของอัลลอฮฺนั้นมากมายล้นเหลือยิ่งนัก” ท่านนบีจึงถามต่ออีกว่า “มีอะไรที่กีดกั้นพวกท่านมิให้ตอบในสิ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมถามกระนั้นหรือ ?” พวกเขากล่าวว่า (เราจะตอบท่านอย่างไร โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ?) บุญคุณและความโปรดปรานต่างๆของอัลลอฮฺมากมายล้นเหลือยิ่งนัก” (ท่านจึงกล่าวว่า “หากพวกท่านจะพูดก็เป็นเรื่องจริง(พวกท่านอาจกล่าวว่า) ท่านนั้นแหละมาหาเราในสภาพที่ถูกใครๆปฏิเสธ แต่เราก็เชื่อ ท่านถูกคนทอดทิ้งแต่เราก็ช่วยเหลือเกื้อกูล ท่านถูกใครๆขับไสไล่ส่ง แต่เราก็ให้ที่พักพิง ท่านมาในฐานะคนลำบากแร้นแค้น แต่เราก็ให้ทรัพย์สินแก่ท่าน โอ้ชาวอันศอรฺ พวกท่านจะตำหนิฉันเพียงเพราะทรัพย์ทางโลกที่ฉันให้แก่กลุ่มชนหนึ่งที่ฉันอยากเอาชนะใจพวกเขาให้เข้ารับอิสลาม แต่ฉันเชื่อในอิสลามของพวกท่าน) โอ้ชาวอันศอรฺ พวกท่านไม่พอใจดอกหรือที่คนอื่นได้แพะและอูฐกลับไป แต่พวกท่านได้นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกลับไปยังที่นั่งบนหลังอูฐของพวกท่าน ? (ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในหัตถ์ของพระองค์) หากไม่มีการอพยพ แน่นอนฉันอาจจะเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวอันศอรฺ หากว่าผู้คนมุ่งที่จะไปที่หุบเขาหนึ่ง แต่ชาวอันศอรฺมุ่งไปที่อีกหุบเขาหนึ่ง แน่นอนฉันก็จะมุ่งตรงไปที่หุบเขาของชาวอันศอรฺ สำหรับชาวอันศอรฺแล้วพวกเขาประหนึ่งเสื้อชั้นในส่วนผู้คนทั้งหลายนั้นคือเสื้อคลุม (โอ้ชาวอันศอรฺเอ่ย) แท้จริงพวกท่านจะได้พบหลังจากฉันผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ดังนั้นพวกท่านจงอดทนเถิด จนกว่าพวกท่านจะได้พบกับฉันที่บ่อน้ำ(อัลเหาฎฺ) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ : 4330 และมุสลิม : 2493)

    ซึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้างต้นนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้การสนทนาโต้ตอบกับพวกเขาเหล่านั้น โดยที่ท่านได้นำเสนอคำถามให้แก่ชาวอันศอรฺแล้วท่านก็รอคำตอบจากพวกเขา ใช่แต่เท่านั้น เมื่อท่านเห็นว่าไม่มีใครตอบในสิ่งที่ท่านถาม ท่านก็ได้ให้คำตอบด้วยตัวของท่านเอง ดังที่ท่านได้กล่าวตอบว่า “และหากว่าท่านจะพูด ท่านก็จะพูดในเรื่องที่เป็นความจริง และพวกท่านก็จะเชื่อในสิ่งนั้นอย่างแน่นอน”

    6. ใช้ความเกรี้ยวกราดและการลงโทษ

    ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมีความเกรี้ยวกราดต่อผู้ที่กระทำความผิด และจะลงโทษคนผู้นั้น

    ดังที่ท่านอบู มัสอูด อัลอันศอรีย์ ได้เล่าว่า

    قَالَ رَجُلٌ يَا رَسُولَ اللهِ ، لاَ أَكَادُ أُدْرِكُ الصَّلاَةَ مِمَّا يُطَوِّلُ بِنَا فُلاَنٌ ، فَمَا رَأَيْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - فِى مَوْعِظَةٍ أَشَدَّ غَضَبًا مِنْ يَوْمِئِذٍ فَقَالَ « أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنَّكُمْ مُنَفِّرُونَ ، فَمَنْ صَلَّى بِالنَّاسِ فَلْيُخَفِّفْ ، فَإِنَّ فِيهِمُ الْمَرِيضَ وَالضَّعِيفَ وَذَا الْحَاجَةِ »

    ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้กล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ! ฉันเกือบจะไม่ร่วมละหมาด(ญะมาอะฮฺ)เหตุเพราะจากคนหนึ่งที่นำละหมาดพวกเรานานมาก “ ซึ่งฉันยังไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กริ้วโกรธในการอบรมสั่งสอนครั้งใดมากยิ่งไปกว่าวันนั้น โดยท่านกล่าวว่า “ โอ้ มนุษย์เอ๋ย ! พวกท่านนี้ คือผู้ที่ขับไล่ตะเพิดผู้อื่น ฉะนั้น ผู้ใดก็ตามที่นำคนอื่นละหมาด เขาก็จงทำให้เบา เพราะในหมู่พวกเขามีผู้ป่วย คนอ่อนแอ และผู้ที่มีธุระอยู่” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 90 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 466)

    จากท่านซัยดฺ อิบนุ คอลิด อัลญุฮะนีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سَأَلَهُ رَجُلٌ عَنْ اللُّقَطَةِ فَقَالَ: «اعْرِفْ وِكَاءَهَا أَوْ قَالَ وِعَاءَهَا وَعِفَاصَهَا، ثُمَّ عَرِّفْهَا سَنَةً، ثُمَّ اسْتَمْتِعْ بِهَا، فَإِنْ جَاءَ رَبُّهَا فَأَدِّهَا إِلَيْهِ»، قَالَ: فَضَالَّةُ الْإِبِلِ؟، فَغَضِبَ حَتَّى احْمَرَّتْ وَجْنَتَاهُ أَوْ قَالَ احْمَرَّ وَجْهُهُ، فَقَالَ: «وَمَا لَكَ وَلَهَا؟، مَعَهَا سِقَاؤُهَا وَحِذَاؤُهَا تَرِدُ الْمَاءَ وَتَرْعَى الشَّجَرَ، فَذَرْهَا حَتَّى يَلْقَاهَا رَبُّهَا»، قَالَ: فَضَالَّةُ الْغَنَمِ؟، قَالَ: «لَكَ أَوْ لِأَخِيكَ أَوْ لِلذِّئْبِ».

    ความว่า “ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วได้ถามท่านนบี เกี่ยวกับของที่เขาได้พบเจอ(อัลลุกเฏาะฮฺ) ท่านนบีจึงกล่าวว่า พวกท่านจงทำสัญลักษณ์ด้วยการมัดและหีบห่อของนั้นให้ดีเถิด แล้วจงประกาศของที่เจอนั้นให้ผู้คนได้รู้เป็นเวลา 1 ปี (เมื่อเจ้าของยังไม่มารับของนั้น) ก็จงใช้มันได้ แต่หากเมื่อเจ้าของสิ่งของนั้นได้มายังท่าน(หลังจากที่ท่านใช้สิ่งของนั้นแล้ว) ท่านก็จงชดใช้เจ้าของสิ่งของนั้น มีคนกล่าวว่า “(โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ) เราจะทำเช่นไรกับอูฐที่มันหลงทางมาล่ะ?” ท่านนบีจึงโกรธจนกระทั่งสองแก้มของท่านแดงคล้ำหรือใบหน้าของท่านแดงคล้ำ แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “ทำไมเจ้าถึงหมกมุ่นอยู่กับมันโดยที่พวกเจ้าไม่มีสิทธิ์ในตัวของมันเลย ทั้งๆ ที่ตัวมันนั้นมีที่โหนกสำหรับเก็บน้ำและมีเกือกรองเท้าที่มีน้ำไว้สำหรับดื่มอยู่แล้ว และมันก็สามารถกินใบไม้ต่างๆได้ กระทั่งมันได้พบกับเจ้าของมัน” มีคนกล่าวอีกว่า “แล้วเราจะทำเช่นไรกับแพะที่มันหลงทางมาล่ะ ?” ท่านนบีจึงตอบว่า “เจ้าจงจับมันให้เป็นของเจ้าเถิด หรืออาจจะเป็นของพี่น้องเจ้า หรืออาจจะกลายเป็นอาหารของเหล่าหมาป่าก็ได้” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 91 มุสลิม หมายเลขหะดีษ : 4595)

