×
ประกอบด้วย .. ความสำคัญของอัล-บัยตุลหะรอม ความงดงาม และเป้าหมายของหัจญ์ หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์ ผู้ที่สามารถประกอบพิธีหัจญ์ได้ ผู้ใดบ้างที่วาญิบ (จำเป็น) ต้องประกอบพิธีหัจญ์ ความประเสริฐของหัจญ์และอุมเราะฮฺ หุก่มการเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของสตรีซึ่งไม่มีมะหฺรอม หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์แทนผู้อื่น วิธีการครองอิหฺรอมของสตรีที่มีรอบเดือนหรือสตรีที่มีเลือดจากการคลอดบุตร ความประเสริฐของการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺบ่อยๆ หุก่มการออกจากมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮฺอีกครั้ง หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของเด็กเล็ก หุก่มการเข้าไปในมัสยิดของมุชริก ลักษณะเฉพาะของเขตหะร็อม

    ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐของหัจญ์

    [ ไทย ]

    معنى الحج وحكمه وفضله

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: อัสรัน นิยมเดชา

    ترجمة: عصران نيئيوم ديشا

    ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    مراجعة: فيصل عبد الهادي

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    บทว่าด้วยหัจญ์และอุมเราะฮฺ

    1- ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐของหัจญ์

    หัจญ์ คือ การทำอิบาดะฮฺต่อองค์อัลลอฮฺตะอาลา ด้วยการมุ่งหน้าสู่นครมักกะฮฺในช่วงเวลาที่ถูกกำหนด เพื่อประกอบพิธีหัจญ์

    ความสำคัญของอัล-บัยตุลหะรอม

    อัลลอฮฺตะอาลาได้ทรงให้อัล-บัยตุลหะรอมนั้นเป็นที่เคารพ และทรงให้มัสยิดหะรอมเป็นบริเวณโดยรอบของมัน และให้นครมักกะฮฺเป็นบริเวณโดยรอบของมัสยิดหะรอม และให้เขตหะร็อมเป็นบริเวณโดยรอบของนครมักกะฮฺ และให้มีกอตต่างๆ (สถานที่ซึ่งเป็นเขตกำหนดการเริ่มครองอิหฺรอม) นั้นเป็นบริเวณโดยรอบของเขตหะร็อม และให้คาบสมุทรอาหรับเป็นบริเวณโดยรอบของเขตมีกอตต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็เพื่อเป็นการให้เกียรติบัยติลลาฮิลหะรอม

    อัลลอฮฺตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า

    (ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ

    ความว่า “แท้จริงบ้านหลักแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการอิบาดะฮ์) นั้นคือบ้านที่มักกะฮฺ (กะอฺบะฮฺ) โดยเป็นที่ที่ถูกให้มีความจำเริญ และเป็นที่แนะนำแก่ประชาชาติทั้งหลายในบ้านนั้นมีหลายสัญญาณที่ชัดแจ้ง (ส่วนหนึ่งนั้น) คือมะกอมอิบรอฮีม และผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้นเขาก็เป็นผู้ปลอดภัย และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย ” (อาล อิมรอน : 96-97)

    ความงดงาม และเป้าหมายของหัจญ์

    1.หัจญ์คือแนวทางภาคปฏิบัติของทฤษฎีความเป็นภราดรภาพระหว่างมุสลิมและความเป็นเอกภาพของประชาชาติอิสลาม ในพิธีหัจญ์นั้นความแตกต่างทางเชื้อชาติ สีผิว ภาษา หรือชนชั้นได้มลายหายไป เหลือแต่เพียงความเป็นบ่าวและความเป็นพี่น้องซึ่งโดดเด่นอย่างที่สุด ทุกคนสวมชุดเหมือนกัน ผินหน้าไปทางทิศกิบลัตเดียวกัน และเคารพภักดีทำอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน

    2.หัจญ์คือโรงเรียนที่สอนให้มุสลิมฝึกความอดกลั้นอดทน สอนให้นึกถึงอาคิเราะฮฺและความน่าสะพรึงกลัวของมัน สอนให้เข้าถึงอรรถรสแห่งการเป็นบ่าวของเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลา ให้ตระหนักถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระผู้เป็นเจ้าของเขา และตระหนักว่าสรรพสิ่งทั้งปวงล้วนขาดพระองค์ไม่ได้

