×
อธิบาย ความหมายของ อัร-เราะฮฺนุ หรือการจำนำจำนอง เคล็ดลับ(หิกมะฮฺ)ในการบัญญัติการจำนำจำนอง ใครคือผู้ที่มีหน้าที่ออกค่าดูแลรักษาของทรัพย์สินที่จำนำไว้ หุก่มการขายทรัพย์สินที่จำนำไว้ จากหนัังสือ มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    อัร-เราะฮฺนุ (การจำนำจำนอง)

    ﴿الرهن﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : อิสมาน จารง

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    2009 - 1430

    ﴿الرهن﴾

    « باللغة التايلاندية »

    محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: عثمان جاورنج

    مراجعة: عصران إبراهيم

    2009 - 1430

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    อัร-เราะฮฺนุ (การจำนำจำนอง)

    สัญญามีสามประเภท

    1. สัญญาที่ผูกมัดทั้งสองฝ่าย(ไม่สามารถยกเลิกได้) เช่น การซื้อขาย การเช่าจ้าง เป็นต้น

    2. สัญญาที่ไม่ผูกมัดแก่ทั้งสองฝ่าย โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงนั้น เช่น การมอบอำนาจ เป็นต้น

    3. สัญญาที่ผูกมัดเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น เช่น อัรเราะห์นุ (การจำนำ-จำนอง) ถือว่าไม่ผูกมัดแก่ผู้รับจำนำจำนอง แต่ผูกมัดฝ่ายผู้จำนำจำนอง และทุกข้อตกลงในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ที่สิทธิเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

    อัร-เราะฮฺนุ คือ การค้ำประกันหนี้โดยใช้วัตถุที่สามารถนำมาชดใช้หนี้ได้โดยตัวมันเอง หรือโดยราคาของมัน ในกรณีที่ตัวลูกหนี้ไม่สามรถชดใช้หนี้นั้นได้

    เคล็ดลับ(หิกมะฮฺ)ในการบัญญัติการจำนำจำนอง

    การจำนำจำนองถูกบัญญัติขึ้นเพื่อรักษาทรัพย์สิน มิให้สิทธิของเจ้าหนี้สูญหายไป เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ ผู้จำนำจำเป็นต้องชดใช้หนี้ หากเขาปฏิเสธการชดใช้และเขาได้อนุญาตให้ผู้รับจำนำขายทรัพย์จำนำได้ ผู้รับจำนำก็ทำการขายมันไปเองแล้วมาชดใช้หนี้ หากไม่เช่นนั้นแล้ว(ผู้จำนำไม่อนุญาต) ศาลก็จะบังคับให้ผู้จำนำชดใช้หนี้หรือทำการขายสิ่งจำนำ(เอามาชดใช้) หากเขา(ผู้จำนำ)ไม่ยอมขาย ศาลก็จะทำการขายทรัพย์จำนำนั้นเองแล้วนำราคาของมันมาชดใช้หนี้แก่เจ้าหนี้(ผู้รับจำนำ)

    1- อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

    ( ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ) [البقرة/283]

    ความว่า “และถ้าหากว่าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างการเดินทาง และพวกเจ้าไม่มีผู้ที่ทำการจดบันทึก ก็จงให้ทรัพย์สินเป็นการประกัน” (อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 283)

    2- รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุฮันฮา ว่า

    «أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم اشْتَرَى طَعَاماً مِنْ يَـهُودِيٍّ إلَى أَجَلٍ وَرَهَنَـهُ دِرْعاً مِنْ حَدِيدٍ». متفق عليه

    ความว่า “แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ซื้อเชื่ออาหารจากชาวยิวคนหนึ่ง และท่านได้จำนำเสื้อเกราะเหล็กไว้กับเขาผู้นั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 2068 และรายงานโดยมุสลิม หมายเลข1603)

    - การจำนำจำนองเป็นอะมานะฮฺในมือของผู้รับจำนำเองหรือตัวแทนของเขา ถือว่าเขาไม่ต้องชดใช้หากเสียหายยกเว้นเขาจะละเมิด(เจตนาทำให้เสียหาย)หรือละเลย(ไม่ดูแลให้ดี)

    ใครคือผู้ที่มีหน้าที่ออกค่าดูแลรักษาของทรัพย์สินที่จำนำไว้

    ค่าดูแลรักษาทรัพย์จำนำเป็นหน้าที่ของผู้จำนำ สำหรับทรัพย์ที่จะต้องดูแลผู้รับจำนำสามารถขับขี่มันได้ หากเป็นสัตว์ที่ใช้ขับขี่ และรีดนมกินหากเป็นสัตว์ที่ใช้รีดนม ทั้งนี้หากเขา(ผู้รับจำนำ)เป็นผู้ให้อาหารมัน โดยใช้ประโยชน์ตามจำนวนอาหารที่เขาให้

    หุก่มการขายทรัพย์สินที่จำนำไว้

    ไม่อนุญาตให้ผู้รับจำนำขายทรัพย์จำนำนอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้จำนำเสียก่อน ถ้าหากเขาขายมันก่อนแล้วต่อมาผู้จำนำยอมรับก็ถือว่าการซื้อขายนั้นใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาไม่ยินยอมถือว่าการซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