    ซึ่งหะดีษทั้งสองนั้นท่านอิมามอัลบุคอรีย์ได้บรรจุในหมวด “การโกรธเพื่อการอบรมสั่งสอนเมื่อได้เห็นสิ่งที่ชั่วร้าย”ในหนังสือ “อัศเศาะหีหฺ” ของท่าน

    จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า

    أَنَّ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- رَأَى خَاتَمًا مِنْ ذَهَبٍ فِى يَدِ رَجُلٍ فَنَزَعَهُ فَطَرَحَهُ وَقَالَ « يَعْمِدُ أَحَدُكُمْ إِلَى جَمْرَةٍ مِنْ نَارٍ فَيَجْعَلُهَا فِى يَدِهِ ». فَقِيلَ لِلرَّجُلِ بَعْدَ مَا ذَهَبَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- خُذْ خَاتَمَكَ انْتَفِعْ بِهِ. قَالَ لاَ وَاللَّهِ لاَ آخُذُهُ أَبَدًا وَقَدْ طَرَحَهُ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم

    ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นชายคนหนึ่งสวมแหวนทองคำที่นิ้วมือของเขา ท่านจึงถอดแหวนจากนิ้วมือของชายคนนั้น และขว้างทิ้งมันไป แล้วท่านนบีก็ได้กล่าวว่าจะมีใครบ้างไหมในหมู่พวกเจ้าที่จะเอาถ่านไฟที่กำลังถูกเผาไหม้จากไฟนรกและถือมันไว้ในมือของเขา ? ภายหลังจากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้จากไป ก็ได้มีบางคนแนะนำชายคนนั้นที่เป็นเจ้าของแหวนให้เอาแหวนไปขายเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากราคาของมัน แต่ชายเจ้าของแหวนได้กล่าวตอบว่า “ ไม่ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ฉันจะไม่มีวันนำแหวนนั้นกลับมาอีก ในเมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขว้างมันทิ้งไปแล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 5598 )

    และจากท่านสะละมะฮฺ อิบนิลอักวัอฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَنَّ رَجُلاً أَكَلَ عِنْدَ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- بِشِمَالِهِ فَقَالَ «كُلْ بِيَمِينِكَ». قَالَ لاَ أَسْتَطِيعُ قَالَ «لاَ اسْتَطَعْتَ». مَا مَنَعَهُ إِلاَّ الْكِبْرُ. قَالَ فَمَا رَفَعَهَا إِلَى فِيهِ

    ความว่า “ชายคนหนึ่งได้กินอาหารด้วยมือซ้ายต่อหน้าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ท่านจึงกล่าวว่า “จงกินอาหารด้วยมือขวาของเจ้า” เขาได้กล่าวว่า “ฉันทำไม่ได้” ท่านจึงกล่าวอีกว่า “ท่านทำไม่ได้กระนั้นหรือ ? ” เปล่าเลย ไม่มีสิ่งใดที่ได้ขัดขวางเขา(ไม่ให้ทำตามคำสั่งของท่านเราะสูลุลลอฮฺ) นอกจากความยิ่งยโส (ของเขาเท่านั้น) ท่านจึงกล่าวต่อว่า “ฉะนั้น มือข้างขวานั้นก็ไม่ต้องยกมันอีก (ทำให้มือข้างขวาของชายคนนั้นเป็นอัมพฤกต์) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 5387)

    กระนั้นก็ตาม ความเกรี้ยวกราดดังกล่าวนั้นก็มิใช่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมแม้แต่อย่างใด แต่ความอ่อนโยนต่างหากที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทว่า เมื่อถึงจุดที่ต้องใช้ความเกรี้ยวกราด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็จะแสดงถึงความเกรี้ยวกราด และนี่คือหลักฐานบางส่วนสำหรับเรื่องนี้

    1. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้พรรณนาถึงคุณลักษณะของท่านนบีไว้ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยนและนุ่มนวล ดังที่พระองค์ ตรัสว่า

    ﴿فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لاَنفَضُّواْ مِنْ حَوْلِكَ فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْرِ فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللهِ إِنَّ اللهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِين﴾

    ความว่า “เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺนั่นเอง เจ้า (มุหัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้วก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย” (สูเราะฮฺอาลิอิมรอน : 159)

    และพระองค์ได้พรรณนาถึงคุณลักษณะของท่านนบี ด้วยคุณลักษณะของผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยนอีกว่า

    ﴿لَقَدْ جَاءكُمْ رَسُولٌ مِّنْ أَنفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُم بِالْمُؤْمِنِينَ رَؤُوفٌ رَّحِيمٌ﴾

    ความว่า “แท้จริงมีเราะสูลคนหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยย่าน เป็นผุ้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา” (สูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ : 128)

    โดยแน่นอน ย่อมไม่มีผู้ใดที่จะพรรณนาคุณลักษณะของท่านนบี อะลัยฮิศเศาะลาตุวัสลาม ได้ดียิ่งกว่าการพรรณนาถึงคุณลักษณะของอัลลอฮฺต่อท่านนบี เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้ที่ทรงรอบรู้ดียิ่ง

    2. บรรดาเศาะหาบะฮฺเคยพรรณนาถึงคุณลักษณะของท่านนบี

    ท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลออุอันฮุ เคยพรรณนาถึงคุณลักษณะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า

    مَا رَأَيْتُ مُعَلِّمًا قَبْلَهُ وَلاَ بَعْدَهُ أَحْسَنَ تَعْلِيمًا مِنْهُ، فَوَاللهِ مَا كَهَرَنِى وَلاَ ضَرَبَنِى وَلاَ شَتَمَنِى

    ความว่า “ฉันไม่เคยพบเห็นครูท่านใดก่อนหน้าท่านนบีและภายหลังจากท่าน ที่ทำการสั่งสอนได้ดีกว่าท่าน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ท่านไม่เคยตะคอก ไม่เคยตบตี ไม่เคยด่าว่าใส่ฉันเลย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 1227)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยสั่งใช้ให้บรรดาเศาะหาบะฮิมีความสุภาพอ่อนโยน และท่านเป็นแบบอย่างในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งครั้นเมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา

    ﴿يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا لِمَ تَقُولُونَ مَا لَا تَفْعَلُونَ﴾

    ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ทำไมพวกเจ้าจึงกล้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ” (สูเราะฮฺอัศศอฟ : 2)

    ท่านคือผู้ที่สนองในการปฏิบัติตามอายะฮฺข้างต้นได้ดีที่สุด และครั้นเมื่อท่านได้ส่งท่านมุอาซ และท่านอบูมูสา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ไปยังประเทศเยเมน ท่านได้ก็ได้กล่าวแก่ทั้งสองไว้ว่า

    «يَسِّرَا وَلَا تُعَسِّرَا وَبَشِّرَا وَلَا تُنَفِّرَا»

    ความว่า “พวกท่านจงทำให้ง่ายอย่าทำให้ยาก และจงแจ้งข่าวดีอย่าทำให้ตะเพิดหนี” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 3038 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 4623 )

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็เคยชมเชยในความสุภาพอ่อนโยน ดังที่ท่านได้กล่าวว่า

    «لَا يَكُون الرِّفْق فِي شَيْء إِلَّا زَانَهُ ، وَلَا يُنْزَع مِنْ شَيْء إِلَّا شَانَهُ»