    3.หัจญ์คือช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่ของการเก็บเกี่ยวผลบุญ และลบล้างบาปความผิด เป็นช่วงเวลาที่ผู้เป็นบ่าวนั้นได้อยู่ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้าของเขาในสภาพที่ยึดมั่นในความเป็นเอกะของพระองค์ ยอมรับในบาปความผิดที่ได้เคยกระทำมา และสารภาพถึงความอ่อนแอบกพร่องของตนในการปฏิบัติหน้าที่อันพึงมีต่อพระองค์ เช่นนี้เขาจึงกลับจากหัจญ์ในสภาพที่เขาใสสะอาดจากมวลบาปความผิด เฉกเช่นครั้งที่เขาเกิดมาจากครรภ์มารดา

    4.หัจญ์สอนให้ตระหนักคิดถึงสภาพความเป็นอยู่ของบรรดานบีและเราะสูล อะลัยฮิมุศเศาะลาตุวัสสลาม และการปฏิบัติอะมั้ลอิบาดะฮฺของพวกท่านเหล่านั้น ตลอดจนการเชิญชวนเผยแผ่ศาสนา การญิฮาดต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ กิริยามารยาท และการข่มตนข่มใจจากการที่ต้องห่างไกลจากครอบครัว

    5.หัจญ์คือโอกาสดีที่มุสลิมจะได้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องมุสลิมจากทั่วโลก ไม่ว่าจะในด้านความรู้ ความอวิชชา ความร่ำรวย ความยากจน การยืนหยัดอยู่บนแนวทาง หรือการเบี่ยงเบน

    หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์

    หัจญ์คือรุก่น(เงื่อนไข)อิสลามข้อที่ห้า ถือเป็นวาญิบหนึ่งครั้งในชีวิต สำหรับมุสลิมทุกคน ที่มีสภาพเป็นไท บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และมีความสามารถ โดยให้ทำทันทีที่มีความสามารถ

    หัจญ์ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปีฮิจญฺเราะฮฺศักราชที่ 9 ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ประกอบพิธีหัจญ์เพียงครั้งเดียวนั่นคือหัจญ์วะดาอฺ

    1.อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

    ( ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ)

    ความว่า “ในบ้านนั้นมีหลายสัญญาณที่ชัดแจ้ง (ส่วนหนึ่งนั้น) คือมะกอมอิบรอฮีมและผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้นเขาก็เป็นผู้ปลอดภัย และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้นคือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ และผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย“ (อาล อิมรอน : 97)

    2.จากท่านอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

    «بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ الله، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَالْحَجِّ وَصَوْمِ رَمَضَانَ»

    ความว่า “อิสลามนั้นวางอยู่บนพื้นฐานหลักห้าประการ คือ การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากองค์อัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 8 และ มุสลิม : 16)

    ผู้ที่สามารถประกอบพิธีหัจญ์ได้

    คือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถเดินทางได้ มีเสบียงและยานพาหนะที่อำนวยต่อการเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์และเดินทางกลับ ปราศจากพันธะผูกพัน เช่น หนี้สินซึ่งครบกำหนดชำระ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว อีกทั้งทรัพย์สินเงินทองที่นำมาใช้จ่ายเพื่อการหัจญ์นั้นต้องเป็นส่วนที่เกินมาจากความจำเป็นขั้นพื้นฐานของเขา

    ผู้ใดบ้างที่วาญิบ (จำเป็น) ต้องประกอบพิธีหัจญ์

    ผู้ที่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีหัจญ์ทั้งในด้านการเงินและสุขภาพร่างกาย ถือเป็นวาญิบที่เขาต้องเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ด้วยตนเอง ส่วนผู้ใดมีความสามารถในด้านการเงินแต่ร่างกายไม่เอื้ออำนวย วาญิบที่เขาต้องให้ผู้อื่นประกอบพิธีหัจญ์แทน ส่วนผู้ใดมีความสามารถด้านสุขภาพร่างกายแต่ฐานะทางการเงินไม่เอื้ออำนวยในสภาพเช่นนี้ก็ถือว่าหัจญ์ไม่เป็นวาญิบสำหรับเขา และผู้ใดไม่มีความสามารถทั้งในด้านการเงินและสุขภาพร่างกาย ก็ถือว่าหัจญ์ไม่เป็นวาญิบสำหรับเขาเช่นกัน

    เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้ที่ไม่มีความพร้อมทางการเงินให้รับเงินซะกาตเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ได้ เนื่องจากหัจญ์ถือว่าเป็นหนทางของอัลลอฮฺ (ฟีสะบีลิลลาฮฺ)

    ความประเสริฐของหัจญ์และอุมเราะฮฺ

    1.จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า :

    سُئل رسول الله صلى الله عليه وسلم أي الأعمال أفضل؟ قال: «إيمَانٌ بِالله وَرَسُولِـهِ» قيل: ثم ماذا؟ قال: «جِهَادٌ فِي سَبِيلِ الله» قيل: ثم ماذا؟ قال: «حَجٌّ مَبْرُورٌ»

    ความว่า : ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามว่า การงานใดที่ประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า “การศรัทธาต่ออัลลอฮฺตะอาลาและเราะสูลของพระองค์” ท่านถูกถามอีกว่า แล้วรองลงมาล่ะ? ท่านตอบว่า “การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ” ท่านถูกถามอีกว่า แล้วรองลงมาอีกล่ะ? ท่านตอบว่า “หัจญ์ที่มับรูรฺ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 1519 และมุสลิม : 83)

    2.จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า :

    سمعت النبي صلى الله عليه وسلم يقول: «مَنْ حَجَّ ، فَلَـمْ يَرْفُثْ وَلَـمْ يَفْسُقْ، رَجَعَ كَيَومِ وَلَدَتْـهُ أُمُّهُ»

    ความว่า : ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์ โดยที่เขาไม่พูดจาหยาบโลน (หรือมีเพศสัมพันธ์) และไม่กระทำบาปความผิดใดๆ เขาจะกลับไปโดยที่เขา (ปราศจากบาป) ประดุจวันที่มารดาของเขาคลอดเขาออกมา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 1521 และมุสลิม : 1350)

    3.จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

    «العُمْرَةُ إلَى العُمْرَةِ كَفَّارَةٌ لِـمَا بَيْنَـهُـمَا، وَالحَجُّ المَبْرُورُ لَيْسَ لَـهُ جَزَاءٌ إلَّا الجَنَّةُ»

    ความว่า “อุมเราะฮฺหนึ่งถึงอุมเราะฮฺหนึ่งนั้นเป็นการลบล้างบาปของช่วงระหว่าง(อุมเราะฮฺ) ทั้งสอง และหัจญ์มับรูรฺ จะไม่มีผลตอบแทนเป็นสิ่งอื่นใดๆ นอกเหนือจากสรวงสวรรค์” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 1773 และมุสลิม : 1349)

    หากผู้ที่วาญิบต้องประกอบพิธีหัจญ์ได้เสียชีวิตลงก่อนที่เขาจะประกอบพิธีหัจญ์ จำเป็นจะต้องนำส่วนหนึ่งจากกองมรดกของเขาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีหัจญ์ให้กับเขา

    หุก่มการเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของสตรีซึ่งไม่มีมะหฺรอม

    เงื่อนไขที่ส่งผลให้หัจญ์เป็นวาญิบสำหรับสตรีก็คือ การมีมะหฺรอมไม่ว่าจะเป็นสามี หรือชายที่ไม่เป็นการอนุญาตให้แต่งงานกับนางโดยเด็ดขาด เช่น พ่อ พี่น้อง หรือลูกชาย เป็นต้น ถ้าหากมะหฺรอมปฏิเสธที่จะร่วมเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์พร้อมกับนาง ก็ถือว่าหัจญ์ไม่เป็นการวาญิบสำหรับนาง หากแม้นว่านางเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ตามลำพังโดยปราศจากมะหฺรอม ถือว่าเป็นบาป แต่หัจญ์ของนางถือว่าใช้ได้

    ไม่เป็นที่อนุญาตให้สตรีเดินทางโดยปราศจากมะหฺรอมเพื่อประกอบพิธีหัจญ์หรือเพื่อการอื่นใด ไม่ว่านางจะเป็นสาวรุ่นหรือเป็นหญิงชรา ไม่ว่าจะมีกลุ่มสตรีร่วมเดินทางพร้อมกับนางหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระยะใกล้หรือไกลก็ตาม เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «لا تُسَافِر المَرْأَةُ إلا مَعَ ذِي مَـحْرَمٍ»