    ความว่า “ความอ่อนโยนจะไม่ปรากฏในสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากมันจะเป็นการประดับประดาแก่สิ่งนั้น และมันจะไม่ถูกนำออกจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นจะมีความน่าเกลียด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 6767)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า

    «يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ فِي الْأَمْرِ كُلِّهِ»

    ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺเอ่ย พระองค์อัลลอฮฺทรงรักความสุภาพอ่อนโยนในทุกกิจการงาน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 6927 )

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า

    «يا عَائِشَةُ إِنَّ اللهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ وَيُعْطِى عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِى عَلَى الْعُنْفِ وَمَا لاَ يُعْطِى عَلَى مَا سِوَاهُ»

    ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺเอ่ย แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลาทรงสุภาพอ่อนโยนยิ่ง พระองค์ทรงรักความสุภาพอ่อนโยน สิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นคือความสุภาพอ่อนโยน และสิ่งที่พระองค์จะไม่ประทานให้คือความแข็งกระด้าง และพระองค์จะไม่ประทานให้อื่นนอกจากความสุภาพอ่อนโยนเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 6766 )

    ท่านญะรีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานอีกว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ يُحْرَمِ الرِّفْقَ يُحْرَمِ الْخَيْرَ»

    ความว่า “ผู้ใดถูกห้ามไม่ให้มีลักษณะของความอ่อนโยน เขาก็ย่อมถูกห้ามจากการได้รับความดีงามเช่นเดียวกัน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 6763 )

    ชีวประวัติของท่านในการอยู่ร่วมกับบรรดาเศาะหาบะฮฺ ก็ปรากฏว่าท่านมักจะมีความสุภาพอ่อนโยนในทุกเรื่องราว ดังมีตัวอย่างดังนี้

    ก. เรื่องราวของชายชาวอาหรับชนบทได้ปัสสาวะในมัสญิด ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เป็นที่รู้กันดี (โดยมีรายงานดังนี้ -ผู้แปล-)

    بَيْنَمَا نَحْنُ فِى الْمَسْجِدِ مَعَ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذْ جَاءَ أَعْرَابِىٌّ فَقَامَ يَبُولُ فِى الْمَسْجِدِ فَقَالَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- مَهْ مَهْ. قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- « لاَ تُزْرِمُوهُ، دَعُوهُ ». فَتَرَكُوهُ حَتَّى بَالَ. ثُمَّ إِنَّ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- دَعَاهُ فَقَالَ لَهُ « إِنَّ هَذِهِ الْمَسَاجِدَ لاَ تَصْلُحُ لِشَىْءٍ مِنْ هَذَا الْبَوْلِ وَلاَ الْقَذَرِ إِنَّمَا هِىَ لِذِكْرِ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ وَالصَّلاَةِ وَقِرَاءَةِ الْقُرْآنِ ». أَوْ كَمَا قَالَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم-. قَالَ فَأَمَرَ رَجُلاً مِنَ الْقَوْمِ فَجَاءَ بِدَلْوٍ مِنْ مَاءٍ فَشَنَّهُ عَلَيْهِ

    ความว่า “ในขณะที่พวกเราอยู่ในมัสญิดร่วมอยู่กับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มีชายชาวชนบท(ชายชาวเบดูอิน)คนหนึ่งได้เข้ามาในมัสญิด และได้ปัสสาวะ(ที่มุมหนึ่ง)ในมัสญิด บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺก็พากันกล่าว มะฮฺ มะฮฺ (เป็นการกล่าวห้าม) ท่านนบีได้กล่าว(เป็นการปรามบรรดาเศาะหาบะฮฺ)ว่า “พวกท่านอย่าได้ห้ามให้เขาหยุดจากการปัสสาวะ ปล่อยให้เขาทำภาระกิจของเขาต่อไปให้เสร็จ” บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงปล่อยให้ชายผู้นั้นทำภารกิจ(ปัสสาวะ)ต่อไปจนเสร็จ หลังจากนั้นท่านนบีจึงได้เรียกชายผู้นั้น แล้วจึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า “ในมัสญิดเช่นนี้เป็นสถานที่ไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับน้ำปัสสาวะและอื่นใดที่เป็นสิ่งสกปรก” หากแต่ว่ามัสญิดเป็นสถานที่สำหรับการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ตะอาลา การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน” หรือเช่นดังกล่าวนี้ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะวัลลัม ได้กล่าวขึ้น ท่านอับบาส ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้สั่งชายผู้หนึ่งในบรรดาเศาะหาบะฮฺ(ไปเอาน้ำ) ชายผู้นั้นได้นำภาชนะที่มีน้ำมา แล้วได้เทชำระล้างสถานที่(ที่ชายชาวชนบทได้ปัสสาวะให้หมดไป)(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 220 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 687)

    ข. เรื่องราวของท่านอับบาด อิบนุชุเราะหฺบีล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ

    أَصَابَنَا عَامُ مَخْمَصَةٍ فَأَتَيْتُ الْمَدِينَةَ فَأَتَيْتُ حَائِطًا مِنْ حِيطَانِهَا فَأَخَذْتُ سُنْبُلاً فَفَرَكْتُهُ وَأَكَلْتُهُ وَجَعَلْتُهُ فِى كِسَائِى فَجَاءَ صَاحِبُ الْحَائِطِ فَضَرَبَنِى وَأَخَذَ ثَوْبِى فَأَتَيْتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ لِلرَّجُلِ « مَا أَطْعَمْتَهُ إِذْ كَانَ جَائِعًا أَوْ سَاغِبًا وَلاَ عَلَّمْتَهُ إِذْ كَانَ جَاهِلاً ». فَأَمَرَهُ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- فَرَدَّ إِلَيْهِ ثَوْبَهُ وَأَمَرَ لَهُ بِوَسْقٍ مِنْ طَعَامٍ أَوْ نِصْفِ وَسْقٍ

    ความว่า “ในช่วงเวลาที่พวกเรา(ชาวเผ่าฆุบัรฺ)ได้ประสบกับสภาวะขาดแคลนอาหาร ฉันจึงเดินทางไปยังเมืองมาดีนะฮฺ แล้วฉันก็ไปยังเรือกสวนแห่งหนึ่ง และได้เก็บอินทผาลัมพวงหนึ่งมากินมัน ในส่วนที่เหลือฉันก็เก็บมันในกระเป๋าเสื้อของฉัน ทันใดนั้น เจ้าของเรือกสวนแห่งนั้นก็มาถึง เขาจึงทุบตีฉันและยึดเสื้อของฉันไป (เมื่อเป็นเช่นนั้น) ฉันจึงไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อจะไปฟ้องในสิ่งที่มันเกิดขึ้น ท่านนบีจึงกล่าวแก่เจ้าของเรือกสวนนั้นว่า ทำไมเจ้าจึงไม่ให้อาหารแก่เขาทั้งๆที่เขาหิว และทำไมเจ้าจึงไม่บอกแก่เขาในเมื่อเขาไม่รู้ แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงสั่งให้เขาคืนเสื้อให้แก่ฉัน และสั่งให้เขาให้อาหารแก่ฉัน 1 วะสัก(เท่ากับ 60 ศออฺ 1 ศออ 2.7 กิโลกรัม ประมาณ 122.4 กิโลกรัม)หรือครึ่งหนึ่งของมัน ” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ : 2298)