    ความว่า “ไม่อนุญาตให้สตรีเดินทางโดยปราศจากมะหฺรอม“

    (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 1862 และมุสลิม : 1341)

    หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์แทนผู้อื่น

    ผู้ที่ประกอบพิธีหัจญ์แทนผู้อื่นเนื่องจากความชราภาพ ความเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือแทนคนตาย สามารถเริ่มเนียตจากมีกอตใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้องเริ่มเดินทางจากภูมิลำเนาที่พำนักของผู้มอบหมาย และไม่อนุญาตให้ประกอบพิธีหัจญ์แทนผู้อื่นก่อนที่จะประกอบพิธีหัจญ์สำหรับตนเอง และผู้มอบหมายก็ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นข้อห้ามของการถืออิหฺรอมแต่อย่างใด

    จากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า :

    عَنْ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم : أَنَّهُ لَقِيَ رَكْبًا بِالرَّوْحَاءِ فَقَالَ: مَنْ الْقَوْمُ؟ قَالُوا: الْمُسْلِمُونَ. فَقَالُوا: مَنْ أَنْتَ؟ قَالَ: «رَسُولُ الله»، فَرَفَعَتْ إِلَيْهِ امْرَأَةٌ صَبِيًّا فَقَالَتْ: أَلِهَذَا حَجٌّ؟ قَالَ: «نَعَمْ وَلَكِ أَجْرٌ»

    ความว่า : ครั้งหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้พบกับกองคารวาน ณ อัรฺเราหาอ์ ท่านถามพวกเขาว่า “พวกท่านเป็นใคร?” พวกเขาตอบว่า : (พวกเราเป็น) มุสลิม แล้วพวกเขาก็กล่าวว่า : แล้วท่านล่ะเป็นใคร? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตอบว่า “เราะสูลุลลอฮฺ” ทันใดนั้นก็มีสตรีนางหนึ่งยกลูกของนางให้ท่านดูพร้อมกล่าวว่า : คนนี้ประกอบพิธีหัจญ์ได้ไหม? ท่านตอบว่า “ได้ และผลบุญจะเป็นของท่าน” (บันทึกโดย มุสลิม : 1336)

    อนุญาตให้ผู้ที่สุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยสามารถมอบหมายผู้อื่นเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ หรืออุมเราะฮฺที่เป็นสุนัต โดยการให้ค่าจ้างหรือไม่ก็ตาม

    ผู้ที่เสียชีวิตในระหว่างประกอบพิธีหัจญ์นั้นไม่จำเป็นต้องมอบหมายผู้อื่นปฏิบัติขั้นตอนส่วนที่เหลือแทนเขา เพราะเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺในสภาพที่เขากล่าวคำตัลบิยะฮฺ และผู้ใดเสียชีวิตในสภาพที่เขาไม่ได้ละหมาดเลย ก็ไม่อนุญาตให้ประกอบพิธีหัจญ์หรือจ่ายทานแทนเขาได้ เพราะถือว่าเขาเป็นมุรตัดพ้นจากศาสนา

    วิธีการครองอิหฺรอมของสตรีที่มีรอบเดือนหรือสตรีที่มีเลือดจากการคลอดบุตร

    สตรีผู้มีรอบเดือนหรือมีเลือดจากการคลอดบุตรสามารถอาบน้ำและเนียต(ตั้งเจตนา) ครองอิหฺรอมเพื่อประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺและครองตนอยู่ในอิหฺรอมได้ นางสามารถทำตามขั้นตอนต่างๆของพิธีหัจญ์ได้ยกเว้นการเฏาะวาฟ ซึ่งไม่อนุญาตให้นางทำการเฏาะวาฟจนกว่านางจะพ้นช่วงเวลาดังกล่าวและได้อาบน้ำยกหะดัษเรียบร้อยแล้ว เมื่อนั้นนางจึงจะสามารถปฏิบัติส่วนที่เหลือจนกระทั่งสิ้นสุดทุกขั้นตอนได้

    ในกรณีที่นางตั้งเจตนาประกอบพิธีอุมเราะฮฺ นางก็ไม่ต้องทำอะไรกระทั่งนางพ้นช่วงเวลาของรอบเดือนหรือเลือดหลังคลอดก็ให้นางอาบน้ำและประกอบพิธีอุมเราะฮฺต่อไปจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอน

    ความประเสริฐของการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺบ่อยๆ

    จากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

    «تَابِعُوا بَيْنَ الحَجِّ وَالعُمْرَةِ، فَإنَّـهُـمَا يَنْفِيَانِ الفَقْرَ وَالذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الكِيرُ خَبَثَ الحَدِيدِ وَالذَّهَبِ وَالفِضَّةِ، وَلَيْسَ لِلْـحَجَّةِ المَبْرُورَةِ ثَوَابٌ إلا الجَنَّةُ»

    ความว่า “พวกท่านจงประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่อง แท้จริงแล้วทั้งสองสิ่งนี้จะทำให้ปราศจากซึ่งความยากจนและบาปความผิด ประดุจดั่งการหลอมไฟที่ปัดเป่าส่วนที่ไม่ดีของเหล็ก ทองคำ และเงิน ซึ่งหัจญ์มับรูรฺที่ถูกตอบรับนั้นจะมีผลบุญอื่นไปไม่ได้นอกเหนือจากสรวงสวรรค์“ (บันทึกโดยอะหฺมัด : 3669 และอัตตัรมิซีย์ : 810)

    หุก่มการออกจากมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮฺอีกครั้ง

    ถือเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับผู้ที่เดินทางไปยังมักกะฮฺ และเมื่อประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺเสร็จก็มุ่งหน้าออกจากมักกะฮฺเพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮฺสุนัตอีกครั้ง ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ท่านใด ไม่ว่าจะในเดือนรอมฎอนหรือเดือนอื่นๆก็ตาม และท่านนบีก็ไม่ได้ใช้ให้อาอิชะฮฺประกอบพิธีอุมเราะฮฺแต่อย่างใด ที่ท่านอนุญาตให้นางกระทำได้หลังจากที่นางวอนขอ ก็เพื่อเป็นการปลอบใจนาง ซึ่งการเฏาะวาฟรอบบัยตุลลอฮฺประเสริฐยิ่งกว่าการออกไปประกอบพิธีอุมเราะฮฺอีกครั้ง

    ส่วนการเริ่มประกอบพิธีอุมเราะฮฺจากตันอีมในส่วนของท่านหญิงอาอิชะฮฺนั้น เป็นกรณีเฉพาะสำหรับสตรีที่มีรอบเดือนอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบพิธีอุมเราะฮฺที่อยู่ในพิธีหัจญ์ได้ เช่นท่านหญิงอาอิชะฮฺ ดังนั้นจึงไม่มีบัญญัติให้สตรีปกติทั่วไปกระทำ บุรุษก็เช่นเดียวกัน

    หุก่มการประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺของเด็กเล็ก

    เมื่อเด็กตั้งเนียตครองอิหฺรอมเพื่อประกอบพิธีหัจญ์ ถือว่าหัจญ์ของเขานั้นใช้ได้แต่ถือเป็นหัจญ์สุนัต ซึ่งถ้าหากเขาอยู่ในวัยที่สามารถแยกแยะได้ก็ให้เขาปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว แต่ถ้าหากว่ายังเล็กอยู่ก็ให้ผู้ปกครองของเขาเป็นผู้เนียตแทน และนำเขาเฏาะวาฟ เดินสะแอ แต่ที่ดีที่สุดคือให้เขาทำตามขั้นตอนการประกอบพิธีหัจญ์หรืออุมเราะฮฺในส่วนที่เขาสามารถทำได้ ซึ่งเมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะต่อไปในอนาคตก็จำเป็นที่เขาต้องประกอบพิธีหัจญ์ที่เป็นวาญิบตามเงื่อนไขของศาสนาอิสลามอีกครั้ง

    เมื่อเด็กหรือทาสได้ประกอบพิธีหัจญ์ หลังจากนั้นเด็กได้บรรลุศาสนะภาวะหรือผู้เป็นทาสถูกปลดปล่อยเป็นไท ก็จำเป็นที่ทั้งสองต้องประกอบพิธีหัจญ์ที่เป็นวาญิบอีกครั้ง

    การประกอบพิธีหัจญ์ของเด็กนั้นถือว่าใช้ได้ และผู้ที่นำเขาประกอบพิธีก็จะได้รับผลบุญ

    จากท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า :