    ค. เรื่องราวของท่านสะละมะฮฺ อิบนุศ็อครฺ อัลอันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    كُنْتُ رَجُلاً قَدْ أُوتِيتُ مِنْ جِمَاعِ النِّسَاءِ مَا لَمْ يُؤْتَ غَيْرِى، فَلَمَّا دَخَلَ رَمَضَانُ تَظَاهَرْتُ مِنَ امْرَأَتِى حَتَّى يَنْسَلِخَ رَمَضَانُ، فَرَقًا مِنْ أَنْ أُصِيبَ مِنْهَا فِى لَيْلَتِى فَأَتَتَابَعَ فِى ذَلِكَ إِلَى أَنْ يُدْرِكَنِى النَّهَارُ وَأَنَا لاَ أَقْدِرُ أَنْ أَنْزِعَ، فَبَيْنَمَا هِىَ تَخْدُمُنِى ذَاتَ لَيْلَةٍ إِذْ تَكَشَّفَ لِى مِنْهَا شَىْءٌ فَوَثَبْتُ عَلَيْهَا فَلَمَّا أَصْبَحْتُ غَدَوْتُ عَلَى قَوْمِى فَأَخْبَرْتُهُمْ خَبَرِى فَقُلْتُ انْطَلِقُوا مَعِى إِلَى رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- فَأُخْبِرُهُ بِأَمْرِى. فَقَالُوا لاَ وَاللهِ لاَ نَفْعَلُ نَتَخَوَّفُ أَنْ يَنْزِلَ فِينَا قُرْآنٌ أَوْ يَقُولَ فِينَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- مَقَالَةً يَبْقَى عَلَيْنَا عَارُهَا وَلَكِنِ اذْهَبْ أَنْتَ فَاصْنَعْ مَا بَدَا لَكَ. قَالَ فَخَرَجْتُ فَأَتَيْتُ رَسُولَ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- فَأَخْبَرْتُهُ خَبَرِى. فَقَالَ « أَنْتَ بِذَاكَ ». قُلْتُ أَنَا بِذَاكَ. قَالَ « أَنْتَ بِذَاكَ ». قُلْتُ أَنَا بِذَاكَ. قَالَ « أَنْتَ بِذَاكَ ». قُلْتُ أَنَا بِذَاكَ وَهَا أَنَا ذَا فَأَمْضِ فِىَّ حُكْمَ اللهِ فَإِنِّى صَابِرٌ لِذَلِكَ. قَالَ « أَعْتِقْ رَقَبَةً ». قَالَ فَضَرَبْتُ صَفْحَةَ عُنُقِى بِيَدِى فَقُلْتُ لاَ وَالَّذِى بَعَثَكَ بِالْحَقِّ مَا أَصْبَحْتُ أَمْلِكُ غَيْرَهَا. قَالَ « صُمْ شَهْرَيْنِ ». قُلْتُ يَا رَسُولَ اللهِ وَهَلْ أَصَابَنِى مَا أَصَابَنِى إِلاَّ فِى الصِّيَامِ. قَالَ « فَأَطْعِمْ سِتِّينَ مِسْكِينًا ». قُلْتُ وَالَّذِى بَعَثَكَ بِالْحَقِّ لَقَدْ بِتْنَا لَيْلَتَنَا هَذِهِ وَحْشَى مَا لَنَا عَشَاءٌ. قَالَ «اذْهَبْ إِلَى صَاحِبِ صَدَقَةِ بَنِى زُرَيْقٍ فَقُلْ لَهُ فَلْيَدْفَعْهَا إِلَيْكَ فَأَطْعِمْ عَنْكَ مِنْهَا وَسْقًا سِتِّينَ مِسْكِينًا ثُمَّ اسْتَعِنْ بِسَائِرِهِ عَلَيْكَ وَعَلَى عِيَالِكَ». قَالَ فَرَجَعْتُ إِلَى قَوْمِى فَقُلْتُ وَجَدْتُ عِنْدَكُمُ الضِّيقَ وَسُوءَ الرَّأْىِ وَوَجَدْتُ عِنْدَ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- السَّعَةَ وَالْبَرَكَةَ أَمَرَ لِى بِصَدَقَتِكُمْ فَادْفَعُوهَا إِلَىَّ فَدَفَعُوهَا إِلَىَّ.

    ความว่า “ฉันเป็นชายคนหนึ่งที่มีความต้องการทางเพศสูงมาก กระทั่งกับผู้หญิงที่คนอื่นๆนั้นจะไม่ร่วมเพศด้วย ครั้นเมื่อเดือนเราะมะฎอนได้มาถึง ฉันก็ทำการซิฮารฺภรรยาของฉัน(กล่าวหาว่าภรรยานั้นเหมือนกับมารดาของสามี) กระทั่งเดือนเราะมะฎอนได้จากไป เพราะฉันเกรงว่าตัวฉันอาจจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของฉันในเวลากลางคืนและล่วงเลยไปจนถึงเช้าได้ เพราะมิอาจจะหักห้ามความต้องการทางเพศของตัวเอง คืนหนึ่ง ในขณะที่นางได้ปรนนิบัติฉันอยู่ เผอิญว่าสวนหนึ่งของร่างกายนางได้เผยให้ฉันเห็น ฉันก็อดไม่ได้จึงได้ตอบสนองนางโดยทันที เมื่อถึงรุ่งเช้าฉันก็ไปเจอกับกลุ่มชนของฉัน ฉันจึงได้บอกเล่าเรื่องราวที่มันเกิดขึ้น ฉันจึงกล่าวว่า “พวกท่านไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับฉันเถิดนะ” ด้วยกับจุดประสงค์ของฉันที่จะไปหาท่านเราะสูลุลอฮฺนั้นก็เพื่อไปบอกเล่าในเรื่องราวที่มันเกิดขึ้นนั้น พวกเขาจึงกล่าวว่า “ ไม่ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พวกเราจะไม่ยอมทำสิ่งนั้นอย่างเด็ดขาด พวกเราเกรงว่าอัลกุรฺอานจะถูกประทานให้แก่เราในเรื่องนี้ หรือพวกเราเกรงว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะกล่าวแก่เราในเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะทำให้เรามีตำหนิตลอดไป ดังนั้นเจ้าจงไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺคนเดียวเถิด และจงทำในสิ่งที่เจ้าได้ตั้งใจไว้” เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันจึงไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยตัวของฉันคนเดียว แล้วฉันก็เล่าเรื่องราวของฉันให้ท่านฟัง ท่านนบีจึงกล่าวว่า “เจ้าได้ทำสิ่งนั้นกระนั้นหรือ ?” ฉันจึงกล่าวว่า “ใช่แล้วครับ ฉันได้ทำสิ่งนั้นเอง” ท่านนบีจึงกล่าวอีกว่า “เจ้าได้ทำสิ่งนั้นกระนั้นหรือ ?” ฉันจึงตอบท่านอีกว่า “ใช่แล้วครับ ฉันได้ทำสิ่งนั้นเอง” ท่านนบีก็ถามอีกว่า “เจ้าได้ทำสิ่งนั้นกระนั้นหรือ ?” ฉันก็ตอบอีกว่า “ใช่แล้วครับ ฉันได้ทำสิ่งนั้นเอง” (ท่านสะละมะฮฺจึงกล่าวว่า) (โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ) ขอให้ท่านลงโทษฉันด้วยกับกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺเถิด ซึ่งฉันจะอดทนต่อสิ่งนั้นอย่างแน่นอน” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “เจ้าจงปล่อยทาสคนหนึ่งเถิด” ท่านสะละมะฮฺเล่าว่า “ฉันจึงตีต้นคอด้วยมือของฉันเอง” แล้วได้กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยกับผู้ที่ทรงส่งท่านมาด้วยกับสัจธรรม ฉันไม่เคยครอบครองทาสไว้เลย” ท่านนบีจึงกล่าวอีกว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จงถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันเถิด” ฉันจึงกล่าวว่า “โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ ฉันไม่สามารถที่จะแบกรับการลงโทษด้วยกับการถือศีลอดได้หรอก” ท่านนบีจึงกล่าวต่อว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จงให้อาหารแก่คนยากจน 60 คนเถิด” ฉันจึงกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยกับผู้ที่ทรงส่งท่านมาด้วยกับสัจธรรม แท้จริงเราได้นอนในค่ำคืนหนึ่งด้วยสภาพของความหิวโหยเนื่องจากเราไม่มีอาหารค่ำกินกัน” ท่านนบีจึงกล่าวอีกว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าจงไปยังกลุ่มชนซุรอยกฺเถิด เพราะพวกเขามักจะให้บริจาคทาน (เมื่อไปถึงแล้ว) ก็บอกแก่พวกเขาให้บริจาคทานให้แก่เจ้า เมื่อเจ้าได้รับแล้วก็จงให้อาหารแก่คนยากจน 60 คนด้วยกับ 1 วะสักที่เจ้าได้รับเถิด ส่วนที่เหลือนั้นเจ้าก็จงนำไปกินเพื่อตัวของเจ้าและครอบครัวของเจ้า ” ท่านสะละมะฮฺ ก็เล่าต่อว่า ฉันก็ได้กลับไปยังกลุ่มชนของฉัน แล้วฉันก็ได้กล่าวว่า “ฉันพบว่าในตัวของพวกท่านนั้นมีความคับแคบและพวกท่านมีความคิดที่น่ารังเกลียดยิ่งนัก แต่ฉันกลับพบว่าในตัวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความใจกว้างและเป็นผู้ที่มีสิริมงคลยิ่งนัก” ซึ่งท่านได้สั่งฉันอีกว่า ให้พวกท่านทั้งหลายนั้นบริจาคทานให้ฉัน ดังนั้นพวกท่านจงให้ทานแก่ฉันเถิด ท่านสะละมะฮฺเล่าว่า “และแล้วพวกเขาก็ให้บริจาคแก่ฉัน” (บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ หมายเลขหะดีษ : 3299)

    7. ใช้การตัดความสัมพันธ์(บอยคอต)

    ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยใช้วิธีการตัดความสัมพันธ์(บอยคอต)กับท่านกะอฺบฺ อิบนุมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุและพวกพ้องของท่าน ในเหตุการณ์ที่พวกท่านทั้งหลายหันหลังไม่เข้าร่วมในการทำสงครามตะบูก จึงทำให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหลาย ได้ตัดความสัมพันธ์กับพวกเขา โดยไม่มีการพูดคุยกับพวกเขาเลยประมาณเดือนกว่าๆ กระทั่งอัลลอฮฺ ตะอาลาได้ให้อภัยแก่พวกเขาเหล่านั้น

    กระนั้นก็ตาม วิธีการนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ไม่ได้ใช้มันอย่างเป็นประจำ เพราะเคยมีบางเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งดื่มสุรา แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กลับหัวเราะ(ให้แก่ชายคนนั้น) ซึ่งการที่จะใช้วิธีการนี้ได้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์เพียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อใดก็ตามการตัดความสัมพันธ์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการป้องกันไม่ให้คนที่ถูกตัดความสัมพันธ์นั้น(ทำผิดอีก) ศาสนาก็กำหนดให้ใช้วิธีการนี้ได้ แต่หากการตัดความสัมพันธ์นี้ทำให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นและอาจจะทำให้เกิดการต่อต้าน เมื่อเป็นเช่นนั้นศาสนาก็ไม่อนุญาตที่จะตัดความสัมพันธ์กับคนๆนั้น

    8. การให้คำแนะนำโดยทางอ้อม

    ตัวอย่างการให้คำแนะนำโดยทางอ้อม มีดังต่อไปนี้

    ก. ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยกล่าวว่า “สภาพของบรรดากลุ่มชนนั้นเป็นเช่นไร พวกเขาได้กำหนดให้คนๆหนึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขากระนั้นหรือ? ดังกล่าวนี้ ท่านเคยกล่าวในเรื่องราวของนางบะรีเราะฮฺ ซึ่งมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า

    أَتَتْهَا بَرِيرَةُ تَسْأَلُهَا فِي كِتَابَتِهَا فَقَالَتْ إِنْ شِئْتِ أَعْطَيْتُ أَهْلَكِ وَيَكُونُ الْوَلَاءُ لِي، فَلَمَّا جَاءَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَكَّرْتُهُ ذَلِكَ قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «ابْتَاعِيهَا فَأَعْتِقِيهَا، فَإِنَّمَا الْوَلَاءُ لِمَنْ أَعْتَقَ»، ثُمَّ قَامَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى الْمِنْبَرِ فَقَالَ: «مَا بَالُ أَقْوَامٍ يَشْتَرِطُونَ شُرُوطًا لَيْسَتْ فِي كِتَابِ اللهِ، مَنْ اشْتَرَطَ شَرْطًا لَيْسَ فِي كِتَابِ اللهِ فَلَيْسَ لَهُ وَإِنْ اشْتَرَطَ مِائَةَ شَرْطٍ، شَرْطُ اللهِ أَحَقُّ وَأَوْثَقُ»

    ความว่า “ นางบะรีเราะฮฺได้มาหาแล้วขอความช่วยเหลือจากฉันเกี่ยวกับการขอให้ชำระค่าไถ่ตัวให้แก่นาง ท่านหญิงจึงกล่าวแก่นางว่า (จงกลับไปยังครอบครัวของเธอเถิด) หากว่าเธอปรารถนาที่จะให้ฉันไถ่ตัวเธอและให้เธออยู่ภายใต้การปกครองของฉัน ฉันก็จะจัดการมันให้ (เมื่อเป็นเช่นนั้น บารีเราะฮฺจึงไปบอกเรื่องนี้ให้แก่ครอบครัวของเธอ แต่พวกเขาก็ไม่ค่อยเต็มใจมากนักต่อเรื่องนี้ พวกเขาจึงกล่าวว่า หากท่านหญิงอาอิชะฮฺปรารถนาที่จะให้เธอเป็นอิสระเพื่อที่นางจะได้รับผลบุญแล้วไซร้ นางก็ย่อมทำได้แต่การเป็นผู้ปกครองในตัวของเธอนั้นก็ยังคงอยู่ภายใต้พวกเราอีก) ครั้นเมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมมาถึง ฉัน(ท่านหญิงอาอิชะฮฺ)ก็เล่าเรื่องนี้ให้แก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า “จงซื้อตัวนางเถิด(ไถ่ตัวของนาง) และจงปล่อยตัวนางให้เป็นอิสระ เพราะผู้ที่เป็นผู้ปกครองนั้นคือผู้ที่ทำให้เขาได้รับอิสระ” หลังจากนั้นท่านจึงยืนขึ้นบนมิมบัร(เพื่อกล่าวเทศนา) ท่านจึงกล่าวว่า สภาพของบรรดากลุ่มชนนั้นเป็นเช่นไร พวกเขาจะกำหนดเงื่อนไขต่างๆซึ่งไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ กระนั้นหรือ ? ดังนั้นผู้ใดกำหนดเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดที่ไม่มีในคัมภีร์ของอัลลอฮ โดยที่เขาไม่มีสิทธิ์ (ก็ถือเป็นสิ่งที่โมฆะ) แม้ว่าเขาได้กำหนดไว้หนึ่งร้อยเงื่อนไขก็ตาม โดยแน่แท้ เงื่อนไขที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้นั้นย่อมเป็นสิ่งที่สมควรที่สุดที่จะต้องปฏิบัติตามและย่อมเป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นให้มั่นคงที่สุดอีกด้วย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 2735)

    และมีรายงานจากท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَنَّ نَفَرًا مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سَأَلُوا أَزْوَاجَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ عَمَلِهِ فِي السِّرِّ فَقَالَ بَعْضُهُمْ لَا أَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، وَقَالَ بَعْضُهُمْ لَا آكُلُ اللَّحْمَ وَقَالَ بَعْضُهُمْ لَا أَنَامُ عَلَى فِرَاشٍ، فَحَمِدَ اللهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ، فَقَالَ: «مَا بَالُ أَقْوَامٍ قَالُوا كَذَا وَكَذَا، لَكِنِّي أُصَلِّي وَأَنَامُ وَأَصُومُ وَأُفْطِرُ وَأَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، فَمَنْ رَغِبَ عَنْ سُنَّتِي فَلَيْسَ مِنِّي»