    رفعت امرأةٌ صبياً لها فقالت: يا رسول الله ألهذا حج؟ قال: «نَعَمْ وَلَكِ أَجْرٌ»

    ความว่า : สตรีนางหนึ่งยกลูกชายของนางขึ้นแล้วกล่าวว่า โอ้ เราะสูลลุลลอฮฺ เขาจะประกอบพิธีหัจญ์ได้ไหม? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตอบว่า "ได้ และสำหรับเธอก็จะได้รับลบุญ" (บันทึกโดย มุสลิม : 1336)

    หุก่มการเข้าไปในมัสยิดของมุชริก

    ไม่อนุญาตให้มุชริกเข้าสู่มัสยิดหะรอม แต่อนุญาตให้เข้ามัสยิดอื่นๆได้หากมีความจำเป็นที่ศาสนาอนุญาต

    1.อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

    (ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ)

    ความว่า "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! แท้จริงบรรดามุชริกนั้นโสมม ดังนั้นพวกเขาจงอย่าเข้าใกล้มัสยิดหะรอมหลังจากปีของพวกเขานี้ และหากพวกเจ้ากลัวความยากจน อัลลอฮฺก็จะทรงให้พวกเจ้ามั่งมีจากความกรุณาของพระองค์หากพระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัตเตาบะฮฺ : 28)

    2.จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า :

    بعث النبي صلى الله عليه وسلم خيلاً قِبَلَ نجد، فجاءت برجل من بني حنيفة، يقال له ثُمامة بن أُثال، فربطوه بسارية من سواري المسجد، فخرج إليه النبي صلى الله عليه وسلم فقال: «أَطْلِقُوا ثُمَامَةَ» فانطلق إلى نخل قريب من المسجد فاغتسل، ثم دخل المسجد فقال: أشهد أن لا إله إلا الله، وأن محمداً رسول الله.

    ความว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งทหารม้าไปยังเมืองนัจด์ และพวกเขาก็นำตัวชายคนหนึ่งจากเผ่าบนีหะนีฟะฮฺนามว่าษุมามะฮฺ บิน อะษาล กลับมาด้วย และทำการผูกเขาไว้กับเสาต้นหนึ่งของมัสยิด เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมออกไปหาเขา ท่านก็กล่าวว่า "พวกท่านจงปล่อยตัวษุมามะฮฺไป" ษุมามะฮฺก็เดินออกไปยังต้นอินทผลัมใกล้มัสยิดและอาบน้ำชำระร่างกายแล้วเดินกลับมาเข้ามาในมัสยิดพร้อมกล่าวว่า : ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือเราะสูลของพระองค์อัลลอฮฺ (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 462 และมุสลิม 1764)

    ลักษณะเฉพาะของเขตหะร็อม

    เขตหะร็อมมักกะฮฺนั้นมีลักษณะพิเศษหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ :

    1.การละหมาดในเขตหะร็อมได้ผลบุญตอบแทนทวีคูณจากที่อื่นๆ

    2.การกระทำสิ่งชั่วถือเป็นบาปมหันต์

    3.ไม่อนุญาตให้มุชริกเข้าสู่เขตหะร็อม

    4. ไม่อนุญาตให้เริ่มการสู้รบฆ่าฟันในเขตนี้

    5.ไม่อนุญาตให้ตัดโค่นต้นไม้ หรือวัชพืชใดๆนอกจากต้นอิซคิรฺ

    6.ห้ามเก็บของหล่นหาย นอกเสียจากเพื่อประกาศหาเจ้าของ

    7.ห้ามฆ่า หรือไล่ล่าสัตว์

    8.เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกของมวลมนุษยชาติ

    อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า :

    (ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ)

    ความว่า “แท้จริงบ้านหลักแรกที่ถูกตั้งขึ้นสำหรับมนุษย์ (เพื่อการอิบาดะฮฺ) นั้นคือบ้านที่มักกะฮฺ โดยเป็นที่ที่ถูกให้มีความจำเริญ และเป็นทางนำแก่ประชาชาติทั้งหลาย ในบ้านนั้นมีหลายสัญญาณที่ชัดแจ้ง (ส่วนหนึ่งนั้น) คือมะกอมอิบรอฮีม และผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้นเขาก็เป็นผู้ปลอดภัย และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้นอันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย“ (อาล อิมรอน 96-97)