    ความว่า “เศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กลุ่มหนึ่งได้ถามบรรดาภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับการกระทำของท่านนบีที่เขาไม่ทราบ (แต่หลังจากที่พวกเขาทราบ) บางคนในหมู่พวกเขาได้กล่าวว่า ฉันจะไม่แต่งงานกับสตรี,บางคนในหมู่พวกเขากล่าวว่า ฉันจะไม่กินเนื้อสัตว์, และบางคนก็กล่าวว่า ฉันจะไม่นอนบนที่นอน (หลังจากที่ข่าวนี้ถึงท่านนบี ท่านจึงได้เรียกมารวมตัวกัน) ท่านได้เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญอัลลอฮฺและสดุดีต่อพระองค์แล้วกล่าวว่า มีอะไรเกิดขึ้นกระนั้นหรือ ? พวกเขาตอบว่า อย่างนั้น อย่างนี้ตามที่พวกเขาตั้งใจที่จะกระทำ ท่านนบีจึงกล่าวว่า ทว่าฉันละหมาดและฉันก็นอน ฉันถือศีลอดแล้วก็ฉันก็ละศีลอด และฉันก็แต่งงานกับสตรี ดังนั้นผู้ใดไม่ปรารถนาแนวทางของฉัน เขาก็ไม่ใช่พวกของฉัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 2487)

    ข. บางครั้งท่านนบีได้ชมเชยต่อคนๆหนึ่ง แล้วท่านก็กระตุ้นเขาให้กระทำสิ่งนั้นโดยทางอ้อม ดังที่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า

    كَانَ الرَّجُلُ فِي حَيَاةِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا رَأَى رُؤْيَا قَصَّهَا عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَتَمَنَّيْتُ أَنْ أَرَى رُؤْيَا أَقُصُّهَا عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَكُنْتُ غُلَامًا شَابًّا أَعْزَبَ وَكُنْتُ أَنَامُ فِي الْمَسْجِدِ عَلَى عَهْدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَرَأَيْتُ فِي الْمَنَامِ كَأَنَّ مَلَكَيْنِ أَخَذَانِي فَذَهَبَا بِي إِلَى النَّارِ، فَإِذَا هِيَ مَطْوِيَّةٌ كَطَيِّ الْبِئْرِ وَإِذَا لَهَا قَرْنَانِ كَقَرْنَيْ الْبِئْرِ، وَإِذَا فِيهَا نَاسٌ قَدْ عَرَفْتُهُمْ فَجَعَلْتُ أَقُولُ: أَعُوذُ بِاللهِ مِنْ النَّارِ، أَعُوذُ بِاللهِ مِنْ النَّارِ، فَلَقِيَهُمَا مَلَكٌ آخَرُ فَقَالَ لِي: لَنْ تُرَاعَ، فَقَصَصْتُهَا عَلَى حَفْصَةَ فَقَصَّتْهَا حَفْصَةُ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: «نِعْمَ الرَّجُلُ عَبْدُ اللهِ لَوْ كَانَ يُصَلِّي بِاللَّيْلِ»، قَالَ سَالِمٌ: فَكَانَ عَبْدُ اللهِ لَا يَنَامُ مِنْ اللَّيْلِ إِلَّا قَلِيلًا

    ความว่า “ในสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้น เมื่อมีคนๆหนึ่งได้ฝัน เขาก็จะเล่าให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฟังเสมอ ซึ่งฉันเองก็เคยฝันและฉันเองก็ได้เล่าให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฟังเช่นเดียวกัน (ฉันจำได้ว่า) เมื่อตอนนั้นฉันยังเป็นชายหนุ่ม ซึ่งฉันได้นอนในมัสญิดในสมัยที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีชีวิตอยู่ ฉันได้ฝันเห็นว่า เหมือนมีมลาอิกะฮฺสองท่านพาฉันไปยังนรก และฉันได้เห็นว่านรกนั้นมีระดับขั้นของมัน เหมือนระดับขั้นของถังน้ำ และมันมีเขาสองเขา เหมือนเขาทั้งสองของถังน้ำเช่นเดียวกัน และฉันพบว่าในนรกนั้นมีผู้คนมากมายที่ฉันเคยรู้จัก ฉันจึงกล่าวในขณะนั้นว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้รอดพ้นจากไฟนรกนี้ด้วยเถิด” “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้รอดพ้นจากไฟนรกนี้ด้วยเถิด” และแล้วฉันก็ได้เจอกับมลาอีกะฮฺอีกท่านหนึ่ง ซึ่งมลาอิกะฮฺท่านนั้นได้กล่าวแก่ฉันว่า “ท่านยังไม่ได้รับการคุ้มครองอีก” เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันจึงเล่าความฝันของฉันแก่ท่านหญิงหัฟเศาะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ท่านหญิงจึงนำเรื่องราวนั้นไปเล่าต่อให้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงกล่าวว่า “ชายหนุ่มที่ดียิ่งนั้นคือ อับดุลลอฮฺ (อิบนุอุมัร) ซึ่งหากเขาได้ลุกขึ้นละหมาดในยามค่ำคืนแล้วไซร้” ท่านกล่าวอีกว่า “เขาก็จะเป็นผู้ที่ปลอดภัย” เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอับดุลลอฮฺ(อิบนุอุมัร) ก็ไม่ได้นอนอีกเลยในยามค่ำคืนนอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 3738-3739 )

    ค. บางครั้งท่านนบีก็ทำเป็นสั่งใช้บรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหลาย แต่คำพูดของท่านนั้นต้องการกล่าวถึงชายคนหนึ่งเท่านั้น ดังที่มีรายงานจากท่านอนัส อิบนุมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَنَّ رَجُلاً دَخَلَ عَلَى رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- وَعَلَيْهِ أَثَرُ صُفْرَةٍ - وَكَانَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- قَلَّمَا يُوَاجِهُ رَجُلاً فِى وَجْهِهِ بِشَىْءٍ يَكْرَهُهُ - فَلَمَّا خَرَجَ قَالَ « لَوْ أَمَرْتُمْ هَذَا أَنْ يَغْسِلَ هَذَا عَنْهُ »

    ความว่า “ชายคนหนึ่งได้เข้ามาหาท่านเราะสูลุลอลฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยสภาพที่(ร่างกายหรือเสื้อผ้า)มีร่องรอยเป็นสีเหลือง ซึ่งเมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เจอตัวเขา ท่านก็ไม่ชอบ และแล้วเมื่อชายคนนั้นได้ออกไป ท่านก็ได้กล่าวว่า หากพวกท่านสั่งชายคนนั้นทำความสะอาดร่องรอยดังกล่าวจากตัวเขา(มันก็จะเป็นการดียิ่ง) (บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลขหะดีษ : 4184 )

    ง. และในบางครั้งท่านก็จะทำเป็นพูดกับคนอื่น แต่เพื่อให้อีกคนได้ยิน ดังมีรายงานจากท่านสุลัยมาน อิบนุศุรอด ได้เล่าว่า

    اسْتَبَّ رَجُلَانِ عِنْدَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَنَحْنُ عِنْدَهُ جُلُوسٌ وَأَحَدُهُمَا يَسُبُّ صَاحِبَهُ مُغْضَبًا قَدْ احْمَرَّ وَجْهُهُ فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «إِنِّي لَأَعْلَمُ كَلِمَةً لَوْ قَالَهَا لَذَهَبَ عَنْهُ مَا يَجِدُ، لَوْ قَالَ أَعُوذُ بِاللهِ مِنْ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ»، فَقَالُوا لِلرَّجُلِ أَلَا تَسْمَعُ مَا يَقُولُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنِّي لَسْتُ بِمَجْنُونٍ

    ความว่า “ชายสองคนได้ด่าทอกันต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเราได้นั่งอยู่ร่วมกับท่านนบี ชายคนหนึ่งได้ด่าทออีกคนด้วยกับความโกรธจนหน้าแดงคล้ำ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ฉันรู้ถึงคำกล่าวหนึ่ง หากว่าเขาได้กล่าวมันแล้ว ความโกรธนั้นก็จะหายไปจากตัวเขาอย่างแน่นอน นั้นคือให้กล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากมารร้ายที่ถูกสาปแช่งด้วยเถิด” บรรดาเศาะหาบะฮฺจึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “ท่านไม่ยินหรอกหรือว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเช่นไร ?” ชายคนนั้นจึงตอบว่า “ฉันไม่ได้บ้านะ”(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 6115 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 6813)

    9. ใช้เหตุการณ์และโอกาสต่างๆให้เกิดประโยชน์

    ก. มีรายงานจากท่านอนัส อิบนุมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    كَانَ صَبِيٌّ عَلَى ظَهْرِ الطَّرِيقِ فَمَرَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَمَعَهُ نَاسٌ مِنْ أَصْحَابِهِ، فَلَمَّا رَأَتْ أُمُّ الصَّبِيِّ الْقَوْمَ خَشِيَتْ أَنْ يُوطَأَ ابْنُهَا فَسَعَتْ وَحَمَلَتْهُ، وَقَالَتْ: ابْنِي ابْنِي، قَالَ: فَقَالَ الْقَوْمُ يَا رَسُولَ اللهِ مَا كَانَتْ هَذِهِ لِتُلْقِيَ ابْنَهَا فِي النَّارِ، قَالَ: فَقَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «لَا وَلَا يُلْقِي اللهُ حَبِيبَهُ فِي النَّارِ»

    ความว่า “มีเด็กน้อยคนหนึ่งยืนอยู่กลางถนน ซึ่งในขณะนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมและบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลลอฮุอันฮุม ได้เดินมาพอดี ครั้นเมื่อมารดาของเด็กน้อยเห็นคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนางเกรงว่าพวกเขาจะเหยียบลูกชายของนาง เมื่อเห็นเช่นนั้นนางจึงรีบเร่งแล้วไปอุ้มเด็กน้อยขึ้นมา พลางกล่าวว่า “ลูกชายของฉัน ลูกชายของฉัน” คนกลุ่มนั้นจึงกล่าวว่า “โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ ลูกของนางจะต้องถูกโยนลงสู่ไฟนรกหรือไม่ ?” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ไม่ๆ โดยแน่แท้ อัลลอฮฺจะไม่ทรงโยนผู้ที่พระองค์ทรงรักลงสู่ไฟนรกอย่างแน่นอน” (บันทึกอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ : 13467 )

    โดยแน่แท้ เหตุการณ์ต่างๆนั้นย่อมมีอิทธิผลต่ออารมณ์และความรู้สึกในจิตใจของคนๆหนึ่งได้อย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นได้เป็นบ่อเกิดของการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมแล้วไซร้ มันก็จะคงเรื่องราวเหล่านั้นตลอดไป และผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องราวนั้นเขาก็จะเผชิญและเรียนรู้มันด้วยภาพลักษณ์ที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของเขา ซึ่งยากที่จะลืมเลือนมันได้

    และเหตุการณ์ต่างๆที่มีความหลากหลายนั้น ย่อมมีบางเหตุการณ์ที่อยู่ในสภาพของความเศร้าโศก ความหวาดกลัว ดังนั้นก็จงใช้โอกาสดังกล่าวในการให้ข้อเตือนสติเถิด ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้ข้อเตือนสติแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ในครั้นที่พวกเขาอยู่ในบริเวณหลุมฝังศพพร้อมกับท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งมีรายงานจากท่านอับบัรรออฺ อิบนุอาซิบ ได้เล่าว่า

    خَرَجْنَا مَعَ رَسُولِ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- فِى جَنَازَةِ رَجُلٍ مِنَ الأَنْصَارِ فَانْتَهَيْنَا إِلَى الْقَبْرِ وَلَمَّا يُلْحَدْ فَجَلَسَ رَسُولُ اللهِ -صلى الله عليه وسلم- وَجَلَسْنَا حَوْلَهُ كَأَنَّمَا عَلَى رُءُوسِنَا الطَّيْرُ وَفِى يَدِهِ عُودٌ يَنْكُتُ بِهِ فِى الأَرْضِ فَرَفَعَ رَأْسَهُ فَقَالَ : «اسْتَعِيذُوا بِاللهِ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ». مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاَثًا... ثم ذكر الحديث الطويل في وصف عذاب القبر وقتنته

    ความว่า “เราได้ออกไปพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในญะนาซะฮฺของชายคนหนึ่งในหมู่ชาวอันศอร ครั้นเมื่อเรามาถึงหลุมฝังศพ และเมื่อศพถูกฝังแล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ได้นั่ง และเราก็ได้นั่งล้อมตัวท่าน ประหนึ่งว่าบนศีรษะของเรามีนกเกาะอยู่(ด้วยความนั่งนิ่ง) ส่วนมือของท่านนั้นก็ทาบบนพื้นดิน โดยที่ท่านชะเง้อศีรษะขึ้นมา แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “พวกเจ้าจงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺจากการทรมานในหลุมฝังศพเถิด” ท่านได้กล่าวเช่นนั้น สองหรือสามครั้ง...หลังจากนั้นท่านก็ได้กล่าวถึงลักษณะต่างๆของการทรมานและความเลวร้ายของหลุมฝังศพอีก” (บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลขหะดีษ : 3212 )

    ข. มันอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นบททดสอบ และเป็นคำสั่งใช้ให้มนุษย์นั้นหาวิธีการแก้ไข ดังนั้นก็จงใช้โอกาสดังกล่าวนั้นพูดคุยกับเขาให้มีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ ตะอาลา ให้มากขึ้นเถิด

    มีรายงานจากท่านซัยดฺ อิบนุอัรก็อม เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    أَصَابَنِي رَمَدٌ فَعَادَنِي النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ فَلَمَّا بَرَأْتُ خَرَجْتُ قَالَ فَقَالَ لِي رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «أَرَأَيْتَ لَوْ كَانَتْ عَيْنَاكَ لِمَا بِهِمَا مَا كُنْتَ صَانِعًا»، قَالَ: قُلْتُ لَوْ كَانَتَا عَيْنَايَ لِمَا بِهِمَا صَبَرْتُ وَاحْتَسَبْتُ، قَالَ: «لَوْ كَانَتْ عَيْنَاكَ لِمَا بِهِمَا ثُمَّ صَبَرْتَ وَاحْتَسَبْتَ لَلَقِيتَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ وَلَا ذَنْبَ لَكَ»

    ความว่า “ฉันเป็นโรคตาแดง ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ได้มาเยี่ยมฉัน ครั้นเมื่อฉันหายแล้ว ฉันก็ได้ออกไป ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่ฉันว่า “ท่านมีความคิดเห็นยังไง หากตาทั้งสองข้างของเจ้านั้นไม่สามารถใช้การได้ ?” ฉันจึงตอบว่า “หากตาของฉันทั้งสองเป็นอย่างนั้นจริงๆ ฉันก็จะอดทนพึงพอใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “หากตาทั้งสองของท่านเป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วเจ้าก็อดทนและพึงพอใจต่อสิ่งที่มันเกิดขึ้นได้ ท่านก็จะได้พบกับอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา ในสภาพที่เจ้าจะไม่มีความผิดใดๆหลงเหลืออยู่อีกเลยอย่างแน่นอน”(บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ : 19348 )

    จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอัมรฺ อิบนุลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    إِذَا جَاءَ الرَّجُلُ يَعُودُ مَرِيضًا قَالَ اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا وَيَمْشِي لَكَ إِلَى الصَّلَاةِ

    ความว่า “เมื่อชายคนหนึ่งไปเยี่ยมคนป่วย ก็ให้เขากล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงทำให้บ่าวของพระองค์ฟื้นจากไข้เพื่อเขาจะได้เอาชนะศัตรูเพื่อพระองค์ หรือเดินไปละหมาดเพื่อพระองค์เถิด”(บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลขหะดีษ : 6600)

    เป็นคำสั่งเสียของท่านนบีแก่ผู้ศรัทธาทุกคน ให้มีความมุ่งมั่นและตระหนักต่อบทบาทของเขาในการใช้ชีวิต โดยให้มุ่งสู่การปฏิบัติศาสนกิจด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว หรือร่วมให้การสนับสนุนและปกป้องในศาสนาของพระองค์

    ค. มันอาจเป็นเหตุการณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอสิ่งที่มีความคล้ายคลึงกันปรากฏการณ์ดังกล่าว(ในเชิงของการเปรียบเทียบ)

    จากท่านญะรีร อิบนุอับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    كُنَّا عِنْدَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَنَظَرَ إِلَى الْقَمَرِ لَيْلَةً يَعْنِي الْبَدْرَ فَقَالَ إِنَّكُمْ سَتَرَوْنَ رَبَّكُمْ كَمَا تَرَوْنَ هَذَا الْقَمَرَ لَا تُضَامُّونَ فِي رُؤْيَتِهِ فَإِنْ اسْتَطَعْتُمْ أَنْ لَا تُغْلَبُوا عَلَى صَلَاةٍ قَبْلَ طُلُوعِ الشَّمْسِ وَقَبْلَ غُرُوبِهَا فَافْعَلُوا ثُمَّ قَرَأَ ﴿وَسَبِّحْ بِحَمْدِ رَبِّكَ قَبْلَ طُلُوعِ الشَّمْسِ وَقَبْلَ الْغُرُوبِ﴾

    ความว่า “พวกเราเคยนั่งร่วมกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านนบีได้มองไปยังดวงจันทร์ซึ่งเป็นคืนจันทร์เพ็ญ แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “โดยแน่แท้พวกเจ้าจะได้เห็นพระเจ้าของพวกเจ้า เหมือนกับการเห็นดวงจันทร์(ในค่ำคืนนี้) ซึ่งพวกเจ้าจะไม่ได้รับอันตรายใดๆในการเห็นพระองค์ ดังนั้นหากพวกเจ้ามีความสามารถ พวกเจ้าก็อย่าพลาดที่จะละหมาดก่อนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและก่อนที่ดวงอาทิตย์ตก(หมายถึงละหมาดศุบหฺและอัศรฺ) หลังจากนั้นท่านก็อ่านว่า -และจงแซ่ซ้องด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้าก่อนการขึ้นของดวงอาทิตย์และก่อนการตก (ของมัน)-” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 554)

    ง. และมันอาจเป็นเหตุการณ์ที่มีความตื่นเต้น ซึ่งมีผลต่อความอารมณ์และความรู้สึกได้ ดังเรื่องราวที่ท่านอนัส อิบนุมาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานก่อนหน้านี้เกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความห่วงใยต่อลูกน้อยของนาง

    10. การให้กำลังใจและการกล่าวชมเชย

    ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ว่า

    مَنْ أَسْعَدُ النَّاسِ بِشَفَاعَتِكَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ؟ قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «لَقَدْ ظَنَنْتُ يَا أَبَا هُرَيْرَةَ أَنْ لَا يَسْأَلُنِي عَنْ هَذَا الْحَدِيثِ أَحَدٌ أَوَّلُ مِنْكَ لِمَا رَأَيْتُ مِنْ حِرْصِكَ عَلَى الْحَدِيثِ»

    ความว่า “มนุษย์คนใดหรือ ? ที่จะมีความสุขมากที่สุดจากการได้รับการช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ)ของท่านในวันแห่งการพิพากษา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า โอ้อบูฮุร็อยเราะฮฺเอ่ย ฉันคิดว่ายังไม่เคยมีใครถามเรื่องนี้กับฉันเลยก่อนหน้าท่าน และฉันเห็นว่าท่านนั้นมีความขะมักเขม้นที่จะเก็บเกี่ยววจนะต่างๆ(ของฉันเป็นอย่างยิ่ง) (ท่านเราะสูลุลลฮฮฺ จึงตอบว่า มนุษย์ที่จะมีความสุขที่สุดจากการได้รับการช่วยเหลือของฉันนั้นในวันแห่งการพิพากษานั้นคือ ผู้ที่กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ : 99)

    เราลองมานึกภาพกันเถิด โอ้..พี่น้องท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า สภาพของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺนั้นจะเป็นเช่นไร ? เมื่อท่านได้ยินคำชมเชยนั้น ซึ่งนั้นคือการรับรองจากบรมครูของครูทั้งหลาย และจากชัยคฺของบรรดาชัยคฺทั้งหลาย -ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ในความขะมักเขม้นของท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺในการแสวงหาความรู้ ใช่แต่เท่านั้น มันเป็นการยกระดับท่านให้สูงเหนือท่านอื่นๆ และลองนึกภาพดูว่าผลของความรู้สึกดังกล่าวนั้นจะเป็นเช่นไร มันย่อมผลักดันให้ท่านมีความขะมักเขม้น มุ่งมั่น และรักษาการงานที่ท่านได้ทำได้อย่างแน่นอน

    และครั้นเมื่อท่านอุบัย อิบนุ กะอับ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ถูกถามว่า

    « يَا أَبَا الْمُنْذِرِ أَتَدْرِى أَىُّ آيَةٍ مِنْ كِتَابِ اللهِ مَعَكَ أَعْظَمُ ». قَالَ قُلْتُ اللهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ. قَالَ « يَا أَبَا الْمُنْذِرِ أَتَدْرِى أَىُّ آيَةٍ مِنْ كِتَابِ اللهِ مَعَكَ أَعْظَمُ ». قَالَ قُلْتُ اللهُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْحَىُّ الْقَيُّومُ. قَالَ فَضَرَبَ فِى صَدْرِي وَقَالَ « وَاللهِ لِيَهْنِكَ الْعِلْمُ أَبَا الْمُنْذِرِ»

    ความว่า “ “โอ้อบูอัลมุนซิรเอ่ย เจ้ารู้หรือไม่ว่า อายะฮฺใดในคัมภีร์ของอัลลอฮฺที่อยู่กับท่านนั้น ยิ่งใหญ่ที่สุด” ฉันก็ได้ตอบว่า “อัลลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์นั้นรู้ดีที่สุด” ท่านนบีก็ถามอีกว่า “โอ้อบูอัลมุนซิรเอ่ย เจ้ารู้หรือไม่ว่า อายะฮฺใดในคัมภีร์ของอัลลอฮฺที่อยู่กับท่านนั้น ยิ่งใหญ่ที่สุด” ท่านจึงตอบว่า “อายะฮฺอัลกุรสีย์” ท่านนบีจึงตีอกของฉัน แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เจ้าถูกปกคลุมด้วยความรู้แล้ว โอ้อบูอัลมุนซิรเอ่ย”(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ : 1921)

    แท้จริงย่อมไม่มีสิ่งใดที่จะเทียบเท่าคำกล่าวชมเชยหรือการให้กำลังใจได้อย่างแน่นอน เพราะมันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้แสวงหาความรู้ต่างๆนั้นมีความขะมักเขม้นและมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น และ(จะเป็นตัวขับเคลื่อน)ให้จิตใจนั้นมีความปรารถนาที่จะได้สัมผัสกับความสำเร็จ ซึ่งการให้คำชมเชยของผู้คนนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายเป็นอย่างยิ่ง

    การให้กำลังใจและการกล่าวชมเชยนั้นจะเป็นตัวกระตุ้นแก่คนผู้อื่น และเสมือนเป็นการดะอฺวะฮฺ(เชิญชวนพวกเขาให้ทำความดีงาม)โดยทางอ้อมอีกด้วย เนื่องด้วยคนๆหนึ่งนั้นมักจะกระทำในสิ่งที่เขาได้รับการชมเชยเสมอ

    وبالله التوفيق

    وصلى الله على نبينا محمد، وآله وصحبه وسلم.